Korean Basketball League (KBL) scraps “Too Tall to Ball” rule for 2019-2020 season

The Korean Basketball League (KBL) faced mockery from around the world when they imposed a new height regulation on import players last season. Nearly one year later, the KBL have now announced that they would be getting rid of the rule.

[อ่านภาษาไทย คลิกที่นี่เลยครับ]

The league was infamously recognized all over the world last year after news outlets such as BBC, Sports Illustrated, SB Nation, and Bleacher Report all picked up on their rules changes regarding import players for the 2018-2019 season.

The KBL had previously allowed two foreign import players per team but announced in March 2018 that those players would now be restricted by their height: One of the import players was not allowed to be taller than 2.00M while the other import player was restricted to 1.86M. Import players were to be measured prior to registration and had a limited amount of three measurement attempts per day at fixed time slots by league officials.

The ruling took its first casualty in David Simon of Anyang KGC. He was previously listed at 2.02M and failed to be measured at under 2.00M and therefore was ruled ineligible for the 2018-2019 season. Simon was coming off a season which he led the league in scoring (25.7 points) and blocks (2.1 per game) but was suddenly unable to play because he was a hair too tall.

Photo Credit: KBL

“Personally, I don’t really understand it,” Simon told the BBC. “Just from the fact that there are only two or three of us that were even over the limit, and then two of us are right there. The tallest guy, Rod Benson [of Wonju Dongbu Promy], he was well over the limit, but besides that, most of the guys there aren’t super small, or there isn’t that much a difference in their skills.”

“I was a bit upset. To be that close and not to make, it kind of stinks. It doesn’t look like I’ll be going back there to play unless they change the rules again.”

Aside from Simon and Benson, Charles Rhodes (who was previously listed at 1MM taller than the limit) had to go through the same measuring process to be eligible to play. When it was announced that he was measured at 1.99M, Rhodes was reported to have “kneeled and raised his hands in celebration”.

“It was stressful, but I feel so great,” Rhodes said after the measurement. “By far, it was the most nervous measurement in my whole career.”

Photo Credit: Yonhap News

But why did the KBL do that though?

Height restrictions aren’t new in the KBL. Since the league was formed in 1997, only 7 seasons from 2008 to 2015 allowed teams to sign foreign imports without height restrictions. In the 2017-2018 season, teams were allowed one import of unlimited height and another import limited to 1.93M.

The league’s reasoning for their recent height limit this season was that the lack of a restriction in the past had led teams to getting taller players which slowed down the game, resulting in a less entertaining fan experience. The significant drop in both spectators and TV viewership had forced the officials into looking at alternatives which could help boost the popularity of the league.

“We set the limit at 200 cm because from our analysis, foreign players who played the best in the KBL were around that height,” said KBL Secretary General Lee Sung-han. “We believe this new height restriction will revive the popularity of pro basketball in the country.”

The main idea of the height restriction was that teams would now look for smaller and quicker import players which would increase the pace of the game, increase scoring, and ultimately increase interest among fans.

It should also be noted that the KBL isn’t the only league to apply height restrictions. The Philippines Basketball Association (PBA) have continuously had a limit to the height of the import player that teams can sign, varying through different periods of their season.

So how did the rule change turn out for the KBL?

If the league was aiming to increase scoring… the height regulation hasn’t really succeeded in its cause so far after 43 games into the season.

Teams are scoring 83.9 points per game this year, a slight drop off from 84.1 per contest in 54 games last year. The league has seen a significant rise of scoring in the past 5 years, so it’s unlikely that the height of the imports – short or tall – have played a role in the rise and fall of the league’s offensive output.

2018-2019: 83.9 PPG (43 Games)
2017-2018: 84.1 PPG (54 Games)
2016-2017: 79.3 PPG (54 Games)
2015-2016: 78.8 PPG (54 Games)
2014-2015: 74.6 PPG (54 Games)

The height restriction has had minimal impact on Charles Rhodes, even now as he stands as the tallest import in the KBL. None of his stats so far playing for Incheon ETLand Elephants this season has be significantly different than that of the previous 7 seasons he’s played in the league that can lead to a conclusion on the impact of height restriction.

