2017 SEABA Championship Thailand National Team 22-Player Pool

With less than a month to go to the 2017 SEABA Championship in Manila, the Thailand National Team is starting to shape up.

…Again.

[อ่านภาษาไทย คลิกที่นี่เลยครับ]

The Thailand National Team released their 22 Player-Pool for the 2017 SEABA Championship back on February 7. I can actually remember the exact date because it was a day before my birthday and I had planned to write a lengthy write up on my opinions.

Here was the initial release by the way:

Kannut Samerjai, Mono Vampires
Sorot Sunthornsiri, Mono Vampires
Chitchai Ananti, Mono Vampires
Darongphan Apiromwilaichai, Mono Vampires
Peeranat Semeesuk, Mono Vampires
Teerawat Jantajon, Mono Vampires
Ratdech Kruatiwa, Mono Vampires
Chanachon Klahan, Mono Vampires
Pairach Sekteera, Mono Vampires
Naratip Boonserm, Mono Vampires
Anurak Rodliang, Mono Vampires
Bandit Lakhan, Hitech
Nagorn Jaisanuk, Hitech
Wuttipong Dasom, Hitech
Patipan Klahan, Hitech
Sukdave Ghogar, Hitech
Attaphong Leelapipatkul, Thai General Equipment
Chanathip Jakkrawan, Thai General Equipment
Nattakarn Meungboon, Mono-Thewphaingarm
Suwichai Suwan, Mono-Thewphaingarm
Gunthaphong Korsah-Dick, Madgoat
Anucha Langsui, Madgoat

STOP!!! Before you react on this 22-Player Pool and fire the inevitable endless questions that follows:

  • Yes, that is a whole lot of Mono Vampire players.
  • Yes, Tyler Lamb/Moses Morgan/Freddie Goldstein are not on the list as “Naturalized” Player prospects.
  • Yes, neither is U18 Superstar, Justin Bassey.

Those are obviously the glaring immediate reactions from the list, which we shall surely address further on down this write up. The player pool remained like that for a solid two month with light practices being held among players who weren’t involved in the ongoing local league playoffs.

Then suddenly out of the blue, the “Basketball Thailand” Facebook Page blast onto the scene and re-announced the 22-Player Pool with a bit of a twist.

Most of the lineup remains the same, except for these following changes:

Out

Ratdech Kruatiwa, Mono Vampires
Peeranat Semeesuk, Mono Vampires
Suwichai Suwan, Mono-Thewphaingarm
Anucha Langsui, Madgoat

In

Phurinan Nantho, Thai General Equipment
Nopporn Saengthong, Mono-Thewphaingarm
Narongrit Banmoo, Dunkin’ Raptors
Chutpol Cheungyampin, Thai General Equipment

Though these changes have been announced without an official letter provided from the Basketball Association of Thailand, the Facebook page has noted that the team has started their training camp. The number of participants in the attached photo seems a little bit concerning, but we can be sure to expect a full force session within a couple of days.

Now that we have that out of the way, let’s start breaking it down.


I lied. Before we breakdown Thailand’s initial pool, let’s recap a bit about this whole SEABA Championship event and Thailand’s performance in the past.

This will be the 11th edition of the SEABA Championship tournament and it will be Thailand’s 3rd appearance in the tournament in the past decade.

Singapore, Malaysia, and Indonesia have never missed out on participation in the past 10 years and the Philippines didn’t send a team in 2013 only because they had already qualified for FIBA Asia as hosts. In the past, it’s been quite concerning that Thailand have been this inactive in this particular event.

At the very least, it’s refreshing that they have returned to compete this year.

The last time Thailand played in the SEABA Championship was in 2013 where they would win their first and only Gold ever in quite dramatic fashion.

But hey! They’re back so this will be the first time since 2007 that the Philippines, Thailand, Indonesia, Malaysia, and Singapore will all be playing in the SEABA Championship.

So it’s actually not an exaggeration when basketball pundits claim that this could possibly be the most entertaining SEABA Championship in recent memory especially with the level of play heightened by the ASEAN Basketball League.

Now we can get to talk about the Thailand National Team.


Here we go:

  • That’s a whole lot of Orange.

The initial 22-Player Pool featured a whopping eleven players from the Mono Vampires.
That’s 50% of the entire pool.
That’s like putting the entire Cleveland Cavaliers on the US National Team Pool except for JR Smith (because let’s face it, he wouldn’t pass the drug test).
That’s like putting the entire San Miguel Beermen on the Philippines National Team Pool (which actually wouldn’t be a bad idea if all of them were eligible…and that’s a different story).

