FIBA Asia Challenge 2016: Thailand vs Iran Preview

Gather around, kids. I want to tell you the story of David and Goliath.

[อ่านภาษาไทย คลิกที่นี่เลยครับ]

Remember when Thailand went up against the regional powerhouse, Philippines, in the SEABA Stankovic Cup and it felt like an impossible fight?

(Yes, I know the Philippines sent an team which the majority were amateur college standouts. The first million Filipino fans made that clear.)

Remember when Thailand went up against continental powerhouse, Korea, in the first game of the FIBA Asia Challenge and it felt hopeless as they drop three after three?

Well, be prepared for a whole knew level of being an underdog as Thailand will go up against the Islamic Republic of Iran in the second phase of the FIBA Asia Challenge.

Let’s go through our ritual. I tell you where Iran is ranked and we all agree that the rankings between both team are quite large, but maybe there’s still a chance. I’ll try to be convincing. As of right now, Iran are ranked 25th in the world and 2nd in Asia (only behind China). As I’ve mentioned over and over again, Thailand is ranked 81st in the world and 22nd in Asia. Needless to say, that’s quite a huge gap.

Photo Credit: FIBA
Photo Credit: FIBA

Iran’s rise to the top of Asia had started almost a decade ago, and they still seem to be growing strong. The Federation got Raijko Toroman, a Serbian Head Coach, who instilled a disciplined system to a young core in 2007 and since then Iran shot up top and hasn’t come back down. Since 2007 Iran has won 3 of the past 5 FIBA Asia Championships, two consecutive FIBA Asia Challenge (then known as FIBA Asia Cup), played in the Olympics, played in back to back FIBA World Championships, 5 straight William Jones Cups, and have sent players to play in overseas leagues like the NBA, the French Pro League, the CBA, and the PBA.

This strength of this I.R. Iran team in the FIBA Asia Challenge should be no different.

untitled-1

Hamed Hadadi was the cornerstone of Iran’s rise to power, and he’s back here in this roster. He’s not exactly the force he was in his Memphis Grizzlies’ days, but he’s still a safe bet to be one of the top players in this tournament. Throughout two games in this tournament, he’s leading the team with 15.0 points to go with 6.5 rebounds, 3.5 assists, and 1.5 blocks.

Photo Credit: NY Times
Photo Credit: NY Times

Another notable name on the Iranian National Team is Arsalan Kazemi. Those who follow NCAA Division 1 basketball are surely to have heard his name, as he played at Rice University and the University of Oregon. Kazemi had an illustrious collegiate career and followed that up by being drafted with the 54th pick to the NBA’s Washington Wizards. He wouldn’t be able to stick on a roster until opening day, but that’s about as far as any of us can even imagine. Kazemi averages a team-leading 10.5 rebounds, and additionally 6.0 points, 4.0 แอสสิสต์, and 2.0 steals per game.

Both Kazemi and Hadadi have played in the Chinese Basketball League.

The level of talent on the roster doesn’t drop by much after these two and it shows with the balanced minutes that German Head Coach Dirk Bauermann is able to distribute around. Whether is it veterans like Oshin Sahakian or youngster like PBA import Mohammad Jamshadijafarabadi or rising star Behnam Yakhchali, they are all able to come into the game and perform at a high level.

Iran are one of the top teams of Asia and playing at home, they won’t be shy of strutting some of the best they have in this tournament.


Game Breakdown

Thailand looked more lively and prepared in the game against Japan. Coach Tim Lewis really does well to prepare heading into games and into tournaments. However, Thailand struggled to adjust once Japan adjusted and the wheels kind of fell of once the momentum changed.

Against Iran, I have to admit that expecting for a win is a long shot and trust me that I’m one of the most optimistic people out there. While I do not want to see Coach Lewis telling his players to just slack off on every play, I hope that Thailand does take a more laid-back approach in this game. Even though it’s an outside chance, Thailand still has a chance at breaking into the top 4 of the group if that can beat out Iraq and Qatar who they will play in the following two days and are an easier matchup than Iran. While I always love a good underdog story and would love to see Thailand throw all they have at one of Asia’s best…the bigger picture is still to save some gas in the tank for the match up against Iraq/Qatar.

