Less than 3 days to go to the FIBA Asia Challenge 2016! Let’s finally lake an in-depth look at the Thailand National Team!
[อ่านภาษาไทย คลิกที่นี่เลยครับ]
About one week ago, the Thailand National Team Roster for FIBA Asia Challenge was released. In case you missed it:
Sorot Sunthornsiri (PG)
Jittaphon Towaroj (SG)
Nakorn Jaisanook (SG/SF)
Anucha Langsui (SF/PF)
Sukdave Ghogar (PF/C)
Guntapong Korsah-Dick (PG/SG)
Nattakarn Muangboon (PG)
Chanathip Jakrawan (PF/C)
Patipan Klahan (SF/PF)
Peeranat Semeesuk (PF)
Teerawat Chantachon (PF/C)
Wutipong Dasom (SF)
Head Coach: Tim Lewis
Assistant Coach: Piyapong Piroon
While going through the team and dissecting it in detail is very fun (and it’s something I’ve done for both the SEA Games 2015 team and the SEABA Stankovic Cup 2016 Team), I decided that I wanted to change things up a bit.
I’m still going to break things down, but seeing the opinions and comments around on social media platforms made me realize that those are the issues that I must prioritize in addressing. So here we go:
Social Media Reaction #1: Youth
A large number of reactions of the Thai National Team FIBA Asia Challenge 2016 roster was the youth of the team.
New Generation.
Young Blood.
Rebuilding Mode.
These were the words thrown around and for a good reason. For the first time ever, The entire Thailand National Team will be younger than I am. Judging that I am still only 26, that’s pretty young.
The oldest player on this team is Sukdave Ghogar (1990).
It took quite sometime for the fans to fade from the Piyapong Piroon/Ratdech Kruatiwa generation and now it seems like we’ll have to start getting used to not seeing regulars like Attaporn Lertmalaiporn/Chanachon Klahan/Darongphan Apiromwilaichai who are already creeping into their mid 30s. With the Thai NT released here, we’re starting to get a taste of what Coach Tim Lewis might be building.
Thailand has the second youngest roster at 23.1 years old with only China sending younger players at 22 years old (because they are China and they are really really good). Thailand will be fielding two teenagers (Korsah-Dick, 18, and Jakrawan, 19) and will be along side China and India who have named more than 1 teenager on their roster who have 3 and 2 players, respectively.
But youth isn’t a bad thing right? China is sending the youngest squad in the tournament, yet they are among the best bets to win it. Yes, youth isn’t bad but the other concern involving this Thai National Team is experience or lack thereof.
Note: I’m only going to refer to FIBA sanctioned tournaments.
Of these 12 players, Dasom and Ghogar are the ones with the most experience especially in the Asian level with stints in the 2013 FIBA Asia Cup team. Meungboon, Chantachon, and Jaisanook have also recently played meaningful minutes for the NT but only for one tournament at most. The rest of the team are either National Team rookies (Korsah-Dick, Sunthornsiri, Semeesuk, and Langsui), haven’t played consistent minutes on the National Teams they have been on (Towaroj, Klahan), or only have experience in the youth level (Jakrawan).
The lack of inexperience is a bit concerning.
But in my opinion, the whole point of sending an inexperienced squad is to – believe it or not – gain experience. I personally like this youth revolution of the Thailand National Team. They don’t have experience now, but if we never send them out to play when will they ever get experience at all? And in this FIBA Asia Challenge, teams are guaranteed at least 5 games to play. For Thailand, that means these youngsters get to at the very least play Korea, Japan, Iran, Iraq, Qatar, plus whoever they play in the playoff/qualification stages.
They might lose horribly or they may not. We don’t know yet. But what we know is that as every game that passes by will be valuable experience for the players.
Let’s just hope that this team really is Coach Lewis’ long term plan and he can get a solid core out of this group.
Social Media Reaction #2: The Missing Ones
It’s only natural that fans would feel that some players who were not on the roster deserved to be on the roster. There are only 12 names to fill in with so many to choose from.
Let’s start with the most popular reaction which is people asking for “Bas” Kannut Samerjai and “Pae” Chitchai Ananti. No one would actually be asking these questions if only they had read my review of the 24-player pool (which you can read here). In case you really haven’t read it, I can tell you that Samerjai asked off the 24-player pool for personal reasons, as well as Chitchai Ananti, who is expecting his firstborn child around the time of the competition.
While it is quite a shame that the National Team cannot get their arguably two best players to play, it’s understandable. And they had already asked of consideration from the 24-player pool. We had known for a while that they wouldn’t be playing. I’ve moved on from the pain. And so should you…
Another name that frequently popped up while questioning his omission was “Jeng” Tawatchai Sukthab. Unlike Ananti and Samerjai, Sukthab was listed on the 24-player pool. He’s always been on the short list for making the Final Cut for the recent National Teams, so after a decent TBL performance, many expected him to finally make this team. It would have been a feel-good story if he had finally made the cut, but when he wasn’t on the final roster, it wasn’t that surprising.
On a team full on long and lanky forwards, Sukthab would be the odd one out. He might have been effective in the SEABA region but once you head out to Asia, I feel like he might have been stuck in the “Tweener” role where he’s not big enough to play inside and not quick enough to play on the perimeter.
Whatever the case, reports from the National Team camp is that Sukthab himself also asked off the National Team for personal reasons. Bandit Lakhan’s name also popped up and his case is similar to Sukthab as I feel like he wasn’t a good fit for this team. The National Team camp has also reportedly mentioned that Lakhan asked off the team for personal reasons.
Of the 4 players above, the reason for them to not be on the National Team was understandable and/or not surprising.
Social Media Reaction #3: The Quota
This issue garnered quite a reaction from the fans. Freddie Lish and Moses Morgan were both on the 24-player pool for the Thailand National Team and most people (myself included) expected to see one of them finally donning the National Team jersey.
Then with both Ananti and Samerjai asking off, it seemed only logical that one of them would be in there. You can only imagine how baffled fans were when the official list came out and neither were on the list.
Before we go on, I feel like I need to explain the situation again since a large group of fans still do not completely understand the status of these players.
To play for a National team, you must have that country’s nationality. That’s not hard to comprehend. To gain Thai nationality, you have to have been born in Thailand or have a parent of Thai nationality (we’re not talking about gaining Nationality through a long duration of stay and/or marriage since it’s not common among basketball players).
So Tyler Lamb, Freddie Lish, and Moses Morgan who all have Thai mothers should be eligible to play for the Thailand National Team right?
They can, but there’s a catch. FIBA has this stupid rule where a National Team can only have one player on the team that acquired legal documentation of gaining nationality after they reach the age of 16. National Teams usually use this one player quota to grant nationality to an American professional player (see Andrey Blatche, Marcus Douthit, Ira Brown, Quincy Davis, etc.). This is why it’s sometimes commonly known as the “Naturalization Quota” which might be misleading.
