With the Philippines sending their proclaimed “A Team”, can the Thais still keep close?
[อ่านภาษาไทย คลิกที่นี่เลยครับ]
You’ve probably all heard about, read about, or actually saw the Thailand National Team and their close encounters with the elusive win over the Philippines in an international set. It’s been replayed over and over again leading up to the SEABA Championship 2017 and Thailand’s development has been cited as one of the reasons why the Philippines decided that maybe they should just send their best players to the SEABA tournament this time. No point in risking that turn from “close wins” to “being upset”.
In a way, the concern was understandable even if Thailand might still be a step or two away. The National Team had legit solid choices for using up that “Naturalized Player” quota in Tyler Lamb, Moses Morgan, and Freddie Goldstein (Thai-Americans who secured their passports after the age of 16). They had unearthed a once-in-a-generation talent in Justin Bassey, who led the U18 National Team over Batang Gilas U18.
The Thai locals in the TBL were getting confident and taking on bigger roles as well.
Maybe… just maybe, this could be the year that someone pulled off the ultimate upset.
Thailand National Team Roster
Mixed emotions.
On one hand, this is a young, long-limbed squad that should be a great core to hold on to and keep building on.
On the other hand, there are too many notable names that are left out for what ever reason. After getting Moses Morgan to play in the Super Kung Sheung Cup back in December 2016, Thailand are back to not having a “Naturalized Player” again.
I don’t mean to say that it’s the end of the world for not using Lamb/Morgan/Goldstein, but it does feel like a bit of a waste. To have a talent pool like that to tap, but not tapping it feels a bit… weird.
Whatever the case, mixed emotions aside this is still a really solid team. Let’s break it down:
(stats are from the TBL 2016/TBSL 2017)
GUARDS:
Nattakarn Meungboon (Mono Thewphaingarm):
TBSL 2017 >> 28.3 MPG, 9.4 PPG, 3.2 APG, 35.4 3P%
TBL 2016 >> 33.7 MPG, 10.9 PPG, 5.1 RPG, 2.5 APG
Kannut Samerjai (Mono Vampires)
TBSL 2017 >> 17.2 MPG, 7.2 PPG, 1.6 APG, 41.8 3P%
TBL 2016 >> 27.7 MPG, 10.7 PPG, 3.7 RPG, 2.8 APG
Sorot Sunthornsiri (Mono Vampires)
TBSL 2017 >> 11.6 MPG, 3.6 PPG, 1.4 APG, 32.1 3P%
TBL 2016 >> 16.8 MPG, 4.2 PPG, 2.5 RPG, 1.6 APG
There was absolutely no doubt whether Meungboon or Samerjai would make the squad. The two have been locks to make the National Team since making the squad in SEA Games 2015 and have kept on improving since.

Samerjai (29) enjoyed a breakout campaign in the ASEAN Basketball League in the Mono Vampires debut and lone season in the regional league. He score a modest 7.5 points in 16.6 minutes that season but shined in long range shooting (38.7 3P%) as well as his creativity in creating offence for the team. Samerjai has a knack for hitting big shots and he’s never been afraid to shy away from those shots as well.

Overshadowed by Samerjai on that Mono Vampires team was Nattakarn Meungboon (26), by fault of the system more than his own skill level. Meungboon seemed to never fit in with the Vampires and eventually transferred back to Mono-Thewphaingarm, his original club. At Thewphaingarm, Meungboon became the main man of the team. Meungboon consistently logs huge minutes for his team and that should help out a lot in transitioning to a role on the national team that will need him on the court for long periods.
Rounding up the guard slot is Sorot Sunthornsiri, edging out other leading candidates Gunthapong Korsah-Dick and Bandit Lakhan.

Sunthornsiri (24) is speedy and he’s considerably big for a guard. He fits well in a system that wants to push the tempo as well as passing off penetrations. His long range shooting (though improving) is still not threatening, and that’s why he’s been buried behind Samerjai and Jason Brickman in the Mono Vampire rotation.
WINGS:
Chitchai Ananti (Mono Vampires):
TBSL 2017 >> 17.4 MPG, 10.2 PPG, 2.6 RPG, 40.6 FG%
TBL 2016 >> 24.4 MPG, 16.3 PPG, 3.5 RPG, 37.3 3P%
Patiphan Klahan (Hitech)
TBSL 2017 >> 13.6 MPG, 4.1 PPG, 3.4 RPG, 45.69 FG%
TBL 2016 >> 11.6 MPG, 6.2 PPG, 3.8 RPG, 33.3 3p%
Nagorn Jaisanuk (Hitech)
TBSL 2017 >> 19.1 MPG, 8.6 PPG, 2.5 APG, 36.2 3P%
TBL 2016 >> 22.1 MPG, 8.3 PPG, 2.4 RPG, 27.0 3p%
Wuttipong Dasom (Hitech)
TBSL 2017 >> 16.1 MPG, 10.0 PPG, 2.1 APG, 53.0 FG%
TBL 2016 >> 22.9 MPG, 12.1 PPG, 4.4 RPG, 1.2 APG
Narathip Boonserm (Mono Vampires)
TBSL 2017 >> 5.6 MPG, 2.1 PPG, 1.9 RPG
TBL 2016 >> 11.6 MPG, 2.2 PPG, 1.8 RPG
Anurak Lodliang (Mono Vampires)
TBSL 2017 >> 6.7 MPG, 4.0 PPG, 1.0 RPG
TBL 2016 >> 8.0 MPG, 3.0 PPG, 3.6 RPG
It’s still left to be seen if this collection of wings can be as talented and multi-dimensional as the SEA Games 2015 team (and I really liked that team at the forward position). Whatever the case, highly skilled or not, this forward crop will be one of the longest ever. Coach Tim Lewis has approached this team and tried to implement a “Philadelphia 76ers” approach of corralling long-limbed prospects with tremendous upside and grooming them to fulfil their potential. Whether #TrustingTheProcess will be worth it or not… we’ll have to wait and see.
Two players primed to star for the team are Chitchai Ananti and Patiphan Klahan.

