Explaining Thailand Basketball, ABL, and TBSL

Over the past few weeks, I have been updating the player movement in the ASEAN Basketball League and in Thailand. This has led to large number of people asking me both publicly and privately the same question: Why isn’t Thailand in the ASEAN Basketball League this season?

[อ่านภาษาไทย คลิกที่นี่เลยครับ]

The ASEAN Basketball League is a professional basketball league for teams in the ASEAN community (with some recent exceptions). This upcoming season that will kickoff on the 25th of November will be the 7th season of the league. The teams participating this season will be the defending champions Westports Malaysia Dragons (Malaysia), Singapore Slingers (Singapore), Saigon Heat (Vietnam), Alab Pilipinas (Philippines), Hong Kong Eastern Long Lions (Hong Kong), and Kaohsiung Truth (Chinese-Taipei).

As you might have noticed, there is not a single team from Thailand.

This will be the first ever season without a representative from Thailand. For the each of the past 6 seasons, at least one team from Thailand has participated in the ABL:

Season One: Thailand Tigers

Photo Credit: Redsports.SG
Photo Credit: Redsports.SG

Season Two: Chang Thai Slammers

Photo Credit: Techin Tiyavanit
Photo Credit: Techin Tiyavanit

Season Three: Chang Thai Slammers, Bangkok Cobras

Photo Credit: Siam Sports
Photo Credit: Siam Sports

Season Four: Sports Rev Slammers

Photo Credit: Paul Ryan Tan (ABL)

Season Five: Hitech Bangkok City

Photo Credit: Kuk Onvisa Thewphaingarm
Photo Credit: Kuk Onvisa Thewphaingarm

Season Six: Hitech Bangkok City, Mono Vampires

Photo Credit: Kuk Onvisa Thewphaingarm
Photo Credit: Kuk Onvisa Thewphaingarm

Season Seven: None.

For a nation that has produced 2 championship teams to suddenly have no participating clubs at all is quite shocking. Thai players have always been a colorful part of the ABL whether it was ASEAN MVP Attaporn Lertmalaiporn, Star Player turned Team Manager Piyapong Piroon, feared sharpshooter Ratdech Kruatiwa, high-flying Wuttipong Dasom, or wispy ball wizard Kannut Samerjai. The timing is even more confusing with last year’s sudden influx of three high-level Thai-American players (Tyler Lamb, Moses Morgan, Freddie Lish).

Hitech Bangkok City were coming off a Semifinal finish following a Championship run. Last season’s ending was a bit disappointing and underwhelming, but the situation didn’t seem too far beyond repair.

The Mono Vampires suffered a miserable maiden season in the ABL with only 3 wins over 20 games … but the future looked bright with the local talents that they had on their team. It seemed like it would only take a couple of polishes in the front office to form a force to be reckoned with in the league.

Alas, here we are with the ABL season about to kick off and none of the two promising clubs in sight.

What the hell happened here?


Here’s one rumor that needs to be immediately debunked right off the bat:

The ABL has new rule limiting each country to one team, so the Thai teams decided not to join if they both weren’t able to join.

While that does sound like a nice gesture by both teams in standing up against the league, the theory falls short for a significant reason: the ABL has no such rule about limiting one country to one team, despite what some reports might say. If there is already one team from a certain country in the ABL, the league would probably need a greenlight from the former team if they can accept the second team to join. This is to prevent problems concerning teams acquiring sponsorship and so forth. However, there is no rule forbidding so.

So what was it that caused the two teams to back off?

One thing us fans need to understand is that the ASEAN Basketball League currently has no prize money (as I know of). Teams battle it out season long for one-year bragging rights of being the best professional basketball club in the league. That could cause a financial burden when considering that the team has to shoulder other costs throughout the season as well.

According to sources and a post via Hitech Basketball Club, both Hitech Bangkok City and the Mono Vampires sat down and tried to figure out if there was a way that they could still play in a competitive league while not having to shoulder the costs of playing in the ASEAN Basketball League.

And thus, that moment birthed the Thailand Basketball Super League.