I want this game to be more like an optimistic look into the future of Thailand basketball. Iran was a nation that always had the right tools for basketball and all they needed was the right support and system to guide them. 9 years ago, they got that guy who steered the ship in the right way and set up a successful system which continued to succeed even when he left. Thailand can be an Iran-like powerhouse, if they make the right moves. Can Tim Lewis maintain the consistent development of the players? Does the federation have a system set in which can support the talent pool the right way? There are the questions that needs to be answered after watching this game.

To be honest, it will probably be a rough game.

But maybe it might be a game where Thai basketball fans look back at 10 years later and reminisce how far they’ve come to be a powerhouse in Asia.


Key Player (Iran) : Arsalan Kazemi

Photo Credit: FIBA
Photo Credit: FIBA

The past two players I featured as a key player (Kim Sunhyung and Makoto Hiejima) played in limited minutes against Thailand (to rest, I assume). I expect no different here with Kazemi, but I’ll throw his name in here anyways.

Kazemi is an all-around talent that can do a little bit of everything and I’m just really intrigued to watch him (…if he gets to play).


Key Player (Thailand) : Chanathip Jakrawan

ohm
Photo Credit: Basketball Thailand FB Page

The future of inside presence of Thailand Basketball is here. 19-year-old Chanathip Jakrawan has impressed since Day 1 of the FIBA Asia Challenge and has consistently performed. Jakrawan averages 10.0 points (2nd in team) and 5.5 rebounds (leads team) while shooting at a 60.0% clip. Not bad for someone who still can legally buy alcohol in Thailand.

If he’s lucky, Coach Bauermann will let Hadadi play enough to get a chance to actually go head to head with the ex-NBA player. I’m not expecting Jakrawan to dominate the 7-footer, but just the sheer experience of going up against Hadadi for a couple of minutes should do wonders for the kid’s development.

I’d even be satisfied with a rejected attempt to dunk in Hadadi’s face.


Summary

game3


อ่านภาษาไทยต่อจากนี้เลยครับ


longshot3

เอาละเด็กๆ มาฟังนิทานกัน เคยฟังเรื่องแจ็คผู้ฆ่ายักษ์กันรึเปล่า

[For English, Read here]

จำได้ไหม ตอนที่ทีมชาติไทยแข่งกับทีมสุดแกร่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่าง ฟิลิปปินส์ ในรายการ SEABA Stankovic Cup และมันรู้สึกเหมือนกับว่าไม่มีทางสู้ได้?

(…เออ ก็รู้อะนะว่าทีมที่ฟิลิปปินส์ส่งมันทีมเด็กๆ ที่เพิ่งจบมหาวิทยาลัย แต่ก็ช่างมันเถอะ)

จำได้ไหมตอนที่ทีมชาติไทยเจอกับทีมแกร่งตลอดศกของเอเชียอย่างทีมชาติเกาหลีใต้ในเกมแรกของ FIBA Asia Challenge แล้วมีความรู้สึกที่ช่างสิ้นหวังหลังจากที่โดนสามแต้มไปทีละเม็ด?

เอาละ ความรู้สึกของการเป็นมวยรองบ่อนมันจะหนักยิ่งกว่าเดิมในรอบนี้อีก ที่ทีมชาติไทยจะเจอกับทีมชาติอิหร่านในรอบสองของการแข่งขัน FIBA Asai ChallengeWell, be prepared for a whole knew level of being an underdog as Thailand will go up against the Islamic Republic of Iran in the second phase of the FIBA Asia Challenge.