Ananti has rapidly gone from unknown scorer on a bad team to National Team superstar in a such a short span that it’s still unbelievable. The 26-year-old wasn’t on the FIBA Asia Challenge team squad (due to personal reasons) but he was their lead scoring option in SEABA Stankovic, a role which he should resume to take here in SEABA Championship.

Klahan (the younger Klahan) was on the FIBA Asia Challenge team and he was the one who shouldered the scoring load of the team with 10.2 PPG. His combination of length and agility makes him a player which “can be a Heritage Import in the ABL” if his potential is realized, as quoted from a well-respected coach.

The pair of shooting (Jaisanuk) and athleticism (Dasom) gives Coach Tim Lewis good options to use as his game plan changes. Jaisanuk is a very good catch-and-shoot long range bomber (if a bit streaky) while Dasom is great in the open court in transition.

Boonserm and Lodliang are still projects at this point, still trying to figure out their niche and what they should bring to the table. Lodliang seems to be edging closer to be a diving pick-and-roll setter with his leaping skills and quickness, while Boonserm still needs more time to figure out how he should be utilized.
The main intrigue on this group is that they are long (I keep saying that, huh?) and that they will be a mess to figure out on defense if Coach Tim Lewis can put them in a system that moves as a unit.
BIG MEN:
Teerawat Chantachon (Mono Vampires)
TBSL 2017 >> 8.9 MPG, 3.7 PPG, 2.0 RPG
TBL 2016 >> 18.0 MPG, 6.0 PPG, 4,0 RPG
Sukhdave Ghogar (Hitech)
TBSL 2017 >> 13.7 MPG, 4.1 PPG, 5.0 RPG
TBL 2016 >> 23.6 MPG, 3.9 PPG, 7.2 RPG
Chanachon Klahan (Mono Vampires)
TBSL 2017 >> 17.4 MPG, 4.0 PPG, 3.4 RPG
TBL 2016 >> 14.6 MPG, 3.8 PPG, 2.8 RPG
Developing big men talent has been a struggle in the ASEAN region, unless you get that rare talent (like Fajardo, Sitepu, or what Adhi Pratama and Delvin Goh could potentially be).

Ghogar was supposed to be that guy for Thailand and was groomed to be so since he was 18. He never panned out enough to be an offensive beast as planned, but he’s still managed to become a reliable big man who hustles, grabs boards, and does the dirty work. It seems like he’s much older since he’s been playing in the international scene for the most part of the decade now, but the 26-year-old can still improve and bring more value to his game. Ghogar has a nice stroke and could develop into a big stretch 4 instead of the post-up back-to-basket pivot man he was envisioned to be.

If Ghogar can expand his range to the three-point line, he will be a nice fit alongside Teerawat Chantachon. The 22-year-old has kept on improving since getting his first National Team cap in the SEA Games 2015. He’s ran into some injuries that have kept him from getting on to the court consistently, but he’s shown that he can be a force to be reckoned with as seen in the TBA Champions League.

