Hey, I don’t know if you heard but the Philippines National Team announced their roster for the SEABA Championship 2017. I’m not sure if anyone has sen the list yet (he said sarcastically). Since it’s out in the open now, I’ll take my shot at breaking it down.
[อ่านภาษาไทย คลิกที่นี่เลยครับ]
“Dream Team in the Barcelona 1992 Olympics.”
That is a part of the reaction when I had heard that the Philippines were keen on applying a full force team for the SEABA Championship instead of the usual amateur player laden roster.
It wasn’t much of a surprise when Coach Chot Reyes finally announced the 12 Gilas Pilipinas players. The Philippines had pretty much made up their mind from the start that they were going to deploy PBA players to the SEABA Championship this year. So when it was actually announced, the reaction wasn’t “WHAT THE HELL” but more of a “wow they really did it”.
And for a split second, it was a “Dream Team ’92” feeling for me.
In 1988, a Team USA roster filled with collegiate stars went to the Olympics in South Korea. Prior to 1988, Team USA had never missed out on a Gold Medal (except for a controversy in 1972). They had done so far with college stars so far, what was the point in worrying?
It turns out that they could have worried a bit more. They ran into a grizzled team of Russians led by Arvydas Sabonis and suffered a loss which cost them a trip to the Gold Medal game.
That would start a reaction to push for FIBA to allow professional NBA players to play in the Olympics in 1992. A roster of Jordan, Pippen, Magic, Bird, Ewing, Robinson, Barkley, Drexler, Malone, Stockton, and Mullins (oh alright, you too Laettner) ran into the International Event in Barcelona and ran over every single opponent they came across. The domination sparked a basketball fever which slowly spread all over the world.
It’s not exactly the same story with what is happening here in the SEABA region/Philippines National Team, but it’s pretty darn close isn’t it?
Prior to this year, the Philippines National Team had never sent a team of professional players from the PBA to the regional tournament (as far as I can dig up and recall, correct me if I’m wrong). It was a gang of college stars on the brink of entering the professional ranks, soaking in the shine of international success. And they’ve (almost) always succeeded with 7 straight SEABA Championships (in years they’ve participated).
But after close games against Thailand (SEA Games 2015, SEABA Stankovic 2016) and Indonesia (SEA Games 2015), maybe the Philippines figured that they didn’t need to risk taking a loss to bring their A-Game like Team USA did. There’s probably a lot of other factors that went into consideration for this roster (playing at home, only one slot to advance to FIBA Asia, etc), but it sure felt like this roster is sent out to make a statement.
What a statement is certainly is.
Philippines National Team Roster

BRUH.
The marvellous thing about this roster is that you have arguably the 5 of the best players on their respective clubs teams (Fajardo, Wright, Romeo, Abueva, Castro) as well as a legit former NBA Player (Blatche). This is the type of squad that the Philippines normally sends to Asian-level competition. This team is that good on paper.
I guess you can make a case for Paul Lee/LA Tenorio/Marcio Lassiter and the injured Mac Belo, but this isn’t far from the best squad that the Philippines National Team can assemble.
Let’s boil this team down a bit:
(stats are from this season up until the All-Star Break by courtesy of Humblebola)
GUARDS:
Jayson Castro (Talk ‘N Text) : 28.3 MPG, 16.7 PPG, 6.1 APG
Terrence Romeo (Globalport): 34.5 MPG, 25.6 PPG, 6.0 APG, 41.1 3P%
Jio Jalalon (Star Hotshots): 23.2 MPG, 11.1 PPG, 4.7 RPG, 3.5 APG

Castro or, as he is dubbed by the Filipino Faithful, “Best Point Guard in Asia” is the elder on this team, so Coach Chot Reyes will be relying on him a lot to steer this ship along steadily. He’s been slowed down a bit by injury resulting in statistical lows from this past half decade, but he’s also transcending into a more supportive role as well.

He will share ball handling duties with rising star, Terrence Romeo. Romeo went from star to superstar to megastar in such a rapid pace that it’s still hard to imagine and right now he’s been playing the best basketball in his life. We can’t be expecting the same gaudy numbers he’s been producing in the PBA, but it’ll be fun to see how Romeo translates his spike in efficiency to Gilas in a lesser role.
Rounding up the guard slots is my all-time mancrush, Jio Jalalon! ❤

I’m glad that he’s finally been able to shake off the cringeworthy “Bus Driver” to adopt “Cyclone” as his new moniker since going to the pros. I feel like Jalalon was close to missing the cut, but with Belo being injured and Coach Reyes loving to have a solid back up point guard, it made sense to take the former Arellano Chief. He’ll be seeing plenty of playing time despite being the third string guard since this is just the SEABA Championship and they need to groom him for the future as well.
I’m not complaining. More Jalalon means more fun for me.
You have the “Best Point Guard in Asia”, the hottest hand in Philippines Basketball, and a guy who has been nicknamed “The Bus Driver” and “Cyclone. It doesn’t really get much better than this.
WINGS:
Calvin Abueva (Alaska Aces): 24.4 MPG, 14.1 PPG, 7.1 RPG, 1.1 BPG
Matthew Wright (Phoenix Fuelmasters): 31.9 MPG, 15.0 PPG, 6.5 RPG, 3.9 APG, 34.6 3P%
Allein Maliksi (Star Hotshots): 21.3 MPG, 15.2 PPG, 45.9 3P%, 25.5 PER
Roger Pogoy (Talk ‘N Text): 25.2 MPG, 31.5 3P%
With all the slashing at his disposal in the guard position, Coach Reyes balanced his wing positions going with a more floor-spacing approach (save for Abueva).

Maliksi is in the middle of the best season of his career with the rebuilding Star Hotshots. In the Philippine Cup, Maliksi joined fellow Gilas team mates, Junmar Fajardo and Terrence Romeo as the only players to log at least 30 PER. Pretty good company to join. The former UST Tiger has always been an above average long range shooter, but he’s been able to maintain (and even improve) his accuracy despite almost doubling his attempt rate. I was joking with a friend the other day about how Maliksi was a shoo-in and Matthew Wright wasn’t. I stand corrected. Maliksi was definitely a shoo-in.

