Thailand’s (Predicted) Final 12 roster for FIBA Asia Challenge 2016

We’re closing in on the start of the FIBA Asia Challenge with less than 20 days left. Participating teams are going to be sending their Final 12-player roster soon. Let’s check out who I would like to see representing Thailand in this tournament!

[อ่านภาษาไทย คลิกที่นี่เลยครับ]

About a week ago, I wrote a brief (really?) summary about the FIBA Asia Challenge 2016 and, more importantly, who was on the 24-player pool for Thailand. You can read that here to get up to speed.

However, we’re approaching another deadline as FIBA requires participating countries to send in their Final 12-player roster within 25 August. I decided that I take a jab and put my opinion in about who I personally expected to be in the Final 12 roster for the Thailand National Team.

DISCLAIMER NOTE: I enjoyed doing this and I love sharing my opinions on the basketball scene here. But once again, these are my own personal opinions. I am not a certified basketball expert in any terms. I am just someone who loves basketball. So if in any way you disagree with my opinions, do feel free to share your own opinions as well because all I want is to start an ongoing conversation about the basketball community in their respective regions.


Before I go to the actual list, I’d like explain what kind of hypothetical team I’m building here:

The first step is to set the bar for my expectations. This is an Asian continental tournament. We’re no longer in the SEABA region where it is realistic to expect a second place finish and a possibility at upsetting the regional powerhouse is comprehensible. In the FIBA Asia Challenge, we’re going up against Asian powerhouses like South Korea and Iran and maybe even a global powerhouse like China.

Just to put things in perspective:

As of October 2015, Thailand is globally ranked 81st in the FIBA Senior Men’s ranking. That’s 22nd in Asia. Of all the teams in FIBA Asia Challenge, only Iraq is ranked lower. Of the top 11 teams in Asia, the only team that didn’t qualify for FIBA Asia Challenge is Lebanon (6th). Thailand is literally at the bottom of the rankings from my computer screen.

Screenshot (1)

I’m not saying Thailand doesn’t have a chance, but expecting a Championship in this tournament isn’t really realistic. I must have some expectation for this team however and it’s pretty easy to set one with the conditions of the tournament set. Go in, get at least 5th to earn SEABA an extra slot.

Now with that standard set, what kind of team would I need to achieve that goal?

To get achieve at least 5th place, Thailand will have to finish top 4 in their respective group in the second round. While we won’t actually know until the games start, to wiggle into that Top 4, Thailand would probably have to beat either South Korea or Japan (ideally both) in the first round and one of the other 3 teams when groups merge. It’s hard to plan for that victory in the second round, but at least Thailand can set their target on beating either South Korean/Japan.

japsokea
Photo Credit: CTBA (right), PhilStar (left)

Thailand is quite lucky however, since both teams play a similar type of game. Korea is significantly superior, but both East Asian teams play a shooting oriented, disciplined game. I’m not going to go into much detail about both teams…since I have researched enough yet, but I just needed to have their projected style of play in mind.

The last consideration factor is that this isn’t a tournament that Thailand has to go “all in”. Of course you have to compete to win, but the bigger picture here is to build up chemistry and experience for core group of players that will be playing for the Thailand NT in the near future. I have to consider youth and potential as well.

So…with all of those things considered, the expectations and the competition, here are my predictions for the Final 12 roster for Thailand National NT.


Thailand’s (Predicted) Final 12-Player Roster

I don’t mean to be such a tease, but before I start rattling off names, let’s run through the 24-Player Pool once again (this time with my personal projected positions):

Bandit Lakhan (PG/SG)
Nakorn Jaisanook (SG/SF)
Pairach Sekteera (SG/SF)
Jittaphon Towaroj (SG)
Darongphan Apiromwilaichai (SG)
Patipan Klahan (SF)
Attaporn Lertmalaiporn (SF)
Chanachon Klahan (PF)
Teerawat Chantachon (PF/C)
Sukhdave Ghogar (PF/C)
Nattakarn Meungboon (PG)
Danai Kongkum (PF)
Sorot Sunthornsiri (PG)
Chanathip Jakrawan (PF/C)
Frederick Lish (PG/SG)
Kittithep Dasom (PG/SG)
Guntapong Korsah-Dick (PG/SG)
Moses Morgan (SF)
Wuttipong Dasom (SF)
Suwichai Suwan (PG/SG)
Tawatchai Suktub (SF/PF)
Anucha Langsui (SF)
Peeranat Semeesuk (PF)
Ken Phusit Opamuratawong (SG)

No more fooling around. Here we go!