The Thailand Basketball Super League first made it’s buzz publicly a little while after the TBL Finals when Mr. Pete Bodharamik, president of the Mono Group, mentioned in his celebratory post:

เตรียมพบกับ Thailand Basketball Super League (TBSL2016) ในช่วงปลายปี – มาดูกันว่า Mono Vampire จะผ่านบททดสอบกับทีมระดับ Asean ได้หรือไม่

or

Prepare to experience the Thailand Basketball Super League (TBSL 2016) later this year. Let’s see how the Mono Vampire’s will fare against ASEAN level competition.

The league was then again mentioned in the Hitech Bangkok City Facebook post linked above, a couple of days before the “TBSL” Facebook page emerged.

Details of the league fluctuated depending on your source, but the common information was that there would be teams from other countries in the ASEAN region participating as well. At least 6 of the teams from the TBL would be participating in addition to 2-4 international teams. Import regulations were expected to differ as well, raising the limit from 2 to 3 for World Imports and 1 to 2 for ASEAN Imports. However, only 2 World Imports and 1 ASEAN Import would be on the court at a time. All games will be played at Mono’s Stadium29.

All of these details swirled around the rumor mill, differentiating here and there. The league was supposedly proposed to tipoff in November (as hinted by Mr. Bodharamik and mentioned by Hitech).

However, sources say that in the Board’s recent meeting, it was agreed that the league should be postponed until after the New Years and would be held from January to April instead. Couple that with the recent events in Thailand, and it was more than reasonable that the league had to wait before being able to resume action.

So with both teams looking for a cost-saving alternative that would still keep their teams in competitive shape, they made one themselves.

Let’s take a look a deeper look.


Benefits of the TBSL:

We’ve already started talking about the direct financial benefits of the teams playing in the TBSL. For the participating Thai teams, this means that there is no more burden of paying for participation fees/flights/accomodations along with a lower per diem for players. There is also a rumored million baht prize money on the table, which means the Champions might even make money from playing here.

In addition to the costs saved, playing in Thailand also aids in the media coverage of basketball. It would be easier (and more enticing) for various media outlets to be able to cover the TBSL. The target market group would have interest in all of the games, rather than just the games played by the Thai teams in the ABL. Most importantly, Mono Group (who handles the media of the TBL) would have a much more content and much more control on the media in the TBSL than they would have had in the ABL.

The League also benefits for Thai players as a whole, as it gives them more games to play in. Maybe not so much difference for the Mono Vampires and Hitech who would be playing 20+ games in the ABL, but more for the other teams like Mono Thewphaingarm, Madgoats, OSK, and PEA who would otherwise be in idle mode during this period. Now with the TBSL (3 months), TBL (3 Months), Division 1/TBDL (1 month?) Thailand basketball players will now be in competition condition for more than half a year. This also gives the basketball federation more chances to look at talents to add to their national team pool.


Benefits of the ABL:

It’s not only about the level of competition of the ABL that draws attention, it’s also the variety of competition in the ABL. The Thai teams would have gotten to play against the top clubs of each country, which usually means playing against the top players of each country as well. Teams and players are exposed to different styles of basketball, which are cultivated differently in each area. Players and coaches get a chance to get used to playing against a certain player and a certain style, which helps raise the level of competition once it comes to international play. While the TBSL is trying to do this by getting teams from other countries, it’s hard to get the same top notch level players when the majority are committed to playing in the ABL already.

The ABL also plays in a home/away system, which means that players are going to experience the feel of playing in front of a hostile crowd which is something you can’t get playing at one venue in the TBSL. This might seem like a small factor now, but it could play a bigger role once the new FIBA schedule kicks in where teams have to play in a home/away system as well.

Finally, one of the biggest advantages of playing in the ABL is the sensation of being the pride of a nation. Unlike in a local league where a fan would need a more detailed rationale to follow a team, teams participating in the ABL usually get a large following merely because they represent a certain country. Not only that, you also get to expose your team (and brand) to an international market. That exposure to the international market could be a great pitch for sponsors as well, which would help subsidize the costs of playing in the league. Playing in the ABL connects the participating teams together and widens out our reach.


Verdict

It all depends on which perspective you are looking from. It’s a tough choice to make as a team owner.