And now the KBL has abandoned the rules after a season of experimenting?

That and more, actually.

The KBL held a meeting among board of directors on February 11, 2019 to discuss various issues, among those including the restriction on import players. It was formally announced that in the upcoming 2019-2020 season, there will no longer be a height limit on import players after having been mocked worldwide on their decision last year.

“We felt that the ban was outdated and there were many complaints about the league restricting the freedom of the teams,” A KBL official told the AFP.

Other changes in import player restrictions also included the scrapping of a “career limit” which disallowed import players who had previously played in more than 10 games in the NBA over the past three seasons, as reported by The Korea Times.

In this current season, teams are allowed to field both of their import players in the second and third quarters of a game but could only choose one of the two to play in the first and fourth quarters. In the upcoming 2019-2020 season as reported by KMIB and SBS, teams will still be allowed to sign two imports to their team but will instead be allowed only one import player on the floor at a given time regardless of quarter.

The league has also announced that these rules will be applied for at least three seasons from 2019-2020 to 2021-2022 to maintain consistency.

Thoughts on all these rules changes by the KBL?

The height limit was a ridiculous move to begin with, which was evident by the backlash it received from all over the world. Getting rid of it was the right move and some credit has to be given to the league officials for realizing that after only one season (though those credits would have already been deducted for enforcing such a rule int he first place). The main purpose of a local league is to give the domestic players a perfect environment for them to develop. As Korea grows into being a bigger basketball nation, they will need their players to play against high-level competition regardless of height.

In the meanwhile, David Simon is currently playing in the Japanese B.League for Kyoto Hannaryz where he is the second leading scoring in the league at 24.1 points per game.

Similarly, a player should not be limited to play in a league merely because he has had experience playing in the biggest stage of basketball which is the NBA. You would think that these experienced players would actually be more welcome to play in the league. It was nice to see that rule lifted from the KBL as well.

Playing time restrictions on imports in all leagues, whether it is the Chinese Basketball Association (CBA) or the Thailand Basketball League (TBL), has always been a bit weird. The rule means that teams will be signing players that will only be able to be used in limited spurts in each game. While the intention is to limit teams from depending too much on foreign players, it could also familiarize players to an unusual rotation routine.


อ่านภาษาไทยต่อจากนี้เลยครับ


เมื่อปีที่ผ่านมาลีกบาสเกาหลี Korean Basketball League (KBL) โดนวงการบาสแทบทั้งโลกหัวเราะเยาะใส่ หลังจากที่มีการออกกฏจำกัดส่วนสูงของผู้เล่นต่างชาติที่จะเข้ามาเล่นในลีก

ผ่านไปเกือบ 1 ปี ทางฝ่ายบริหาร KBL ก็ได้ออกมาประกาศยุบกฏดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

[For English, read here]

เป็นเรื่องฮือฮาในวงการกีฬาทั่วโลก หลังจากที่มีการรายงานจากทั้ง BBC, Sports Illustrated, SB Nation, และ Bleacher Report ถึงการออกกฏของลีกบาสเกาหลี KBL ที่ใช้งานไปเมื่อฤดูกาล 2018-2019 ที่ผ่านมานี้

ทางลีกมีการอนุญาตให้ทุกทีมสามารถเซ็นผู้เล่นต่างชาติมาเสริมทัพได้ทีมละสองคนมาตลอด แต่ในเดือนมีนาคมปี 2018 ที่ผ่านมา KBL ได้ออกมาเพิ่มเงื่อนไขสำหรับตัวผู้เล่นต่างชาติโดย คนหนึ่งมีความสูงได้ไม่เกิน 2.00 เมตร ส่วนอีกคนก็สูงได้ไม่เกิน 1.86 เมตรเท่านั้น! ผู้เล่น Import ที่จะเข้ามาเล่นในลีกทุกคนจำเป็นจะต้องผ่านขั้นตอนการวัดตัวอย่างละเอียดซึ่งมีกำหนดอีกว่า วันหนึ่งจะวัดได้เพียงแค่ 3 ครั้งตามช่วงเวลาที่ทางลีกกำหนดไว้เท่านั้น