Thailand’s (Predicted) Final 12-Player Roster: The “Quota”

As some of you might already know already, each nation is allowed one spot on the team for any player who acquired their nationality after the age of 16. Countries like Chinese-Taipei, Philippines, or Qatar have used this rule to grant nationality to a willing professional player (Andrey Blatche, Quicy Davis, etc).

The laws of Thailand makes it hard for Thailand to just hand out nationalities out of the blue, but we do have the next best thing. Guys like Tyler Lamb, Moses Morgan, and Freddie Lish have a legit claim in being Thai with a direct bloodline heritage, but they had only secured their passports after they were 16. Therefore, even though Thailand can’t secure they as a legit Thai citizen, Thailand can still choose one of them to represent the flag. It’s a screwed up rule that needs change, but it’s here and you just have to do with what you have.

Long story short: Between Freddie Lish and Moses Morgan who are on the 24-Player Pool, Thailand can only choose one.

So the first person to make my hypothetical FIBA Asia Challege Thailand National Team roster is…

Freddie Lish (PG/SG)

Photo Credit: Kuk Onvisa Thewphaingarm
Photo Credit: Kuk Onvisa Thewphaingarm

I know some of you are wondering about Tyler Lamb since the last paragraph. Lamb’s exclusion from the 24-player pool has a good explanation which I’ll write about later. As for the choice between Lish and Morgan, it boiled down more to what Thailand needed more at the moment.

Since the SEABA Stankovic Cup, I had already mentioned that the Point Guard position was an area of concern with only Kannut Samerjai and Bandit Lakhan who had logged serious minutes in the position. When Samerjai made himself unavailable (personal reasons) for the FIBA Asia Challenge, it sort of forced my hand into selecting Lish. Guys like Meungboon/Sunthornsiri are nice, but the guards of South Korea and Japan are bullish hounding defenders. I need a guy who I can be certain to be confident enough to bring the ball up by themselves every time. Lish obviously doesn’t lack confidence.

Missing out on Morgan’s scoring and size is a huge loss but I feel like Thailand can fill in the gap in that role easier. It also helps that I knew Morgan was flying out back to the States at the time this article was being written, so…easy choice made here.

Freddie Lish will be the first ever “Naturalized Quota” player for Thailand if it was up to me.


Thailand’s (Predicted) Final 12-Player Roster: Guardians of the Paint

Size at the PF/C position has recently been a big problem for Thailand in the international ranks. In SEA Games 2015, Sukdave Ghogar struggled to handle Philippines’ Marcus Douthit and Teerawat Chantachon wasn’t polished enough to handle big minutes. In FIBA Asia U18, Thailand’s biggest player was a 6’5″ guard. Size in the pivot is just not Thailand’s strong suite.

Thailand still has to have warm big bodies to go up against the giants of Asia, so here we go:

Sukdave Ghogar (PF/C)
Peeranat Semeesuk (PF)
Chanathip Jakrawan (PF/C)

Photo Credit: Kuk Onvisa THewphaingarm (left, center), Mono Vampire Basketball Club (right)
Photo Credit: Kuk Onvisa THewphaingarm (left, center), Mono Vampire Basketball Club (right)

Ghogar hasn’t starred in any recent competitions, but I feel like he’s been getting more and more comfortable in a supporting role. It’s easy to forget that Ghogar just recently turned 26 earlier in August. He was MVP of the King’s Cup way back when he was 18 (if I’m not mistaken) and has always been an important piece of every Hitech team and National Team squad for the past 8 years. I feel that it set him up for unfair expectations. He might not be a mega-star of Thailand, but his size and agility can still be an important piece of the National Team. In this past TBL season he wasn’t an explosive scorer, but he proved to be a solid import defender who hustled on defense and moved the ball decently on offense. He embraced that role and fans (or at least myself) embraced him in that role as well, and he’s looked as impressive as ever.