Lamb/Lish/Morgan do not need to be “Naturalized” by the Thai government. They have had the rights to Thai nationality since birth (from maternal heritage) but they had only legally acquired their Thai nationality (via getting a passport) after they turned 16. So because of the FIBA rule mentioned above…only one of them is allowed to be on the Thailand National Team roster in one tournament. Half-Thais born outside of Thailand like Wuttipong Dasom/Justin Bassey/Benjamin Cox quickly secured their passports before they were 16, so they can play on the National Team. Half-Thais like Sukdave Ghogar/Guntapong Korsah-Dick were born in Thailand and their birth certificate is enough to claim Thai Nationality from birth.
Moving on.
Now that we have that sorted out, let’s get back to this National Team roster.
No Lish. No Morgan.
One specific social media feedback mentioned that Lish and Morgan missed out on the Final cut simply because they didn’t come to practice. This led to a subsequent comment saying that “Foreigners are just playing for the money. They won’t play for free. They think they are Americans.”
Lish was even playing against the National Team in exhibition games on a team mixed with TBL imports like Magnum Rolle, Patrick Cabahug, and others.
The reports from the National Team camp for the three “Naturalized” candidates are:
- Tyler Lamb asked off the 24-Player Pool for personal reasons.
- Freddie Lish asked off the 12-Player cut for personal professional reasons.
- Moses Morgan asked off the 12-Player cut to be with his family following his grandfather passing away.
I’ve been saying this since I first wrote about Half-Thais and their role in the future of Thailand Basketball about a year ago: They are not the end game. Half-Thais cannot be what the National Team completely relies on. The National Team and the internal development of players has to have a strong foundation by itself in order to succeed.
I’m not in total despair that Lamb/Lish/Morgan aren’t in this team. It would have been entertaining and the pure level of talent would have been higher than it is. But it’s not the end of the world.
My concern is more about how the situation is/has been handled. Since the end of the SEABA Stankovic Cup, the Thailand National Team has had roughly 3 full months to work this out. Lamb/Lish/Morgan were all in Thailand playing in the TBL. The National Team had the choice to pick one of these three high-level talents to be on the team, yet didn’t end up with anyone.
Maybe it was because the timing was really bad. Maybe there were concerns about chemistry between players. Maybe it’s just one of those things that just aren’t meant to be.
On a personal level, I just feel that it’s a bit disappointing that two major basketball events have gone by (SEABA Stankovic Cup & FIBA Asia Challenge) and we’ve yet to be able to tap into this talent pool. Again, Half-Thais are not the final answer to basketball success for Thailand but they sure could help speed up the process.
But hey, they aren’t in the Final 12-Player cut and I think I’ve spent too many words talking about this issue already. No point crying over spilled milk. Let’s move on.
Social Media Reaction #4: The Point Guard
The Thailand National Team will have problem at the point guard position.
If you think that you’ve heard about this problem already, you’re right. The point guard position was one of the glaring problems of the SEABA Stankovic Cup team and it’s still a bit of a concern going coming into the FIBA Asia Challenge.
Meungboon is a great pure point guard, but I fear that going up against the disciplined guard of Korea and Japan might wear him out. When he does have to come off, Coach Lewis will have to bring in either Sorot Sunthornsiri or Guntapong Korsah-Dick. Both are athletic guards, but their youth and level of experience might work against them here.
It’s going to be interesting once again to see how the Thailand National Team works around this.
Social Media Reaction #5: The Unknown
Guntapong Korsah-Dick has quietly become the talk of the town, if that makes sense. It’s quite natural that there has been quite an expectation coming from the youngest kid on the squad.
With the three TBL half-Thais absent and the recent form of Justin Bassey in the FIBA Asia U18 Championship, I think fans were quick to look for a replacement. Once people started googling up his name to find highlights of him dunking in transition, the hype started gaining traction.
I hope Korsah-Dick can validate the hype and I want him to succeed, but I also want to bring everyone’s expectation down a notch. This is still an 18-year-old kid who has yet to have any experience playing at the professional level who is about to go up against professional players. More than that he will probably be playing in what is possibly the hardest position to play at point guard for some periods of the game.
I honestly don’t know how it will things will pan out. The report from the National Team camp is that he’s been solid from day one and dunking in traffic. Again, I hope he succeeds and can become another piece to the future of Thailand Basketball.
But until he actually plays, let’s keep our expectations at bay.
My Reaction
If you read my prediction of the final 12-player roster, you have a good idea of how I might feel about the announced roster (and if you haven’t read it, shame on you. Here it is).
Of the 12 players on my predicted list, only 3 (Lish, Apiromwilaichai, and Sekteera) didn’t make the actual cut. They were also the three eldest players on my predicted list too. In the official roster, the three different roster spots would belong to Jittaphon Towaroj, Sorot Sunthornsiri, and Teerawat Chantachon.
My initial reactions were the same as most people. I questioned why the National Team weren’t able to secure one of the Naturalized Quota candidates. I questioned the youth of the team. While I still personally think that having one or two vets and a Lish/Morgan on the team would have made the team better, I also understand and embrace the direction that the Thailand National Team is advancing towards.
Maybe the plan is to keep this core together going ahead into the future.
Picture this: In 4 years, all of these players will be no older than 30 and as young as 22. If they all develop as projected together as a team, this could be what Thailand can call their “Golden Generation”. Add U18 standout Justin Bassey into the mix and suddenly, this could turn out to be the start of one of the most successful runs the Thailand National Team has ever had.
That’s what I might have to keep telling myself throughout this FIBA Asia Challenge campaign as Thailand battles against the powerhouses of Asia.
One Last Summary
One last time, let’s pan out the details of the FIBA Asia Challenge 2016:
The Thailand National Team will be playing in the FIBA Asia Challenge which will be held in Tehran, Iran from 9-18 September.
There will be 12 teams playing in the FIBA Asia Challenge fighting off for the top 5 spots. Those who finish in the Top 5 will earn their respective FIBA Asia zones one more slot in the FIBA Asia Cup in 2017.
In the first round, Thailand will be grouped with Japan and Korea. Thailand will play both teams once as per this schedule:
September 10th (Saturday) vs KOREA, 4:30 PM (GMT +7)
September 11th (Sunday) vs JAPAN, 4:30 PM (GMT +7)
Both games will be televised.
In the second round, the Group D teams will join teams in Group C (Iran, Qatar, Iraq) to form Group F and play the teams in Group C. The time of the games will depend on the standings in the first round:
If Thailand finishes in first place in Group D:
September 12th (Monday) vs 3rd Place Group C, 10:30 PM (GMT +7)
September 13th (Tuesday) vs 2nd Place Group C, 8:30 PM (GMT +7)
September 14th (Wednesday) vs 1st Place Group C, 6:30 PM (GMT +7)
If Thailand finishes in second place in Group D:
September 12th (Monday) vs 2nd Place Group C, 8:30 PM (GMT +7)
September 13th (Tuesday) vs 1st Place Group C, 6:30 PM (GMT +7)
September 14th (Wednesday) vs 3rd Place Group C, 10:30 PM (GMT +7)
If Thailand finishes in third place in Group D:
September 12th (Monday) vs 1st Place Group C, 6:30 PM (GMT +7)
September 13th (Tuesday) vs 3rd Place Group C, 10:30 PM (GMT +7)
September 14th (Wednesday) vs 2nd Place Group C, 8:30 PM (GMT +7)
No matter the results, Thailand will be playing 5 games against Japan, Korea, Iran, Iraq, and Qatar in some order. If Thailand finishes in Top 4 of Group F, they will play in 3 more games in the Playoff and Qualification rounds. Should Thailand make it to that round, I’ll recap the schedules again.
