FIBA Asia Challenge 2016: Thailand vs Qatar Preview

The worst part of the journey has passed by. Now it’s time to get a little more serious.

[อ่านภาษาไทย คลิกที่นี่เลยครับ]

Let’s face it. Beating Korea and Iran was never a part of the plan. I don’t think people were disappointed that Thailand couldn’t beat these two teams. The Japan loss was a bit sad, but that was mostly because Thailand held the lead for a little over an entire quarter.

After 3 straight losses, Thailand gets a shot at a team that might be within striking distance once again.

Qatar holds the FIBA World’s 50th ranking and Asia’s 9th place. While Qatar doesn’t fill up a trophy room (with only two FIBA Asia Championship bronzes in the early 2000s and an Asian Games silver in 2006), they have been in the range of above average for most of the time. In the past 10 years, Qatar has finished under 7th place in the FIBA Asia Championships only once in 2011.

Here’s all that I know about this team: According to FIBA, this team is returning 7 players from the FIBA Asia Championship 2015 squad. And it’s been that core that’s been fueling Qatar so far in this tournament. Let’s start with the older guys:

Big men Mohd Mohamed (6’9″) and Ali Saeed Erfan (6’7″) are edging towards their mid-30s and have provided a solid performances so far. Mohamed is averaging 10.7 points and 4.7 rebounds while Erfan is putting in 8.0 points and 4.7 rebounds. These two will be anchoring the paint.

Perimeter play will be led by 25-year-old Mohamed Hassan A Mohamed. A solid scorer on the FIBA Asia Championship 2015 team, Mohamed brings his experience to the FIBA Asia Challenge and is scoring 9.7 points for Qatar this time around.

Boney Watson, Photo Credit FIBA
Boney Watson, Photo Credit FIBA

His partner in crime in the back court is naturalized player Boney Watson, who has played for Qatar in 3×3 tournaments and in the 2014 Asian Games. 38-year-old Watson leads the team in assists (3.3 per game) in addition to scoring 9.0 points and grabbing 2.3 rebounds.

Photo Credit: FIBA
Abdulrahman Mohamed Saad, Photo Credit: FIBA

The most intriguing part of this Qatar team might be their two youngsters, Abdelrahman Yehia Abdelhaleem and Abdulrahman Mohamed Saad. The two 20-year-olds were the main men of the 2014 FIBA Asia U18 Championship team and are now making a presence in the senior squad. Abdelhaleem has been averaging a solid 7.7 points and 4.3 rebounds and Saad has 4.7 points and 5.3 rebounds.

Qatar has a 0-3 record so far losing to Iran (81-49), Iraq (71-54), and Korea (86-60).


Game Breakdown

You can only have so many moral victories and the truth is that Thailand hasn’t really had many aside from the Japan game. Up to some point, you have to actually be able to grab a W.

Qatar is not going to be an easy win. There are no easy wins in this tournament for Thailand but compared to the games Thailand has played so far, this one seems relatively “winnable”.

The first thing Thailand needs to do it to come out of the gates aggressively and control the flow of the game. Qatar are a big team with two 6’9″ key players, so Thailand can’t afford to slow down in a halfcourt set in every possession. The moment Thailand slows down, they will lose the slight advantage they have in speed and will probably resort to shooting ill-advised long threes.

I’d like to see if Coach Tim Lewis is going to pack it up more tighter in the zone in this game considering Qatar’s size and their lack of long range shooting accuracy (28.9% from three-point land). It’s still going to be hard to defend the bigs of Qatar, but at least it will be easier than if Thailand also had to chase around shooters like in the past games.

Finally, this Qatar team isn’t deep. Their main rotation lies in the 6 players mentioned above and that’s pretty much it. Thailand might be lacking in superior talent, but I feel that they have 9-10 guys who are interchangable in the line up. It would be interesting to see if Coach Tim changes it up consistently to exhaust the Qatar players.


Key player (Qatar) : Abdelrahman Yehia Abdelhaleem

Photo Credit: FIBA
Photo Credit: FIBA

Thailand needs to lookout for the young big man. Stopping Mohamed and Erfan will be a lot on their hands already, and it’ll be up to how that keep Abdulhaleem from getting into his groove.


Key player (Thailand) : Patipan Klahan

Photo Credit: FIBA
Photo Credit: FIBA

Klahan has been impressive so far, despite his questionable decision making from time to time. He’s slowly figuring out how to mesh his combination of length and perimeter skills to be more of a full-time wing than a stretch 4.

Thailand still needs someone to be initiative on offense and it might as well be the guy that’s been getting things done. Klahan is averaging a team leading 10.0 points on 46.4% shooting.

PS. Make sure to read his interview with FIBA here.