However, I still feel that Matthew Wright was certainly a shoo-in nonetheless. That was even before he bagged two All-Star MVPs during the past “PBA All-Star Week” that had the Gilas Pool Players play against a select team of PBA All-Stars in various venues. Wright’s three-point shooting to start the season had been one of the best by any rookie in recent memory with a high volume of attempts. Wright was one of the purest of pure shooters in the Gilas Pool and they needed him to give their big bodies room to breath in the paint.

Then there is Calvin Abueva, the superstar from the Alaska Aces. Abueva is a hustler and a tenacious defender and that will be his go-to role on Gilas squads. He is used in spurts when he plays for Alaska and will mostly like be utilized the same way for Gilas. With the height average in the SEABA region, I suspect we’ll probably see Abueva playing in the post more than usual, too.

Add a player like Roger Pogoy who can be plugged-in to take on any role and you get a nice combination of 3s and D from these 4 wing players.
BIG MEN:
Junmar Fajardo (San Miguel Beermen): 33.1 MPG, 18.1 PPG, 13.4 RPG, 1.6 BPG, 72.0 FT% 27.3 PER
Japeth Aguilar (Barangay Ginebra San Miguel): 31.5 MPG, 18.9 PPG, 10.0 RPG, 2.8 BPG, 89.7 DRTG
Troy Rosario (Talk ‘N Text): 23.4 MPG, 10.4 PPG, 4.1 RPG, 25.0 3P%
Raymond Almazan (Rain or Shine): 17.5 MPG, 9.3 PPG, 7.2 RPG, 23.3 PER

Fajardo is 27 years old and he has already notched FOUR MVP awards in the PBA. At somewhere between 6’9″-6’11”, he will be one of the biggest players to have played in the SEABA Championship. It’s not only his size that will be the advantage for himself and his team, but also his skill level.
While Fajardo will be eating up space down low, it will be Japeth Aguilar/Troy Rosario to monitor the air space of the Gilas defence.

Aguilar has always been insanely athletic along with his lengthy frame, but his decision making has always been a reason to spark debate. His combination of height and athleticism certainly creates a lot of expectations and it sometimes clouds the fact that he’s recorded at least 19 PER in each of the past 4 PBA seasons. That’s not exactly something everyone can do and that’s more than enough to compete in the SEABA region.

Rosario joins Jalalon as the two players on this team who played on the SEABA Championship squad in 2015. He’s since upgraded his game from a primary spingy leaper to a legitimate stretch four.

The last name in the list of big man is the lesser heralded of the group, but Raymond Almazan has earned the right to be on this team. He’s proven to be solid bet for a double-double (in the Philippine Cup) and has also seems to be improving his range, too.
Andray Blatche:
Andray Blatche: 29.6 MPG, 22.5 PPG, 10.4 RPG, 3.6 APG (Stats from CBA)