ผู้เล่นคนแรกที่เป็นผู้เสียหายจากการออกกฏครั้งนั้น คือ David Simon ซึ่งเล่นให้กับทีม Anyang KGC ในปี 2017-2018 โดยมีการแจ้งส่วนสูงไว้ที่ 2.02 เมตร และ เมื่อวัดตัวใหม่ก็ยังสูงเกินอยู่ดี ทำให้อดที่จะลงแข่งต่อไปในฤดูกาลที่ 2018-2019 ในซีซั่นก่อนหน้านี้ Simon เป็นคนที่ทำแต้มและทำบล็อกมากที่สุดใน KBL โดยมีสถิติเฉลี่ย 25.7 แต้ม และ 2.1 บล็อกต่อเกม

แต่ท้ายสุดแล้ว เขาไม่ได้ไปต่อ แค่เพราะสูงเกินมาเพียงนิดเดียวเท่านั้นเอง!

Photo Credit: KBL

“ส่วนตัวเลยนะ ผมก็ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่หรอก” Simon เคยกล่าวไว้ในการสัมภาษณ์กับ BBC. “จริงๆ แล้วก็มีแค่ 2-3 คนเอง ที่สูงเกินกำหนด แล้วในนั้นสองคนคือ แบบ สูงเกินมานิดเดียวเท่านั้นแหละ โอเคล่ะ Rod Benson [ซึ่งเล่นให้ Wonju Dongbu Promy] สูงเกินกำหนดไปเยอะอยู่ แต่นอกจากนั้นคือนิดเดียวจริง พวกนักกีฬาคนอื่นๆ ในลีกก็ใช่ว่าจะตัวเล็ก แล้วทักษะก็ใช่ว่าจะด้อยอะไรขนาดนั้นอีก”

“ผมก็หงุดหงิดแหละ การที่แบบสูงเกินมานิดเดียวแล้วไม่ผ่านเกณฑ์เนี่ย มันรู้สึกไม่ดีหรอก ดูเหมือนว่าผมคงจะไม่ได้กลับมาเล่นที่เกาหลีอีกแล้ว จนกว่าพวกเขาจะเปลี่ยนกฏนี้ซักที”

นอกจาก Simon และ Benson ที่กล่าวถึงในการสัมภาษณ์ครั้งนั้น ก็มี Charles Rhodes ที่ต้องผ่านขั้นตอนการวัดตัวเช่นเดียวกัน เพราะว่าเขาสูงเกินมาเพียง 1 มิลลิเมตรเท่านั้น! พอตอนที่วัดตัวเสร็จแล้วประกาศว่าเขาวัดได้ที่ 1.99 เมตร Rhodes ได้คุกเข่าลงพื้นแล้วแสดงความดีใจออกนอกหน้าด้วยความรู้สึกโล่งอกที่ผ่านเกณฑ์และสามารถเล่นใน KBL อีกปี

“มันเป็นขั้นตอนที่เครียดนะ แต่ก็รู้สึกดีที่ผ่านไปได้แล้ว” Rhodes กล่าวหลังจากที่วัดตัวเสร็จ “ถือว่าเป็นการวัดตัวที่กดดันมากที่สุดเท่าที่เคยผ่านมาในชีวิต”

Photo Credit: Yonhap News

แล้ว KBL  มันออกกฏบ้าๆ แบบนั้นมาทำไมฟะ?