อันดับโลกของทีมชาติอิหร่านอยู่ที่ 25 และเป็นอันดับที่ 2 ในเอเชีย และอย่างที่เราทราบกัน ทีมชาติไทยอยู่อันดับที่ 81 ของโลก และ 22 ของเอเชีย
ก็เห็นได้ชัดอยู่ว่ามีช่วงห่างระหว่างสองทีมมากขนาดนั้น

Photo Credit: FIBA
Photo Credit: FIBA

ทีมชาติอิหร่านเพิ่งก้าวขึนมาเป็นมหาอำนาจในเอเชียมาได้เมื่อประมาณเกือบหนึ่งทศวรรษที่แล้ว และดูเหมือนว่าจะยังคงความแข็งแกร่งได้อย่างต่อเนื่อง
ทางสมาคมบาสเกตบอลอิหร่านได้มีการจ้างโค้ชชาวเซอร์เบีย ไรโก โทโรมาน เมื่อปี 2007 และหลังจากนั้น อิหร่านก็คงที่อยู่ในตำแหน่งชั้นนำของเอเชียมาจลอด ตั้งแต่ปี 2007 อิหร่านชนะการแข่งขัน FIBA Asia Championship มา 3 ครั้งจากการแข่งทั้งหมด 5 ครั้ง, ชนะการแข่งขัน FIBA Asia Challenge (เดิมทีเรียกว่า FIBA Asia Cup) มาติดต่อกันแล้ว 2 ครั้ง, ได้ไปแข่งขันในระดับโอลิมปิค, ได้เล่นใน FIBA World Championship สองครั้งติดต่อกัน, แชมป์รายการ วิลเลี่ยม โจนส์ คัพ 5 สมัยรวด และมีผู้เล่นชั้นนำของประเทศกระจายออกไปเล่นตามลีกต่างๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น NBA, ลีกฝรั่งเศส, ลีกจีน, หรือ ลีกฟิลิปปินส์

ทีมอิหร่านในรายการ FIBA Asia Challenge ครั้งนี้ ก็น่าจะแกร่งไม่แพ้กันกับที่ผ่านๆ มา

untitled-1

ฮาเหม็ด ฮาดาดี้ คือ แกนหลักของความรุ่งเรืองของบาสเกตบอลอิหร่าน และเขาก็กลับมาเล่นในครั้งนี้ด้วย เขาอาจจะไม่ใช่ตัวเขาเหมือนเดิมสมัยหนุ่มๆ ที่เล่นให้กับ เมมฟิส กริซลี่ ใน NBA แต่ก็เชื่อได้ว่าเขาต้องเป็นผู้เล่นชั้นแนวหน้าของรายการแข่งครั้งนี้แน่นอน ในสองเกมที่ผ่านมา เขาทำแต้มอยู่ที่ 15.0 แต้มต่อเกม (สูงสุดในทีม) แถมด้วย 6.5 รีบาวด์ 3.5 แอสิสต์ และ 1.5 บล็อกช็อต

Photo Credit: NY Times
Photo Credit: NY Times

อีกชื่อที่น่าสนใจของทีมชาติอิหร่านคือ อาร์เซลาน คาเซมี่ ซึ่งหากใครที่ติดตามบาสเกตบอลระดับ NCAA ดิวิชั่น 1 อย่างต่อเนื่องก็คงพอเคยได้ยินชื่ออยู่บ้าง เพราะเขาเล่นที่ มหาวิทยาลัยไรซ์ และ ที่ มหาวิทยาลัยโอเรกอน เขาทำผลงานได้ดีในระดับมหาวิทยาลัยมากพอที่จะทำให้เขาถูกเลือกใน NBA Draft เป็นอันดับที่ 54 ไปทีมวอชิงตัน วิซาร์ดซ์ และถึงแม้ว่าจะไม่สามารถเกาะอยู่กับทีมจนเปิดฤดูกาลได้ แต่แค่นี้เขาก็ไปได้ไกลกว่าที่ใครเพียงแค่ได้คิดจะก้าวเข้าไปใกล้ด้วยซ้ำ ตอนนี้ คาเซมี่ ทำเฉลี่ย 10.5 รีบาวด์ (สูงสุดในทีม) และแถมด้วย 6.0 แต้ม 4.0 แอสสิสต์ และ 2.0 สตีลต่อเกม