Chanachon Klahan will not be physically imposing nor as athletic as Ghogar/Chantachon, but his value comes in as being the Captain of the team that will provide much needed leadership. Meungboon is not as vocal and Samerjai is more of a free spirit joker, so Coach Tim Lewis has decided to lean on Klahan’s outspoken leadership keep the team together.
Even though the three have their own valuable qualities, their size will be at a disadvantage for the Thailand National Team when they go up against Fajardo/Blatche/Aguilar/Almazan and Pratama/Sitepu/Indrawan. It will be up to Coach Lewis and the system once again to utilize the length of their forwards to help out in covering the zone.
Strength(s)
The Thais are good on the break and everyone on the team is used to pushing the tempo. With finishers like Ananti, Chantachon, Klahan (younger one), and Dasom waiting to pounce, it’ll be hard to stop them once they get a running start. Meungboon, Samerjai, and Sunthornsiri are more than capable passers to feed those streaking forwards.
With their speed and length, Thailand should also be a good full/half court trap defensive team. Coach Tim Lewis preaches defense as his first priority (something that held true in SEABA Stankovic 2016) and that should hold up for the team up to a certain level.
Weakness(es)
Their tune-up pocket tournament exposed Thailand of their weaknesses and they will not have much time to cover it up or adjust.
Against the Mono Vampires, they struggled to slow down Anthony McClain. Ghogar and Chantachon are big, but they will be going up against contenders with bigger players. It’ll be up to the perimeter defence to make the entry passes tough.
Against the Taiwanese team Triotek, Thailand nearly got upset because they had trouble controlling the ball. They committed a total of 17 turnovers by careless dribbling, risky passes, stopping the dribble too early, among others. Triotek exposed that if teams rushed the Thai forwards, they could force the ball out relatively easily. To be fair, it was only evidence from one game and might be an outlier, but it’s not a good sign heading into a tournament that will be filled with pesky perimeter defenders.
Best Case Scenario (as told in dramatic fashion)
Wuttipong Dasom has always looked forward to guarding Terrence Romeo and he was finally getting his shot in what seems to be the biggest game of his life.
Romeo is holding onto the ball with the clock ticking down and the Philippines down by one point. 15… 14… 13… 12… 11… and he starts inhaling a deep breath. Dasom sees this and shifts his weight to the tip of his toes in order to be ready for inevitable full force attack Romeo is about to being burst at him.
And he does. Romeo goes strong to his right and dips his shoulder. Dasom reads the movement and goes the right direction. Romeo counters with a lighting quick crossover to left and even though Dasom saw it coming, he couldn’t physically react in time to keep up with his thoughts.
Romeo gets the advantage half step ahead and starts to gather. ONE. TWO. JUMP…
Dasom is still a step behind, but he’s still within range and gathers for the block attempt in harmony with his target. ONE. TWO. JUMP…
Romeo reaches out his arm to avoid Dasom’s extended block attempt. And he does! But the adjustment throws his shot off-course… and it rolls out of the rim ever so slightly.
Dasom lands on the floor, oblivious of what just happened. He turns around to see his team mates flocking to mob him as they celebrate their victory as they virtually clinch the SEABA Championship title.
(a man can dream)
Worst Case Scenario (as told in dramatic fashion)
Klahan can’t believe it.
He remembers the pain from SEA Games 2015. They failed to beat Singapore in the group stages to avoid meeting the Philippines and they failed to beat them a second straight time for the Bronze medal. Him, Dasom, Samerjai, Meungboon, Chantachon, and Ghogar all remember how much it hurt.
This final game in SEABA 2017 against Singapore didn’t bear much meaning – the Philippines were the champions anyways and only one quota was allowed to qualify for the FIBA AsiaCup. Still… they wanted this. They wanted this revenge on this certain Singapore National Team.
Klahan looks up from the bench as the clock winds down with the ball in hands of Wong Wei Long, who played poorly all game long until a 4th quarter outburst. Singapore had a 11 point lead and with only 12 seconds left, it was easier to just let the clock run down to the end.
This game didn’t mean much in technical terms, but it was the one game they wanted badly. And that’s why it hurt so much.
Overview
Get over the fact that maybe Thailand had a few cards up their sleeves that they didn’t pull out. This is still going to be a solid team nonetheless. They have the length, they have the skill, and they have the experience to be considered in the top group in the region.
It might not be realistic to say they can pull an upset over the Philippines, but they have the potential to causing a scare at the very least.
Check out other #SEABA2017 previews here:
Philippines
Indonesia
Singapore
Malaysia
Vietnam
Myanmar
อ่านภาษาไทยต่อจากนี้เลยครับ
เกือบแล้ว… สำหรับสองรายการแข่งขันระดับนานาชาติ ต้องเรียกว่าทีมชาติไทยก้าวไปจนถึงคำว่า “เกือบ” มาตลอดสองรายการ แต่ก็ยังก้าวข้ามไม่พ้นซักที
แล้วยิ่งพอทีมชาติฟิลิปปินส์ส่งผู้เล่นที่เรียกได้ว่า “ทีม A” มาในรายการนี้… ทีมชาติไทย ยังจะก้าวตามทันอยู่ไหม?
ป่านนี้ ก็คงได้ยินมาซ้ำแล้วซ้ำเล่า กับ เรื่องราวการปะทะกันของทีมชาติไทยกับทีมชาติฟิลิปปินส์ในสองปีที่ผ่านมา ที่เรียกได้ว่าเข้าใกล้เป้าหมายจองหลายๆ ทีมใน ASEAN กับการล้มยักษ์ใหญ่อย่างพี่ปินส์ในศึกนานาขาติ ผลการแข่งขันที่สูสีถูกย้ำวนไปวนมาในการเกริ่นสำหรับรายการชิงแชมป์ SEABA 2017 และ การพัฒนาอย่างต่อเนื่องของทีมชาติไทยเป็นเหตุผลที่คนส่วนหนึ่ง เชื่อว่าเป็นสิ่งที่ผลักดันให้ทีมชาติฟิลิปปินส์รู้สึกว่า ต้องส่งผู้เล่นชุดใหญ่ลงสนามซักที
อาจจะเป็นความรู้สึกประมาณว่า ไม่รู้จะไปเสี่ยงทำไม ไม่รู้ทำไมต้องเจ็บปวดจากความพ่ายก่อนถึงจะต้องมีความเปลี่ยนแปลง
แต่จริงๆ แล้วก็พอเข้าใจในสิ่งที่ทางฟิลิปปินส์เขากังวัลกันนะ ถึงแม้ว่า ตามความจริงบาสไทยยังตามอยู่ประมาณหนึ่งหรือสองก้าวเต็มๆ ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ได้มีการเพิ่มระดับฝีมือของนักบาสไทยอย่างก้าวกระโดด จากการนำเข้าลูกครึ่งไทย ไทเลอร์ แลมป์/โมเสส มอร์แกน/เฟรดดี้ โกล์ดสตีน (ที่ลงเล่นทีมชาติได้เพียง 1 คนในฐานะผู้เล่นโอนสัญชาติ) นอกจากนี้ ยังไปขุดเจอเพชรเม็ดงาม จัสติน แบสซี่ ที่พาทีมชาติไทยชุด U18 เอาชนะทีมชาติฟิลิปปินส์ชุด U18 มาแล้ว
บรรดาผู้เล่นคนไทยเองก็พัฒนาขึ้นมามาก จากโอกาสที่ได้รับเพิ่มมากขึ้นในรายการแข่งขันต่างๆ
เฮ้ย หรือว่า บางที… ปีนี้… มันอาจจะถึงเวลาแล้ว ที่จะมีคนโค่นบัลลัง?
รายชื่อผู้เล่นทีมชาติไทย
ตัดสินใจไม่ถูกเหมือนกันแฮะ ว่าจะรู้สึกยังไงบ้าง
มองในมุมหนึ่ง ทีมนี้ เป็นทีมที่ยังวัยสะรุ่น แขนขายืดยาว น่าจะเป็นแกนหลักที่ดีที่จะเสริมสร้างต่อไปด้วยกันเรื่อยๆ
แต่ในอีกมุมหนึ่ง… ก็มีอีกหลายคนที่ผมรู้สึกเหมือน ถูกมองข้ามไป หรือ ไม่ได้มีส่วนร่วมกับทีม ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม
หลังจากที่ โมเสส มอร์แกน ลงเล่นให้ทีมชาติไทยใน กังเซียนคัพ ที่ฮ่องกงเมื่อ ธันวาคม 2016 ทีมชาติไทยก็กลับมาไม่ใช้งานลูกครึ่งในโควตา “โอนสัญชาติ” อีกแล้วในรายการนี้
แต่ก็ไม่ใช่ว่า ไม่มี แลมป์/มอร์แกน/โกล์ดสตีน แล้วทีมชาติจะล่มจมชิบหายวายวอด แน่นอนว่า มันต้องอยู่รอดต่อไปได้แหละ เพียงแค่รู้สึกเสียดายเล็กน้อยที่มีชุดผู้เล่นชุดนี้ให้เลือกสรร… แต่ก็ยังไม่ได้ใช้งานอย่างเต็มที่เท่าไหร่
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ไม่ว่าความรู้สึกของผมกับทีมนี้ จะสับสนอย่างไร ก็ต้องยอมรับว่า ทีมนี้ ก็เป็นทีมที่แข็งพอสมควร มาลองตีแผ่วิเคราะห์หน่อยดีกว่า:
(สถิติทั้งหมดที่อ้างอิงนี้มาจาก TBL 2016/TBSL 2017)
การ์ด:
“อาร์ม” ณัฐกานต์ เมืองบุญ (โมโน ทิวไผ่งาม):
TBSL 2017 >> 28.3 MPG, 9.4 PPG, 3.2 APG, 35.4 3P%
TBL 2016 >> 33.7 MPG, 10.9 PPG, 5.1 RPG, 2.5 APG
“บาส” กานต์ณัฐ เสมอใจ (โมโน แวมไพร์)
TBSL 2017 >> 17.2 MPG, 7.2 PPG, 1.6 APG, 41.8 3P%
TBL 2016 >> 27.7 MPG, 10.7 PPG, 3.7 RPG, 2.8 APG
“โส” โสฬส สุนทรศิริ(โมโน แวมไพร์)
TBSL 2017 >> 11.6 MPG, 3.6 PPG, 1.4 APG, 32.1 3P%
TBL 2016 >> 16.8 MPG, 4.2 PPG, 2.5 RPG, 1.6 APG
แน่นอนอยู่แล้วว่า กานต์ณัฐ กับ ณัฐกานต์ ต้องติดทีมชาติชุดนี้ ตั้งแต่โชว์ผลงานติดทีมชาติมาในรายการ SEA Games 2015 ทั้งสองคนก็พัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว จนถือเป็นผู้เล่นที่ทีมชาติขาดไม่ได้