He might not be a superstar, but the lack of depth in this position and Ghogar’s experience makes his one of the closest things to a lock as there is in this National Team pool.

Semeesuk and Jakrawan‘s inclusion would be both of their first in the Senior National Team and it should be the right time. I’ve heard that both were considered for the SEABA Stankovic Cup team, but Semeesuk injured his ankle in just the second day of tryouts while Jakrawan barely missed the cut.

Thailand isn’t going to be beating up other teams inside anyways, so it’s probably just better to start building towards the future and send out two very promising big men to get their feet wet. It’ll be a very inexperienced frontline but I feel like it’s time for Thailand to start building a solid foundation at this position for the future. Ghogar should be put in a leadership role already with Semeesuk and Jakrawan absorbing everything they experience in Iran like a sponge.

Photo Credit: Mono Vampire Basketball Club
Photo Credit: Mono Vampire Basketball Club

Teerawat Chantachon made both the SEA Games 2015 and SEABA Stankovic Cup 2016 roster, but I decided to leave him out here. He’s been riddled by injuries up to the point where he wasn’t even able to log a single minutes in the deciding game 3 of the TBL Finals. As much as I’d like to have Chantochon along, I’d rather have him rested and recovered than aggravating his injuries further.


Thailand’s (Predicted) Final 12-Player Roster: Ammunition

You aren’t going to succeed in FIBA competitions if you don’t have legit three-point shooters to spread the floor. That’s just the way modern basketball is played these days.

Good thing that Thailand has some proven shooters on their roster. Here are they guys that I would select:

Nakorn Jaisanook (SG/SF)
Pairach Sekteera (SG/SF)

Photo Credit: Kuk Onvisa Thewphaingarm (left), Mono Vampire Basketball Club (right)
Photo Credit: Kuk Onvisa Thewphaingarm (left), Mono Vampire Basketball Club (right)

Jaisanook was pretty much a no-brainer based on his recent National Team form, even if his performance in the TBL was a bit underwhelming. Playing for Hitech in the TBL saw his three-point percentage drop to 27.0% from 56.7% in the SEABA Stankovic Cup. I’m willing to brush aside his TBL form as a result of the system. The ball rotation at Hitech was very different from that when he played in the National Team and I feel that effected the shooting opportunities Jaisanook got.

Sekteera might not have gotten a lot of burn the last time under Coach Tim Lewis, but not many people would if they played a similar position and form as an in-form Chitchai Ananti. While Sekteera’s performance dropped in the TBL playoffs, he had a strong regular season enough to convince me by shooting 44.0% from three-point range (albeit off 2.1 attempts). In addition to his shooting, Sekteera is also solid at slashing to the basket, too.

What pushes these two players for my consideration over other shooters like Bandit Lakhan and Jittaphon Towaeroj is their length. Going up against teams with good ball rotation and shooting like South Korea and Japan, it might be crucial to have long wingspan forwards who can disrupt those shooters even ever so slightly.


Thailand’s (Predicted) Final 12-Player Roster: Pterodactyls

Photo Credit: dinosaurs.about.com
Photo Credit: dinosaurs.about.com

The keyword above is length. Nakorn Jaisanook and Sekteera are respectively quite long limbed themselves, but Thailand has even longer players to offer.

Here are two players that standout enough based on their wingspan alone. Add their versatile skill set and youth, and you have two very fun players for Thailand to build around.

Patipan Klahan (SF)
Anucha Langsui (SF)

Photo Credit: TBL (left), Hitech Basketball Club (right)
Photo Credit: TBL (left), Hitech Basketball Club (right)

Sources say that Coach Tim Lewis was quite high on Klahan from his first stint and I totally understand him. Klahan is versatile enough to play from SG to SF to PF and these sort of players give a coach more options to toy around with in their game plans both on defense and offense. On a team like Thailand that doesn’t have a legit go-to guy, it might be a good idea to have as many players that can do a lot of stuff as possible. Klahan didn’t shine like Ananti did last time under Coach Tim, but I think he did well enough for Thailand to bank on building further on his development.