Here are the members of the Thailand National Team:
Head Coach: Tim Lewis
Assistant Head Coach: Piyapong Piroon
Sorot Sunthornsiri (PG)
Jittaphon Towaroj (SG)
Nakorn Jaisanook (SG/SF)
Anucha Langsui (SF/PF)
Sukdave Ghogar (PF/C)
Guntapong Korsah-Dick (PG/SG)
Nattakarn Muangboon (PG)
Chanathip Jakrawan (PF/C)
Patipan Klahan (SF/PF)
Peeranat Semeesuk (PF)
Teerawat Chantachon (PF/C)
Wutipong Dasom (SF)
That’s all the basics you need to know about the Thailand Basketball Team for now.
Social Media Reaction #6: The Cheers
Here’s the final and most important part.
It’s not about who made the team.
It’s not about who didn’t make the team.
It’s not about who the team is going up against.
It’s not about how good we are now or how good we will be in the future.
It’s not about what the fans reactions are.
It’s not about what some random blogger posts on the internet.
This is the Thailand National Team. For better or worse, through the questionable decision-making and shady motives, this is still the representative of Thailand on the basketball court.
Through it’s ups and downs, the fans of Thailand basketball will be rooting for whoever puts on that National Team jersey playing on the hardwood.
Who else would we root for?
PS. One more serious question:
What moniker should we call the Thailand Men’s Basketball National Team?
Leave your suggestions in the comment section here, on Facebook, or on @ me on Twitter (@tk_thaibball).
อ่านภาษาไทยต่อจากนี้เลยครับ
เหลือเวลาอีกไม่ถึง 3 วันก่อนที่ศึก FIBA Asia Challenge จะเปิดศึกแล้ว! เรามาดูทีมชาติไทยกันแบบเจาะลึกหน่อยดีกว่า!
เมื่อประมาณหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา ทีมชาติไทยได้เปิดเผยรายชื่อผู้เล่นทีมชาติ และ เผื่อว่าใครพลาดไป รายชื่อสุดท้ายเป็นดังนี้ครับ:
โสฬส สุนทรศิริ (PG)
จิตรภณ โตเวโรจน์ (SG)
ณกรณ์ ใจสนุก (SG/SF)
อนุชา ลังสุ่ย (SF/PF)
สุจเดฟ โคเคอร์ (PF/C)
กันตพงษ์ คอร์ซ่าห์-ดิค (PG/SG)
ณัฐกานต์ เมืองบุญ (PG)
ชนาธิป จักรวาฬ (PF/C)
ปฏิภาณ กล้าหาญ (SF/PF)
พีรณัฐ เสมมีสุข (PF)
ธีรวัฒน์ จันทจร (PF/C)
วุฒิพงษ์ ดาโสม (SF)
หัวหน้าผู้ฝึกสอน: ทิม ลูอิส
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน: ปิยพงษ์ พิรุณ
ในใจผม การเจาะละเอียดยิบย่อยทุกซอกอนู มันก็สนุกอยู่หรอก (และเป็นอะไรที่ผมทำมาอย่างต่อเนื่องทั้งสำหรับทีมชาติไทยในรายการ SEA Games 2015 หรือ รายการ SEABA Stankovic Cup 2016 Team) แต่พอมารอบนี้ ผมรู้สึกว่า อยากจะลองปรับเปลี่ยนบ้าง
แน่นอนว่า เราต้องเจาะลึกในส่วนของทีมชาติชุดนี้อยู่แล้ว แต่ การที่ได้เห็นกระแสตอบรับต่างๆ ใน Social Media ทำให้ผมตระหนักได้ว่า ประเด็นเหล่านั้น ต่างหากที่เราในฐานะที่ช่วยเป็นโทรโข่ง ควรจะชี้แจงเป็นสำคัญ เอาละ มาเริ่มกันเลย:
กระแสตอบรับ Social Media #1: “เด็ก”
หลายๆ เสียง หลายๆ กระแส รีบบอกเลยว่า ทีมชาติไทยชุดนี้ ถือว่า “เด็ก” มาก
“New Generation”
“Young Blood”
“เลือดใหม่”
“เด็กรุ่นใหม่”
คำเหล่าเป็นคำที่หลายๆ คนใช้ในการอธิบายทีมชาติชุดนี้ ซึ่งก็ไม่ผิด ทีมชาติชุดนี้ จะเป็นชุดแรกที่ผู้เล่นทุกคน อายุน้อยกว่าผมทุกคน ซึ่ง ผมเองก็อายุเพียง 26 ปี…ก็ถือว่าอายุยังน้อยอยู่ (หมายถึงตัวทีมนะ ไม่ใช่ตัวผม ฮิฮิ)
ผู้เล่นที่อายุมากที่สุดในชุดนี้ ก็คือ สุขเดฟ โคเคอร์ ที่เกิด พศ. 2533
จริงๆ แล้ว กว่าที่แฟนๆ จะถ่ายอารมณ์ออกจากยุค ปิยพงศ์ พิรุณ/รัชเดช เครือทิวา ก็ใช้ระยะเวลาหนึ่งเหมือนกัน และ มาถึงตอนนี้ ก็คงยังไม่ชินกับการที่จะไม่ได้เห็นหน้าเก่าๆ อย่าง อรรถพร เลิศมาลัยภรณ์ หรือ ชนะชนม์ กล้าหาญ และ ดรงค์พันธุ์ อภิรมย์วิไลชัย ที่กำลังย่างเข้าวัย 30 ต้นๆ กลางๆ