ทางด้าน กานต์ณัฐ การ์ดวัย 29 ปี นั้น เหมือนว่าจะแจ้งเกิดเป็นซุปเปอร์สตาร์ ใน ABL กับ โมโน แวมไพร์ ซึ่งสถิติการทำแต้ม 7.5 แต้มจากการลงเล่น 16.6 นาที อาจจะดูไม่มากเท่าไหร่ แต่เขายิงระยะไกลได้อย่างโดดเด่น (38.7 3P%) อีกทั้งยังแสดงทักษะในการสร้างสรรค์เกมรุกได้อย่างหลากหลาย
นอกจากนี้ เขายังเป็นคนที่มีความมั่นใจจะยิงลูกชี้เป็นชี้ตาย และ ยิงลงได้บ่อยๆ อีกด้วย

ในทีมโมโน แวมไพร์ นั้น กานต์ณัฐ ถือว่าเป้นตัวชูโรง จึงทำให้ ณัฐกานต์ (26 ปี) ดูไม่ค่อยโดดเด่นเท่าไหร่ ซึ่งเป็นผลของระบบทีมมากกว่าระดับฝีมือของตัวเขาเอง
ตั้งแต่ย้ายไป โมโน แวมไพร์ ก็ดูเหมือนว่า ณัฐกานต์ จะไม่ค่อยลงร่องลงรอยเท่าไหร่นัก และได้ย้ายกลับไป โมโน-ทิวไผ่งามในที่สุด พอย้ายกลับมา บทบาทของ ณัฐกานต์ ก็พลิกมาเป็นตัวแบกทีมไปในทันที ซึ่งการที่เขาได้ลงเล่นนานๆ และ แบกรับภาระอันหนักอึ้งมาตลอด น่าจะทำให้เขาปรับเปลี่ยนไปเป็นแกนนำของทีมชาติได้ง่ายที่สุดในบรรดาทุกคน
และปิดท้ายกันด้วยการ์ดคนที่สาม โสฬส ซึ่งเบียดตำแหน่งสุดท้ายจาก โทนี่ กันตพงษ์ คอร์ซ่า-ดิค และ พีม บัณฑิต หลักหาญ อย่างฉิวเฉียด