Langsui is in a similar mold like Klahan. They are both very long and versatile enough to play multiple positions. The OSK forward had a nagging injury which forced him out of tryouts in the SEABA Stankovic Cup, but I can confirm that Coach Tim Lewis mentioned the youngster as one of the better players in the TBL that he had yet to see. People have raved about Langsui’s potential constantly from his Coach (Prasert Siripojanakul) to his imported team mates (Avery Scharer and Steve Thomas). I could loosely quote Scharer and Thomas saying that Langsui doesn’t even know how good he can be yet.

Count me in on the bandwagon.

Best thing about these two guys are that they are only 22. I feel that all they need is to get their teeth knocked out a bit to build up their confidence and Thailand Basketball’s future should be safe in their hands.


Thailand’s (Predicted) Final 12-Player Roster: Seasoned Slashers

Of the players mentioned above, I have Sekteera as the oldest player at 29 years old. Then it’s Lish (28), Ghogar (26), Jaisanook (25), Klahan (22), Langsui (22), Semeesuk (21), and Jakrawan (19).

That’s young.

I’m obviously trying to start a rebuilding process here to align with the possibility of adding Justin Bassey (18) in future tournaments, but you can’t take it too far. The objective on hand is still to finish in the top 5. I a couple of veterans who would know how to hit hard and be physical while also being able to lead the team.

Darongphan Apiromwilaichai (SG)
Wuttipong Dasom (SF)

Photo Credit: Mono Vampire Basketball Club (left), Kuk Onvisa Thewphaingarm (right)
Photo Credit: Mono Vampire Basketball Club (left), Kuk Onvisa Thewphaingarm (right)

Knowing how to hit hard, be physical, and be a team leader is probably what describes 31-year-old Apiromwilaichai. He’s been on so many National Teams already and also was among the vocal leaders on those teams. He’s a physical slasher and defender with a knack of getting into the head of the opposition. His efficiency numbers have dropped over the years but the team won’t need to rely on his offense too much anyways.

Wuttipong Dasom is as much of a staple of recent National Team basketball as Apiromwilaichai and his classmate, Sukdave Ghogar. His recent omission from the SEABA Stankovic Cup is similar to Anucha, having been nagged by recovering from any injury. Dasom resumed play in the TBL with quite some success which he credits his training with Mr. Jimmy Jackson as the secret to his successful rehab and improvement. Dasom has always been quite the athletic specimen but he’s seemed to add more finesse to his game.

Both of these players have the experience. Both of them are vocal. And both of them fit a need for physicality.


Thailand’s (Predicted) Final 12-Player Roster: The Floor General

Yes, I already have Freddie Lish on the roster.

That isn’t going to cut it. Lish is a wonderful scoring guard, yo-yo ball handling skills, god-given athleticism, and a nice long-range stroke. He’s can run the point, but he’s more effective as an off-guard.

That’s why Thailand needs a floor-general. Someone who can control the pace of the game and knows when and how to feed his team mates.

This is your guy.

Nattakarn Meungboon (PG)

Photo Credit: Mono Thewphaingarm
Photo Credit: Mono Thewphaingarm

Meungboon is the truest of true point guards in Thailand. Pure point guards are a dying species in modern basketball but they’re so much fun to watch in action. Meungboon took a larger scoring role in the TBL last season, but I feel like he would have more fun with the game if he was surrounded by better scoring options than he had at Mono Thewphaingarm.

I still stand by my statement that Meungboon was the most missed player from the SEABA Stankovic Cup roster.


Thailand’s (Predicted) Final 12-Player Roster: The Wildcard

Here’s the thing about forming a roster: You rarely dig deep into that 11th-12th player slot in normal game rotations. For me, that means that instead of using that roster spot on a logical pick, I’d rather use it on a wildcard type of player.

Someone who is a high-risk, high reward kind of guy. A project.

Guntapong Korsah-Dick (PG/SG)

Photo Credit: Kuk Onvisa Thewphaingarm
Photo Credit: Kuk Onvisa Thewphaingarm

Better believe it. I’m using my last roster spot on the guy that has yet to play a single minute of professional basketball in Thailand.

But let’s look at it differently. Korsah-Dick (or as I mentioned I’ll be calling KD) is such an intriguing prospect that I just couldn’t pass on. He’s young. He’s athletic. He’s been groomed by international programs that pit him up against international competition.