Blatche gets his own category because Blatche is Blatche. You can say he isn’t fit. You can say he got fat. You can say his head hasn’t been screwed on straight. Whatever you say, Andray Blatche is a legit 9-year NBA veteran with 564 NBA games under his belt. And he’s still just 30 years old.
I remember when Marcus Douthit almost sleep-walked his way through the SEABA Championship/SEA Games in 2015 and still got 6 points and 7 rebounds in 20 minutes per game with minimal effort.
Coach Reyes probably won’t be using him a lot this SEABA Championship, but just imagine how much damage Blatche can do.
Strength(s)
Aside from being the most experienced, most talented, most physical, and biggest team in the table… damn.
In all seriousness, Gilas also has the advantage of having FOUR trump cards.
Back in SEABA Stankovic Cup 2016, I noted that if things went south for Gilas they would at least have legit PBA pro Troy Rosario to hand the ball and go to work. Here in SEABA, you have Terrence Romeo, Junmar Fajardo, Calvin Abueva, and Andray Blatche who are all designed to take over a game.
Even if the system breaks down or the opposing team gets an insanely hot hand, I feel like these 4 players could pretty much flip the switch and take over.
Weakness(es)
umm.
Complacency could be a weakness I suppose, if I really had to list something down here. Most of these players have never played for Gilas in the SEABA region (save for Rosario/Jalalon/Pogoy) so maybe they might not take it as serious as they should.
I’m not really expecting that to be a problem but if there’s a chink in the armor to look for, this is probably it.
Best Case Scenario (as told in dramatic fashion)
Coach Chot Reyes looks over at his team celebrating the expected SEABA Championship Gold. Everyone played as a cohesive unit and everyone did as they were planned to do.
As the confetti falls down from the ceiling of the Smart Araneta Colliseum, Coach Chot looks at his team once again and thinks: “Thank God no one got injured.”
Worst Case Scenario (as told in dramatic fashion)
Terrence Romeo looks at the clock for a second time. Only 15 seconds left in the game.
He then glances to the scoreboard and sees Gilas down by one point to Thailand. An injured Andray Blatche, Junmar Fajardo, and Jayson Castro lock elbows in anticipation on the sidelines.
When he sees the shot clock go down to 11, he takes in a deep breath and starts to dribble towards the set Troy Rosario screen at the top of the key. He slowly picks up speed to shake Wutipong Dasom loose.
Romeo pins Dasom into the screen and now has Teerawat Chantachon in front of him. With a quick shoulder jab, Romeo fakes out Chantachon and immediately dashes between him and Rosario towards the basket.
Chantachon is a step too slow and Romeo is already gathering for the layup by the time he recovers. The Gilas guard looks ready to seal the win with 3.2 seconds left as he reaches the apex of his leap.
Chantachon takes a last second lunge at Romeo and catches a part of his elbow that shifts the direction of the attempt if ever so slightly. Coach Chot Reyes looks in disbelief towards the direction of the refs once he realizes that a whistle isn’t going to be blown.
The ball hits the front of the rim and wobbles to hit the backboard. It rolls back onto the iron and spins one round before almost coming to a stop.
With the entire Smart Araneta Colliseum in silence, the ball rolls off the rim away from the net and drops to the floor.
Gilas tries to protest what they feel was a missed call as Thailand celebrates.
(hey, i did say “Worst Case”)
Overview
Ok, it’s time to drive the point home.
As much as I am biased to Thailand (because of course I am), this Gilas team is just too talented. Just for comparison sake, let’s compare the SEABA Stankovic Cup 2016 rosters. Here are the changes:
SEABA Stankovic 2016 | SEABA Championship 2017 |
Troy Rosario | Troy Rosario |
Jiovanni Jalalon | Jiovanni Jalalon |
Roger Pogoy | Roger Pogoy |
Mike Tolomia | Terrence Romeo |
Kevin Ferrer | Matthew Wright |
Raymar Jose | Calvin Abueva |
Ray Mark Belo | Andray Blatche |
Almond Vostotros | Allein Maliksi |
Russell Escotto | Junmar Fajardo |
Von Roffe Pessumal | Jayson Castro |
Ken Holmqvist | Japeth Aguilar |
Jonas Raphael Tibayan | Raymond Almazan |
For this comparison sake, I tried putting players who at least resemble roles/skill sets. It’s not a perfect fit, but I tried. This 2017 squad is obviously upgraded by leaps and bounds in EVERY roster slot, even the one filled by Rosario/Jalalon/Pogoy because they got better over the past year.
And then remember that the 2016 squad beat Thailand by only 1 point… in a meaningless first round game. In the Championship Game, Thailand got beaten by a 17-point margin.
I expect this Gilas team to run over teams like it was Team USA in 1992. I hope that it will create the same effect on basketball development in ASEAN as that historic USA run had on the world as well.
Check out other #SEABA2017 previews here:
Thailand
Indonesia
Singapore
Malaysia
Vietnam
Myanmar
อ่านภาษาไทยต่อจากนี้เลยครับ
เอ้อ ไม่รู้ว่ารู้กันยังอะนะ แต่ทีมชาติฟิลิปปินส์ เขาปล่อยรายชื่อ 12 คนที่จะแข่งในชิงแชมป์ SEABA 2017 แล้วอะ แต่ข่าวมันเงียบอะ เงียบมากๆ แบบไม่มีใครรายงานเลย (ประชดดดดดดด) แต่ก็นั่นแหละ ไหนๆ เราก็รู้ชื่อกันละ มาตีแผ่ทีมนี้กันหน่อยดีกว่า
“ดรีมทีม โอลิมปิค ปี 1992 ที่เมืองบาร์เซโลน่า”
ผมเผลอคิดแบบนั้นไปจริงๆ ตอนที่ได้ยินมาว่า ทีมชาติฟิลิปปินส์ตั้งใจจะส่งทีมชุดใหญ่ที่สุดมาแข่งขันในรายการชิงแชมป์ SEABA ปีนี้ จากที่เดิมทีจะส่งผู้เล่นระดับมหาวิทยาลัย หรือ พวกที่ยังไม่เข้าไปเล่นใน PBA มา
ตอนที่ โค้ช ชอต เรเยส ประกาศรายชื่อ 12 คนมาดังที่อาจจะพอได้ทราบกัน ผมว่า ก็ไม่ใช่เรื่องน่า “ตกใจ” เท่าไหร่นัก จริงๆ แล้วเราก็พอทราบกันอยู่แล้วว่า ฟิลิปปินส์ตั้งใจจะส่งชุดเบ้มมาแข่งรายการนี้
เพราะฉะนั้น ปฏิกิริยา ตอนที่รู้รายชื่อทีมชาติฟิลิปปินส์ มันจึงไม่ใช่ความตกใจแบบ “เชี่ยไรวะเนี่ย” แต่มันออกแนวถอนหายใจเบาๆ พร้อมสบถเงียบๆ ว่า “เออ แม่งไม่ได้ล้อเล่นว่ะ”
แล้วในสินาทีนั้นที่ได้รู้รายชื่อ ใจมันก็เคลิ้มไปนึกถึงสถานการณ์ของ “ดรีมทีม ’92” ไปชั่วขณะหนึ่ง
ในรายการ โอลิมปิค ปี 1988 ที่ประเทศเกาหลีใต้นั้น ทีมชาติสหรัฐอเมริกา ยังเป็นทีมที่ประกอบด้วยสตาร์ระดับมหาวิทยาลัยอยู่ ซึ่งก่อนหน้าปีนั้นทุกๆ ครั้ง ทีมชาติอเมริกา ก็ไม่เคยพลาดเหรียญทอง (นอกจากกรณีปี 1972 ที่ต้องร่ายยาวเป็นข้อยกเว้นกันอีกอีกที)
ที่ผ่านมา ก็สามารถเอาชนะได้ด้วยการส่งผู้เล่นระดับมหาวิทยาลัยมาตลอด จะมากังวลอะไรกันนักหนา
แต่มันกลายเป็นว่า จริงๆ แล้วพวกเขาควรจะห่วงมากกว่านั้นซักหน่อยหนึ่ง เพราะ ต้องดันไปโคจรเจอกับ ทีมชาติรัสเซียที่เต็มไปด้วยผู้เล่นระดับอาชีพมากประสบการณ์อย่าง อาร์วีดาส ซาโบนิส
ท้ายที่สุดแล้ว ทีมชาติอเมริกาก็ต้องพ่ายไป และอดไปแข่งขันชิงเหรียญทอง
ความพ่ายแพ้ครั้งนั้น ไปจุดประกายให้มีการผลักดันให้ทีมชาติอเมริกาสามารถส่งนักกีฬาอาชีพใน NBA ลงแข่งขันได้ ในปี 1992 ซึ่งในปีนั้น ก็จะมีรายชื่อระดับตำนาน คือ จอร์แดน, พิพเพ่น, เมจิก จอห์นสัน, แลรี่ เบิร์ด, อีวิง, เดวิด โรบินสัน, บาร์กเลย์, เดรกซ์เลอร์, คาร์ล มาโลน, จอห์น สตอกตัน, และ คริส มัลลินส์ (อ่ะๆๆๆๆ รวม คริสเตียน เลทเนอร์ด้วยก็ได้) และ ทีมชุดนั้นก็เอาชนะทุกทีมในรายการไปได้อย่างท่วมท้นทุกเกม
และมันได้จุดประกายกระแสความคลั่งบาสทั่วโลกโดยที่ไม่รู้ตัว
แน่นอนว่า เรื่องราวที่กำลังจะเกิดขึ้นในชิงแชมป์ SEABA นี้ มันก็ไม่ได้เหมือนกันเป๊ะๆ…แต่มันก็เหมือนว่าจะใกล้เคียงนะ ว่าไหม?
ก่อนหน้านี้ ทีมชาติฟิลิปปินส์ ไม่เคยส่งผู้เล่นระดับ “อาชีพ” (คือ เล่นใน PBA) มาลงแข่งขันในระดับภูมิภาค ASEAN มาก่อน (ถ้ามีก็รบกวนบอกหน่อย เผื่อตกหล่น) ที่ผ่านมาทุกปี อย่างที่เราอาจจะเคยได้ยินเขาโม้ให้ฟังก็คือ ทีมชาติฟิลิปปินส์ จะส่งเพียงผู้เล่นชุดมหาวิทยาลัย หรือ มือสมัครเล่น มาเล่นในระดับชาติก่อน
แต่ก็ว่าอะไรไม่ได้ เพราะที่ผ่าน ทีมชาติฟิลิปปินส์นั้นกวาดแชมป์รายการนี้มาได้ 7 ครั้งติด (ที่ได้ลงเข้าแข่งขัน)
แต่มีความเปลี่ยนแปลงในช่วงสองปีที่ผ่านมา คือ ในสองเกมที่เจอกับทีมชาติไทย ใน ซีเกมส์ 2015 และ SEABA Stankovic 2016 อีกทั้ง รอบชิงซีเกมส์ 2015 ที่เจออินโดนีเซียนั้น มีผลห่างของคะแนนที่เรียกว่ากระชั้นชิดและสูสี
ตรงนี้อาจจะเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ทีมชาติฟิลิปปินส์มีความรู้สึกว่า “เออ กูต้องส่งชุดใหญ่มาละวะ” และไม่อยากเป็นแบบทีมชาติอเมริกาที่ต้องแพ้ก่อน ถึงจะรู้สึกตัว
แน่นอนว่า อาจจะมีอีกหลายปัจจัย อย่าง การที่ได้เป็นเจ้าภาพ แถมยังมีโควต้าเข้ารอบเอเชียแค่ 1 ทีม…แต่ก็รู้สึกได้เลยว่า การส่งรายชื่อมาครั้งนี้ มีความต้องการที่จะบอกให้ทุกคนทราบว่า “ข้าเป็นพี่ใหญ่ที่นี่ อย่าหือ”
รายชื่อผู้เล่นทีมชาติฟิลิปปินส์