(in retrospect though, there might not have been a choice to make if the leagues were held on schedules that didn’t overlap…)

From a personal standpoint (and I highly emphasize on personal here), I’d prefer playing in the ABL. There’s obviously nostalgia playing a role in my preference here (since my start at basketball blogging went off with the ABL) but in my point of view, it’s what would be the best for player development in Thailand. Thai players get to play with elite talent from surrounding countries in hostile environment which prepares them for international competition. They’ll learn to adapt to different individual styles of offense and defense, other than the ones most have been playing against since high school.

And there’s also that air of national pride of the ABL. Even though there would be 2 (or even 3) teams from Thailand in the ABL, it’s always fun to root for a team under the Thai flag. It’s a unique feeling that it quite hard to duplicate.

Still…

I completely understand and respect the decision of the team owners. They overlook their entire basketball organizations, which covers more than just the basketball operations.

It’s not always going to be a basketball decision.

There are clearly benefits on both sides of the fence and losses as well. Whatever the case, this is the sort of decision where you could go right (or wrong) either way you choose.

And in any scenerio, we are still going to have basketball.


What do you think? Do you prefer your team playing in the ASEAN Basketball League? Or do you think this Thailand Basketball Super League is the better way to go?
Any way, we will be getting basketball so don’t be afraid to share you opinions anywhere on our social media accounts or in the comments section below:

  facebook_2015_logo_detail twitter-logo untitled-1


อ่านภาษาไทยต่อจากนี้เลยครับ


cover

ช่วงเวลาที่ผ่านมาสองถึงสามสัปดาห์ ทาง Tones & Definition ได้คอยรายงานการเคลื่อนไหวของผู้เล่นต่างๆ ในแวดวง ASEAN Basketball League และวงการบาสในประเทศไทย
และมันก็ได้จุดประเด็นคำถามจากผู้อ่านหลายๆ คนว่า “แล้วทำไมปีนี้ไม่มีทีมจากไทยแข่งใน ASEAN Basketball League ละ?”

[For English, read here]

ASEAN Basketball League หรือ ABL เป็น ลีกบาสเกตบอลอาชีพที่เริ่มต้นจากการเป็นลีกภายในภูมิภาค ASEAN (จนเมื่อได้ขยายออกเมื่อเร็วๆ นี้) ฤดูกาลที่กำลังจะทำการแข่งขันวันที่ 25 พฤศจิกายนนี้ จะเป็นฤดูกาลที่ 7 ของลีกที่เริ่มทำการแข่งขันครั้งแรกเมื่อปี 2009 ทีมที่จะเข้าร่วมในปีนี้ มี แชมป์เก่า เวสต์พอร์ต มาเลเซีย ดรากอนส์ (มาเลเซีย), สิงคโปร์ สลิงเกอร์ส (สิงคโปร์), ไซง่อน ฮีต (เวียดนาม), อาหลับ พิลิพินาส (ฟิลิปปินส์), ฮ่องกง อีสเทิร์น ลองไลออนส์ (ฮ่องกง), และ เกาชุง ทรูธ (ไต้หวัน).

และถ้าท่านผู้อ่านช่างสังเกตุพอ ก็จะเห็นว่า ปีนี้ ไม่มีทีมจากประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขัน

ฤดูกาลนี้ จะเป็นฤดูกาลแรกที่ไม่มีทีมจากประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขัน ที่ผ่านมาตลอด 6 ฤดูกาลจะมีทีมจากไทยอย่างน้อย 1 ทีมร่วมแข่งใน ABL มาเสมอ:

ซีซั่นที่ 1: ไทยแลนด์ ไทเกอร์ส

Photo Credit: Redsports.SG
Photo Credit: Redsports.SG

ซีซั่นที่ 2: ช้างไทยสแลมเมอร์ส

Photo Credit: Techin Tiyavanit
Photo Credit: Techin Tiyavanit

ซีซั่นที่ 3: ช้างไทยสแลมเมอร์ส, แบงค็อก โคบราส์

Photo Credit: Siam Sports
Photo Credit: Siam Sports

ซีซั่นที่ 4: สปอร์ตส เรฟ สแลมเมอร์ส

Photo Credit: Paul Ryan Tan (ABL)

