The first test for the young Thailand National Team: The Korean National Team
[อ่านภาษาไทย คลิกที่นี่เลยครับ]
Thailand came into this tournament as the ultimate underdogs. It didn’t really matter who they would have been grouped with, it would have been a tough match up for Thailand for sure.
Still, it felt a little bit too harsh to get these Thai youngsters broken in by playing Korea, one of the best basketball teams in Asia.
Comparison | Thailand | Korea |
World Rankings | 88 | 30 |
Asia Rankings | 22 | 5 |
FIBA World Cup Appearances | 0 | 7 |
FIBA Asia Championship Appearances | 18 | 28 |
FIBA Asia Champsionship Gold Medals | 0 | 2 |
NBA Players | 0 | 1 |
Worldwide Youtube Hit | 0 | 1 (Gangnam Style) |
In FIBA sanctioned tournament records, Thailand has played against Korea 15 times dating back to 1956 and has gone 0-15. The closest Thailand has been to winning was in 1965 when they lost 69-66.
The roster that this Korean National Team has sent is a mix of veterans and new players. 6 of their players are regulars on the Senior Men’s team, most notably the 25-year-old, Kim Jongkyu. The rest of the squad is sprinkled with some young players from the youth national team.
Korea recently prepared in a two-game tune-up series with Tunisia before heading over to play in the FIBA Asia Challenge. A part of this team also played in the 38th William Jones Cup help in Taiwan earlier in August.

…that’s pretty much all I can say about the Korean National Team at this point. I expected to be able to watch the Korea-Japan game yesterday (9th September) but the livestream of the tournament wasn’t ready. All we have from yesterday’s box scores in Korea’s 80-73 win over Japan and I must have to admit that the numbers are quite frightening. The score ended up quite close, but Korea managed to shoot a blistering 51.8% from the field. Japan were the underdogs in this game, but they still were the 48th ranked team in the world and 8th ranked team in Asia which is only slightly a but lower than Korea. It would be Korea’s national team veterans that soaked up most of the minutes. Sunhyung Kim’s numbers shined the brightest with 17 points, 8 assists, and 5 steals.
However, we’re still just looking in the numbers here without context of the actually game. Therefore, I think I know just about as much as you do about how this Korean National Team actually plays.
If we can judge from the how we’ve seen the past national teams and the youth team plays, we could say that the Korean National Teams move exceptionally well without the ball. They do a good job of spacing out and getting the ball to where they want in a discipline fashion. Which is exactly how a team should play when the resources that they have aren’t as physically gifted as other teams.
Game Breakdown
Hey, the Thai National Team actually got to watch the Korea-Japan game live, so I trust that Coach Tim and Asst. Coach Piyapong Piroon knows what to do more than whatever I could write down in this post here.
I guess all I could say about this game (since I have no context whatsoever about either teams in an actual competitive game) is that Thailand just has to play in their solid defensive system. Coach Tim Lewis worked hard in preparing the National Team defensively in the SEABA Stankovic Cup and it worked out pretty well. While he didn’t have as much time as he did this time around, a main core of the players from that team are still in this squad which would make the transition easier. I expect Coach Lewis to throw around his long armed defenders (Langsui, Klahan, Jaisanook, Dasom) all over the floor against the Korean shooters and it’ll be fun to see if that could actually work. It’s going to take a lot of effort and hard work, but it’s not impossible to stop Korea on offense.
Offensively…it’s really up to how steady Nattakarn Meungboon and Sorot Sunthornsiri are going to be while bringing the ball up the court. I expect Korea to be pesky on defense so if Thailand struggles to bring the ball up, it would be a long game for them. If they can get the ball up easily and/or get loose on the fastbreak, I think Thailand has a decent amount of firepower in their offensive skill set to be able to keep up with this Asian juggernaut.
Key Player (Korea): Sunhyung Kim

Again, I have no idea how each players play…so the key player here is just based purely on stats from the first game.
Kim scored 17 points on 56.2% from the field. Needless to say that that’s pretty nice. He also added 8 assists and 5 steals to his stat line.
These are stupid things to say because you can already read it from the box scores (and from what I wrote above), but this is all I have to work with right now.
Sigh.
Key Player (Thailand): Guntapong Korsah-Dick