อื้มมมมมมมมมมมมม…
สิ่งที่น่าสนใจสำหรับทีมชาติชุดนี้อย่างแรกเลย คือ คราวนี้สามารถคว้าตัวระดับที่เรียกได้ว่าเป็นตัวท็อปของทีมท็อปมา 5 ทีม อีกทั้งยังมีผู้เล่นในระดับ NBA มาแจมอีกคน
รายชื่อทีมแบบนี้ ปกติเป็นรายชื่อที่ส่งแข่งในระดับเอเชียเท่านั้น แต่คราวนี้ พี่แกจัดมาลงในระดับ SEABA เลย
โอเคอะ
อาจจะขาดๆ บางคน ไปนิดหน่อย (อย่าง พอล ลี หรือ แอลเอ ราวีลิญ่า หรือ แมค เบโล) แต่จริงๆ แล้วชุดนี้ ก็ถือได้ว่าเป็นทีมชาติชุดที่ดีที่สุด ที่จะส่งได้ทีมนึงเลยแหละ
มาตีแผ่รายชื่อทีมกันทีละคนละกัน:
(สถิติทั้งหมดเป็นสถิติตลอดทั้งซีซั่นจนถึงช่วงก่อน Allstar จากฐานสถิติ Humblebola)
การ์ด:
เจสัน คาสโตร (ทอล์กแอนด์เท็กส์): 28.3 MPG, 16.7 PPG, 6.1 APG
เทเรนส์ โรมีโอ (โกลบอลพอร์ต): 34.5 MPG, 25.6 PPG, 6.0 APG, 41.1 3P%
จิโอ ฮาลาโลน (สตาร์ ฮอทช็อต): 23.2 MPG, 11.1 PPG, 4.7 RPG, 3.5 APG

คาสโทร ซึ่งถูกเรียกว่าเป็น การ์ดที่ดีที่สุดในเอเชีย จะเป็นพี่คนโต ในทีมนี้ เพราะฉะนั้น โค้ชเรเยส จะต้องพึ่งพาเขาเป็นผู้นำของทีมเป็นส่วนใหญ่ ช่วงหลังๆ เขามีปัญหาอาการบาดเจ็บรุมเร้าบ้าง ทำให้สถิติตกลงมาจากแต่ก่อน แต่เขาก็เปลี่ยนบทบาทมาเป็นหน่วยสนับสนุน ที่น่ากลัวไม่แพ้กัน