พอรายชื่อทีมชาติชุดนี้ ถูกประกาศ ออกมา เราก็พอเริ่มเห็นภาพคร่าวๆ ละ ว่า โค้ชทิม ลูอิส กำลังสร้างอะไรอยู่
ผู้เล่นทีมชาติไทยชุดนี้ มีอายุเฉลี่ยน้อยที่สุดเป็นอันดับ 2 ในรายการแข่งขัน อยู่ที่ 23.1 ปี เป็นรองเพียงทีมชาติจีน ที่อายุเฉลี่ย 22 ปี (ซึ่งก็นะ ชาติมหาอำนาจทางบาสอย่างจีน จะส่งใครมาก็น่ากลัว) สำหรับทีมชาติไทย จะมีวัยรุ่นอายุไม่ถึง 20 สองคน คือ กันตพงษ์ และ ชนาธิป ที่อายุเพียง 18 และ 19 ปี ตามลำดับ
ก็จะมีเพียงทีมชาติไทย ทีมชาติจีน และ ทีมชาติอินเดียนี่แหละ ที่มีผู้เล่นในทีมที่อายุไม่ถึง 20 มากกว่า 1 คน
แต่ “พลังหนุ่ม” มันก็ไม่ใช่สิ่งที่ไม่ดีนิ ทีมชาติจีนส่งชุดที่เด็กที่สุดมาก็จริง แต่ก็เชื่อได้ว่า เป็นทีมที่อยู่ในกลุ่มตัวเต็งอย่างไม่ต้องสงสัย
“พลังหนุ่ม” มันไม่ใช่ปัญหาเท่าไหร่หรอก หากแต่เพียงว่า ปัญหามันอยู่ที่ ระดับของ “ประสบการณ์” มากกว่า ที่เรียกได้ว่า ทีมชาติไทยอาจจะเสียเปรียบ
ปล. ที่กล่าวถึงต่อไปนี้ ว่าด้วยรายการแข่งขันที่รับรองโดย FIBA เท่านั้น
จากผู้เล่นทั้ง 12 คนนี้ ก็จะมีเพียง วุฒิพงษ์ กับ สุขเดฟ สองคนที่มีประสบการณ์ในระดับเอเชีย จากรายการ FIBA Asia Cup 2013
ณัฐกานต์ ธีรวัฒน์ และ ณกรณ์ ต่างก็ถือว่ามีบทบาทกับรายการแข่งทีมชาติที่ผ่านมาเร็วๆ นี้บ้าง แต่ก็คนละ รายการเท่านั้น
นอกจากนั้น ในทีมนี้ ก็จะมี หน้าใหม่ไฟแรง (กันตพงษ์, โสฬส, พีรณัฐ, และ อนุชา) คนที่ติดทีมชาติแล้ว แต่ ได้ลงเล่นไม่คงที่เท่าไหร่นัก (จิตรภณ, ปฏิภาณ) หรือ คนที่เล่นมาแค่ในระดับ เยาวชน (ชนาธิป)
ต้องบอกตรงๆ ว่า ระดับของประสบการณ์ ค่อนข้างน่าเป็นห่วง
แต่…ถ้าเอาตามความเห็นของผมนะ การที่ส่งทีมที่ไม่ค่อยมีประสบการณ์ออกไปแข่ง มันเพื่อให้มีประสบการณ์ไม่ใช่เรอะ!?! ส่วนตัว ผมชอบแนวทางการทำทีมชาติในจุดเริ่มต้นแบบนี้นะ ตอนนี้ ทีมชุดนี้ ยัง ไม่มีประสบการณ์มากก็จริง แต่ถ้าเราไม่ส่งพวกเขาออกไปลองของ ของก็จะไม่มีให้ปล่อยซักที
แล้วไอ้รายการ FIBA Asia Challenge เนี่ย มันรับประกันว่าแต่ละทีมได้เล่นอย่างน้อยๆ 5 เกมแน่ๆ
ในส่วนของทีมชาติไทย คือ ได้เจอกับ เกาหลี ญี่ปุ่น อิหร่าน อิรัก และ กาตาร์ ชัวร์ และถ้าเข้ารอบ ก็จะได้เล่นอีกในการจัดกันดับ
ไม่แน่ ทีมชาติไทยอาจจะแพ้ยับเยินทุกเกมก็ได้ หรือ อาจจะพลิกเอาชนะใครได้บ้าง ใครจะรู้ แต่ที่รู้คือ ทุกเกมจะเป็นประสบการณ์ที่ล้ำค่า สำหรับทุกๆ คนแน่นอน
ก็ได้แต่หวังว่า ทีมชาติชุดนี้ คือ แผนการระยะยาวของทีมจริงๆ และ จากการแข่งขันครั้งนี้ เราจะได้ แกนหลักของทีมชาติไทยในอนาคตที่ยั่งยืน
กระแสตอบรับ Social Media #2: “คนที่หายไป”
มันเป็นเรื่องปกติธรรมชาติ ที่แฟนๆ จะรู้สึกว่า มีผู้เล่นคนนี้ หรือ คนนั้น ทีสมควรจะติดทีมชาติ แต่ดันไม่ติด
ด้วยความที่ทีมชาติชุดหนึ่งมีเก้าอี้เพียง 12 ที่เท่านั้น…มันก็ต้องมีคนไม่ได้นั่งบ้างแหละ
มาเริ่มจากเสียงที่ดังกระหึ่มที่สุด คือ เรื่องของ “บาส” กานต์ณัฐ และ “เป้” ชิดชัย อนันติ
จริงๆ แล้ว คำถามพวกนี้ คงจะไม่เกิดขึ้น หากได้อ่านบทความเรื่องรายชื่อ 24 คนเพื่อคัดทีมชาติไทย ที่ผมเคยเขียนไว้แล้ว (อ่านได้ ที่นี่ นะจ๊ะ) เพราะว่า ถ้าได้อ่านแล้ว จะรู้ว่า ทาง “บาส” กานต์ณัฐ ขอถอนตัวด้วยเหตุผลส่วนตัว (เท่าที่ได้ยินมาเป็นเรื่องการเรียน) ส่วนทาง “เป้” ชิดชัย ของถอนตัวอยู่กับแฟน ที่ใกล้ครบกำหนดคลอดทับซ้อนกับช่วงเวลาแข่งขัน
เอาละ รู้ว่าเสียดาย ที่ทีมชาติไทยไม่สามารถเรียกตัวผู้เล่นที่เรียกได้ว่าดีที่สุดในประเทศ ณ เวลานี้ สองคน มาเล่นได้…แต่ก็ต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา พวกเขาถูกเรียกตัวไปแล้ว แต่ก็ได้ปฏิเสธไปตั้งแต่เนิ่นๆ เราควรจะทำใจได้แล้วว่า พวกเขาจะไม่ได้เล่นในทีมชาติชุดนี้
ฉันหยุดคิดแล้ว และเธอหยุดคิดได้ไหม…
อีกชื่อที่โผล่มา คือ “เจ๋ง” ธวัชชัย สุขทับ ซึ่งจะแตกต่างจาก ชิดชัย กับ กานต์ณัฐ หน่อย เพราะว่า ธวัชชัย มีชื่อติดรายชื่อ 24 คนมาตั้งแต่แรก
ที่ผ่านมา เขาถือว่าเป็นเกือบจะติดทีมชาติแบบฉิวเฉียดมาตลอด แถมผลงานที่โดดเด่นในช่วง TBL ก็เลยทำให้ความคาดหวังที่เขาจะติดทีทชาติสุดนี้มีดีขึ้นมา