หนุ่มเท้าไฟวัน 24 ปีคนนี้ นอกจากจะมีความเร็วเป็นอาวุธแล้ว ถือว่า ยังมีส่วนสูงที่สูงกว่าการ์ดทั่วไปอีกด้วย เขาเข้ากันได้ดีกับระบบที่ดันจังหวะเร็วเสมอ อีกทั้งเน้นจังหวะการข้ามแล้วจ่ายตัวสอด
โส พัฒนาเราการยิงมามากพอสมควร แต่ก็ยังไม่ใช่อาวุธที่จะสร้างความน่ากลัวเท่าไหร่นัก เขาจึงยังไม่สามารถเบียดแย่งเวลาในการลงเล่นจาก กานต์ณัฐ และ เจสัน บรินแมน มากนัก เวลาลงเล่นในทีม โมโน แวมไพร์
ปีก:
“เป้” ชิตชัย อนันติ (โมโน แวมไพร์):
TBSL 2017 >> 17.4 MPG, 10.2 PPG, 2.6 RPG, 40.6 FG%
TBL 2016 >> 24.4 MPG, 16.3 PPG, 3.5 RPG, 37.3 3P%
“ปาล์ม” ปฏิภาณ กล้าหาญ (ไฮเทค)
TBSL 2017 >> 13.6 MPG, 4.1 PPG, 3.4 RPG, 45.69 FG%
TBL 2016 >> 11.6 MPG, 6.2 PPG, 3.8 RPG, 33.3 3p%
“หรั่ง” ณกรณ์ ใจสนุก (ไฮเทค)
TBSL 2017 >> 19.1 MPG, 8.6 PPG, 2.5 APG, 36.2 3P%
TBL 2016 >> 22.1 MPG, 8.3 PPG, 2.4 RPG, 27.0 3p%
“รูเบน” วุฒิพงษ์ ดาโสม (ไฮเทค)
TBSL 2017 >> 16.1 MPG, 10.0 PPG, 2.1 APG, 53.0 FG%
TBL 2016 >> 22.9 MPG, 12.1 PPG, 4.4 RPG, 1.2 APG
“ต้น” นราธิป บุญเสริม (โมโน แวมไพร์)
TBSL 2017 >> 5.6 MPG, 2.1 PPG, 1.9 RPG
TBL 2016 >> 11.6 MPG, 2.2 PPG, 1.8 RPG
“ทอป” อนุรักษ์ รอดเลี้ยง (โมโน แวมไพร์)
TBSL 2017 >> 6.7 MPG, 4.0 PPG, 1.0 RPG
TBL 2016 >> 8.0 MPG, 3.0 PPG, 3.6 RPG
ต้องรอดูกันต่อไปว่าชุดตัวผู้เล่นในตำแหน่งปีกของผู้เล่นชุดนี้ จะสู้ชุดผู้เล่นปีกจาก SEA Games 2015 ได้รึเปล่า (ให้ตายเหอะ ชอบผู้เล่นชุดปีกชุดนั้นชิบหาย) แต่ไม่ว่าจะความสามารถสู้ได้หรือไม่ได้… ยังไงซะนี่ก็น่าจะเป็นผู้เล่นในตำแหน่งปีกชุดที่ “ยาว” มากที่สุดเท่าที่เคยเห็นจริงๆ
ดูเหมือนว่า โค้ช ทิม ลูอิส จะใช้ปรัชญาการทำทีมแบบ ฟิลาเดลเฟีย เซเวนตี้ซิกเซอร์ ในการรวมผู้เล่นที่แขนขายาวมากองๆ กันไว้ก่อน แล้วค่อยๆ พัฒนาฝีมือให้เต็บศักยภาพ
ต้องติดตามกันต่อไปว่า ไอ้ระบบปรัญชา นี้มันจะมีประสิทธิภาพขนาดไหน… แต่จนกว่าจะถึงตอนนั้นก็ ต้องรอติดตามกันไปก่อน
สองผู้เล่นที่น่าจับตามองสำหรับทีมนี้ ก็คือสองปีก เป้ ชิตชัย กับ ปาล์ม ปฏิภาณ

สำหรับ เป้ ชิตชัย นั้น เขาก้าวขึ้นมาได้อย่างรวดเร็วจริงๆ จาก ปีกตัวทำแต้มที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักในรอบกว้าง จนมาเป็นดาวเด่นของทีมชาติ ภายในระยะเวลาไม่ถึง 2 ปี
เขาไม่ได้ลงเล่นในรายการ FIBA Asia Challenge แต่ก็กลับมาร่วมทีมอีกครั้งในรายการนี้ ซึ่งเขาจะเป็นตัวทำแต้มหลัก บทบาทเดิมที่รับไว้ในรายการ SEABA Stankovic Cup 2016

สำหรับ ปาล์ม นั้น ได้เล่นในทีมชุด FIBA Asia Challenge และเป็นตัวทำแต้มหลักของทีมนั้น โดยทำไป 10.2 แต้มต่อเกม ด้วยความสูง ความยาว และ ความคล่องตัวนั้น ทำให้มีโค้ชคนหนึ่งเคยกล่าวไว้ว่า เขามีศักยภาพที่จะเป็นผู้เล่นระดับ Heritage Import ใน ABL ได้เลย

การจับคู่ระหว่างการยิงไกลของ “หรั่ง” ณกรณ์ และ ศักยภาพทางร่างกายของ “รูเบน” วุฒิพงษ์ ทำให้โค้ชทิม ลูอิส มีตัวเลือกในการสร้างสรรค์เกมรุกได้หลากหลาย
ณกรณ์เป็นคนที่รับบอลแล้วยิงได้ดีมาก (อาจจะมีขึ้นๆ ลงๆ ตามประสามือปืน) ส่วน วุฒิพงษ์ ก็เป็นคนที่ออกตัววิ่งจบสกอร์เกมฟาสเบรกได้ดี