และคนที่จะเป็นคู่หูของเขาในตำแหน่งการ์ด ก็จะเป็นดาวดวงใหม่ไฟแรงในวงการบาสฟิลิปปินส์ คือ เทเรนส์ โรมีโอ นั้นเอง อัตราการก้าวหน้าของ โรมีโอ จาก สตาร์ จนเป็น ซุปเปอร์สตาร์ นั้น รวดเร็วจนบางทีก็จินตนาการตามยาก ซึ่งตอนนี้ ก็ถือว่าเขากำลังอยู่ในช่วงพีกของการเล่นบาสอาชีพของเขา สถิติตัวเลขของเขาน่าจะลดลงมาตามลำดับตามบทบาทในทีมชาติ แต่ก็น่าสนใจดีเหมือนกันว่า ประสิทธิภาพในการเริ่มเล่นของ โรมีโอ ที่พุ่งขึ้นใน PBA จะแปลงสภาพมาเป็นอย่างไรบ้างในการเล่นทีมชาติ
และคนสุดท้ายในตำแหน่งการ์ด คือ สุดที่รักของผมเอง จิโอ ฮาลาโลน! ❤

ตอนแรกก็รู้สึกอยู่ว่า เขาไม่น่าจะติดทีมชาติชุดนี้ แต่ พอแมค เบโล เกิดบาดเจ็บขึ้นมา แถม โค้ชเรเยส ยังชอบมีการ์ดตัวสำรองเปลี่ยนจังหวะเสริมอีกตัว จึงทำให้ ฮาลาโลน หลุดเข้ามาในทีมชาติชุดนี้จนได้
เขาน่าจะได้ลงเล่นมากพอสมควร ถึงแม้ว่าจะเป็นการ์ดจ่ายอันดับ 3 ในทีม ทั้งนี้เนื่องจากว่าเป็นการแข่งขันในระดับ SEABA อีกทั้งยังต้องปั้นการ์ดสายเลือดใหม่มาบ้าง
แต่ก็ยิ่งดี ผมชอบดูไอ้เด็กนี่มันเล่น
ปีก:
แคลวิน อาบูเอวา (อลาสก้า เอสเสส): 24.4 MPG, 14.1 PPG, 7.1 RPG, 1.1 BPG
แมทธิว ไรท์ (ฟินิกซ์ ฟูเอลมาสเตอร์): 31.9 MPG, 15.0 PPG, 6.5 RPG, 3.9 APG, 34.6 3P%
อัลเลน มาลิกซี (สตาร์ ฮอตชอต): 21.3 MPG, 15.2 PPG, 45.9 3P%, 25.5 PER
โรเจอร์ โปโกย (ทอล์กแอนด์เท็กส์): 25.2 MPG, 31.5 3P%
ด้วยการที่ตำแห่นงการ์ดเต็มไปด้วยความรวดเร็วคล่องแคล่วพร้อมข้ามทะลวง โค้ชเรเยส จึงมาเติมเต็มตำแหน่งปีกด้วยแนวทางการสาดยิงไกล (ยกเว้น อาบูเอวา)

ตอนนี้ มาลิกซี ก็กำลังฟอร์มที่สุดในชีวิตอีกคน กับทีมสตาร์ฮอตชอต ที่กำลังสร้างตัวขึ้นมาใหม่
ในรายการถ้วยฟิลิปปินส์คัพที่ผ่านมานั้น มาลิกซี เป็นหนึ่งในผู้เล่นเพียงสามคนในทั้งลีก ที่ทำสถิติประสิทธิภาพในการลงเล่น (PER) มากกว่า 30 (โดยอีกสองคน คือ ฟาฮาร์โด และ โรมีโอ ที่ติดทีมชาติทั้งคู่)
ตลอดชีวิตการเล่นที่ผ่านมา มาลิกซี ก็เป็นคนที่ยิ่งแม่นพอสมควรอยู่แล้ว แต่ในฤดูกาลนี้ เขาทำได้ดีกว่าเดิมด้วยซ้ำ ทั้งๆ ที่เพิ่มอัตราในการยิงของตัวเองขึ้นเกือบสองเท่า

ถ้าจะมองว่า มาลิกซี เป็นคนที่เหมาะจะติดทีมชาติ 100% แมทธิว ไรท์ เองก็เหมาะที่จะติดเช่นกัน และ ไม่ใช่เพียงแค่เพราะเขาได้ ผู้เล่นทรงคุณค่าถึงสองครั้ง ในช่วง PBA All-Star Week ที่ได้ให้ผูเล่นคัดทีมชาติแข่งกับ All-Star ของ PBA แต่ละภูมิภาค 3 เกม
อัตราการยิงลงของไรท์ ในช่วงต้นฤดูกาลนั้น เป็นอัตราการยิงที่เรียกได้ว่า ดีมากสำหรับคนที่เยอะๆ และดีไม่ดี อาจจะดีที่สุดเลยก็ได้ ทักษะในการยิงบอลของเขา จะช่วยเปิดพื้นที่การเล่นให้คนอื่นๆ เล่นได้ง่ายมากขึ้นแน่นอน

แน่นอนว่า เราต้องพูดถึง อาบูเอวา ด้วย สตาร์คนดังของทีม อลาสกา เอส ซึ่งเขาเป็นนักกีฬาประเภทวิ่งสู้ฟัด และตามเก็บบอลทุกสถานการณ์ และนั่นก็จะเป็นบทบาทสำคัญของ อาบูเอวา สำหรับทีมนี้
ปกติแล้ว อาบูเอวา จะลงเล่นเป็นช่วงเวลาสั้นๆ สลับเข้าออก และคงจะเป็นเช่นเดียวกันในชุดทีมชาตินี้
นอกจากนี้ด้วย ด้วยระดับความสูงเฉลี่ยของแต่ทีมในภูมิภาคนี้… อาจจะทำให้เราได้เห็นอาบูเอวาเล่นเกมวงในมากขึ้น

ท้ายสุด พอเสริมผู้เล่นที่ทำได้ทุกอย่าง อย่างละนิดละหน่อยเข้าไป จึงได้ส่วนผสมที่ลงตัวของวงนอกที่สามารถยิงจากระยะไกลได้ และยังป้องกันได้เหนียวแน่นอีกด้วย
วงใน:
จุนมาร์ ฟาฮาร์โด (ซานมิเกล เบียร์เมน): 33.1 MPG, 18.1 PPG, 13.4 RPG, 1.6 BPG, 72.0 FT% 27.3 PER
จาเพธ อากีลาร์ (บารางกัย ยีเนบรา ซานมิเกล): 31.5 MPG, 18.9 PPG, 10.0 RPG, 2.8 BPG, 89.7 DRTG
ทรอย โรซาริโอ (ทอล์กแอนด์เท็กซ์): 23.4 MPG, 10.4 PPG, 4.1 RPG, 25.0 3P%
เรย์มอนด์ อัลมาซาน (เรนออร์ไชน์): 17.5 MPG, 9.3 PPG, 7.2 RPG, 23.3 PER