จริงแล้ว ก็คงเป็นเรื่องที่น่าประทับใจและน่ายินดี หากว่า เขาติดทีมชาติชุดนี้จริงๆ…แต่พอประกาศชื่อแล้วไม่มีชื่อ ธวัชชัย ผมก็ไม่ได้รู้สึก “แปลกประหวาดใจ” ขนาดนั้น
ทีมชาติชุดนี้ เป็นทีมชาติที่มีปีกก้านยาวหลายๆ คน…ซึ่งคงจะทำให้ ธวัชชัย แปลกตาไปบ้าง
ถ้าในการแข่งขันระดับ SEABA ผมว่า ก็อาจจะพอลุ้นเป็นคนที่ทำผลงานที่ดีได้อย่างแน่นอน แต่พอออกมาในระดับเอเชียแล้ว มันอาจจะทำให้เขาติดอยู่ในตำแหน่งแปลกๆ ที่ตัวไม่ใหญ่พอจะโพสต์ข้างใน แต่ ก็ไม่เร็วพอที่เล่นที่ตำแหน่งปีก
อย่างไรก็ตาม สายข่าวจาก ค่ายเก็บตัวทีมชาติไทย บอกว่า ธวัชชัย เองก็ขอถอนตัวจากการพิจารณารายชื่อสุดท้าย ด้วย “เหตุผลส่วนตัว” ซึ่งพ้องตรงกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับ “พีท” บัณฑิต หลักหาญ ที่ถอนตัวเพราะเหตุผลส่วนตัวเช่นเดียวกัน
จากผู้เล่น 4 คนข้างบน เหตุผลที่เขาไม่ติดทีม หรือ ถอนตัวออกจากทีม ก็แลดูเข้าใจได้ และไม่แปลกใจเท่าไหร่
กระแสตอบรับ Social Media #3: “ตัวโควต้า”
ประเด็นนี้ ก็ได้รับความสนใจจากแฟนบาสมาไม่น้อยเช่นเดียวกัน ทั้ง เฟรดดี้ ลิช และ โมเสส มอร์แกน ต่างก็มีชื่ออยู่ในรายชื่อผู้เล่น 24 คนเพื่อคัดทีมชาติไทย แฟนบาสหลายๆ คน (รวมถึงตัวผมเอง) ก็มองเห็นว่า มีโอกาสสูงที่จะได้เห็นคนใดคนหนึ่งได้ใส่ชุดทีมชาติเสียที
ยิ่งเมื่อทราบว่า ทั้ง ชิดชัย และ กานต์ณัฐ ขอถอนตัวออกจากรายชื่อแล้ว ยิ่งทำให้รู้สึกว่า สองคนนี้ ต้องติดแน่นอน ไม่คนใดก็คนหนึ่ง
แต่กลายเป็นว่า พอรายชื่อ 12 ผู้เล่นทีมชาติไทย ออกมา แต่ไม่มีชื่อสองคนนี้ แฟนบาสหลายๆ คนเลยอดไม่ได้ที่จะต้องสงสัย
ก่อนที่เราจะไปต่อ ผมรู้สึกว่า ยังมีแฟนบาสอีกกลุ่มใหญ่ๆ ที่ยังไม่เข้าใจเรื่องเงื่อนไขของผู้เล่น “ลูกครึ่ง” เหล่านี้ อย่างเต็มที่เท่าไหร่นัก เพราะฉะนั้น ขอใช้พื้นที่ตรงนี้ส่วนหนึ่งในการไขความข้องใจ
สำหรับการลงเล่นในนามทีมชาติ ให้กับชาติชาติหนึ่งนั้น จำเป็นจะต้องเป็นคนสัญชาติประเทศนั้นๆ เรื่องนี้ คงเข้าใจได้ไม่ยากว่าทำไม การที่จะมีสัญชาติไทยได้ ถ้าไม่ได้เกิดที่ไทย ก็สามารถที่จะมีสัญชาติได้ผ่านสายเลือด จากทางบิดา หรือ มารดา (ในที่นี้ จะขอไม่กล่าวถึงการได้สัญชาติจากการแต่งงาน หรือ การอาศัยอยู่ในประเทศเป็นเวลานาน เนื่องจากเป็นสถานการณ์ที่เป็นไปได้ยาก)
สำหรับ ไทเลอร์ แลมป์, เฟรดดี้ ลิช, และ โมเสส มอร์แกน ที่ต่างก็มีสัญชาติไทย จากทางมารดา (ที่มีสัญชาติไทย) พวกเขาน่าจะเล่นให้กับทีมชาติไทยได้ ไม่น่าจะมีปัญหาใช่ไหม?
คำตอบคือ ใช่ แต่มีเงื่อนไขพิเศษข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นกฏโง่ๆของทาง FIBA ที่กล่าวว่า ทีมชาติทีมใดๆ สามารถที่จะส่งรายชื่อผู้เล่น 1 คนเข้าร่วมรายการแข่งขัน ที่ได้รับสัญชาติประเทศนั้นๆ หลังจากที่อายุครบ 16 ปี จากกฏข้อนี้ มีหลายๆ ประเทศที่อาศัยการ “โอนสัญชาติ” ให้กับนักบาสมืออาชีพที่ไม่ได้มีสัญชาติโดยตรง (เช่น อรเดร แบลทช์, มาร์คัส เดาธิต, อิรา บราวน์, ควินซี่ เดวิส, ฯลฯ) เพราะ เหตุนี้ กฏข้อนี้ ถึงมักถูกเรียกสั้นๆ ว่า “กฏตัวโอนสัญชาติ” ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการเข้าใจผิด
สำหรับสามประสาน แลมป์/ลิช/มอร์แกน สามคนนี้ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการ “โอนสัญชาติ” จากทางรัฐบาลไทย ทั้งนี้ เพราะเขามี “สิทธิ” ในการมีสัญชาติไทยแต่กำเนิดจากทางมารดา เพียงแค่ว่า ทั้งสามคน ได้รับสัญชาติโดยถูกต้องตามกฏหมาย (ด้วยการได้รับหนังสือเดินทาง) หลังจากที่อายุ 16 ปีไปแล้ว เพราะฉะนั้น จากกฏของทาง FIBA ข้างต้น ทีมชาติไทย จะสามารถส่งรายชื่อจากสามคนนี้ ได้เพียง 1 คนต่อการแข่งขันหนึ่งครั้งเท่านั้น
สำหรับลูกครึ่งคนอื่นๆ อย่าง วุฒิพงษ์ฺ ดาโสม หรือ จัสติน แบสซี่ หรือ เบนจามิน ค็อกส์ นั้น ได้รับพาสพอร์ตก่อนอายุ 16 ปี จึงสามารถเล่นในนามทีมชาติไทยได้อย่างไม่มีปัญหา เช่นเดียวกัน ลูกครึ่งอีกกลุ่มอย่าง สุขเดฟ โคเคอร์ และ กันตพงษ์ คอร์ซ่าห์-ดิค ต่างก็เกิดในประเทศไทย เพราะฉะนั้น จึงได้สัญชาติไทยไปอย่างง่ายดายและรวดเร็ว