Summary

game4


อ่านภาษาไทยต่อจากนี้เลยครับ


longshot4

ผ่านเกมหนักๆ มาแล้ว มาเริ่มต้นจริงๆ จังๆ กับเกมต่อมานี้ดีกว่า

[For English, Read here]

สิ่งแรกที่ต้องยอมรับคือ การเอาชนะ เกาหลี หรือ อิหร่าน ไม่ใช่เป้าหมายตั้งแต่แรกอยู่แล้ว ผมเองก็คิดว่าแฟนๆ ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ผิดหวังกับความพ่ายแพ้ในสองเกมนี้เท่าไหร่นัก เกมที่แพ้ให้ญี่ปุ่นก็มีหงอยๆ บ้าง แต่นั่นเป็นเพราะเราออกตัวนำไปในช่วงต้นมากกว่าด้วย

หลังจากที่แพ้มา 3 เกมรวด ทีมชาติไทยจะมีโอกาสที่จะเจอคู่แข่งที่ถือว่า “ยังอยู่ในระยะหวังผล” อีกครั้งในการเจอกับทีมชาติกาตาร์ครั้งนี้

ทีมชาติกาตาร์อยู่อันดับที่ 50 ของโลก และ อันดับที่ 9 ของเอเชีย ถึงแม้ว่าถ้วยรางวัลอะไรต่างๆ นานา อาจจะไม่ได้มีมากล้นหลาม (มีเพียงเหรียญทองแดงใน FIBA Asia Championship ช่วงต้นๆ ยุค 2000 และ เหรียญเงินเอเชี่ยนเกมส์ ปี 2006) แต่กาตาร์ก็ถือว่าเป็นทีมที่มีระดับสูงกว่าเฉลี่ยมาเรื่อยๆ
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานี้ กาตาร์ไม่เคยจบรายการ FIBA Asia Championship ต่ำกว่าอันดับ 7 ยกเว้นปี 2011 เพียงครั้งเดียวเท่านั้น

นี่คือสิ่งที่ผมรู้เกี่ยวกับทีมชุดนี้: ตามการรายงานของ FIBA ทีมกาตาร์ชุดนี้ มีผู้เล่นที่เล่นในรายการ FIBA Asia Championship 2015 7 คน ซึ่งนั่นก็คือแกนหลักของทีมชาติชุดนี้ มาเริ่มต้นดูจากพวกแก่เก๋าละกัน

ตัวร่างใหญ่อย่าง หมด โมฮัมเหม็ด (6’9″) และ อาลี ซาอีด เออร์ฟาน (6’7″) ต่างก็ย่างกรายเข้าสู่วัยกลางๆ 30 และก็มีผลงานที่ค่อนข้างคงที่มาตลดอการแข่งขันครั้งนี้ โมฮัมเหม็ดทำเฉลี่ยอยู่ที่ 10.7 แต้ม และ 4.7 รีบาวดืต่อเกม ส่วน เออร์ฟาน ทำ 8 แต้ม และ 4.7 รีบาวด์ต่อเกม

เกมวงนอกจะเป็น โอฮัมเหม็ด ฮาสซาน โมฮัมเหม็ด เขาเป็นตัวทำแต้มที่ค่อนข้างใช้ได้จากรายการ FIBA Asia Championship 2015 และในรายการนี้ก็ทำแต้มได้คงที่เช่นเดิม อยู่ที่ 9.7 แต้มต่อเกม

Boney Watson, Photo Credit FIBA
โบนี่ วัตสัน, Photo Credit FIBA

เพื่อนร่วมแผนนอกของโมฮัมเหม็ดก็จะเป็นนักกีฬาโอนสัญชาติอย่าง โบนี่ วัตสัน ซึ่งเคยเล่นให้กาตาร์ในรายการ 3×3 และใน เอเชี่ยนเกมส์ 2014 การ์ดจ่ายวัย 38 ปี ตอนนี้เป็นตัวจ่ายบอลหลักให้ทีม ทำไป 3.3 แอสสิสต์ เสริมกับ 9.0 แต้ม และ 2.3 รีบาวด์ ที่ทำได้เฉลี่ยต่อเกม

Photo Credit: FIBA
อับดุลรามาน โมฮัมเหม็ด ซาอาด, Photo Credit: FIBA

ส่วนที่น่าสนใจของทีมชาติกาตาร์คือสองพลังหนุ่ม อับเดลรามาน เยเฮีย อับเดลฮาลีม กับ อับดุลรามาน โมฮัมเหม็ด ซาอาด ทั้งสองหนุ่มวัน 20 ปีนี้เป็นตัวหลักของทีมในรายการ FIBA Asia U18 ปี 2014 และก็เริ่มมาวาดลวดลายในชุดใหญ่แล้ว ทางอับเดลลาฮีม เฉลี่ย 7.7 แต้ม กับ 4.3 รีบาวด์ ส่วน ซาอาด ทำไป 4.7 แต้มกับ 5.3 รีบาวด์

ในสามเกมที่ผ่านมา กาตาร์แพ้รวด โดยเจอกับ อิหร่าน (81-49) อิรัก (71-54) และ เกาหลี (86-60)