ว่ากันด้วย ฟาฮาร์โด ก่อน ซึ่งพ่อหนุ่มวัยเพียง 27 ปีนั้น กวาดรางวัลผู้เล่นทรงคุณค่าของ PBA ไปแล้วถึง 4 ครั้ง (!!) ด้วยความสูงเกินกว่า 2 เมตรนั้น ทำให้เขาจะเป็นผู้เล่นที่สูงที่สุดคนหนึ่งที่เคยเล่นในบาสรายการชิงแชมป์
แต่ก็ไม่ใช่ว่าเพียงแค่ตัวใหญ่อย่างเดียว ฟาฮาร์โด มีส่วนผสมของความคล่อง ที่ทำให้เขาเป็นผู้เล่นที่ยอดเยี่ยมอย่างที่เป็นทุกวันนี้
ในขณะที่มียักษ์อย่างฟาฮาร์โดคุมพื้นที่ใต้แป้นแล้ว ก็จะมี จาเพธ อากีลาร์ และ ทรอย โรซาริโอ คอยคุมพื้นที่กลางอากาศบนห่วง

อากีลาร์เป็นคนที่มีร่างกายดีมากอยู่แล้ว แถมความสามารถทางร่างกายยังสุดยอดอีก แต่ บางที การตัดสินใจทำอะไรต่ออะไรในสนามบาสยังดูช้าๆ แล้วสับสนบางที
ซึ่งมันแปลที่หลายๆ ครั้ง แฟนๆ จะลิงว่า เขาเป็นผู้เล่นที่สามารถทำสถิติได้ไม่ต่ำกว่า 19 PER มาตลอด 4 ฤดูกาล ซึ่งมันเป็นอะไรที่ไม่ได้ทำง่ายเลย และ แค่นี้ ก็น่าจะพอเพียงแล้วสำหรับการแข่งขันระดับ SEABA นี้

โรซาริโอ กลับมารวมทีมกับ ฮาลาโลน อีกครั้ง หลังจากที่คว้าแชมป์รายการนี้มาแล้วด้วยกันเมื่อปี 2015 สำหรับตัวทรอย ถือว่า พัฒนามาไกลมา จากที่เป็นไอ้หนุ่มโดดเด้งดึ๋งเพียว ตอนนี้กลายเป็นอาวุธอันตรายในตำแหน่งเบอร์ 4 ที่สามารถยิงไกลได้ด้วย

แหละชื่อสุดท้ายในกลุ่มนี้ อาจจะเป็นชื่อที่ไม่ได้เรียกเสียงฮือฮาเท่าไหร่ แต่ สำหรับ เรย์มอนด์ อัลมาซานแล้ว เขาสมควรที่จะถูกเรียกมาร่วมทีมแล้ว ไม่ว่าจะเป็นทั้งการรีบาวด์ หรือ การยิงไกล อัลมาซานพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ จนตอนนี้เป็นตัวหลักของทีมสโมสร และถูกเรียกมาติดทีมชาติได้
อันเดร แบลทช์:
อันเดร แบลทช์: 29.6 MPG, 22.5 PPG, 10.4 RPG, 3.6 APG