สุดท้ายแล้ว ก็มี “ต้น” นราธิป กับ “ทอป” อนุรักษ์ รอดเลี้ยง ที่อาจจะถือว่าเป็น โปรเจค ที่กำลังพัฒนา ของโค้ชทิม ในทีมชาติ เรื่องจากว่า ทั้งคู่ยังดูเหมือนว่า ยังหาตัวตนและบทบาทของตัวเองไม่เจอ
ดูเหมือนว่าอนุรักษ์จะเริ่มเข้าใกล้กับบทบาทของตัวเอง ในฐานะตัว Pick & Roll แบบพุ่งเข้าหาห่วง ด้วยความเร็ว ความคล่อง และ ศักยภาพในการกระโดด แต่สำหรับ นราธิป อาจจะยังต้องใช้เวลาเพิ่มเติมซักหน่อย ในการค้นหา และ เสริมจุดเด่นของตัวเอง
รู้ว่าพูดมาแล้วรอบแล้วแหละ แต่จะพูดอีกรอบ (จะทำไมละ ฮะะะะ) สิ่งที่ผมชอบเกี่ยวกับผู้เล่นชุดนี้ คือ มีความยาว เก้งก้าง น่าเกะกะมาก และถ้าจัดระบบมาให้ได้เต็มประสิทธิภาพ อาจจะใช้ความยาวนั้นเป็นประโยชน์ สร้างแนวรับที่โคตรน่ารำคาญ ก็ได้
วงใน:
“บิ๊ก” ธีรวัฒน์ จันทะจร (โมโน แวมไพร์)
TBSL 2017 >> 8.9 MPG, 3.7 PPG, 2.0 RPG
TBL 2016 >> 18.0 MPG, 6.0 PPG, 4,0 RPG
“เดฟ” สุขเดฟ โคเคอร์ (ไฮเทค)
TBSL 2017 >> 13.7 MPG, 4.1 PPG, 5.0 RPG
TBL 2016 >> 23.6 MPG, 3.9 PPG, 7.2 RPG
“สิงห์” ชนะชนม์ กล้าหาญ (โมโน แวมไพร์)
TBSL 2017 >> 17.4 MPG, 4.0 PPG, 3.4 RPG
TBL 2016 >> 14.6 MPG, 3.8 PPG, 2.8 RPG
การพัฒนาผู้เล่นในตำแหน่งวงใน ในภูมิภาค ASEAN นั้นทำได้ยากจริงๆ นอกจากว่าจะได้ผู้เล่นแบบสิบปีมีหนมา (อย่าง ฟาฮาร์โด, สิเตปู, เดลวิน โกห์ หรือ อาห์ดี ปราตามา)

จริงๆ แล้วสุขเดฟ ก็น่าจะเป็นผู้เล่นแบบนั้น และก็ถูกหมายปั้นในระบบทีมชาติมาตั้งแต่อายุ 18 ปี ถึงแม้ว่าเขาจะไม่สามารถเติมเต็มศักยภาพในเกมรุกได้ เท่าที่คาดการณ์กันไว้ แต่เขาก็ยังเป็นผู้เล่นวงในที่หวังพึ่งได้ในการเก็บรีบาวด์ ความฮึดในการตามเก็บบอล และ การคลุกคลีวงในกับคนตัวใหญ่กว่า
หลายๆ ครั้งที่ดูสุขเดฟ แล้วก็รู้สึกว่าเขาน่าจะแก่กว่าอายุ 26 ปีของเขา นั่นอาจจะเพราะว่า เห็นเขาเล่นมานานแล้วก็ได้ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า เขาไม่มีอะไรให้พัฒนาต่อแล้ว กลับกันต่างหาก ผมยังรู้สึกว่า สุขเดฟมีศักยภาพที่จะเป็นตัวพาวเวอร์ฟอร์เวิร์ดที่ยิงไกลได้ดี ไม่ใช่บทบาทตัวใหญ่แบบไถเข้าหาห่วง อย่างที่หลายๆ คนวาดฝันให้เขาเป็น

ซึ่ง ถ้าสุขเดฟ สามารถพัฒนาไปถึงจุดนั้นได้ จุดที่สามารถยิงไกลได้อย่างคงที่ เขาจะเป็นคู่วงในที่ดีกับ “บิ๊ก” ธีรวัฒน์ วัย 22 ปี ที่พัฒนาขึ้นมาอย่างรวดเร็วตลอดตั้งแต่ได้รับเลือกติดทีมชาติชุด SEA Games 2015
ที่ผ่านมาเขามีปัญหาอาการบาดเจ็บอิดออดบ้าง แต่ถึงขนาดนั้น เขาก็ยังแสดงผลงานได้ดี ยิ่งในรายการ TBA Champions League ที่ผ่านมาอีกด้วย