เอาละ เรากลับไปคุยกันต่อเรื่องเดิมดีกว่า
ถ้าเราเข้ามใจกันทุกคนแล้ว กลับมาคุยเรื่องทีมชาติไทยชุดนี้กันต่อดีกว่า
ไม่มี เฟรดดี้ ไม่มี โมเสส
มีการตอบรับใน Social Media ที่หนึ่ง ที่ให้ข้อมูลว่า เฟรดดี้ กับ โมเสส ไม่ติดทีมชาติชุดนี้เพราะว่า “เขาไม่มาซ้อมครับ” ซ่งก็เลยทำให้มีอีกคนมาต่อว่า “พวกต่างชาติเอาแต่เงินอย่างเดียว เล่นฟรีๆ เค้าไม่เล่นหรอก เค้าคิดว่า เค้าเป็นอเมริกัน”
มีการรายงานอีกว่า ช่วงที่ทีมชาติซ้อมนั้น ทาง เฟรดดี้ ยังมีการไปลงทีมแข่งกับทีมชาติดด้วยซ้ำ แต่อยู่ ทีมตรงข้าม รวมทีมกับตัวต่างชาติใน TBL อย่าง แมกนัม โรลล์, แพตทริก คาบาฮุก, และ คนอื่นๆ
จากการรายงานบอกกล่าววงในทีมชาติ สถานการณ์ที่ 3 ลูกครึ่งไม่ติดทีมชาติคือ:
- ไทเลอร์ แลมป์ ขอถอนตัวจากการพิจารณา 24 คน ด้วย “เหตุผลส่วนตัว”
- เฟรดดี้ ลิช ขอถอนตัวจากการพิจารณา 12 คน ด้วย “เหตุผลส่วนตัว”
- โมเสส มอร์แกน ขอถอนตัวจากการพิจารณา 12 คน เพื่ออยู่กับครอบครัวที่อเมริกาในช่วงนี้ที่ทางคุณปู่เพิ่งเสียไปไม่นาน
สิ่งหนึ่งที่ผมย้ำมาตลอดตั้งแต่ที่เขียนบทความเกี่ยวกับ ลูกครึ่งแบบทบาทของพวกเขาสำหรับอนาคตของวงการบาสไทย เมื่อประมาณหนึ่งปีที่แล้ว นั่นก็คือ พวกเขาไม่ใช่ “คำตอบสุดท้าย” ของการพัฒนาบาสอย่างยั่งยืน ทีมชาติจะไม่สามารถที่จะพึ่งเพียงความสามารถของลูกครึ่งเหล่านี้ ตัวทีมชาติเองจะต้องมีระบบการพัฒนาทรัพยากรนักกีฬาอย่างมั่นคง และ เข้มแข็งด้วยตัวเอง ถึงจะอยู่รอดได้
ผมไม่ได้เสียใจร้องไห้ฟูมฟาย ที่ แลมป์/ลิช/มอร์แกน ไม่ติดทีมชาติชุดนี้ ถึงแม้ว่า คงจะเป็นเรื่องที่น่าสนใจและน่าสนุก และระดับความสามารถของทีมคงจะสูงขึ้น หากได้เห็นมันเกิดขึ้นซักครั้ง
แต่ก็ไม่ใช่ว่า พอไม่ติดแล้ว ทุกอย่างจะจบสิ้นหมดความหวัง ผมว่าผมทำใจได้
แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากกว่า คือ สถานกาารณ์ตรงนี้ มันถูกจัดการอย่างไรบ้าง
ตั้งแต่แข่ง SEABA Stankovic Cup จบลงไป ทีมชาติไทยมีเวลาถึง 3 เดือนเต็มๆ ในการจัดการเริ่มพิจารณารายชื่อผู้เล่นอย่างคร่าวๆ ทั้งสาม แลมป์/ลิช/มอร์แกน ต่างก็เล่นอยู่ใน TBL ในประเทศไทย
ทีมชาติไทย มีโอกาสที่จะเลือกคนใดคนหนึ่งในสามคนนี้มาติดทีมชาติได้ แต่ท้ายสุดแล้ว กลับไม่มีเลยแม้แต่คนเดียว
บางที ก็คงเป็นเรื่องของจังหวะเวลาที่ไม่ดี บางที อาจจะมีความเ้ป็นห่วงเรื่องความเข้ากันได้ภายในทีม
หรือบางที มันอาจจะแค่เป็นอะไรที่ ไม่มีโชคชะตา ที่จะเกิดขึ้นได้
ถ้ามองในมุมความรู้สึกส่วนตัว ผมแค่มีความรู้สึกผิดหวัง ที่รายการแข่งขันบาสเกตบอลสองรายการใหญ่ๆ ได้ผ่านไป (ทั้ง SEABA Stankovic Cup และ FIBA Asia Challenge) แต่ทางทีมชาติไทย ยังไม่สามารถที่จะเจาะเข้าไปใช้ประโยชน์จากกลุ่มผู้เล่นที่อยู่ต่อหน้ากลุ่มนี้ได้
ใช่! ลูกครึ่งไทยกลุ่มนี้ ไม่ใช่ “คำตอบสุดท้าย” แต่ผมเชื่อว่า พวกเขาน่าจะช่วยเหลือให้ทีมชาติไทยเข้าสู่เป้าหมานยสุดท้ายได้รวดเร็วมากขึ้น
แต่เอาละ ท้ายสุดแล้ว พวกเขาก็ไม่มีรายชื่อใน 12 คนสุดท้ายนี้ และผมว่า ผมใช้พื้นที่สำหรับประเด็นนี้มากพอแล้ว
ไม่มีประโยชน์ที่จะมาคุยเรื่องเปลี่ยนแปลงอะไรได้ไปมากกว่า เรามาดูประเด็นต่อไปดีกว่า
กระแสตอบรับ Social Media #4: “การ์ดจ่าย”
ผมขอพูดเลยว่า ทีมชาติไทยชุดนี้ น่าจะมีปัญหาตรงตำแหน่งการ์ดจ่าย
ถ้าคิดว่า ประเด็นนี้ คุ้นๆ เหมือนเคยถูกกล่าวถึงมาแล้ว ก็คิดถูกแหละ ปัญหาเรื่องการ์ดจ่ายนั้นมีมาตั้งแต่ SEABA Stankovic Cup และพูดตรงๆ ว่า น่าจะยังเป็นเรื่องที่ต้องเป็นห่วงในรายการ FIBA Asia Challenge
ณัฐกานต์เป็นการ์ดจ่ายแท้ๆ ที่เก่งมากก็จริง อาจจะเก่งที่สุดในประเทศไทยแล้วแหละ แต่ผมมองว่า หากไปชนกับการ์ดของ เกาหลี และ ญี่ปุ่น คงเป็นงานหนักที่จะทำให้เหนื่อยกว่าการเล่นระดับปกติแน่นอน
พอถึงช่วงที่ต้องเปลี่ยนตัว โค้ชทิม จะมีตัวเลือกเป็น โสฬส หรือ กันตพงษ์ สองการ์ดที่ถือว่ามีศักยภาพทางร่างกายที่ค่อนข้างดี แต่อาจจะยังเด็ก และ ประสบการณ์ยังน้อยอยู่
ก็เป็นอีกครั้งที่น่าติดตามว่า ทีมชาติไทยจะมีการปรับรูปแบบเพื่ออุดรูตรงนี้อย่างไรบ้าง