ซีซั่นที่ 5: ไฮเทค บางกอก ซิตี้

Photo Credit: Kuk Onvisa Thewphaingarm
Photo Credit: Kuk Onvisa Thewphaingarm

ซีซั่นที่ 6: ไฮเทค บางกอก ซิตี้, โมโน แวมไพร์

Photo Credit: Kuk Onvisa Thewphaingarm
Photo Credit: Kuk Onvisa Thewphaingarm

ซีซั่นที่ 7: ไม่มีทีมไทยส่งแข่ง

ทีมตัวแทนจากประเทศไทยนั้น คว้าแชมป์รายการนี้มาได้แล้วถึง 2 ทีม เพราะฉะนั้น การที่อยู่ดีๆ จะไม่มีทีมส่งเข้าแข่งแบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย ก็เป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่าตกใจพอสมควร ผู้เล่นชาวไทยเองก็เป็นสีสันของรายการ ABL มาตลอด ไม่ว่าจะเป็น ผู้เล่น ASEAN ทรงคุณค่า “นพ” อรรถพร เลิศมาลัยภรณ์, ดาวยิงยอดผู้จัดการ “บอย” ปิยพงษ์ พิรุณ, มือปืนในตำนาน “เจโอ” รัชเดช เครือทิวา, จอมเหินหาว “รูเบน” วุฒิพงษ์ ดาโสม, หรือ การ์ดจ่ายหน้าหยกแต้มกระจาย “บาส” กานต์ณัฐ เสมอใจ ทุกคนก็ล้วนวาดลวดลายอย่างน่าประทับใจใน ABL มาแล้ว
การตัดสินใจที่จะไม่มีทีมส่งเข้าร่วมแข่ง ABL ปีนี้ ยังเป็นเรื่องที่น่าฉงนมากขึ้น ด้วยจังหวะที่เพิ่งมีลูกครึ่งไทย-อเมริกัน ที่เล่นบาสในระดับมหาวิทยาลัยที่อเมริกา เข้ามาในวงการบาสไทยสดๆ ถึง 3 คนพร้อมๆ กัน

ทีมไฮเทค บางกอก ซิตี้ ถึงแม้ว่าจะจบฤดูกาลที่ผ่านมาอย่างน่าผิดหวัง ตกรอบรองชนะเลิศไป แต่ไฮเทคฯ เองก็เพิ่งคว้าแชมป์รายการนี้ผ่านมาไม่เกิน 2 ปีเลยด้วยซ้ำ ถึงแม้ว่าผลงานจะดูถอยลงมาบ้าง แต่ก็ยังดูเป็นอะไรที่ยังแก้ไขกันได้

ส่วนทาง โมโน แวมไพร์ ถึงแม้ว่าจะเปิดตัวใน ABL ได้ไม่สวยหรูเท่าไหร่ ชนะเพียง 3 เกมจากการแข่ง 20 เกม … แต่ก็เป็นทีมที่กล่าวกันว่ามีอนาคตสดใส ด้วยผู้เล่นชาวไทยที่ฝีมือโดดเด่นหลายคน เหลือก็แต่เพียงการจัดการบริหารปรับปรุงเล็กๆ น้อยๆ ก็น่าจะไปได้ไกล

แต่แล้ว ตอนนี้ ABL กำลังจะเปิดฉากขึ้นแล้ว แต่เรากลับไม่เห็นแม้แต่เงาของทั้งสองทีมที่มีศักยภาพพอจะเป็นทีมที่น่าเกรงขาม

เฮ้ย! มันเกิดอะไรขึ้นเนี่ย?!


เอาละ มาเริ่มต้นกันก่อน กับ ข่าวลือเรื่องเหตุผลที่ทีมจากไทยไม่ร่วมแข่ง ABL ที่เป็นไปไม่ได้แน่นอน 100%:

เขาว่ากันว่า ABL มีกฏใหม่ที่จำกัดให้หนึ่งประเทศส่งได้เพียง 1 ทีมเท่านั้น พอทีมไทยรู้ว่าส่งไม่ได้ทั้งสองทีม ก็เลยไม่ส่งมันซะเลย