Two Vampires players were eventually swapped out in the update but that’s still 9 players dominating that talent pool.

At first it looks bad for the image of the National Team selection process, but let’s set our prejudice aside and take a look at the facts. There’s a reason that the Vampires are back-to-back TBL Champions and reigning TBSL champions. They just clearly have an abundant supply of the best talents in Thailand.

Moving on.

  • 22?

Interestingly, the announced number of players in the pool was 22 as opposed to the usual 24 that is required from FIBA for the initial roster submission.

Here’s my “way out there” assumption: those spots are reserved for two of the 4 Thai-Foreigners among Justin Bassey, Tyler Lamb, Moses Morgan, and Freddie Goldstein.

My guess is that they have submitted two of those names to FIBA/SEABA already, but are not willing to announce said names without having sealed an agreement.

I’d say BSAT sent the names of Bassey and Lamb to complete the 24-Player Pool just in case those two could commit to the national team when the time comes. Bassey is an easy selection with his solid play in NCAA Div.1 with Harvard. I’d guess BSAT would take Lamb over Morgan/Goldstein judging from his Heritage Import MVP degree from the ASEAN Basketball League.

At the time of writing, it seems quite unlikely that neither Bassey nor Lamb will be joining the National Team as Lamb has said that he will not be joining the team in Manila already.

  • Next Generation

Coach Tim Lewis has not shied away from the fact that he wants to usher the Thailand National Team into the next generation of players already.

He’s been loading major minutes to younger players like Chanathip Jakkrawan and Teerawat Jantajon while also piling the scoring load on up-and-coming talents like Chitchai Ananti and Nagorn Jaisanuk.

Guntapong Korsah-Dick (1997) got a surprise call up to the FIBA Asia Challenge tournament and he’s been performing well enough since to merit his selection. He joins the Jakkrawan, Attaphong Leelapipatkul, and Phurinan Nantho as the gang of players under 20 years of age.

  • Arms That Go Forever

Other than emphasizing on youth, Coach Lewis also seems to have a soft spot for long-limbed players. Aside from the usual call-ups, Lewis chose to pick some players who might not have played many minutes in local leagues but fit a certain profile.

Naratip Boonserm (5.6 MPG), Anurak Rodlieng (6.7 MPG), Peeranat Semeesuk (8.9 MPG), Narongrit Baanmoo (10.6 MPG), Pairach Sekteera (7.0 MPG), and even Teerawat Chantachon (8.9 MPG) didn’t play much in the recent tournament, but they all had one thing in common: they are long and relatively agile.

These players (with the exception of Sekteera) are still relatively young and have some room to grow, so it might be worth a chance putting them in the National Team Pool and see if they do expand their game to match their intriguing physique.

  • MIA: Missing In Action

I personally think this is a solid 22-Player Pool to work with. Coach Lewis has selected his usual core of star players (Samerjai, Ananti, Meungboon, Dasom, among others) while also picking up some interesting project pieces to experiment with.

We might get to see him toy around with 1-2 surprise selections in the SEABA Championship in preparation for the SEA Games in August.

With that said, I wouldn’t have minded if these players had been included into the pool:

  1. Wattana Suttisin (Hitech): He might not fit in as a “Young” player, but Suttisin can still get you a quick basket when you need it. He’s touch of experience could have been valuable as well. He’s come a long way from tearing his ACL in his last national team call up (SEA Games 2015) and it would have been a nice story if he clawed his way back into the team.
  2. Kittitep Dasom (Thai General Equipment): The youngest Dasom still needs a lot of work refining his shot, but that makes it even more impressive how much damage he can do already. Dasom has good handles, good court vision, and good speed which all combines into a very good guard prospect. (He’s also currently injured so…)
  3. Pongsakorn Jiamsawad (PEA): He didn’t put up insane numbers, but the kid just turned 17 after a full season of playing against grown men for almost 15 minutes a game. Jiamsawad will most certainly be on the U18 National Team squad heading into next year, and it would have been fun to see Coach Tim Lewis work out with a legitimate prospect of the future.

That’s pretty much all the fun we can do with breaking down a 22-Player Pool. So let’s wrap it up with my PERSONAL prediction/preference of who will end up in the Final 12!

Disclaimer Note: The following list is just my own PERSONAL prediction and preference of who would make the Final 12 Player roster for the Thailand National Team for the SEABA Championship 2017. Sure, you might not agree with my selection but in the end it doesn’t matter because Coach Tim Lewis will be selecting this team anyways and my opinion will be just a speck of dust in a long history of meaningless predictions.

