Death, Taxes, and Dual Nationality Issues In SEA Basketball

The announcing of the 16-player SEA Games roster of the Thailand National Team came with much excitement as both Freddie Goldstein and Tyler Lamb were listed. Was it possible that both would be able to play on the same Thailand National Team?

Spoiler Alert: It wasn’t possible and I’m writing this to explain why.

[อ่านภาษาไทย คลิกที่นี่เลยครับ]

At this point, all Asian Basketball fans should know about the FIBA player eligibility rule known as the “Hagop Rule” (which I briefly explained here). If you’re too lazy to look it up, here you go:

A national team participating in a Competition of FIBA may have only one player on its team who has acquired the legal nationality of that country by naturalisation or by any other means after having reached the age of sixteen (16).

Initially, this meant that Goldstein and Lamb would not be able to be on the same Thailand National Team “in a Competition of FIBA“.

The key phrase here is “in a Competition of FIBA” (if I had not made it clear enough by italicising and putting it in bold). Thailand didn’t have any complications with players of dual nationalities in the SEABA Championship 2017 (a Competition of FIBA) because they knew that those rules would be in place.

The South East Asian (SEA) Games, however, is different. Since the SEA Games is not entirely a basketball tournament (but more of a multi-sport tournament that just happens to have basketball), the rulings and regulations do not completely follow the FIBA rulebook.

And a that would give Thailand a chance to take advantage of a “loophole” (or so they thought).


The SEA Games committee sent out the technical rulebook for Basketball sometime May. After a quick flip though to page 29, you reach article 31 “Nationality of Competitor” which states:

“Only nationals of the country of the NOC shall be qualified to represent the NOC in the Games. All disputes relating to the determination of the country, which a competitor may represent in the SEA Games, shall be resolved by the Executive Committee in accordance with the Bye-Law to Rule 41 of the Olympic Charter (Nationality of Competitors).”

To condense all of that into simple terms:

  1. A person who has a nationality of a certain country can represent said country in the Games.
  2. Any conflicts are resolves by a committee that will refer to the Bye-Law to Rule 41 of the Olympic Charter.

I’m not going to copy the entire Bye-Law to Rule 41 here, but I’ve linked to the Olympic Charter 3 times already so you can go check it out yourselves. In summary, the rule mentions that if a person have two (or more) nationalities, he/she can represent any country he/she choose to. If said person represented a country once already in an NOC sanctioned competition, he/she can’t switch back to playing for other nations unless it has been after 3 years since he/she represented the former nation (let’s call it a three year residency rule). There are more details here and there, but that was the juicy bit.

And that was it. Those were the regulations concerning player eligibility that Thailand had received for their consideration.

Neither Tyler Lamb nor Freddie Goldstein had played in an NOC competition before for the United States of America, so the Thailand Basketball management must have felt it was worth a shot to collect all necessary documents and push forward.


They were hopeful. The two Thai-American players were hopeful, having posted on their social media accounts that they would be representing Thailand.

was hopeful.

The rules were set in place and Thailand were going by the rules. What could go wrong?

Not long after Thailand finalized their roster than included Lamb and Goldstein to the hosts of the tournament, they received an email from the Technical Delegate of the tournament. The email referred to the FIBA eligibility regulations and requested Thailand to provide them with sufficient documentation in order to clear both Lamb/Goldstein to play.

Since both Lamb and Goldstein had gotten their passports well after 16, the dream of having both player play for the Thailand National Team in the SEA Games (at least in this SEA Games) was shattered.


As much as I would love to point fingers at someone and rant, this situation was actually handled a lot better than it could have been.

Thailand fans could be blaming Malaysia and asking how they could do this and I understand the frustration. The eligibility ruling was different than from the start and to suddenly announce the change seemed a bit peculiar for sure. Couple that with situation back in SEA Games 2011 where the Philippines sent Chris Ellis, Cliff Hodge, and Greg Slaughter (unsure about their nationality situations) and the whole situation this year could look suspicious, if you choose to do so.

However, I think Thailand management already had expected the situation to pan out this way.

It seemed like more of a situation where Thailand saw an opportunity and took it, but wouldn’t be too devastated had it not gone according to plan. And it could have been much worse. Because they were notified in advance, the Thailand National Team were able to replace either Goldstein or Lamb with another player. The hosts were actually kind enough to give Thailand a chance to consider the nationality of their players and replace them beforehand.

It was certainly a much better situation than being notified only once the tournament started that they wouldn’t be able to play both Thai-Americans and waste a roster spot.