ก็เป็นความคิดที่น่ารักดี ถ้าหากทั้งสองทีมจับมือกันประท้วงต่อต้านกฏใหม่ของลีก เพียงแต่ว่า ข้อขัดแย้งของทฤษฎีนี้คือ ABL มันไม่มีกฏแบบนี้! แม้ว่าอาจจะมีสื่อบางเจ้ารายงานว่ามีก็เถอะ
ความจริงคือ ถ้าหากว่าประเทศใดประเทศหนึ่งมีทีมที่ส่งเข้าร่วมแข่งขันแล้วและมีทีมที่แสดงความจำนงจะส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันเพิ่ม ลีกจะต้องมีการไปเจรจาขออนุญาตกับทีมที่ร่วมลีกก่อน ทั้งนี้ เพื่อรับรองว่าจะไม่มีปัญหาว่าด้วยเรื่องการขอสปอนเซอร์ ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตาม ไม่มีกฏใดๆ ทั้งนั้น ที่ห้ามไม่ให้มีมากกว่า 1 ทีมจาก 1 ประเทศ

…งั้น อะไรที่เป็นสิ่งจุดชนวนให้สองทีมไทยถอนตัวออกจาก ABL ละ?

สิ่งแรกที่แฟนๆ บาสอย่างเราๆ ต้องเข้าใจตอนนี้คือ ABL เป็นการแข่งขันที่ ไม่มีเงินรางวัล เป็นการเดิมพัน (เท่าที่ทราบ) ตลอดฤดูกาลทีมทุกทีมสู้กันเพื่อต่ำแหน่งยอดสโมสรในภูมิภาค ASEAN
ตรงจุดนี้ อาจจะทำให้ความน่าสนใจที่จะเข้าร่วมลดลงมา ยิ่งเมื่อต้องคอยแบกรับค่าใช้จ่ายตลอดทั้งฤดูกาลอีกด้วย

อ้างอิงจากสายข่าว และ โพสใน Facebook ของไฮเทคฯ, ทั้งสองสโมสรได้มีการจับเข่าปรึกษาพูดคุย หารือวิธีการที่จะยังสามารถมีการแข่งขันในระดับสูงสำหรับผู้เล่นของตน…แต่ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการลงมา

ซึ่งจุดนี้ ทำให้กำเนิด Thailand Basketball Super League ขึ้นมา


Thailand Basketball Super League หรือ TBSL ได้มีการกล่าวถึงครั้งแรกในช่วงหลังจากจบการแข่ง TBL ไปได้ไม่นาน จากการโพสของ คุณพิชญ์ โพธารามิก เจ้าของเครือ โมโน กรุ๊ป ที่เฉลิมฉลองความสำเร็จในการคว้าแชมป์ และ การจัดการแข่งขัน TBL:

เตรียมพบกับ Thailand Basketball Super League (TBSL2016) ในช่วงปลายปี – มาดูกันว่า Mono Vampire จะผ่านบททดสอบกับทีมระดับ Asean ได้หรือไม่

 

และมีการกล่าวถึงอีกครั้งในโพสของ ไฮเทคฯ ที่กล่าวถึงข้างบน หลังจากนั้นไม่นาน ก็มีการสร้างเพจ TBSL ขึ้นมา

รายละเอียดต่างๆ ของ TBSL นั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะฟังข่าวมาจากใครซะมากกว่า เพราะข้อมูลยังค่อนข้างกระจัดกระจาย แต่สิ่งที่มีการกล่าวถึงตรงกันคือ นอกจากทีมจากไทย ไม่ต่ำกว่า 6 ทีมแล้ว จะมีทีมจากต่างประเทศแข่งขันด้วย 2-4 ทีม รายละเอียดเรื่องตัวผู้เล่นต่างชาติก็มีการลือว่าจะปรับเปลี่ยน โดยสามารถเซ็นได้ 3 คน และลงสนามได้ทีละ 2 คน ส่วนผู้เล่น ASEAN Import จะสามารถเซ็นได้ 2 คน และลงเล่นได้ 1 คน การแข่งขันทั้งหมดนั้น จะแข่งขันที่สนาม Stadium29 เช่นเดิม

ข้อมูลทั้งหมดนี้ได้ถูกกวนไปมาในวังวนข่าวลือ มีแตกต่างตรงนู้นทีตรงนี้ที ตัวลีก TBSL นั้น ตอนแรกจะทำการแข่งขันเริ่มต้นในช่วงพฤศจิกายน (ตามที่คุณพิชญ์ และ โพสของไฮเทคฯ ได้ใบ้ไว้)