สำหรับ แบลทช์ จอแยกออกมาเป็นกรณีพิเศษ…เพราะ แบลทช์ ก็ คือ แบลทช์
จะบอกว่าไม่ฟิตก็ได้ จะบอกว่าอ้วนแล้วก็ได้ จะบอกว่าเขาไม่ค่อยสนใจจะเล่นเท่าไหร่แล้วก็ได้
จะพูดอะไรเกี่ยวกับแบลทช์ ก็ว่ากันไป แต่ถึงอย่างไร เขาก็เคยเป็นนักบาสระดับ NBA ตลอดช่วง 9 ปี แถมยังอายุเพียงแค่ 30 ปีอีกด้วย
ขนาด มาร์คัส เดาธิต ที่แก่กว่า แบลทช์ ยังสามารถลงเล่นไป 20 นาทีต่อเกมแบบไม่สนใจอะไรเฮฮาปาจิงโกะไปเรื่อย ยังทำได้ 6 แต้มและ 7 รีบาวด์ต่อเกมอยู่เลย
คิดว่ายังไง โค้ชเรเยส คงไม่ได้ใช้งานแบลทช์ เท่าไหร่นัก แต่ลองคิดดูว่าถ้าได้ปล่อยลงเล่นนานๆ จริงๆ เขาจะทำอะไรได้บ้าง
จุดแข็ง
ฮืมม จุดแข็งของทีมชาติฟิลิปปินส์หรอ นอกจากจะเป็นทีมที่มากประสบการณ์ที่สุด มากความสามารถที่สุด ร่างกายดีที่สุด ในบรรดาทุกทีมหรอ…ฮืมมม ทีมนี้มีจุดแข็งอะไรบ้างน้าาาาาาาาา
อะ มาพูดจริงจังหน่อยก็ได้ ทีมชาติฟิลิปปินส์ชุดนี้ มีจุดเด่นตรงที่มีผู้เล่นในระดับที่เรียกว่า “ไพ่ตาย” ถึง 4 คน
ย้อนกลับไปตอนรายการ SEABA Stankovic Cup 2016 ผมเคยเขียนไว้ว่า ถึงเวลาแล้ว ถ้าระบบการเล่นของทีมชาติฟิลิปปินส์รวนขึ้นมา พวกเขาก็ยังสามารถที่จะโยนบอลให้ ทรอย โรซาริโอ แล้วปล่อยให้เขาสร้างจังหวะของทีมขึ้นมาใหม่ได้
แต่มาในรายการนี้ ทีมชาติฟิลิปปินส์ มีทั้ง โรมีโอ, จุนมาร์, แคลวิน, อีกทั้ง อันเดรย์ แบลทช์ ที่ทุกคนต่างก็มีคุณสมบัติเป็น “ไพ่ตาย” ที่ส่งลงมาพลิกเกมได้ตลอดเวลา
ในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด หากระบบทีมรวนหรือ ทีมฝ่ายตรงข้ามเกิดแม่นแบบเทพองค์ลงขึ้นมา… ไพ่ตาย 4 คนนี้ ยังพอเปลี่ยนจังหวะกลับมาให้ได้เสมอ
จุดอ่อน
เอิ่มมม
ถ้าจะต้องพูดถึงจุดอ่อนซักข้อ…จริงๆ ก็อาจจะเป็นเรื่องความประมาท ผู้เล่นในทีมนี้ ส่วนใหญ่แล้วไม่เคยลงเล่นทีมชาติในระดับ ASEAN มาก่อน (ยกเว้น โรซาริโอ/ฮาลาลอน/โปโกย) เพราะฉะนั้น ตรงนี้อาจจะทำให้แต่ละคนเล่น “ไม่เต็มที่” เท่าที่ควร
เอาจริงๆ ก็คิดว่า คงไม่เป็นปัญหาเท่าไหร่นัก แต่ก็ถ้าจะให้ชี้จุดที่อาจจะพอตีให้แตกได้จริงๆ ก็คงจะเป็นเรื่องนี้นี่แหละ
สมมติฉากจบที่ดีที่สุด (เล่าแบบเว่อร์วังอลังการ)
โค้ชเรเยส มองดูทีมของตัวเองฉลองแชมป์ SEABA อย่างที่คาดการณ์ไว้ด้วยความสบายใจ ทุกคนเล่นกันอย่างสบายๆ ไหลลื่น ตามแผนที่วางไว้
ในขณะที่ทุกคนกำลังสนุกสนานร่าเริงกับการฉลองแชมป์อยู่ โค้ชเรเยส ก็ได้แต่มองลูกทีมแต่ละคนแล้วคิดในใจอย่างสบายใจว่า “ดีแล้วที่ไม่มีใครบาดเจ็บ”
สมมติฉากจบที่แย่ที่สุด (เล่าแบบเว่อร์วังอลังการ)
เทเรนส์ โรมีโอ หัวไปมองดูเวลาที่เหลืออีกครั้งหนึ่ง แล้วก็เห็นว่าเหลือเวลาเพียง 15 วินาทีเท่านั้น
เขามองดูที่สกอร์บอร์ด แล้วก็เห็นว่า แต้มยังตามทีมชาติไทยอยู่ 1 แต้ม
ที่ปลายม้านั่ง อันเดรย์ แบลทช์, จุนมาร์ ฟาฮาร์โด, และ เจสัน คาสโตร ที่บาดเจ็บกันไปตั้งต้นเกม ต่างก็นั่งลุ้นติดขอบเก้าอี้ม้านั่ง
พอหันไปมองอีกที เวลาก็เหลือเพียง 11 วินาทีเท่านั้นแล้ว เขาจึงสูดหายใจเข้าลึกๆ หนึ่งที แล้วเริ่มเลี้ยงบอลเข้าหาทรอย โรซาริโอ ที่มาเซ็ทสกรีนให้ แล้วพอเริ่มความเร็วเพิ่มขึ้นอีกเกียร์ ก็ทำให้ รูเบน วุฒิพงษ์ ดาโสม เริ่มประกบตามไม่ทัน
รูเบน โดน โรมีโอ ล่อให้วิ่งติดสกรีนสำเร็จ ทำให้ตอนนี้ เหลือเพียง “บิ๊ก” ธีรวัฒน์ จันทะจร ที่ขวางทางระหว่างตัวเองกับแป้น ด้วยจังหวะการยึกไหล่หลอกอย่างรวดเร็ว โรมีโอ สามารถสลัดหลุดจากการประกบแล้วพุ่งเข้าไปในช่องว่างเข้าหาห่วงได้
กว่าที่ บิ๊ก ธีรวัฒน์ จะตามมาทัน โรมีโอ ก็เริ่มก้าวขึ้นเลย์อัพไปแล้ว และด้วยเวลาที่เหลือเพียง 3.2 วินาที ดูเหมือนว่า ชัยชนะจะเป็นของทีมชาติฟิลิปปินส์ก็ด้วยลูกเลย์อัพลูกนี้แหละ!!
บิ๊ก ธีรวัฒน์ ยื่นแขนออกไปด้วยความหวังเฮือกสุดท้าย…แล้วก็ดันไปสะกิดศอกของโรมีโอได้นิดหน่อย ทำให้บอลเปลี่ยนทิศทางไปได้แม้เพียงนิดเดียวก็ตาม
โค้ชเรเยสหันไปมองกรรมการด้วยความเหลือเชื่อ ทันทีที่รู้สึกว่า ลูกนี้ไม่มีการเป่าฟาวล์ให้แน่ๆ
ลูกบาสเด้งโดนขอบห่วงด้านหน้าแล้วก็ลอยไปโดนแป้นอย่างเอื่อยๆ ก่อนที่จะมากลิ้งวนของขอบห่วงเกือบครบรอบ
ภายใต้ความเงียบสงัดของกองเชียร์ ณ สนาม สมาร์ท อาราเนตตา คอลิเซียม ในที่สุดลูกบาสก็กลิ้งตกจากห่วงแล้วตกลงสู้พื้นไม้
ทีมชาติฟิลิปปินส์ ก็ได้แต่เพียงประท้วงเพื่อให้ได้ฟาวล์สำหรับจังหวะลูกสุดท้าย แต่ทางทีมชาติไทยนั่นได้ฉลองกันไปแล้วอย่างเต็มที่ในสนามฝั่งตัวเอง
เย่
มองภาพรวม
เอาละ มาสรุปรวมรวบยอดอีกที เหมือนจะเถลไถล หลงประเด็นพอสมควร
แน่นอนว่า ผมเอียงเข้าข้างทีมชาติไทยอยู่แล้ว (ก็เป็นคนไทยนี่เว้ยเฮ้ย) แต่ ภาพความเป็นจริง คือ ทีมชาติฟิลิปปินส์ชุดนี้ มันโคตรเก่งเกินไป มาดูความเปลี่ยนแปลงในรายชื่อชุดนี้ กับ ชุด SEABA Stankovic ที่ผ่านมาหน่อยก็ได้:
SEABA Stankovic 2016 | SEABA Championship 2017 |
ทรอย โรซาริโอ | ทรอย โรซาริโอ |