It hurts. The idea of seeing Thailand being able to field both Goldstein and Lamb in a National Team roster was fun while it lasted, but it’s not the end of the world. The other Thai players themselves are also highly-skilled and they will be a contender in the SEA Games nonetheless. At the very least, we’ll be seeing Lamb play in a Thailand jersey for the first time.

However, there are issues that can and possibly should be brought up in the future concerning this situation. Does the FIBA Player Eligibility rule help or hurt the basketball scene in South East Asia? There are solid cases to be made for either side of the discussion, but I don’t think the question has ever been seriously raised so far.

Do we need change or are we, as a basketball community, better off where we are now?


อ่านภาษาไทยต่อจากนี้เลยครับ


การประกาศรายชื่อผู้เล่น 16 คน คัดเลือกทีมบาสเกตบอลชายทีมชาติไทย เป็นไปอย่างน่าตื่นเต้นและน่าลุ้น ด้วยการที่มีทั้ง ไทเลอร์ แลมป์ และ เฟรดดี้ โกล์ดสตีน สองลูกครึ่งมากฝีมือที่วาดลวดลายในวงการบาสไทยมาหลายปี ในตอนนั้นก็ได้แต่จินตนาการไปว่า ในที่สุด เราจะได้เห็นทั้งสองคนนี้ เล่นในชุดทีมชาติไทยแล้วหรือ?!

ผลสุดท้ายแล้ว ก็คงพอได้อ่านข่าวกันมาแล้วบ้างว่า ทีมชาติไทยจะส่งชื่อได้แค่คนเดียวเท่านั้น… และบทความนี้ ก็เขียนขึ้นมา เพื่อตีประเด็นให้กระจ่างขึ้นมาหน่อย

[For English, read here]

คิดว่าตอนนี้ แฟนๆ บาสเอเชียส่วนใหญ่คงพอรู้จักกฏจำกัดสถานภาพของนักกีฬาที่เรียกกันว่า “กฏฮากอป” (ซึ่งผมเคยได้อธิบายสั้นๆ ไว้ ที่นี้). ถ้าขี้เกียจไปหาอ่านที่อื่นก็…ก็อปมาให้ตามนี้:

ทีมประจำชาติที่จะลงแข่งขันในรายการแข่งขันของ FIBA นั้น จะมีสิทธิเรียกผู้เล่นที่ได้รับสัญชาติอย่างถูกต้องตามกฏหมาย ไม่ว่าจะด้วยการโอนสัญชาติ หรือ วิธีการอื่นๆ หลังจากอายุสิบหก (16) ปี ได้เพียง 1 คนเท่านั้น

ในระดับเบื้องต้นนี้ ก็แปลว่า โกล์ดสตีน และ แลมป์ ต่างก็ไม่สามารถที่จะเล่นทีมชาติไทยชุดเดียวกันได้… “ในรายการแข่งขันของ FIBA

ข้อความสำคัญตรงนี้คือ “ในรายการแข่งขันของ FIBA” (เผื่อไม่เข้าใจว่าทำไมต้องทำทั้งตัวเอียงและตัวหนา) ตรงนี้ ทีมชาติไทยไม่มีปัญหาเรื่องผู้เล่นสองสัญชาติในรายการ SEABA Championship 2017 ที่เป็นรายการแข่งขันของ FIBA เพราะรู้ว่ามีกฏตรงนี้คุมอยู่

แต่ประเด็นอยู่ที่ว่า การแข่งขัน SEA Games นั้นใช้กฏต่างกัน ด้วยความที่ SEA Games เป็นรายการแข่งขันที่แข่งขันกันหลายกีฬา ไม่ได้เฉพาะเจาะจงแต่บาส กฏและเงื่อนไขในการแข่งขันต่างๆ จึงไม่ได้ขึ้นโดยตรงกับหนังสือกฏของ FIBA นั่นเอง

และตรงนี้ ก็ทำให้ ทีมชาติไทย มองหามุมที่ใช้ความได้เปรียบจากกฏที่ต่างกันออกไป


เมื่อราวๆ ช่วงเดือนพฤษภาคมนั้น คณะกรรมการจัดการแข่งขัน SEA Games ได้ส่งหนังสือกฏและเงื่อนไขการแข่งขันของกีฬาบาสเกตบอลมาให้สมาคมบาสเกตบอลแห่งประเทศไทย ถ้าหากได้พลิกไปหน้าที่ 29 ก็จะเจอรายการที่ 31 ว่าด้วยเรื่อง “สัญชาติของผู้เข้าร่วมแข่งขัน” ซึ่งแปลได้คร่าวๆ ว่า

“เฉพาะผู้ที่มีสัญชาติของทีมชาตินั้นๆ จะสามารถเป็นตัวแทนของชาตินั้นๆ ในการแข่งขันได้ ข้อขัดแย้งต่างๆ ว่าด้วยเรื่องนี้ จะมีการพิจารณาโดนคณะกรรมการโดยอ้างอิงกฏ Bye-Law to Rule 41 ของกฏบัตรโอลิมิก (สัญชาติของผู้เข้าร่วมแข่งขัน.”