แต่ จากข้อมูลที่ได้มานั้น เนื่องจากความไม่พร้อมจึงได้มีการตกลงกันว่าจะเลื่อนการแข่งขันออกไปก่อน จนถึงช่วงหลังปีใหม่ และแข่งขันตั้งแต่ช่วง มกราคม ถึง เมษายน
เหตุการณ์นี้ รวมไปถึงเหตุการณ์บ้านเมืองในประเทศ จึงทำให้การเลื่อนออกไปก่อนเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุดแล้ว

และนั่นก็คือลีกที่เรียกว่า TBSL โดยย่อ จากข้อมูลเท่าที่ทราบและหามาได้

เพราะฉะนั้น ทั้งสองทีม ด้วยเป้าหมายที่จะหาตัวเลือกที่สามารถประหยัดค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังมีการแข่งขันให้ทีมตังเองมีความสดใหม่ตลอดเวลา จึงได้คำตอบ และ ข้อสรุปด้วยการสร้างลีกขึ้นมาเองซะเลย

เอาละ มาดูในรายละเอียดกันต่อดีกว่า


ข้อดีของ TBSL:

เราก็ได้เกริ่นกันไปคร่าวๆ เรื่องการประหยัดค่าใช้จ่ายโดยตรงสำหรับทีมที่เข้าร่วมการแข่งขัน TBSL แล้ว เพราะฉะนั้น เรามาเจาะเพิ่มหน่อย สำหรับทีมที่เข้าร่วมแข่งขันที่เป็นทีมจากประเทศไทย แน่นอนอยู่แล้วว่าค่าใช้จ่ายในการแข่งขันมันลดลงมามากแน่นอน ทั้งค่าเข้าร่วมแข่งขัน ค่าเครื่องบินในการเดินทาง ค่าที่พัก และ ค่าเบี้ยเลี้ยงของนักกีฬา ที่ไม่ต้องมีเมื่อแข่งกันที่ไทย นอกจากนี้แล้ว ยังมีข่าวลือว่า TBSL จะมีเงินรางวัลในหลักล้านอีกด้วย เพราะฉะนั้น ใครที่ได้เป็นแชมป์ มีโอาสจะได้กำไรด้วยซ้ำ!

นอกจากค่าใช้จ่ายที่ลดลงไปแล้ว การที่เล่นในไทย ทำให้ช่วยในเรื่องของความเข้าถึงของสื่อและพลังในการกระจายข่าวของสื่ออีกด้วย การแข่งขัน TBSL ที่สนาม Stadium29 นั้นทำให้ง่ายต่อการเดินทางของสื่อสำนักต่างๆ เพื่อไปทำข่าวเก็บข้อมูลมากกว่าการเดินทางข้ามน้ำข้ามทวีป คนที่จะติดตามข่าวสารของการแข่งขัน TBSL ก็จะมีกลุ่มตลาดที่กว้างขึ้น ด้วยความที่มีทีมจากไทยหลายทีม อีกทั้งยังแข่งในประเทศอีกด้วย ซึ่งทำให้มี คอนเทนต์มากกว่า การแข่งขันใน ABL ที่อาจจะโฟกัสความสนใจของ คอนเทนต์ที่เพียงแค่การแข่งขันของทีมจากไทย ตรงนี้ก็ส่งผลดีกับ โมโน กรุ๊ป ด้วย เพราะได้จำนวนคอนเทนต์จาก TBSL ในการใช้งานมากกว่าคอนเทนต์ที่จะได้จากการแข่งขัน ABL