กฏการจำกัดความสูง จริงๆ แล้วก็ไม่ใช่อะไรใหม่ๆ สำหรับ KBL  หรอก ตั้งแต่ก่อตั้งลีกมาเมื่อปี  2017 ก็มีเพียง 7 ปีในช่วง 2008 ถึง 2015 ที่มีการแข่งขันโดยไม่จำกัดความสูงของผู้เล่นต่างชาติ
ในฤดูกาล 2017-2018 เองจริงๆ ก็มีการออกกฏจำกัดส่วนสูงของ Import แต่จำกัดเพียงว่า 1 ใน 2 คนที่เซ็นมานั้น ต้องสูงไม่เกิน 1.93 เมตร

ทางลีกได้ให้เหตุผลสำหรับการออกกฏดังกล่าวว่า ที่ผ่านมา ทีมต่างๆ ได้เซ็นผู้เล่นที่ตัวสูงๆ เข้ามาเล่นในลีก ทำให้เกมช้าลง อีกทั้งยังทำให้แต้มที่ทำได้ในแต่ละการแข่งขันต่ำลงอีกด้วย ซึ่งอ้างไปว่าทำให้เกมสนุกน้อยลงสำหรับแฟนๆ ที่ติดตามชม ทางลีก KBL เองก็มีความกดดันเนื่องจากคนดูทั้งที่สนามและทางทีวีลดลงอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ต้องหาแนวทางในการแก้ปัญหาเพื่อเพิ่มความมันส์ของการแข่งขันให้มากขึ้น

“เราตั้งการจำกัดความสูงไว้ที่ 200 เซนติเมตร เพราะจากการวิเคราะห์ของเราแล้ว ผู้เล่นต่างชาติที่เข้ามาเล่นใน KBL และประสบความสำเร็จจะมีส่วนสูงประมาณนั้น” เลขาธิการของ KBL นาย Lee Sung-han กล่าว “พวกเราเชื่อว่ากฏในการจำกัดความสูงครั้งนี้ จะทำให้บาสเกตบอลในประเทศเรากลับมาบูมได้อีกครั้ง”

หลักการของการจำกัดความสูง เป็นการแกมบังคับให้ทีมแต่ละทีมออกไปหาตัวผู้เล่น import ที่ตัวเล็กลงมา แต่เร็วมากขึ้น เพื่อมาเร่งจังหวะของเกม เพิ่มการทำแต้ม ซึ่งท้ายที่สุดก็คาดหวังกับการเพิ่มความสนุกของการแข่งขัน เป็นผลสืบเนื่องกัน

อีกอย่างที่น่าสนใจคือ KBL ไม่ใช่ลีกบาสที่เดียวที่มีการจำกัดความสูงของผู้เล่นชาวต่างชาติ ลีกเพื่อนบ้านอย่าง PBA ของประเทศฟิลิปปินส์เองก็มีการกำหนดความสูงต่างๆ ของผู้เล่น import ออกไปแล้วแต่การแข่งขันแต่ละช่วงของฤดูกาล

แล้วท้ายที่สุดผลของการเปลี่ยนกฏครั้งนั้นของ KBL เป็นยังไงบ้างล่ะ?

ถ้าเป้าหมายของการเปลี่ยนกฏคือการเพิ่มอัตราการทำคะแนนละก็… ถือว่าไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไหร่จากที่แข่งขันผ่านมาแล้ว 43 เกม

ปีนี้ ทั้ง 10 ทีมใน KBL ทำเฉลี่ยอยู่ที่ 83.9 แต้มต่อเกม ถือว่าตกลงมาจากปีที่แล้วเล็กน้อย ที่ทำไว้ 84.1 แต้มต่อเกมตลอด 54 เกม ช่วง 5 ปีที่ผ่านมานี้ การทำคะแนนของลีกมีการเพิ่มขึ้นมาอย่างก้าวกระโดด เพราะฉะนั้น ความสูงของผู้เล่นต่างชาติที่โดนจำกัดนั้น ไม่ว่าจะสูงหรือเตี้ย ดูแล้วไม่ค่อยสัมพันธ์โดยตรงกับการทำแต้มภายในลีกเท่าไหร่