ทั้งสองคนผ่านเวทีลีกจีนมาแล้วด้วย

ระดับความสามารถในรายชื่อผู้เล่นก็ไม่ได้ตกหล่นลงไปเท่าไหร่นัก เห็นได้จากการวนตัวของโค้ชชาวเยอรมัน เดิร์ก บาวเวอร์มานน์ ที่สามารถกระจายการลงเล่นของผู้เลนได้อย่างทั่วถึง ไม่ว่าจะเป็นตัวเก๋าอย่าง โอชิน ซาฮาเคียน หรือ หนุ่มๆ อย่าง ตัวอิมพอร์ตใน PBA โมฮัมหมัด จามชาดีจาฟาราบาดี และ ดาวรุ่งพุ่งแรง เบห์นาม ยักห์ชาลี ทุกคนสามารถลงมาเล่นได้โดยที่รักษาฟอร์มของทีมไว้ได้ในระดับสูง

ทีมชาติอิหร่านเป็นทีมระดับต้นๆ ของเอเชีย และยังเป็นเจ้าภาพอีก คิดว่าเขาคงไม่มีอาการขวยเชินที่จะแสดงอัตราศึกอย่างเต็มประดา


วิเคราะห์เกมเบาๆ

ทีมชาติไทยดูเหมือนจะมีชีวิตชีวา และ เตรียมการมาได้ดีมากกว่าเดิมในเกมที่เจอกับทีมชาติญี่ปุ่น ต้องบอกเลยว่า โค้ชทิม ลูอิส เป็นโค้ชที่เตรียมตัวก่อนแข่งในแต่ละเกมได้ดีมากๆ หากแต่ว่า พอทีมชาติญี่ปุ่นปรับกระบวนมทาแก้เกมของทีมชาติไทย ทางทีมชาติไทยกลับพลิกแพลงไม่ได้ แล้วก็เสียจังหวะของเกมไป

ในการเขอกับทีมชาติอิหร่าน ต้องพูดตรงๆ เลยว่า โอกาสชนะน้อยมาก…นี่ขนาดผมเป็นคนที่มองโลกแง่ดีมากๆ แล้วนะ เพราะฉะนั้น ถึงแม้ว่าผมคงไม่อยากให้โค้ชทิมบอกกับผู้เล่นให้ปล่อยเกมนี้ทิ้งไปเลย แต่ก็อยากเห็นว่า มีการเล่นที่อาจจะลดทอนการใช้พลังงานลงมาบ้าง
ทีมชาติไทยต้องไม่ลืม ว่าถึงแม้อาจจะมีโอกาสไม่มาก แต่การที่จะเข้าไปเป็นอันดับ 1 ใน 4 ของกลุ่มก็ยังเป็นไปได้ หากเอาชนะ ทีมชาติ อิรัก และ กาตาร์ ที่จะเจอในสองวันถัดไป ซึ่งสองทีมนี้ งานเบากว่าทีมชาติอิหร่านแน่นอน
ผมเองก็อยากเห็นทีมชาติไทยลองต่อกรกับทีมชาติอิหร่านแบบใส่เต็มเหมือนกันแหละครับ…แต่ภาพรวมแล้ว ก็อยากเห็นวางแผนระยะยาวในการออมแรงไว้เจอกับ อิรัก/กาตาร์ ด้วยเช่นกัน