คนที่ได้ผลประโยชน์มากที่สุดจาก TBSL อาจจะเป็นนักบาสชาวไทย โดยภาพรวม เพราะทำให้มีเวทีในการแข่งขันมากขึ้น สำหรับทีม โมโน แวมไพร์ หรือ ไฮเทคฯ นั้น อาจจะไม่ส่งผลเท่าไหร่นัก เพราะใน ABL ก็ได้เล่น 20+ เกมอยู่แล้ว แต่สำหรับทีมที่ไม่ได้ร่วมอย่าง โมโนทิวฯ, แมดโกทส์, OSK, หรือ การไฟฟ้าฯ การแข่งขันนี้ ทำให้นักกีฬาทุกคนคงสภาพความสดไว้ ซึ่งปกติก็จะเป็นช่วงที่ไม่มีการแข่งขันให้เล่น
พอมี TBSL (3 เดือน) แล้ว รวมกับ TBL (3 เดือน) และ ดิวิชัน 1/TBDL (1 เดือน) ตอนนี้เลยกลายเป็นว่านักบาสไทยมีงานแข่งขันบาสเกตบอลอย่างเป็นทางการมากกว่า ครึ่งปี ซึ่งตรงนี้ยังส่งผลที่ดีสำหรับสมาคมในการพิจารณาผู้เล่นสำหรับเรียกใช้ในนามทีมชาติอีกด้วย


ข้อดีของ ABL:

เสน่ห์ของการแข่งขัน ABL ไม่ใช่เพียงแค่ ระดับของการแข่งขันที่สูง แต่รวมไปถึงความหลากหลายในรูปแบบของการเล่นอีกด้วย ทีมจากไทยที่ได้ร่วมแข่งขันได้มีประสบการณ์กับการแข่งกับทีมอันดับต้นๆ ของแต่ละประเทศ ซึ่งก็มักหมายถึงการได้ฟาดฟันกับผู้เล่นระดับหัวกะทิของแต่ละประเทศอีกด้วย ทั้งทีม และ ผู้เล่นเองก็มีรูปแบบการเล่นที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไป ซึ่งเป็นผลมาจากการสอนและฟูมฟักที่แตกต่างกันตามแต่ละภูมิภาค ทั้งผู้เล่น และ ผู้ฝึกสอนได้มีโอกาสในการได้ประมือกับผู้เล่นและรูปแบบการเล่นหลากหลายชนิด ซึ่งเป็นการเตรียมตัวสำหรับการแข่งขันระดับนานาชาติได้ดี
สำหรับลีก TBSL ก็ได้มีการเสริมตรงนี้ ด้วยการเชิญทีมจากต่างประเทศมาร่วมแข่งด้วย แต่ด้วยความที่ผู้เล่นและทีมในภูมิภาค ASEAN นั้นได้มีการผูกมัดกับ ABL ระดับหนึ่งแล้ว จึงยากที่จะดึงผู้เล่นระดับสูงๆ มาได้ ณ ขณะนี้

ลีก ABL มีการแข่งขันในรูปแบบ เหย้า/เยือน ซึ่งแปลว่า ผู้เล่นและผู้ฝึกสอนจะต้องสัมผัสกับบรรยากาศการแข่งขันในสภาวะการเป็นทีมเยือนอย่างสม่ำสเมอ ซึ่งเป็นบรรยากาศที่สร้างขึ้นได้ยากเวลาแข่งที่สนามเดียว
มองดูแล้ว อาจจะเป็นตัวแปรที่ไม่สำคัญเท่าไหร่นักตอนนี้ แต่ การเตรียมพร้อมตรงนี้ อาจจะส่งผลตอนที่ เข้าช่วงการแข่งขัน FIBA รูปใหม่ที่มีการแข่งระบบเหย้า/เยือน คล้ายๆ กับการแข่งขัน FIFA

สุดท้าย ข้อได้เปรียบของการเล่นใน ABL ที่โดดเด่นที่สุด คงจะเป็น อารมณ์ของความ “รักชาติ” ถ้าหากว่าเป็นลีกภายในประเทศ การที่จะตามเชียร์ทีมๆ หนึ่ง อาจจะต้องมีการใช้เหตุผล หรือ มีเรื่องราวเบื้องหลังในการติดตาม แต่สำหรับทีมใน ABL แล้ว แฟนๆ ที่ติดตามทีมแต่ละทีม ส่วนหนึ่งก็ด้วยเหตุผลเพียงเพราะ “เป็นทีมตัวแทนชาติเดียวกับเรา”
ไม่เพียงแค่นั้น ทีมยังได้มีโอกาสขยายชื่อ (ขยายแบรนด์) ไปยังตลาดต่างชาติอีกด้วย และ การที่คนต่างชาติเข้าถึงแบบนี้ ก็เป็นอะไรที่สามารถจะนำเสนอให้กับสปอนเซอร์ได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งอาจจะช่วยในเรื่องการลดค่าใช้จ่ายได้เพิ่มอีกด้วย
การเล่นใน ABL สามารถช่วยเชื่อมต่อทีมที่เข้าร่วมแข่ง และ กระจายการเข้าถึงของแต่ละทีมออกไป