Guards:

Nattakarn Meungboon, Kannut Samerjai, Guntapong Korsah-Dick

Wings:

Chitchai Ananti, Nagorn Jaisanook, Wuttipong Dasom, Patipan Klahan, Darongphan Apiromwilaichai, Phurinan Nuntho

Big Men:

Chanathip Jakkrawan, Teerawat Jantajon, Sukdave Ghogar

WOW. This was actually harder than I thought it would be.

I had 8 players I considered as locks (which means I will be very surprised if they are cut) and they are highlighted in bold. These 8 players have proved their worth throughout the past recent tournaments for Thailand and their track record speaks for themselves.

The selection of Apiromwilaichai was a bit more troublesome that I anticipated. Here was a guy who has consistantly performed in all stages of competition. However, he’s also not getting any younger and with a bevy of other younger forward prospects waiting in-line, I hesitated a bit before typing in Apiromwilaichai’s name. In the end though, he’s proven that he’ll get the job done for whatever you ask him to do in addition to much needed veteran leadership.

Ghogar was another national team regular that I couldn’t write in immediately. His development has been a bit concerning and looks a bit lost trying to decide between being a stretch-4 or a low post-5. It was too hard to deny his familiarity with playing in the international level and this certain core group of players. He slightly edged out Nopporn Saengthong (consistent good veteran who is not afraid to deal out a blow) and Narongrit Baanmoo (young, long prospect).

Coach rarely reach out to the 11th-12th players in their lineups, so I’d use these slots for projects that will benefit from the experience of being on the team. Korsah-Dick’s athleticism will warrant him some minutes to shift the tempo, but the lead guards will still be mainly either Samerjai or Meungboon. Nuntho is still probably a bit too raw to put up consistent production, but don’t be surprised if the former youth National Team standout churns out an impressive game.


What do you think of the 22-Player Pool for the Thailand National Team?
Who do you think will make the Final 12 Player Roster?
What do you think will be their strengths and what do you think will be their weaknesses?
How far do you think they can go?

Don’t be shy and share your opinions!

NOTE: As of the time of writing, I had forgotten that Korsah-Dick had suffered a knee injury and will be out of consideration for SEABA 2017.

Player Pictures and Cover Photo from “Basketball Thailand”


อ่านภาษาไทยต่อจากนี้เลยครับ


ด้วยเวลาที่เหลืออีกไม่ถึงเดือนก่อนที่จะแข่งรายการชิงแชมป์ SEABA 2017 ที่เมืองมนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ในที่สุด ทีมชาติไทยก็ดูเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นแล้ว!

[For English, read here]

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ทางสมาคมบาสฯ ได้ประกาศเรียกรายชื่อผู้เล่นมาเพื่อคัดทีมชาติไทยชุดที่จะไปแข่งรายการชิงแชมป์ SEABA ที่จะถึงนี้ ผมจำได้แม่น เพราะมันเป็นวันก่อนวันเกิดผม แล้วผมเองก็ใช้เวลาในการเรียบเรียงบรรยายความคิดเห็นอยู่เนิ่นนาน

และนี่คือรายชื่อที่ประกาศตอนนั้น:

กานต์ณัฐ เสมอใจ, โมโน แวมไพร์
โสฬส สุนทรศิริ, โมโน แวมไพร์
ชิตชัย อนันติ, โมโน แวมไพร์
ดรงค์พันธ์ อภิรมย์วิไลชัย, โมโน แวมไพร์
พีรณัฐ เสมมีสุข, โมโน แวมไพร์
ธีรวัฒน์ จันทะจร, โมโน แวมไพร์
รัชเดช เครือทิวา, โมโน แวมไพร์
ชนะชนม์ กล้าหาญ, โมโน แวมไพร์
ไพรัช เสกธีระ, โมโน แวมไพร์
นราธิป บุญเสริม, โมโน แวมไพร์
อนุรักษ์ รอดเลี้ยง, โมโน แวมไพร์
บัณฑิต หลักหาญ, ไฮเทค
ณกรณ์ ใจสนุก, ไฮเทค
วุฒิพงษ์ ดาโสม, ไฮเทค
ปฏิภาณ กล้าหาญ, ไฮเทค
สุขเดฟ โคเคอร์, ไฮเทค
อรรถพงษ์ ลีลาพิพัฒน์กุล, ไทยเครื่องสนาม
ชนาธิป จักรวาฬ,ไทยเครื่องสนาม
ณัฐกานต์ เมืองบุญ, โมโน-ทิวไผ่งาม
สุวิชัย สุวรรณ, โมโน-ทิวไผ่งาม
กันตพงษ์ คอร์ซา-ดิค, แมดโกท
อนุชา ลังสุ่ย, แมดโกท