จิโอ ฮาลาโลน | จิโอ ฮาลาโลน |
โรเจอร์ โปโกย | โรเจอร์ โปโกย |
ไมค์ โตโลเมีย | เทเรนส์ โรมีโอ |
เควิน เฟเรร์ | แมทธิว ไรท์ |
เรย์มาร์ โฮเซะ | แคลวิน อาบูเอวา |
แมค เบโล | อันเดรย์ แบลทช์ |
อัลมอนด์ โวโซทรอส | อัลเลน มาลิกซี |
รัซเซล เอสโกโต | จุนมาร์ ฟาฮาร์โด |
วอน เปสซูมาล | เจสัน คาสโทร |
เคน โฮลม์ควิสท์ | จาเพธ อากีลาร์ |
โจนาส ทิบายัน | เรย์มอนด์ อัลมาซาน |
เพื่อให้สะดวกสำหรับการเปลี่ยนเทียบ ผมเอาคนที่มีทักษะ และ บทบาทที่คล้ายคลึงกันมาวางข้างๆ กัน และอาจจะไม่ใช่การเปรียบเทียบที่สมบูรณ์แบบ 100% แต่ก็พอถูไถได้อยู่
ซึ่งก็เห็นได้ชัดอยู่ว่า ทีมปี 2017 นี้มัน…เหมือนอัพเกรดขึ้นมาทุกตำแหน่งเลย แม้แต่ตำแหน่งของ โรซาริโอ/ฮาลาโลน/โปโกย ที่ถึงแม้จะเป็นคนเดิม แต่ก็มีการพัฒนาฝีมือขึ้นมา
แล้วอย่าลืมว่า ทีมชุด 2016 นั้นเอาชนะทีมชาติไทยไปได้แค่ 1 แต้มก็จริง…แต่ในเกมการแข่งขันรอบคัดเลือกที่ไม่มีผลอะไร พอไปแข่งในรอบชิงชนะเลิศ กลายเป็นว่า ทีมชาติไทยกลับแพ้ไป 17 แต้มเลย
ว่ากันตามตรงเลย ทีมชาติฟิลิปปินส์ชุดนี้ ควรที่จะไล่ถล่มทุกทีมที่เข้าร่วมแข่งใน SEABA 2017 เหมือนที่ ทีมชาติสหรัฐอเมริกาชุด”ดรีมทีม” เคยทำไว้ในโอลิมปิกปี 1992
และผมก็หวังว่ามันจะส่งผลให้บาสเกตบอลมีความนิยมมากขึ้นในภูมิภาคนี้เช่นเดียวกัน
อ่านพรีวิวทีมอื่นๆ ใน #SEABA2017 ได้ที่นี่เลยครับ:
ไทย
อินโดนีเซีย
สิงคโปร์
มาเลเซีย
เวียดนาม
พม่า
Nice article,TK.Been waiting for this.thank you
They’re not gonna settle for anything less than GOLD.
Kudos to you TK for coming up again with a very outstanding piece of writing. Really enjoyed reading it a lot! Cheers mate!
Hey men want to know Philippine basketball I can help you
I’m from Philippines
Nice team, but I think Singapore can give them a run for their money. Wong Wei Long will charm his way to the basket with his good looks and basketball skills.
Junmar has been pretty meh in international competition so far. He plays an old school center in a modern 3-and-D Gilas team.
Japeth can’t dribble, can’t play isolation, and can’t create his own shots. If he doesn’t get a feed from Jason, he will just stand there scratching his head.
Terrence is too wild to be reliable. When he scores, he’s too good. When he’s cold, he is a ball-hogging liability.
And and and…. That’s it.
I think Abueva can win the tournament just by his moxie. He is the beast.
Bruh. Japeth can dribble as well as dunk, block, and shoot. And he just did that against Thailand.
Indeed brah. But where was this Japeth in the Fiba Asia and Fiba Championships? Or even in the PBA. I was surprised to see him dribble the ball for more than two bounces.
I think your Singapore has a long way to go. Indonesia and Thailand has a better local league. The young Malaysians even defeated the FULL strenght of Singapore in an epic causeway rivalry match.
Hi TK,
I think Myanmar deserves an recognition like sportsmanship award. They are gutsy all the way to the finish.
Hey you, just shut up …ur singapore is only good in abl because of the imports they have….but in reality, even the u16 of the philippine team can beat their men’s national team…sad but thats the truth….and what did u say? Wong wei long will charm his way to the basket with his basketball skills? Weh? Do u call it basketball skills? U must watch the jayson castro highlights last fiba asia championship 2015 for u to understand what the basketball skill is really all about… gilas drubbed ur singapore by 47 points and I think gilas didnt play their 100% on that game..how much more if they play their A-game? Gilas can beat singapore by 80 points….oh yeah they gave gilas a run for their money…hahaha
Mikie,
I agree all the game was just like experiments and not the actual “A-game” if you look at the stats it seems coach chot really want to tweak the system (dd). If they really want to beat them by 100pts they can. But the coach is just very modest.
No need to bash their team my friend. At least now.. they “know” the difference and the “huge” gap between the Philippine professionals (PBA) or Gilas Pilipinas and the Sinag (college/amateurs).
And Filipinos love and passion for this game.