คหสต…

เรื่องราวทั้งหมดนี้ จริงๆ มันก็แล้วแต่มุมมองของแต่ละคน แน่นอนว่า ในฐานะของคนที่ดำเนินการบริหารทีมเอง ก็เป็นการตัดสินใจที่ไม่ได้ทำได้ง่ายๆ แน่นอน

(…แต่พอมาคิดดูแล้ว ก็อาจจะไม่ต้องมีการเลือกอะไรมากหากว่าไม่จัดตารางลีกมาชนกันนี่นา)

สำหรับความคิดเห็นส่วนตัวของผม (ขอย้ำหนักๆ ตัวเข้มและเอียงให้ชัดเจนอีกรอบ ว่า ความคิดเห็นส่วนตัว), ผมอยากเห็นทีมจากไทยเล่นใน ABL มากกว่า ซึ่งแน่นอนว่า มันมีความลำเอียงในใจเล็กน้อย เพราะผมเองก็โตมากับการเขียนเกี่ยวกับ ABL แต่ผมมองเห็นว่า ABL น่าจะมีประโยชน์ที่สุดกับพัฒนาการผู้เล่นในประเทศไทย การที่ได้เล่นกับผู้เล่นต่างชาติระดับชั้นแนวหน้าของแต่ละประเทศ ในบรรยากาศการไปเยือนนั้น มันเป็นประสบการณ์ล้ำค่าที่ขัดเกลาและเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการเล่นในระดับนานาชาติมากที่สุด พวกเขาจะได้เตรียมพร้อมที่จะเจอกับการบุกและการป้องกันหลากหลายรูปแบบทั้งในระดับผู้เล่น และ ระดับทีม ซึ่งต่างจากรูปแบบที่อาจจะเจอกันมาตั้งแต่ระดับมัธยมปลายที่เจอกันในประเทศ

และยิ่งไปกว่านั้น การที่ได้เชียร์ทีมที่แบกธงไว้ตรงอก มักมีบรรยากาศความพิเศษที่หาอะไรมาเปรียบเทียบได้ยาก ถึงแม้ว่าจะมี 2 หรือ 3 ทีมจากไทยที่เข้าแข่งขันใน ABL การที่ได้เชียร์แต่ละทีม เพราะเป็นทีมจากไทย ก็มีความสนุกของมันทุกที

อย่างไรก็ตาม…

ผมเข้าใจตรรกะ และ เคารพการตัดสินใจ ของทุกๆ ฝ่าย
แต่ละคนไม่ใช่จะมองจากมุมมองของบาสเกตบอล และ อารมณ์ ได้เท่านั้น มันยังต้องมีมุมมองของการบริหารส่วนอื่นๆ เช่นเรื่องของการเงิน ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง

ไม่ว่าจะเลือกฝั่งไหน ก็มีข้อดี และ ข้อเสียของมัน แตกต่างกันออกไปทั้งสองทาง
ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น มันก็อาจจะไปในทางที่ดีขึ้น (หรือแย่ลง) ได้ทั้งคู่

ท้ายที่สุดแล้ว ไม่ว่าจะทางไหน…เราคนไทยก็มีบาสเกตบอลให้ดูให้ติดตามเหมือนเดิม


แล้วคุณละ คิดว่าอย่างไรบ้าง? คุณอยากให้ทีมจากไทยโลดแล่นอยู่ใน ABL? หรือคิดว่า TBSL คือสิ่งที่ใช่?
ไม่ว่าอย่างไร เราก็ยังมีบาสเกตบอลให้ดูให้ติดตามอยู่ดี เพราะฉะนั้น อย่ากลัวที่จะแสดงความคิดเห็นของท่านในช่อง comment ข้างล่าง หรือตามแหล่งต่างๆ ดังนี้เลยครับ!

  facebook_2015_logo_detail twitter-logo untitled-1

Advertisement

2 thoughts on “Explaining Thailand Basketball, ABL, and TBSL

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.