แต่เดี๋ยวก่อน!!! ก่อนที่จะมีปฏิกิริยาตอบสนองกับรายชื่อ ผู้เล่น 22 คนชุดนี้ ผมจะชี้แจงสิ่งที่ผมคาดการณ์ว่าคุณต้องคิดอยู่แน่ๆ:

  • เออ ใช่ ผู้เล่นของโมโนฯ เยอะจริง
  • เออ ใช่ ไม่มีชื่อของ ไทเลอร์ แลมป์ หรือ โมเสส มอร์แกน หรือ เฟรดดี้ โกล์ดสตีน เลยแม้แต่คนเดียว ในฐานะผู้เล่น “โอนสัญชาติ”
  • เออ รู้แล้ว ชื่อของไอ้หนู จัสติน แบสซี่ ก็ไม่มี

เรื่องพวกนี้ เห็นๆ กันอยู่ แทบจะโดดออกมากระโจนใส่หน้า แต่ เราจะค่อยไปแคะแกะเกาทีละเรื่องในช่วงต่อมา ก่อนที่เราจะไปตรงนั้น ก็ต้องมีการชี้แจงต่อว่า รายชื่อผู้เล่น 22 คนนั้น ก็เป็นไปตามนั้นอยู่เกือบๆ สองเดือน และมีการร่วมซ้อมกันของผู้เล่นที่มีรายชื่อ สำหรับคนที่ไม่ติดการแข่งขันรายการ TBSL ในรอบเพลย์ออฟ

แล้วอยู่ดีๆ วันหนึ่ง ทางเฟสบุ๊คเพจ “Basketball Thailand” ก็มีการประกาศแจ้งอย่างกะทันหัน ว่าด้วยการประกาศรายชื่อผู้เล่นที่ได้รับคัดเลือกเพื่อเตรียมทีม ซึ่งก็เกือบจะเหมือนรายชื่อเดิม แต่มีเปลี่ยนแปลงรายละเอียดกับผู้เล่น 4 คน

เปลี่ยนออก

รัชเดช เครือทิวา, โมโน แวมไพร์
พีรณัฐ เสมมีสุข, โมโน แวมไพร์
สุวิชัย สุวรรณ, โมโน-ทิวไผ่งาม
อนุชา ลังสุ่ย, แมดโกท

เปลี่ยนเข้า

ภูรินันท์ นันโท, ไทยเครื่องสนาม
นพพร แสงทอง, โมโน-ทิวไผ่งาม
ณรงค์ฤทธิ บ้านหมู่, ดังกิน แรพเตอร์ส
ชัชพล จึงแย้มปิ่น, ไทยเครื่องสนาม

ถึงแม้ว่า การประกาศครั้งนี้ ไม่ได้แนบมาด้วยเอกสารจากสมาคมบาสฯ อย่างที่ปกติจะแนบ อย่างไรก็ตาม ทีมชาติก็ได้มีการซ้อมกันมาตลอดอย่างต่อเนื่อง ในรูปที่แนบมา อาจจะมีผู้เล่นมาร่วมซ้อมไม่คึกคักมากนัก แต่ก็มีเพิ่มขึ้นมาตลอดในช่วงหลายวันที่ผ่านมา

เอาละ มาเริ่มเจาะลึกกันซักนิดกับรายชื่อกลุ่มนี้ดีกว่า


…ยังดีกว่า ขอขั้นรายการซักครู่ ก่อนที่เราจะมาศึกษารายละเอียดของผู้เล่นชุดนี้ เรามาย้อนดูผลงานของทีมชาติไทยในช่วงที่ผ่านมา กับรายการชิงแชมป์ SEABA กันหน่อย

รายการนี้ ได้มีการจัดขึ้นมาแล้วเป็นครั้งที่ 11 แต่จะเป็นการร่วมแข่งขันครั้งที่ 3 เท่านั้นของทีมชาติไทย ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา

ตลอดช่วงเวลานั้น ทีมชาติสิงคโปร์ มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย ต่างก็ไม่เคยพลาดที่จะร่วมแข่ง ส่วนทางฟิลิปปินส์ ก็ไม่เข้าร่วมในปี 2013 เพราะว่า ตนเข้ารอบสู่การแข่งขันรอบ FIBA Asia เรียบร้อนแล้วด้วยสิทธิการเป็นเจ้าภาพ ดังนั้น มันจึงเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงที่ทีมชาติไทยจะขาดตอนกับการแข่งขันรายการนี้