ส่วนของ “สิงห์” ชนะชนม์นั้น อาจจะไม่ได้ใหญ่ หรือ สปริงดีด อย่าง สุขเดฟ หรือ ธีรวัฒน์ แต่ คุณค่าของเขาที่คู่ควร คือการเป็น กัปตันของทีมชาติชุดนั้นที่ขาดไม่ได้
ผู้นำในสนามกับตำแหน่งการ์ด อย่าง ณัฐกานต์ ก็ยังไม่ใช่ผู้เล่นที่มีลักษณะของ “ผู้นำ” อย่างแรงกล้า และ กานต์ณัฐ ก็เป็นผู้เล่นที่เหมาะกับการล่องลอยอย่างอิสระเสรีมากกว่า
การที่ได้ ความเป็นผู้นำของ ชนะชนม์ มาเสริมทีม ก็จะช่วยให้ทีมนี้ มีความเหนียวแน่น มากขึ้น
ทั้งสามคน มีคุณสมบัติ ที่ขาดไม่ได้ของทีม คนละอย่างก็จริง แต่สิ่งที่ยังขาด ก็คือ ความ “ใหญ่” แบบเป้งๆ ซึ่งจะเป็นความเสียเปรียบแน่นอน ในจังหวะที่ต้องเจอกับ ฟาฮาร์โด/แบลทช์/อากีลาร์/อัลมาซาน ของฟิลิปปินส์ อีกทั้งมี ปราตามา/สิเตปู/อินดราวัน
ภาระก็มาตกที่โค้ช ลูอิส อีกครั้ง ว่าจะสร้างสรรค์ การใช้ความยาวของผู้เล่นปีกอย่างไรที่จะทดแทยความเสียเปรียบด้านความสูงตรงนี้
จุดแข็ง
สิ่งที่ทีมอื่นต้องกลัวทีมชาติไทย ก็คือ จังหวะการฟาสเบรก เพราะ ถือว่าผู้เล่นทุกคนชอบเล่นในจังหวะเร็วอยู่แล้ว ยิ่งมีตัวจบสกอร์ อย่าง เป้ ชิตชัย, บิ๊ก ธีรวัฒน์, ปาล์ม ปฏิภาณ, และ รูเบน วุฒิพงษ์ การที่จะหยุด 4 คนนี้ ในจังหวะที่เริ่มก้าวเพื่อเทคลอยตัวแล้วไม่ใช่เรื่องง่ายๆ
การ์ดทั้งสามตัวเองก็ชอบเล่นในจังหวะเร็ว และ ก็มีทักษะการจ่ายบอลที่ดีพอที่จะจ่ายบอลไปให้ถีงจุดหมาย
ด้วยความคล่องตัว และ ความยาว คาดว่า ทีมชาติไทยชุดนี้ น่าจะเป็นทีมที่ทำการป้องกันแบบ เพรส ได้ดี ทั้งครึ่งสนามและเต็มสนาม โค้ช ลูอิส เป็นโค้ชที่ชอบย้ำเรื่องความสำคัญของการป้องกัน (และมันก็ได้ผลใน SEABA Stankovic 2016) และตรงนี้ก็น่าจะสานต่อความเร็วได้อีกกับรายการนี้
จุดอ่อน
รายการอุ่นเครื่องที่ผ่านมา ทำให้เราได้เห็นจุดอ่อนของทีมชาติไทยสองจุดใหญ่ๆ และที่น่าเป็นห่วงคือ พวกเขาจะไม่มีเวลาในการเตรียมการแก้ไขเท่าไหร่นัก
ในเกมที่เจอกับ โมโน แวมไพร์ พวกเขาหยุด แอนโธนี่ แมคเคลน แทบไม่ได้เลย ซึ่งถึงแม้ว่า สุขเดฟ กับ ธีรวัฒน์จะตัวใหญ่ที่สุดในทีมก็จริง แต่พวกเขาจะต้องเจอกับ อินโด และ ฟิลิปปินส์ ที่วงในตัวใหญ่กว่าอีก
ก็อาจจะไปขึ้นอยู่กับการป้องกันของวงนอก ที่จะทำให้ส่งบอลเข้ามาข้างในให้ได้ยากที่สุด
สำหรับเกมที่เจอกับทีม ทรีโอเทค ทีมชาติไทยเกือบที่จะเสียท่าพลาดแพ้ เพราะคุมบอลไม่อยู่ พวกเขาทำ เทิร์นโอเวอร์ไปถึง 17 ครั้ง มีทั้งเลี้ยงบอลหลุด ทั้งจ่ายบอลเสี่ยง หลุดเลี้ยงลูกเร็วเกินไปจนโดนกดดัน และอื่นๆ ตรงนี้ ทางทรีโอเทก ได้ทำให้เห็นว่าการบีบบอลออกจากปีกของทีมชาติไทยทำให้เกมของทีมชาติไทยเดินยาก และเสียบอลง่ายอีกด้วย
แน่นอนว่า ในระดับ SEABA จะต้องเจอปีกที่กัดไม่ปล่อยน่ารำคาญไม่น้อยแน่นอน
สมมติฉากจบที่ดีที่สุด (เล่าแบบเว่อร์วังอลังการ)
รูเบน เคยวาดฝันไว้ว่า เขาจะได้ประมือกับ เทเรนส์ โรมีโอ… และตอนนั้น มันก็ไม่ใช่เพียงแค่ความฝัน เขากำลังตามประกบ โรมีโอ จริงๆ ในเกมที่อาจจะเรียกได้ว่ายิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตแล้วก็เป็นไปได้
เวลาค่อยๆ ไหลลง 15… 14… 13… 12… 11.. ด้วยแต้มที่ทีมชาติฟิลิปปินส์ตามทีมชาติไทย 1 แต้ม
โรมีโอเห็นดังนั้นแล้วก็สูดหายใจเข้าลึกๆ หนึ่งที รูเบนเห็นแบบนั้น ก็ปรับเปลี่ยนน้ำหนักมาลงที่ปลายเท้า พร้อมที่จะระเบิดตามโรมีโอที่เตรียมพุ่งทะลุหาห่วงให้ได้
นั่นไง มาแล้วจริงๆ! โรมีโอพุ่งไปทางขวาสุดแรงเกิด แต่รูเบนก็ยังอ่านทัน แล้วไปทางเดียวกัน
จังหวะต่อมา โรมีโอ สวนด้วยการครอสโอเวอร์ไปทางซ้าย และถึงแม้ว่า รูเบนจะอ่านออก… แต่ร่างกายมันตอบสนองต่อไม่ทันจริงๆ
โรมีโอหลุดไปแล้วครึ่งตัว แล้วก็เริ่มก้าว หนึ่ง… สอง… เพื่อวางบอล
รูเบนตามอยู่ครึ่งก้าวก็จริง แต่ก็ยังอยู่ในช่วงที่อาจจะเอื้อมถึงได้ เขาจึงก้าวตามในจังหวะที่สอดคล้องกัน หนึ่ง… สอง…