วิเคราะห์เกมเบาๆ

ท้ายที่สุดแล้ว เราจะอาศัยความประทับใจ กับ ความรู้สึกดีๆ โดยที่ไม่ได้ชนะจริงๆ เพื่อหล่อเลี้ยงจิตใจ ก็ทำได้อย่างไม่ยั่งยืนเท่าไหร่หรอก ถึงแม้ว่าเกมที่เจอกับ ญี่ปุ่น เราจะทำได้ดี…แต่ท้ายสุดแล้ว มาแข่งในรายการนี้ ก็อยากที่จะคว้าชัยชนะกลับบ้านไปบ้าง

ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเกมที่เจอกาตาร์นี้จะเป็นเกมที่ชนะได้ง่ายๆ ในรายการนี้ ไม่มีเกมที่ชนะได้ง่ายๆ สำหรับทีมชาติไทยแน่นอน แต่ถ้าเทียบกับเกมที่ผ่านๆ มา ผมว่าเกมนี้อยู่ระยะที่หวังผลได้อยู่

สิ่งแรกที่ทีมชาติไทยจะต้องทำ คือ การเริ่มต้นเกมได้อย่างดุดัน เพื่อควบคุมจังหวะของเกมให้ได้ ทีมชาติกาตาร์เป็นทีมที่ค่อนข้างใหญ่ เพราะฉะนั้น ทีมชาติไทยจะมัวแต่ไปตั้งเกมครึ่งสนามตลอดก็เสียเปรียบเปล่าๆ และ ทำให้เสียความได้เปรียบที่เราอาจจะมีเรื่องความเร็ว พอตั้งเกมเซ็ทครึ่งสนามปุ๊ป ก็มักจะจบลงด้วยการยิงสามแต้มแบบยากๆ

ผมอยากลองดูว่า โค้ชทิมจะมีการอัดการป้องกันข้างในให้หนาแน่นขึ้นรึเปล่า ด้วยการพิจารณาขนาด และ การยิงระยะไกลที่ไม่น่ากลัวเท่าไหร่ของทีมชาติกาตาร์ (28.9% จากระยะสามแต้ม) การป้องกันตัวใหญ่ของกาตาร์จะเป็นภาระหนักของเกมนี้แน่ๆ แต่ก็น่าจะง่ายมากกว่าเกมที่ผ่านๆ มาที่ต้องวิ่งไล่เหล่ามือปืนของแต่ละทีม

สิ่งสุดท้ายที่น่าจับตามองคือ ชั้นของผู้เล่นของทีมชาติกาตาร์ค่อนข้างที่จะบาง ตัวผู้เล่นหลักๆ ของทีมก็มี 6 คนที่กล่าวข้างต้น สำหรับทีมชาติไทย อาจจะยังขาดในเรื่องผู้เล่นระดับสตาร์ แต่ผมรู้สึกว่า สามารถวนเปลี่ยนกันได้แบบไม่เสียรูปเกม 9-10 คนเลย ก็อาจจะน่าสนใจว่า โค้ชทิม จะมีการวนตัวผู้เล่นอย่างไรที่อาจจะทำให้ทีมชาติกาตาร์เหนื่อยก่อนจบเกมหรือไม่


ตัวแปรสำคัญ (ทีมชาติกาตาร์) : อับเดลรามาน เยเฮีย อับเดลฮาลีม

Photo Credit: FIBA
Photo Credit: FIBA

ทีมชาติไทยอาจจะต้องระวังตัวนี้เป็นพิเศษหน่อย แค่การที่จะหยุด โมฮัมเหม็ด และ เออร์ฟาน ก็คงตึงมือแล้ว ถ้าปล่อยให้ อับเดลลาฮีม ได้จังหวะการบุกของตัวเองอีก ก็คงเป็นเรื่องที่ไม่ดีแน่ๆ


ตัวแปรสำคัญ (ทีมชาติไทย) : ปฏิภาณ กล้าหาญ

Photo Credit: FIBA
Photo Credit: FIBA

ที่ผ่านมา ปฏิภาณ โชว์ฟอร์มได้ดี ถึงแม้จะมีติดขัดเรื่องการตัดสินใจบ้างครั้ง ตอนนี้เหมือนเขาเริ่มทำความเข้าใจเรื่องการใช้ความยาวของร่างกาย และ ทักษะวงนอก มาผสมผสานกันให้ได้ประสิทธิภาพ เพื่อให้เล่นเป็นตัววงนอกเต็มเวลา มากกว่าการเป็นตัวเบอร์ 4 แบบถอยออกห่าง

ทีมชาติไทยยังคงต้องการคนที่จะเป็นคนจุดประกายเกมบุก และไหนๆ ก็ไหนๆ ก็ใช้คนที่ทำมันได้ดีมาตลอด 3 เกมที่ผ่านมาเลย ไม่ดีกว่าเรอะ? ตอนนี้ ปฏิภาณทำเฉลี่ย 10.0 แต้ม และยิง 46.4% ต่อเกม

ปล. อย่าลืมอ่านบทสัมภาษณ์ของ “ปาล์ม” ปฏิภาณ จาก FIBA ได้ที่นี่


สรุป

game4


Advertisement

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.