I’m not saying that Guntapong (or Tony) is going to shred apart the Korean defense to bits and pieces or make it rain from the beyond the arc or hold their star player to 0 points.
It’s just the fact that I have no idea what Tony can bring to the table that makes him so key to the outcome of the game. I feel that, as the youngest and least experienced player on the team, he could give everyone a nice morale boost to play confidently if he himself comes out and plays well.
Summary
อ่านภาษาไทยต่อจากนี้เลยครับ
บททดสอบแรกของหนุ่มทีมชาติไทยชุดนี้ คือ!!! ทีมชาติเกาหลีใต้นั่นเอง
ไม่ว่าจะมองมุมไหน ทีมชาติไทย ถือว่าเข้าร่วมรายการนี้ เป็น โคตรมวยรองบ่อน
จริงๆ ไม่ว่าจะถูกจับเจอกลุ่มเดียวกับใคร ก็ถือว่าเป็นงานหนักทั้งนั้น
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม…การที่จับมาเจอกับทีมชาติเกาหลีใต้ที่มีชื่อเสียงและฝีมือระดับต้นๆ ของเอเชียมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ก็ดูเป็นเรื่องที่ค่อนข้างโหดร้ายอยู่ดี
เปรียบเทียบ | ทีมชาติไทย | ทีมชาติเกาหลี |
อันดับโลก | 88 | 30 |
อันดับเอเชีย | 22 | 5 |
จำนวนครั้งที่เล่นใน FIBA World Cup | 0 | 7 |
จำนวนครั้งที่เล่นใน FIBA Asia Championship | 18 | 28 |
จำนวนเหรียญทอง FIBA Asia Champsionship | 0 | 2 |
นักบาสใน NBA | 0 | 1 |
เพลงฮิตติดชาร์ตทั่วโลก | 0 | 1 (กังนัม สไตล์) |
ในรายการแข่งขันที่ขึ้นกับ FIBA โดยตรงนั้น ทีมชาติไทยเจอกับทีมชาติเกาหลีมาแล้วถึง 15 ครั้ง ซึ่งย้อนกลับไปจนถึงปี คศ, 1956
…เสียดายที่ทั้ง 15 ครั้งนั้น ทีมชาติไทยแพ้หมดเลย และค่อนข้างจะแพ้ขาดลอย ยกเว้นครั้งหนึ่งในปี 1965 ที่แพ้ไปเพียง 69-66
รายชื่อนักกีฬาชุดนี้ของทีมชาติเกาหลี เป็นการผสมปนๆ ของทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ มีผู้เล่น 6 คนในทีมนี้ที่ติดทีมชาติชุดใหญ่มาเรื่อยๆ ซึ่งที่น่าจะคุ้นชื่อกันในวงการก็จะมีหนุ่มวัน 25 ปี คิม จองเคียว
นอกจากนั้นแล้ว ผู้เล่นแต่ละคนในทีมก็ยังค่อนข้างจะหน้าใหม่ และมีตัวของทีมชาติชุดเยาวชนรุ่นก่อนมาแซมๆ ด้วย
ก่อนหน้าที่จะมาแข่งในรายการ FIBA Asia Challenge นี้ ทีมชาติเกาหลีก็ได้มีการเตรียมทีมอุ่นเครื่องกับทีมชาติตูนีเซียบ้าง อีกทั้งยังมีส่วนหนึ่งได้ไปเข้าร่วมรายการ William Jones Cup ครั้งที่ 38 ที่จัดที่ประเทศไต้หวัน เมื่อต้นสิงหาคมที่ผ่านมา