 

แน่นอนว่า ผมขี้เกียจลอกและแปลกฏ Bye-Law to Rule 41 มาทั้งหมดให้อ่าน แต่ถ้าใครอยากรู้รายละเอียดก็สามารถตามไปอ่านได้ใน link ที่ใส่ไว้ แต่ถ้าจะให้สรุปสั้นๆ ตัวกฏในกฏบัตรโอลิมปิกนั้น กล่าวว่า บุคคลที่มีสองสัญชาติ สามารถลงแข่งขันให้ชาติใดก็ได้ เพียงแต่ หากเข้าร่วมแข่งขันเป็นตัวแทนชาติใดชาติหนึ่งแล้ว และอยากไปลงแข่งขันให้กับอีกชาติหนึ่ง ผู้เล่นคนนั้น จะต้องทิ้งช่วงห่างๆ 3 ปีจากที่เคยเล่นให้กับอีกชาติหนึ่งก่อนหน้านั้น
ซึ่งในกฏมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกเล็กน้อย แต่ ส่วนที่สำคัญคือตรงนี้

แล้วก็มีแค่นั้นแหละ นั้นคือกฏเกณฑ์ในการส่งรายชื่อผู้เล่นทั้งหมดที่ทีมชาติไทยได้รับมาเพื่อพิจารณา

ทั้งไทเลอร์ แลมป์ และ เฟรดดี้ โกล์ดสตีน ต่างก็ไม่เคยลงเล่นให้กับทีมชาติสหรัฐอเมริกามาก่อนในรายการแข่งขันที่อุปถัมป์โดยสมาคมโอลิมปิก เพราะฉะนั้น จึงไม่น่ามีความยุ่งยากอะไร และตรงนี้ที่ทำให้ฝ่ายจัดการทีมชาติไทยออกดำเนินการเตรียมเอกสารทั้งหมดเพื่อส่งรายชื่อทั้งสองคนเล่นในนามทีมชาติไทยใน SEA Games ครั้งนี้


ทุกคนต่างก็ดูมีความหวังกันหมด ผู้เล่นทั้งสองคนก็มีความหวัง และมีการโพสในโซเชียลมีเดียของตัวเองว่า พร้อมที่รับใช้ชาติในการแข่งขัน SEA Games ครั้งนี้

แม้แต่ตัวผมเองก็ยังมีความหวัง

กฏต่างๆ ที่วางมา ก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร และ ทางทีมชาติไทยก็ทำตามกฏททุกอย่าง มันจะมีอะไรผิดพลาดได้เล่า!

ไม่นานนัก หลังจากที่ทีมชาติไทยได้สรุปรายชื่อผู้เล่น 12 คน (ที่รวมทั้งโกล์ดสตีน และ แลมป์) พวกเขาก็ได้รับอีเมลล์จากทางคณะกรรมการทางเทคนิคของกลุ่มผู้จัดการแข่งขัน ในตัวอีเมลล์มีเนื้อหาว่าอ้างอิงกฏเงื่อนไขสัญชาติของผู้เล่นตามหนังสือกฏของ FIBA และ ขอให้ทางทีมชาติไทยส่งเอกสารหลักฐานไปให้เพื่อให้พิจารณาทั้ง แลมป์ และ โกล์ดสตีน ให้ลงเล่นได้ ตามกฏของ FIBA

แต่ทั้งนี้ เนื่องจากทั้ง แลมป์ และ โกล์ดสตีน ต่างก็ได้พาสพอร์ต หลังจากอายุ 16 ทั้งคู่ ความฝันที่จะได้เห็นทั้งสองคนเล่นในนามทีมชาติไทย (อย่างน้อยๆ ก็ในรายการ SEA Games ครั้งนี้) ก็ต้องดับลงไป


ตัวผมเอง ก็อยากลุกชี้ไปที่ใครซักแล้วบอกว่า “เฮ้ย มึงอะ ผิด” แต่ถ้าได้ลองสงบสติอารมณ์แล้วมองดูแล้ว สถานการณ์ทั้งหมดนี้ มันก็ได้ถูกจัดการให้ออกมาในรูปแบบที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้วแหละ