2018-2019: 83.9 แต้มต่อเกม (43 เกม)
2017-2018: 84.1 แต้มต่อเกม (54 เกม)
2016-2017: 79.3 แต้มต่อเกม (54 เกม)
2015-2016: 78.8 แต้มต่อเกม (54 เกม)
2014-2015: 74.6 แต้มต่อเกม (54 เกม)

นอกจากนี้แล้ว ผลของการจำกัดความสูงในปีนี้ ก็ไม่ได้ส่งผลต่อการเล่นของ Rhodes เท่าไหร่นัก แม้ว่าการที่เขาลงแข่งกับทีม Incheon ETLand Elephants ครั้งนี้ จะเป็นผู้เล่น import ที่สูงที่สุดในลีกคนหนึ่งก็ตาม สถิติของเขาในการลงเล่นปีนี้แทบไม่ได้ต่างอะไรจากที่เคยเล่นมาตลอด 7 ฤดูกาลที่ผ่านมาเลย

แล้วผ่านไปหนึ่งปี ตอนนี้ KBL ก็จะไม่เอากฏนี้แล้ว โละทิ้งไปเลย?

ใช่ แถมยังมีมากกว่านั้นอีก

เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทางผู้บริการ KBL ได้มีการประชุมกันหลายวาระ ซึ่งหนึ่งในนั้น ก็คือเรื่องของกฏการกำหนดคุณสมบัติของผู้เล่น import โดยภายหลังได้มีการประกาศว่าจะไม่มีข้อกำหนดสำหรับส่วนสูงของผู้เล่น import อีกต่อไปหลังจากที่พลาดท่ากันมาแล้วเมื่อปีที่ผ่านมา

“พวกเรารู้สึกว่ากฏดังกล่าวมันค่อนข้างล้าหลัง และ มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ค่อนข้างมาก ว่าด้วยการจำกัดความอิสระของทีมในการตามหาผู้เล่น” คณะกรรมการของลีกท่านหนึ่งกล่าว

นอกจากนี้แล้วยังมีเรื่องของการกำหนดประสบการณ์ของผู้เล่นที่เคยเล่นใน NBA อีก ซึ่งก่อนหน้านี้ ได้มีการกำหนดว่าผู้เล่นที่เล่นมาอย่างน้อย 10 เกมใน NBA ในช่วงเวลา 3 ปีที่ผ่านมานั้น จะไม่สามารถลงเล่นใน KBL ได้ แต่จากการรายงานของ The Korea Times นั้น กฏนี้ก็จะมีการยกเลิกไปเช่นเดียวกันในฤดูกาลข้างหน้าที่จะถึงนี้

ในปีนี้ทุกทีมสามารถเซ็นผู้เล่น import ได้สองคน โดยที่ทั้งสองคนสามารถลงสนามพร้อมกันได้แค่ในช่วงควอเตอร์ที่ 2 และ ควอเตอร์ที่ 3 ส่วนในควอเตอร์ที่ 1 และ ควอเตอร์ที่ 4 นั้น ทีมจะเลือกส่งลงได้ 1 คนเท่านั้น ทาง KMIB และ SBS นั้นได้มีการรายงานว่าในฤดูกาล 2019-2020 นี้ ทีมจะยังสามารถเซ็นผู้เล่น import ได้สองคนเหมือนเดิม แต่ไม่ว่าจะควอเตอร์ไหน ก็จะสามารถส่งผู้เล่น import ลงสนามได้เพียงควอเตอร์ละ 1 คนเท่านั้น

ทั้งหมดนี้กฏที่ประกาศจะเปลี่ยนในครั้งนี้ จะยึดไว้ใช้เป็นระยะเวลา 3 ฤดูกาล เพื่อให้เกิดความเสถียรในการติดตามชม

คิดยังไงบ้างเกี่ยวกับการกำหนดกฏใหม่ๆ นี้ใน KBL บ้าง?