แต่กลับมาดีใจได้อีกครั้ง ที่ทีมชาติไทยจะกลับมาร่วมแข่งในปีนี้

ครั้งสุดท้ายที่ทีมชาติไทยเข้าร่วมแข่งขัน คือ ปี 2013 ซึ่งบังเอิญเป็นครั้งแรก และ ครั้งเดียวเดียวกันที่ได้เหรียญทองจากรายการนี้

แต่เอาหน่ะ ปีนี้ก็กลับมาแล้ว ทำให้เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2007 ที่ทั้งฟิลิปปินส์ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และ สิงคโปร์ จะลงแข่งในรายการนี้ พร้อมๆ กัน

เพราะฉะนั้น จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่สื่อหลายๆ ฝ่าย ได้ทำการคาดการณ์ว่า การชิงแชมป์ SEABA ในรอบนี้ น่าจะเป็นการแข่งขันที่สนุกสนาน ตื่นเต้น และ เร้าใจมากที่สุด ในประวัติศาสตร์เลยก็ว่าได้

เอาละ ในที่สุด เราก็มาพูดถึงรายชื่อ 22 คนนี้ได้ซักที


เริ่มยังไงดี…

  • “รายชื่อมันสีส้มแป๋นมาเชียวนะ…”

รายชื่อ 22 คนที่ประกาศตอนแรกนั้น มีผู้เล่นโมโน แวมไพร์ ถึง 11 คน
นั่นมันครึ่งนึงเลยนะว้อยยย
ถ้าให้เปรียบก็คงเหมือนกันยัดเอาทีม คลีฟแลนด์ แคฟวาเลียร์ ทั้งทีมมาติดคัดทีมชาติอเมริกา (ยกเว้น เจอาร์ สมิธ เพราะมันตรวจสารเสพย์ติดไม่ผ่านแน่ๆ…)

พอมีการเปลี่ยนแปลงรายชื่อ ก็มีการลดผู้เล่นของโมโน แวมไพร์ ออกไปสองคนก็จริง แต่ก็ยังแปลว่า มีผู้เล่น โมโน แวมไพร์ ถึง 9 ทีมในรายชื่อผู้ร่วมคัดอยู่ดี

มองแว่บแรก อาจจะดูไม่ดี และ ทำให้เกิดความคลางแคลงใจและสงสัยในขั้นตอนการเลือกนักกีฬาทีมชาติ
แต่ลองถอยออกมาซักนิด แล้วมองอย่างไร้อคติ เราก็อาจจะได้แนวคิดว่า “เฮ้ย นี้คือทีม โมโน แวมไพร์ ที่เป็นแชมป์ TBL สองสมัยติด แถมยังเป็นแชมป์ TBSL อีกด้วยนะว้อย”
การที่จะมีรายชื่อผู้เล่นจากทีมที่เรียกได้ว่าเก่งที่สุดในประเทศตอนนี้ ติดรายชื่อมากขนาดนี้ มันก็ไม่ใช่เรื่องแปลกไม่ใช่เรอะ?

เอาละ ไปกันต่อ

  • 22 คนหรอ?

สิ่งที่น่าสนใจคือ การที่ประกาศผู้เล่นเข้าร่วมกันคัด 22 คน จากที่ปกติเดิมที่จะเรียกมา 24 คน ซึ่งเป็นจำนวนรายชื่อมาตรฐานที่ต้องส่งให้ FIBA ในระดับเบื้องต้นก่อนส่งรายชื่อ 12 คนสุดท้ายอีกที

ผมลองเดาแบบมั่วๆ นะ อีก 2 รายชื่อที่หายไป ผมว่า มีการส่งรายชื่อ ลูกครึ่งไทย สองคนไปแล้ว ไม่คนก็ใดก็คนหนึ่งใน 4  รายชื่อ จัสติน แบสซี่, ไทเลอร์ แลมป์, โมเสส มอร์แกน, และ เฟรดดี้ โกล์ดสตีน

คาดว่า คงต้องมีการส่งรายชื่อไปล่วงหน้า แต่ยังตกลงเจรจาเรื่องการเข้าร่วมแข่งขันไม่เรียบร้อย

ถ้าอยากจะให้เดาจริงๆ ก็คิดว่าทางสมาคมบาสฯ คงส่งชื่อ จัสติน กับ ไทเลอร์ ไป
แน่นอนว่า จัสติน เป็นตัวเลือกที่ง่ายมาก ด้วยผลงานที่น่าประทับใจมาอย่างต่อเนื่องกับมหาวิทยาลัย ฮาเวิร์ด สำหรับไทเลอร์ นั้น ได้เปรียบเหนือกว่า ด้วยดีกรีระดับ MVP Heritage Import จาก ABL