กระแสตอบรับ Social Media #5: “ปริศนา”
กันตพงษ์ คอร์ซ่าห์-ดิค หรือ “โทนี่” กลายเป็นที่ฮือฮา อย่างเงียบๆ สำหรับวงการบาสไทย (…มันยังไงวะ ไอ้ฮือฮาแบบเงียบๆ เนี่ย) จริงๆ ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ ว่าทำไมผู้คนถึงหันมาเทความสนใจที่น้องสุดท้องในทีมนี้
การที่ไม่มีสามลูกครึ่งที่เล่นใน TBL เสริมกับ ฟอร์มที่ร้อนแรงของ จัสติน แบสซี่ ในการแข่งขัน FIBA Asia U18 มา ผมคิดว่าแฟนบาสหลายๆ คนก็แอบหวังลึกๆ ว่าจะมีใครเข้ามาแทนที่ในมุมมองของความแพรวพราวหวือหวา พอผู้คนเริ่มเห็นชื่อจากการ Google แล้วไปเจอ ไฮไลต์การยัดห่วงของ โทนี่ กระแสก็ยิ่งแรงขึ้นเรื่อยๆ
ตัวผมก็หวังนะ ว่า โทนี่จะเล่นได้ดีสมกับกระแสที่คาดหวังกับเขาจริงๆ แต่ตัวผมเองก็อยากจะเตือนทุกคน ให้ลดระดับความคาดหวังลงมาซักหน่อยหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม โทนี่ ก็ยังเป็นหนุ่มอายุเพียง 18 ปีที่ไม่เคยมีประสบการณ์การเล่นบาสเกตบอลอาชีพ หรือ ระดับชาติ ที่กำลังจะต้องเข้าไปต่อกรกับนักบาสอาชีพ/ทีมชาติ โดยเล่นตำแหน่งที่เรียกได้ว่า เล่นยากที่สุดในบรรดาทุกตำแหน่งเป็นส่วนใหญ่
ผมเองตอนนี้ ก็ยังมองไม่ออก ว่าผลจะออกมาอย่างไร
หลายๆ คนจากวงในของทีมชาติก็บอกว่า เขาเล่นได้ดีมาก และมีการข้ามเข้าไปดั๊งใส่หน้าทีมตรงข้ามเวลาซ้อมอยู่เสมอ
อย่างที่บอก ผมเองก็หวังว่า เขาจะประสบความสำเร็จและกลายเป็นชิ้นส่วนที่สำคัญของวงการบาสไทยในอนาคต
แต่ ณ จุดๆ นี้ จนกว่าเขาจะได้ลงเล่นจริงๆ ผมว่าเราต้องชะลอเรื่องความคาดหวังสำหรับเด็กคนนี้ไว้หน่อย
กระแสตอบรับ (จากตัวผมเองนี่แหละ!!)
ถ้าใครที่ได้อย่างบทความว่าด้วยรายชื่อผู้เล่นทีมชาติไทย 12 คนในมุมมองของตัวผมเอง คิดว่าท่านผู้อ่านที่น่ารักน่าจะพอเห็นภาพว่า ผมมีความคิดยังไงกับทีมชาติชุดนี้บ้าง (และสำหรับท่านผู้อ่านคนไหนที่ยังไม่ได้อ่าน ก็เข้าไปติดตามอ่านได้ที่นี่เลยนะครับ)
จากรายชื่อ 12 ผู้เล่นที่ผมคาดการณ์ไว้ มีเพียง 3 คน (เฟรดดี้, ดรงค์พันธุ์, และ ไพรัช) ที่ไม่ติดรายชื่อจริง พวกเขาสามคนยังเป็น สามผู้เล่นที่อายุมากที่สุดในรายชื่อคาดการณ์ของผมอีกด้วย
ในรายชื่อทีมชาติจริงๆ นั้น 3 ตำแหน่งนี้กลายเป็น ของ “ชอปเปอร์” จิตรภณ โตเวโรจน์, “โส” โสฬส สุนทรศิริ, และ “บิ๊ก” ธีรวัฒน์ จันทะจร
ความรู้สึกของผมตอนที่เห็นรายชื่อตอนแรกก็เหมือนๆ กับหลายๆ คน ที่สงสัยว่า ทำไมทีมชาติชุดนี้ไม่มีรายชื่อพวกตัวลูกครึ่ง หรือ ทำไมทีมชาติชุดนี้อายุน้อยจัง
โดยส่วนตัว ผมยังยึดมั่นในความคิดว่า หากมีผู้เล่นเก๋าๆ อีกซัก 1-2 คน และได้ เฟรดดี้ หรือ โมเสส มาซักคนหนึ่ง น่าจะได้ทีมที่ดีกว่านี้
แต่ในทางเดียวกัน ผมก็เข้าใจและน้อมรับ “แนวทาง” ที่ทีมชาติไทย กำลังเดินไปอยู่ ที่มองเห็นได้จากการเลือกตัวในครั้งนี้
บางที ทีมชาติชุดนี้ อาจจะเป็นแกนหลักของทีมชาติชุดต่อๆ ไปในอนาคต
ลองนึกภาพตามดูว่า ในอีก 4 ปี ผู้เล่นทีมชาติชุดนี้ทุกคน จะไม่มีใครอายุมากกว่า 30 และอย่างเด็กที่สุดก็อายุ 22 ปี ถ้าหากว่าพวกเขาทุกคนสามารถเกาะอยู่ร่วมกันได้ และพัฒนาไปอย่างต่อเนื่องในอัตราที่ดี ผมว่า ทีมชาติไทยอาจจะสามารถเรียกชุดนี้ว่าเป็นชุด “ยุคทอง” ก็เป็นไปได้ ยิ่งถ้าได้รวมเอาสตาร์ U18 อย่าง จัสติน แบสซี่ มารวมกลุ่มอีก เราอาจจะได้เห็นทีมชาติไทยที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์ก็เป็นไปได้
นั่นอาจจะเป็นสิ่งที่ผมต้องคอยบอกตัวเอง เวลาดูทีมชาติไทยตะลุยรายการ FIBA Asia Challenge ครั้งนี้
สรุปสุดท้าย
เอาละ มาสรุปรายละเอียดทั้งหมดอีกครั้งของรายการแข่งขัน FIBA Asia Challenge 2016 ดีกว่า:
ทีมชาติไทยจะแข่งขันใน FIBA Asia Challenge ที่จัดที่เมือง เตห์ราน ประเทศ อิหร่าน ช่วงวันที่ 9-18 กันยายน
ในการแข่งขันจะมีทั้งหมด 12 ทีม ที่จะแข่งกันเพื่อแย่งชิง 5 อันดับสูงสุด ซึ่งทีม 5 อันดับสูงสุดนั้น จะทำให้โซนย่อยที่ตัวเองเข้าร่วม ได้รับโควต้าสำหรับการเข้าร่วม FIBA Asia Cup 2017 เพิ่มขึ้นอีก 1 ตำแหน่ง