โรมีโอ ยืดแขนออกไปข้างหน้า เพื่อหนีการบล็อกของรูเบน… แล้วก็หนีได้สำเร็จ!! แต่การปรับเปลี่ยนอิรินาบทรอบสุดท้าย ทำให้การวางบอลผิดไปจากที่คาด… และกลิ้งออกนอกห่วงไปในที่สุด
รูเบนตกลงมาถึงพื้น โดยที่ไม่ทันได้เห็นผลของการป้องกันของตัวเอง แต่หันไปอีกที เขาก็เห็นเพื่อนร่วมทีมวิ่งมาฉลองกับชัยชนะแห่งประวัติศาสตร์
(เพ้อฝันบ้าง ถึงจะเรียกได้ว่าเป็นมนุษย์)
สมมติฉากจบที่แย่ที่สุด (เล่าแบบเว่อร์วังอลังการ)
“สิงห์” ชนะชนม์ แทบไม่ไดอยากจะเชื่อเลย
เขาจำความเจ็บปวดนี้ได้แม่น จาก SEA Games 2015 พวกเขาไม่สามารถเอาชนะทีมชาติสิงคโปร์ได้ทั้งในรอบแบ่กลุ่ม แล้วพอมาเจอในเกมชิงเหรียญทองแดง ก็ยังพ่ายแพ้เป็นครั้งที่สองติดกันอยู่ดี
ทั้งเขา รูเบน บาส อาร์ม บิ๊ก และ เดฟ ต่างก็จำได้ดี ว่ามันเจ็บปวดแค่ไหน
เกมสุดท้ายเกมนี้ใน SEABA 2017 ไม่ได้มีความหมายอะไรเท่าไหร่เลย เพราะทีมชาติฟิลิปปินส์ก็คว้าแชมป์รายการไปแล้ว และ รายการนี้ ก็มีโควตาไปแข่งขันรอบเอเชียแค่ทีมเดียว
แต่ให้ตายเถอะ เกมนี้ถึงไม่มีค่า ก็ไม่อยากแพ้จริง
พวกเขาอยากถอนแค้นจากทีมชาติสิงคโปร์ให้ได้
ชนะชนม์ มองไปที่ป้ายคะแนน จากปลายม้านั่ง ขณะที่เวลาค่อยๆ ไหลหมดลงไป โดยที่บอลอยู่ในมือของ หว่อง เวย์ ลอง ที่เล่นไม่เอาอ่าวมาตลอดเกม จนระเบิดฟอร์ม ในควอเตอร์ที่ 4
ด้วยเวลาที่เหลือเพียง 12 วินาที และ แต้มที่ห่างออกไปถึง 11 แต้ม ท้ายที่สุดแล้ว การปล่อยให้เวลาหมดลงไป คงจะเจ็บปวดน้อยที่สุด
เกมนี้ ไม่ได้มีความหมายอะไรเลยจริงๆ ในทางเทคนิค แต่ใจมันอยากได้… ซึ่งก็เป็นเหตุผลว่า ทำไมความเจ็บปวดที่แพ้ครั้งนี้ มันช่างเจ็บปวดเหลือเกิน
มองภาพรวม
เอาละ ทำใจไปได้แล้ว ว่าทีมชาติไทย อาจจะยังมีไพ่ตายเหลืออยู่หลายใบ ที่ไม่ได้ใส่มาในสำรับรอบนี้
มองข้ามเรื่องนั้นไปซะ
ยังไง ทีมที่ส่งไปแข่งรอบนี้ ก็ยังถือว่า แกร่งพอสมควร
ทั้งรูปร่างร่างกาย ทักษะการเล่น และ ประสบการณ์ ทั้งหมดนี้ มากพอที่จะพิจารณาเป็นทีมเต็งของรายการได้แน่นอน
การที่จะหวังว่าทีมนี้ จะคว่ำฟิลิปปินส์ชุดนี้ได้ อาจจะมองข้ามความจริงมากเกินไปหน่อย แต่ยังไง มันก็ยังพอมีศักยภาพ ที่จะเล่นให้เกมตื่นเต้นอยู่บ้างแน่นอน
อ่านพรีวิวทีมอื่นๆ ใน #SEABA2017 ได้ที่นี่เลยครับ:
ฟิลิปปินส์
อินโดนีเซีย
สิงคโปร์
มาเลเซีย
เวียดนาม
พม่า
Best wishes to my Thai bros! God speed!
Shout out to you TK!
It’s fun reading your articles. I love the best and worst case scenarios though (LOL).
The SEABA Championship hype is real here in the Philippines. It feels like the 2013 FIBA Asia Cup.
I’m very excited to see Samerjai-Romeo matchup. Let’s get it on!!
Good luck to all SEABA teams and let’s have a great games!
I love watching Ananti vs the Gilas squad last year in Thailand. He’s just a pure scorer. Not a great defender, not a great ball handler. But if he’s anywhere near the rim, you better double team him cause he will score. Dunno how he does it, but he just can’t stop scoring.
And look at his game against SG. I was not surprised at all, but am impressed nonetheless.
Hey dan, chitchai ananti went scoreless against gilas…and limited to only 3 attempts…and against indonesia he scored 24 points but had to make 22 attempts…i think mac belo is way way better than him….not a big time scorer but efficient…and much better defender….
now we now the difference between the “CADETS” and the “GILAS’ SENIORS” team.
Please , where can I get the video of 2017 SEABA championship U16 Indonesia v Thailand .