อย่างไรก็ตาม ข่าวสุดตอนนี้ ดูเหมือนว่าจะไม่มีทั้งสองคนมาร่วมแข่ง แถม ไทเลอร์ ยังออกมาชี้แจงด้วยตัวเองแล้วว่าจะไม่ได้ไปที่ มนิลา เพื่อทำการแข่งขันชิงแชมป์ SEABA

  • ยุคทองกำลังจะมา

โค้ช ทิม ลูอิส เคยกล่าวมาหลายครั้งแล้วว่า เขาพร้อมที่จะผลักดันยุคถัดมาของทีมชาติไทยแล้ว

ในรายการแข่งขันที่ผ่านๆ มาเขาได้มีการเพิ่มภาระหน้าที่และการลงเล่นให้กับ “โอม” ชนาธิป และ “บิ๊ก” ธีรวัฒน์ มากขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มบทบาทการทำคะแนนให้กับ “เป้” ชิตชัย และ “หรั่ง” ณกรณ์ มากขึ้น

สำหรับ “โทนี่” กันตพงษ์ คอร์ซา-ดิค ได้รับการเรียกติดทีมชาติแบบเหนือความคาดหมายในรายการ FIBA Asia Challenge และก็ทำผลงานได้ดีมาเรื่อยๆ ตามลำดับ ในกลุ่มผู้เล่นที่ถูกเรียกมาชุดนี้ ก็จะมี โทนี่, โอม, “เต้” อรรถพงษ์, และ “เติร์ก” ภูรินันท์ ที่อายุยังไม่ถึง 20 ปี จึงคาดการณ์ไว้ว่าน่าจะเป็นกองกำลังหลักชุดต่อไปของทีมชาติไทย

  • ยืดดดดดยาววววววว

นอกจากการเน้นปั้นนักกีฬาชุดใหม่ของทีมชาติแล้วโค้ช ทิม ยังดูมีความสนใจเป็นพิเศษกับลักษณะร่างกายในรูปแบบที่เรียกว่า “ก้านยาว” ในบรรดาผู้เล่นที่ถูกประกาศชื่อมา นอกจากตัวหลักๆ ที่คุ้นหน้าคุ้นตา ก็จะมีผู้เล่นอีกกลุ่มที่อาจจะไม่ได้ลงเล่นมากเท่าไหร่นัก แต่มีลักษณะร่างกายที่สูง และ แขนขายาว กว่าผู้เล่นโดยทั่วไป

ในรายการ TBSL ที่ผ่านมา “ต้น” นราธิป (5.6 นาทีต่อเกม), “ทอป” อนุรักษ์ (6.7 นาทีต่อเกม), “พี” พีรณัฐ (8.9 นาทีต่อเกม), และ “อั้น” ณรงค์ฤทธิ (10.6 นาทีต่อเกม), “แวน” ไพรัช (7.0 นาทีต่อเกม), หรือ แม้แต่ “บิ๊ก” ธีรวัฒน์ (8.9 นาทีต่อเกม) ต่างก็ไม่ได้ลงเล่นมากเท่าไหร่ แต่ทั้งหมดมีความคล้ายคลึงกันในเรื่องของลักษณะแขนขายาว

กลุ่มผู้เล่นชุดนี้ (นอกจาก แวน ไพรัช) ถือว่าอายุยังน้อยอยู่ และ มีศักยภาพที่จะพัฒนาได้อีกมาก เพราะฉะนั้น การที่เรียกติดคัดทีมชาติมา ก็อาจจะเป็นผลที่ดีได้ในระยะยาว

  • เหล่าผู้หล่นหายระหว่างทาง

ผมคิดว่า รายชื่อ ผู้เล่น 22 คนที่ประกาศมานั้น ก็ถือว่าเป็นรายชื่อที่ดี และ มีศักยภาพ โค้ชทิม ได้ผสมระหว่างกลุ่มแกนหลัก​ (บาส เป้ อาร์ม รูเบน ฯลฯ) ในขณะเดียวกัน ก็มีหยิบจับผู้เล่นที่น่าสนใจมาทดลองอีกด้วย

ผมคิดว่า เราน่าจะได้เห็นเขา เลือกผู้เล่นที่น่าสนใจ และ เหนือ ความคาดหมายซัก คน หรือ สอง คน มาลองใช้ในรายการชิงแชมป์ SEABA นี้ เพื่อเตรียมสำหรับ SEA Games ช่วงปลายปี

อย่างก็ตาม ผมคิดว่า มีผู้เล่นบางคน ที่ผมอยากเห็นมาร่วมในชุดผู้เล่นคัดทีมชาติชุดนี้เหมือนกัน:

  1. วัฒนา สุทธิสินธุ์ (ไฮเทค): เขาอาจจะไม่ใช่ผู้เล่น “ดาวรุ่ง” ซักเท่าไหร่แล้ว แต่ “คานู” ยังเป็นผู้เล่นที่เชื่อใจได้เรื่องการทำแต้ม เขาเป็นคนที่มีประสบการณ์ระดับนานาชาติ​พอสมควรด้วย ตลอดช่วงสองปีที่ผ่านมา เขาพักฟื้นจากการบาดเจ็บเอ็นไขว้หน้าเข่าจากการลงแข่งรายการ SEA Games 2015 และมันก็คงเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจ หากเขาจะกลับมาติดได้อีกครั้ง
  2. กิตติเทพ ดาโสม (ไทยเครื่องสนาม): น้องสุดท้องของตระกูล ดาโสม ที่เล่นในลีกไทย ยังต้องมีการพัฒนาเรื่องการยิงมากพอสมควร แต่ แค่ทักษะที่มีติดตัวอยู่ตอนนี้ ก็ทำให้เป็นผู้เล่นที่น่าสนใจมากพอแล้ว ด้วยการเลี้ยงลูกที่คล่องแคล่ว และ หนักแน่น การจ่ายบอลที่มองเห็นอย่างทั่วถึง และ ความเร็ว ทำให้เขาเป็นการ์ดที่น่าจับตามองต่อๆ ไป (แต่น่าเสียดาย ที่มีอาการบาดเจ็บไปซะก่อน)
  3. พงศกร เจียมสวัสดิ์ (สโมสรการไฟฟ้าฯ): คนนี้ไม่ใช่ว่า จะทำผลงานทางสถิติที่โดดเด่นออกหน้าออกตา แต่ ไอ้หนูคนนี้ เพิ่งอายุ 17 ปีเท่านั้นและได้เล่นร่วมกับผู้ใหญ่ที่ร่างกายดีกว่า ประสบการณ์มากกว่ามาตลอดฤดูกาลแล้ว แถมยังลงเกือบ 15 นาทีต่อเกมด้วย
    แน่นอนว่า “บูม” จะเป็นตัวหลักของทีมชาติชุด U18 ปีหน้า และ มันคงจะเป็นสัญญาณที่ดี หากว่า โค้ชทิม ได้เรียกเขาเข้าซ้อมเพื่อขัดเกลาอนาคตของทีมตั้งแต่ตอนนี้

เอาละ สำหรับการวิเคราะห์รายชื่อผู้เล่นคัดทีมชาติ 22 คน ก็คงทำได้เพียงเท่านี้ ในเบื้องต้น มาสรุปจบตบท้ายด้วย การคาดการณ์ (อย่างโคตรเอาแต่ใจ) สำหรับรายชื่อผู้เล่น 12 คนสุดท้ายที่จะเป็นผู้ที่ไปแข่งรายการชิงแชมป์ SEABA 2017 ดีกว่า!

หมายเหตุ: รายชื่อเหล่านี้ เป็นเพียงความเห็น และ การคาดการณ์ส่วนตัวเท่านั้นนะครับ แน่นอนว่าอาจจะมีไม่ถูกใจใครบางคนบ้างในแต่ละรายละเอียด
แต่ท้ายสุดแล้วคนที่จะตัดสินใจจริงๆ ก็ไม่ใช่ผมอยู่ดี ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของโค้ช ทิม ดีกว่า

การ์ด:

“อาร์ม ณัฐกานต์ เมืองบุญ, “บาส” กานต์ณัฐ เสมอใจ, “โทนี่” กันตพงษ์ คอร์ซา-ดิค

ปีก:

“เป้” ชิตชัย อนันติ, “หรั่ง” ณกรณ์ ใจสนุก, “รูเบน” วุฒิพงษ์ ดาโสม, “ปาล์ม” ปฏิภาณ กล้าหาญ, “ปาล์ม” ดรงค์พันธ์ อภิรมย์วิไลชัย, “เติร์ก” ภูรินันท์ นันโท

วงใน:

“โอม” ชนาธิป จักรวาฬ, “บิ๊ก” ธีรวัฒน์ จันทะจร, “เดฟ” สุขเดฟ โคเคอร์

ฮืมม พอลงมาลงรายชื่อจริงๆ แล้ว ลงยากกว่าที่คิดไว้เยอะเลย

ผู้เล่นที่ผมคิดว่า ไม่มีทางหลุดโผแน่ๆ ก็มี 8 คน ตามที่ได้ลงตัวอักษรเข้มสีแดงไว้ ซึ่ง 8 คนนี้ ก็ได้แสดงผลงานที่ดีมาอย่างต่อเนื่องตลอดรายการที่ผ่านๆ มา รวมไปถึง ศักยภาพในการพัฒนาต่อๆ ไปด้วย