แฟนๆ บาสชาวไทย อาจจะกำลังด่า เจ้าภาพ (มาเลเซีย) อยู่ พร้อมบ่นว่า เปลี่ยนกฏกันกระทันหันแบบนี้ ได้อย่างไร ซึ่งความหงุดหงิดตรงนี้ ผมก็เข้าใจนะ กฏเรื่องเงื่อนการส่งรายชื่อที่บอกไว้ตอนแรก กับที่กำลังบอกอยู่ตอนนี้ มันต่างๆ กัน และการที่มาเปลี่ยนอย่างกระทันหันทันด่วนมันยิ่งทำให้น่าสงสัย แล้วไหนจะรวมไปถึงเหตุการณณ์ SEA Games 2011 ที่ทีมชาติฟิลิปปินส์เคยส่งทั้ง คริส เอลลิส, คลิฟ ฮอดจ์, และ เกร็ก สลอเตอร์ มาแข่ง ซึ่งสถานะทางสัญชาติของทั้งสามคนก็ไม่แน่นอนเท่าไหร่
ก็ต้องบอกตรงๆ ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ มันก็ดูไม่ชอบมาพากล… ถ้าเลือกที่จะมองแบบนั้น

แต่อย่างไรก็ตาม ผมว่า กลุ่มจัดการทีมชาติไทย ก็มีเผื่อใจไว้ส่วนหนึ่งอยู่แล้วว่า สถานการณ์มันก็จะออกมาแบบนี้

ทั้งหมดนี้ มันเหมือนว่า ทีมชาติไทยมองเห็นโอกาสเล็กๆ และก็พยายามเสี่ยงในการคว้าโอกาสดู แต่ ถ้าหากมันไม่เป็นไปตามแผน ก็คงไม่ผิดหวังกันมาก
พูดกันตรงๆ ว่า สถานการณ์นี้ มันอาจจะแย่ยิ่งกว่านี้ก็เป็นไปได้ ต้องบอกว่าทางเจ้าภาพเองก็ใจดีพอสมควร ที่มีการส่งเตือนให้พิจารณาเรื่องสถานภาพของผู้เล่นก่อน จะได้มีโอกาสเปลี่ยนตัวผู้เล่นได้

ซึ่งตรงนี้ แน่นอนว่า มันเป็นสถานการณ์ที่ดีกว่าการที่เริ่มต้นการแข่งขัน SEA Games ไปแล้ว โดยที่พบว่า สามารถใช้ผู้เล่นลูกครึ่งไทยได้คนเดียว และต้องเสียตำแหน่งนักกีฬาไปเปล่าๆ 1 คน


ต้องบอกตรงๆ ว่ามันก็มีความรู้สึกที่เจ็บปวดอยู่ ภาพที่วาดไว้ว่าทีมชาติไทยจะได้ใช้ทั้ง โกล์ดสตีน และ แลมป์ ก็เป็นภาพที่สวยงามชวนฝันดี แต่ก็ไม่ใช่ว่า ทุกอย่างจะจบสิ้นมอดมลายลงไป ผู้เล่นทีมชาติไทยทุกคน ต่างก็มีฝีมือ และระดับการเล่นสูงๆ ทั้งนั้น สมกับฐานะที่เป็นตัวเต็งใน SEA Games ไม่ว่าจะมี แลมป์/โกล์ดสตีน/มอร์แกน ก็ตาม และอย่างน้อยๆ ในครั้งนี้ เราจะได้เห็น ไทเลอร์ แลมป์ ใส่เสื้อทีมชาติไทยเป็นครั้งแรก

จากเหตุการณ์ครั้งนี้ ผมว่ามันมีประเด็นที่เราต้องลองยกขึ้นมาพิจารณากัน สิ่งที่สำคัญที่ต้องถามคือ กฏเงื่อนไขผู้เล่นของ FIBA (ว่าด้วยเรื่องการได้เอกสารยืนยันสัญชาติก่อนอายุ 16 ปี) มันส่งเสริม หรือ ฉุดรั้งวงการบาสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือไม่อย่างไร? ไม่ว่าจะมองจากมุมไหน ก็มีเหตุผลที่สนับสนุนได้ดีทั้งสองด้าน… เพียงแต่ว่า ผมว่ามันใกล้จะถึงเวลาที่ต้องถามคำถามนี้อย่างจริงๆ จังๆ ซักที

Cover Photos: Onvisa Thewphaingarm (ASEAN Basketball League)

Advertisement

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.