ในการแข่งขันรอบแรก ทีมชาติไทยจะอยู่ในกลุ่ม D กลุ่มเดียวกันกับ ทีมชาติญี่ปุ่น และ ทีมชาติเกาหลี ซึ่งจะแข่งตามตารางดังต่อไปนี้:
วันเสาร์ที่ 10 กันยายน เจอประเทศ เกาหลีใต้ เวลา 16.30 น. (เวลาไทย)
วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน เจอประเทศ ญี่ปุ่น เวลา 16.30 น. (เวลาไทย)
โดยการแข่งขันทั้งสองนัดจะมีการถ่ายทอดสดที่ช่อง Mono 29
ในการแข่งขันรอบที่สอง ทีมในกลุ่มดี จะรวมกับทีมในกลุ่ม C (อิรัก, อิรห่าน, กาตาร์) กลายเป็นกลุ่ม F และ ทีมชาติไทยก็จะต้องแข่งกับทีมในกลุ่มที่ยังไม่เคยเจอกันอีก ทีมละ 1 ครั้ง
ตารางการแข่งขันรอบสองก็จะขึ้นอยู่กับอันดับการแข่งขันในรอบแรก:
ถ้าทีมชาติไทยเป็นอันดับ 1 ในกลุ่ม D:
วันจันทร์ที่ 12 กันยายน เจอกับ อันดับ 3 กลุ่ม C เวลา 22.30 น. (เวลาไทย)
วันอังคารที่ 13 กันยายน เจอกับ อันดับ 2 กลุ่ม C เวลา 20.30 น. (เวลาไทย)
วันพุธที่ 14 กันยายน เจอกับ อันดับ 1 กลุ่ม C เวลา 18.30 น. (เวลาไทย)
ถ้าทีมชาติไทยเป็นอันดับ 2 ในกลุ่ม D:
วันจันทร์ที่ 12 กันยายน เจอกับ อันดับ 2 กลุ่ม C เวลา 20.30 น. (เวลาไทย)
วันอังคารที่ 13 กันยายน เจอกับ อันดับ 1 กลุ่ม C เวลา 18.30 น. (เวลาไทย)
วันพุธที่ 14 กันยายน เจอกับ อันดับ 3 กลุ่ม C เวลา 22.30 น. (เวลาไทย)
ถ้าทีมชาติไทยเป็นอันดับ 3 ในกลุ่ม D:
วันจันทร์ที่ 12 กันยายน เจอกับ อันดับ 1 กลุ่ม C เวลา 18.30 น. (เวลาไทย)
วันอังคารที่ 13 กันยายน เจอกับ อันดับ 3 กลุ่ม C เวลา 22.30 น. (เวลาไทย)
วันพุธที่ 14 กันยายน เจอกับ อันดับ 2 กลุ่ม C เวลา 20.30 น. (เวลาไทย)
ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไร ทีมชาติไทยจะได้แข่งขันอย่างน้อย ทั้งหมด 5 เกมกับ ญี่ปุ่น เกาหลี อิหร่าน อิรัก และ กาตาร์
ถ้าทีมชาติไทยมีอันดับ 1-4 ในกลุ่ม F ก็จะได้แข่งขันอีก 3 ครั้งสำหรับการแข่งขัน เพลย์ออฟ แล้วการจัดอันดับ ซึ่งถ้าทีมชาติไทยเข้าถึงรอบนั้นจริงๆ ก็จะสรุปตารางอีกครั้ง
รายชื่อผู้เล่นทีมชาติไทยชุด FIBA Asia Challenge มี
หัวหน้าผู้ฝึกสอน: ทิม ลูอิส
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน: ปิยพงษ์ พิรุณ
โสฬส สุนทรศิริ (PG)
จิตรภณ โตเวโรจน์ (SG)
ณกรณ์ ใจสนุก (SG/SF)
อนุชา ลังสุ่ย (SF/PF)
สุจเดฟ โคเคอร์ (PF/C)
กันตพงษ์ คอร์ซ่าห์-ดิค (PG/SG)
ณัฐกานต์ เมืองบุญ (PG)
ชนาธิป จักรวาฬ (PF/C)
ปฏิภาณ กล้าหาญ (SF/PF)
พีรณัฐ เสมมีสุข (PF)
ธีรวัฒน์ จันทจร (PF/C)
วุฒิพงษ์ ดาโสม (SF)
และทั้งหมดนี้ น่าจะเป็นข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นที่ต้องทราบเกี่ยวกับทีมชาติไทยชุดนี้
กระแสตอบรับ Social Media #6: “กำลังใจ”
นี่คือส่วนที่สำคัญที่สุด
สิ่งที่สำคัญ ไม่ใช่ว่าใครติดทีมชาติชุดนี้
สิ่งที่สำคัญ ไม่ใช่ว่าใคร ไม่ติด ทีมชาติชุดนี้
สิ่งที่สำคัญ ไม่ใช่ว่าจะต้องเจอทีมไหนบ้าง
สิ่งที่สำคัญ ไม่ใช่ว่าตอนนี้เราเก่งขนาดไหน หรือ เราจะเก่งขนาดไหนในอนาคต
สิ่งที่สำคัญ ไม่ใช่ว่าคำถามและข้อสงสัยจากแฟนๆ
สิ่งที่สำคัญ ไม่ใช่ความเห็นของบล็อกเกอร์อ้วนๆ ที่พิมพ์หน้าคอมพิวเตอร์คนหนึ่ง
สิ่งที่สำคัญคือ ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม นี่คือ “ทีมชาติไทย”
จะดีหรือจะร้าย ไม่ว่าจะมีการตัดสินใจอะไรที่น่าสงสัย หรือ ไม่สามารถเข้าใจได้ นี่คือตัวแทนของประเทศไทยในสนามบาสเกตบอลระดับนานาชาติ
ท้ายที่สุดแล้ว แฟนบาสชาวไทยก็จะส่งเสียงเชียร์ทีมชาติไทยอยู่ดี ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามที่ใส่ชุดแข่งทีมชาติไทยลงสนาม
เพราะถ้าไม่เชียร์พวกเขาแล้ว จะเชียร์ใครละ?
ปล. คำถามสุดท้ายอย่างจริงๆ จังๆ จากทางบ้าน
“ผมสงสัยว่ะแอดมิน ทีมชาติไทยมีชื่อเล่นอะไรเท่ๆ แบบ กีลาส (ฟิลิปปินส์) หรือ เลอ เบลอส์ (ฝรั่งเศส) บ้างปะ?”
แล้วท่านผู้อ่านคิดว่ายังไงกันบ้างละ ทีมชาติไทย ควรจะมีชื่อเล่นอะไรเรียกให้ติดปากรึเปล่า?
ลองคอมเมนต์ชื่อที่คิดว่าน่าสนใจได้ที่นี่ หรือ ที่เพจ Facebook หรือจะ tweet มาได้ใน Twitter (@tk_thaibball)
One thought on “FIBA Asia Challenge Preview: Thailand”