ตอนแรกก็นึกว่าจะได้ดูการแข่งขันของเกาหลีกับญี่ปุ่น เมื่อวาน (9 กันยายน) ซักหน่อย แต่บุญไม่มี ทางระบบการถ่ายทอดสดของประเทศอิหร่านไม่ลงตัว ข้อมูลที่มีตอนนี้ก็มีเพียงสถิติจากการแข่งขันที่เกาหลีเอาชนะญี่ปุ่นไปได้ 80-73 และผมต้องยอมรับเลยว่า สถิติมันค่อนข้างจะดูน่ากลัวไม่ใช่น้อย
ทีมชาติเกาหลีเอาชนะไปได้ด้วยการยิงด้วยอัตรา 51.8% ซึ่งไม่น่าจะต้องแปลว่า แม่นมาก ถึงแม้ว่าเกมนี้ญี่ปุ่นจะเป็นรองก็จริง แต่ถึงอย่างไร ญี่ปุ่นก็ยังเป็นทีมอันดับที่ 48 ในโลกนัะเฟร้ย! มายิงใส่กันแบบนี้ เกรงใจกันบ้าง
คนที่เล่นได้อย่างโดดเด่นก็จะมี คิม ซุนยอง ที่ทำไป 17 แต้ม 8 แอสสิสต์ และ 5 สตีล
อย่างไรก็ตาม นี้เราดูเพียงตัวเลข โดยไม่มีบริบทของการแข่งขันจริงๆ มาเทียบเลย ก็อาจจะวัดอะไรไม่ได้มาก
เพราะฉะนั้นพูดตรงๆ เลยเหอะ ผมเองก็มีความรู้เกี่ยวกับทีมชาติเกาหลีชุดนี้ พอๆ กับคุณนันแหละ คุณท่านผู้อ่านที่น่ารัก
ถ้าเราจะลองกะเกณฑ์ทีมชาติเกาหลีชุดนี้จากวิธีการเล่นของชุดที่ผ่านๆ มาและ ชุดเยาวชน ก็ต้องบอกว่า ทีมชาติเกาหลี เป็นทีมที่เคลื่อนไหวได้ดี เวลาที่ไม่ได้ครองบอล ซึ่งมันทำให้เปิดพื้นที่ในการเล่นได้ดี และ ทำให้สามารถพาบอลไปถึงจุดที่ต้องการได้ และนี่คือวิธีการเล่นในอุดมคติ สำหรับทีมที่อาจจะไม่ได้มีศักยภาพทางร่างกายที่ดีเท่ากับทีมชาติอื่นๆ
วิเคราะห์เกมเบาๆ
เอาละ อย่างน้อยทีมชาติไทยก็ได้ไปดูการแข่งขันของ เกาหลี และ ญี่ปุ่น สดๆ ที่สนาม เพราะฉะนั้น ผมเชื่อว่า โค้ชทิม ลูอิส กับ ผู้ช่วยโค้ชปิยพงษ์ พิรุณ น่าจะรู้มากกว่าทุกสิ่งทุกอย่างทั้งปวงที่ผมจะสามารถเขียนลงไปได้
สิ่งที่ผมสามารถจะบอกได้ (โดยที่ไม่มีบริบทของการแข่งขันจริงๆ จังๆ ของทั้งสองทีม) คือ ทีมชาติไทยจะต้องเล่นในระบบเกมป้องกันที่ซ้อมมาให้ได้
โค้ชทิมได้มีการเตรียมระบบการป้องกันของทีมชาติได้ดีมาตั้งแต่ SEABA Stankovic Cup และผลที่ออกมามันก็ดูดีพอสมควร คราวนี้เขาอาจจะไม่มีเวลาการซ้อมเท่ากับคราวที่แล้ว แต่ ผู้เล่นแกนหลักก็ยังเป็นผู้เล่นชุดเดิมอยู๋ ก็น่าจะทำให้การปรับตัวง่ายกว่าคราวที่แล้ว
ผมอยากลองดูว่า โค้ชทิมจะมีการใช้เหล่าปีกแขนยาวเก้งก้าง อย่าง อนุชา, ปฏิภาณ, ณกรณ์, และ วุฒิพงษ์ อย่างไรบ้าง ในการประกบตัวยิงของทีมชาติเกาหลี
การที่จะป้องกันทีมชาติเกาหลีให้ได้ ต้องใช้ความตั้งใจ และ ใช้พลังงานค่อนข้างมาก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้
ในทางด้านเกมบุก คงขึ้นอยู่กับว่า ณัฐกานต์ และ โสฬส จะขึ้นเกมบุกมาได้อย่างมั่นคงมากขนาดไหน ผมคิดว่าทีมชาติเกาหลีจะต้องเป็นทีมที่ป้องกันได้อย่างน่ารำคาญมากๆ เพราะฉะนั้น ถ้า การ์ดของไทยขึ้นบอลมาได้ลำยบาก…ก็อาจจะลำบากกันทั้งทีมตลอดเกม แต่ถ้าหากว่าขึ้นบอลกันมาเซ็ทครึ่งสนามได้ หรือ บุกฟาสเบรก ได้อย่างต่อเนื่อง ผมมองว่า ทีมชาติไทยมีตัวเลือกในเกมบุกที่หลากหลายพอที่จะต่อกรกับทีมยักษ์ใหญ่ในเอเชียนี้ได้แบบแลกหมัดต่อหมัด
ตัวแปรสำคัญ (ทีมชาติเกาหลี): คิม ซุนยอง

ก็…ผมก็ไม่ได้ดูแต่ละคนเล่น เพราะฉะนั้น ตัวแปรของทีมชาติเกาหลีนี้ ผมคงต้องอ้างอิงสถิตจากการแข่งขันเกมแรกล้วนๆ
ซุนยอง ทำแต้มไป 17 แต้ม และยิงลงวด้วยอัตรา 56.2% นอกจากนี้ เขายังทำไป 8 แอสสิสต์ และ 5 สตีล
…ก็รู้ว่าเรื่องพวกนี้ ไม่ต้องพูด เพราะว่าดูใน เว็บสถิติ หรือ ที่เขียนไว้ข้างบนก็ได้…แต่ก็ทำได้เท่านี้อะนะ ทนอ่านไปก่อนละกัน เฮ้อออออออออออออออออออ
ตัวแปรสำคัญ (ทีมชาติไทย): กันตพงษ์ คอร์ซ่าห์-ดิค

การที่วาง กันตพงษ์ (หรือ โทนี่) เป็นตัวแปรสำคัญ ไม่ได้แปลว่า ผมคิดว่าเขาจะทำลายล้างการป้องกันของทีมชาติเกาหลีเป็นเสี่ยงๆ หรือ ป้องกันสตาร์ของเกาหลีจนทำแต้มไม่ได้เลย
ผมไม่ได้มองในมุมมองนั้น
หากแต่ผมมองในมุมมองว่า เรายังกะเกณฑ์ไม่ถูกเท่าไหร่ว่า โทนี่ จะทำอะไรได้บ้าง ซึ่งสิ่งที่เขาทำได้ น่าจะเป็นตัวแกว่งจังหวะของเกมได้เลย
ผมรู้สึกว่า ในฐานะที่ โทนี่เด็กที่สุด และ ประสบการณ์น้อยที่สุดในทีม ถ้าหากว่าเขาลงไปเล่น และ เล่นได้ดี มันน่าจะเป็นกำลังใจให้กับนรุ่นพี่คนอื่นๆ ทั้งหมดในทีมได้
สรุป