สำหรับการเลือก “ปาล์ม” ดรงค์พันธ์ นั้น ผมก็ครุ่นคิดพอสมควร ทั้งๆ ที่ดีกรี และ ผลงานที่คงที่ ของเขา น่าจะทำให้เป็นตัวเลือกที่ปฏิเสธได้ยาก แต่ในทางกลับกัน ตำแหน่งปีกเป็นตำแหน่งที่มีดาวรุ่งพร้อมรอทดแทนขึ้นมาอีกมาก จึงต้องชั่งใจ พอสมควร
ท้ายสุดแล้ว ความเก๋า และ ประสบการณ์ รวมไปถึงความครบเครื่องของ “ปาล์ม” เป็นสิ่งที่ทำให้ผมตัดสินใจเลือกเขาเหนือผู้เล่นในตำแหน่งปีกอื่นๆ ที่เหลือ

ในส่วนของ “เดฟ” สุขเดฟ ก็เป็นขาประจำทีมชาติอีกคนที่ผมต้องลังเลอยู่พักใหญ่ๆ อัตราการพัฒนาของเดฟ เหมือนจะชะลอตัวลงพอสมควร อีกทั้งตอนนี้เหมือนยังสับสนในใจว่า ควรจะเล่นตำแหน่ง พาวเวอร์ฟอร์เวิร์ดสายยิง หรือ เซนเตอร์คลุกวงใน
แต่ความคุ้นเคยของเขากับ ระบบ และ เพื่อนร่วมทีม ทำให้เบียด “นก” นพพร และ “อั้น” ณรงค์ฤทธิ ไปได้ในรายชื่อ 12 คนสุดท้ายของผม

ส่วนใหญ่แล้ว โค้ช มักจะไม่ค่อยได้ใช้ผู้เล่นคนที่ 11 และ 12 เท่าไหร่นัก ผมจึงตัดสินใจจะใช้สองตำแหน่งสุดท้ายกับผู้เล่นที่เรียกว่า “โปรเจคระยะยาว” มากกว่า อาจจะไม่ได้คาดหวังกับผลงาน เวลาลงเล่นมาก เท่ากับ การให้ได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์เผื่อเรียกใช้ในอนาคต
สำหรับ โทนี่ นั้น ความสามารถทางร่างกายที่เป็นเลิศของเขา คงทำให้ โค้ชทิม ต้องงัดออกมาลองใช้บ้าง แต่อย่างไรก็ตาม การ์ดหลักของทีมก็ยังไม่พ้น บาส และ อาร์ม แน่นอน
ทาง เติร์ก ยังต้องเก็บประสบการณ์เพิ่มอีกก่อนที่จะลงเล่นระดับชาติในชุดใหญ่อย่างต่อเนื่อง แต่ อย่าแปลกใจ ถ้าเขาได้โอกาสลงไป และทำผลงานได้ดีในเกมใดเกมหนึ่ง


คิดอย่างไรกันบ้างสำหรับรายชื่อผู้เล่น 22 คนคัดทีมชาติบ้างครับ?
แล้วคิดว่าใครจะติดรายชื่อ 12 คนสุดท้าย?
ข้อเด่น และ ข้อเสีย ของทีมชาติชุดนี้ น่าจะมีอะไรบ้าง?
คิดว่าทีมนี้จะไปได้ไกลแค่ไหน?

ลองแชร์ความเห็นกันได้เลยครับ อย่าเขินอายเลย

รูปภาพผู้เล่น และ รูปปกบทความจาก เพจ “Basketball Thailand”

Advertisement

4 thoughts on “2017 SEABA Championship Thailand National Team 22-Player Pool

  1. Samerjai, Ananti, Jaisanok, Dasom, Klahan and Jantahon are for me the best players in the pool. You’ve got them in your playing dozen TK so I guess you have the best selection in there. But I just really hope Tyler’s gonna change his mind and will plane with the team in Manila next month. He’s a game changer and he’ll surely help out the team perform better. But no matter what, with or without Tyler or Bussey or Morgan, the team truly has the best fighting chance from among the other teams in the region against Gilas.

  2. I recognize many of the same players that played last year in Thailand. If they can bring their grit and determination from their previous incarnation, then they can be a force to be reckoned with.

    BTW, the Philippines has already announced their final 12 lineup. Any thoughts or analysis? Your favorite Jio Jalalon is going to be there.

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.