ผมอยากให้บาสเกตบอลทีมชาติไทยมองเกมนี้ เป็นเหมือนการมองไปยังอนาคตของตัวเองมากกว่า แต่ก่อน ทีมชาติอิหร่านก็เป็นชาติที่มีความพร้อมที่จะเป็นมหาอำนาจทางบาสเกตบอลอยู่แล้ว เหลือแต่ก็เพียงคนที่จะมาชักจูงให้ไปถูกทาง และ วางระบบที่ยั่งยืนได้ และเขาก็หาคนแบบนั้นเจอเมื่อ 9 ปีที่แล้วที่วางระบบที่ยังใช้งานได้ ถึงแม้ว่าเขาจะย้ายไปที่ไหนต่อก็ตามที
ทีมชาติไทย สามารถที่จะยกระดับของตัวเองได้…ถ้ามีการเดินหมากที่ถูกต้อง
โค้ชทิม จะรักษาความคงที่ในพัฒนาการของนักกีฬาได้รึเปล่า สมาคมฯ มีระบบที่จะสนับสนุนนักกีฬาทั้งในปัจจุบัน และ อนาคต หรือยัง? นี่คือคำถามที่ควรจะต้องเริ่มหาทางตอบให้ได้ หลังจากที่ดูเกมนี้แล้ว

เกมนี้ เป็นเกมที่หนักแน่นอน

แต่ก็ไม่แน่ ว่ามันอาจจะเป็นเกมที่แฟนบาสชาวไทยหลายคนมองย้อนมาดูในอีก 10 ปีข้างหน้า ว่ามันคือจุดเริ่มต้นของความยิ่งใหญ่


ตัวแปรสำคัญ (ทีมชาติอิหร่าน) : อาร์ซาลาน คาเซมี่

Photo Credit: FIBA
Photo Credit: FIBA

ผู้เล่นสองคนที่ผมวางไว้เป็นตัวแปรสำคัญสองคนที่ผ่าน (คิม ซันยอง กับ มาโคโตะ ฮิเอจิมะ) กลับได้ลงเล่นกับทีมชาติไทยเพียงนิดเดียว คาดว่าน่าจะเพื่อพักผ่อนร่างกาย ผมคิดว่าทามทีมชาติอิหร่านก็คงจะพัก คาเซมี่เช่นเดียวกัน แต่ก็อยากใส่ชื่อเขาเข้ามาอยู่ดี

คาเซมี่เป็นนักบาสที่เล่นได้อย่างรอบด้าน และทำได้หลายๆ อย่าง และ น่าสนใจดีว่า ทีมชาติไทยเจอเขาจะเป็นอย่างไร (ถ้าหากว่าเขาได้เล่นอะนะ)


ตัวแปรสำคัญ (ทีมชาติไทย) : ชนาธิป จักรวาฬ

Photo Credit : Basketball Thailand FB Page
Photo Credit : Basketball Thailand FB Page

อนาคตวงในหลักของทีมชาติไทยมาแล้ว!! “โอม” ชนาธิป จักรวาฬ หนุ่มอายุ 18 ปี โชว์ฟอร์มดีมาตั้งแต่วันแรกของการแข่งขัน และ ก็ทำผลงานได้ดีมาอย่างต่อเนื่อง
ตอนนี้ชนาธิปทำไปแล้ว 10.0 แต้ม (อันดับ 2 ในทีม) และ 5.5 รีบาวด์ (อันดับ 1 ในทีม) อีกทั้งยังยิงลงด้วยอัตรา 60.0%
ถือว่าไม่เลวเลย สำหรับไอ้หนุ่มที่อายุยังไม่ครบ 20 ปีเลยด้วยซ้ำ

ถ้าโชคดีหน่อย โค้ชบาวเออร์มาน อาจจะปล่อยให้ฮาดาดี้ ลงมาเล่นเยอะหน่อย และกรที่ได้ปะทะกับเซนเตอร์ระดับอดีตผู้เล่น NBA บ้าง ก็น่าจะกระตุ้นการพัฒนาของหนุ่มอนาคตไกลคนนี้ได้แน่นอน

ถึงแม้จะโดนบล็อคหาย แต่หากว่าแค่เพียงลองพยายามที่จะดั๊งอัดใส่หน้าฮาดาดี้ แค่นี้ก็พอใจละ


สรุป

game3

Advertisement

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.