ไอ้กฏที่กำหนดความสูงของผู้เล่น import มันเป็นกฏที่ค่อนข้างจะงี่เง่าตั้งแต่แรกแล้วแหละ ซึ่งก็เห็นได้จากการตอบรับจากสื่อต่างๆ ทั่วโลก การที่สามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วภายใน 1 ปีว่ามันคือการตัดสินใจที่ผิดพลาด ก็ถือว่าต้องให้เครดิตกับทีมบริหาร KBL บ้าง (แต่ไอ้เครดิตตรงนั้นจริงๆ แล้วมันก็หายไปตั้งแต่คิดจะกำหนดกฏบ้าๆ อย่างนี้แต่แรกแล้วละมั้ง…)

ท้ายที่สุดแล้ว ลีกอาชีพมันต้องเป็นสิ่งแวดล้อมที่ช่วยทำให้นักกีฬาในประเทศพร้อมสำหรับการพัฒนาเพื่อไปเล่นในระดับทีมชาติต่อๆ ไป ซึ่งการที่ประเทศเกาหลีมีการพัฒนาทางด้านบาสมากขึ้นเรื่อยๆ แปลว่า นักกีฬาบาสเกาหลีจะต้องสามารถต่อกรกับนักบาสที่เก่งกาจให้ได้… ไม่ว่าพวกเขาจะสูงแค่ไหน หรือ มาจากประเทศอะไรก็ตาม

ตอนนี้ David Simon ที่ไม่สามารถเล่นใน KBL ปีที่ผ่านมานี้ ได้ไปเล่นในลีกญี่ปุ่น B.League กับทีม Kyoto Hannaryz และเขาก็ยังคงทำคะแนนได้กระจุยกระจายเหมือนเดิม เป็นคนที่ทำแต้มมากที่สุดเป็นอันดับที่สองในลีกที่ 24.1 แต้มต่อเกม

เช่นเดียวกัน ผู้เล่นคนหนึ่ง ไม่ควรที่จะถูกกำหนดว่าเขาจะสามารถเล่นที่ใดที่หนึ่งได้หรือไม่ เพียงเพราะเขาเคยมีประสบการณ์การเล่นในระดับที่สูงกว่ามาก่อน จริงๆ ถ้าคิดดูดีๆ แล้ว การที่ผู้เล่นคนหนึ่งเคยเล่นใน NBA มาแล้วหลายๆ เกมนั้น มันยิ่งเป็นสิ่งที่ลีกควรจะต้อนรับไม่ใช่หรอ? ตรงนี้ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีที่ได้เห็น KBL ตัดข้อกำหนดสำหรับผู้เล่นต่างชาติข้อนี้ออกไปได้

ในส่วนของการกำหนดเวลาการลงเล่นของผู้เล่น ไม่ว่าจะในลีกไหนๆ ทั้งลีกจีน (CBA) หรือในประเทศไทย (TBL) เอง ก็ยังมีความรู้สึก “แปลกๆ” อยู่ดี เพราะกฏข้อนี้ ทำให้กลายเป็นทีมได้จ่ายค่าตัวให้ผู้เล่นคนหนึ่งไปเต็มๆ แต่กลับสามารถใช้ได้อย่างไม่เต็มที่

แน่นอนว่าการที่กำหนดเวลาการลงเล่นนั้น มีเป้าหมายในการทำให้ทีมไม่ต้องพึ่งผู้เล่นต่างชาติมากเกินไป แต่ในทางเดียวกันก็อาจจะทำให้ผู้เล่นคนอื่นๆ นั้นคุ้นชินกับระบบการเล่นและการเปลี่ยนตัวที่ไม่ค่อยธรรมดาเท่าไหร่นัก

Advertisement

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.