It’s just…something that I feel you should have to at least toy around with. A National Team roster spot probably isn’t something you give up in the sake of “toying around”, but I feel good enough about the possible outcome that I’d be willing to roll the dice.

Rumor is that Coach Tim Lewis called up KD back from the States where he is going to continue his studies to be in the 24-Player pool, so he must see a lot in the kid. I have faith in that belief and I sort of want to see how it goes down if it eventually happens.


Thailand’s (Predicted) Final 12-Player Roster: Summary

…if you were lazy to read all of the content above, you could just read here for my predictions for Thailand’s Final 12-Player roster:

Frederick Lish (PG/SG)
Nattakarn Meungboon (PG)
Guntapong Korsah-Dick (PG/SG)
Darongphan Apiromwilaichai (SG)
Nakorn Jaisanook (SG/SF)
Pairach Sekteera (SG/SF)
Patipan Klahan (SF)
Wuttipong Dasom (SF)
Anucha Langsui (SF/PF)
Peeranat Semeesuk (PF)
Sukhdave Ghogar (PF/C)
Chanathip Jakrawan (PF/C)

What do you think about my prediction for the Final-12 roster? What would your Final 12 roster look like?

Feel free to comment in the comment section in this blog or at the “Tones & Definition” Facebook page or just share this post on any social media with your ideas attached to it.


อ่านภาษาไทยต่อจากนี้เลยครับ


tumblr_lvps8a9OGV1qhhjs2o1_1280

เหลือเวลาอีกไม่ถึง 20 วันก็จะเริ่มแข่งขัน FIBA Asia Challenge แล้ว แต่ละทีมก็เริ่มจะส่งรายชื่อ 12 นักกีฬาให้กับทางการแล้ว ในบทความนี้ จะมาดูว่า ส่วนตัวแล้ว ผมอยากลองเห็นใครในทีมชุดชาติไทยนี้บ้าง

[For English, Read here]

เมื่อประมาณสัปดาห์ที่แล้ว ผมได้เขียนเกริ่นสั้นๆ (หราาาา) เกี่ยวกับรายการ FIBA Asia Challege 2016 และ รายชื่อ 24 คนที่คัดเลือกทีมชาติไทย สำหรับใครที่ยังไม่ได้อ่าน ก็อ่านได้ ที่นี่ เลยครับ

ทาง FIBA ได้กำหนดหมดเขตสำหรับการส่งรายชื่อ 12 นักกีฬาตัวแทนทีมชาติก่อนวันที่ 25 สิงหาคมนี้ เพราะฉะนั้น ผมก็เลยตัดสินใจสวมบท โค้ช/ผู้จัดการทีมชาติ ชั่วคราวแล้วทำการเลือก 12 นักกีฬาทีมชาติไทยในความคิดของผมดู

ประกาศ: ผมมีความสุข และ สนุกกับการแบ่งปันความคิดเห็นของผมกับวงการบาสไทย แต่ก็ต้องย้ำอีกครั้งว่า ตรงนี้ยังเป็นแค่ความเห็นส่วนตัวของผมอยู่ ผมไม่ได้มีวุฒิ หรือ สถาปนาตนเป็นผู้ชำนาญการทางบาสเก็ตบอล (แต่ก็คงเท่ดี ถ้าเป็น) ผมก็แค่เพียงคนรักบาสคนนึง ถ้าหากว่าไม่เห็นด้วยกับความเห็นของผมตรงไหน อยากให้มาแชร์ความเห็นให้ต่อเนื่องต่อยอดกันไปมากกว่า จะได้เกิดเป็นกะรแสกันมากขึ้น วงการบาสไทยจะได้ยิ่งเติบโต


ก่อนที่จะเริ่มประกาศรายชื่อ ผมอยากจะอธิบายตรรกะในการเลือกของผมซักหน่อย ว่าต้องการทีมออกมาในรูปแบบไหน:

ขั้นแรกก็คือการ ตั้งความคาดหวังของทีมนี้ก่อน ต้องยอมรับว่า นี่คือการแข่งระดับเอเชีย มันไม่ใช่แค่ระดับ ASEAN ที่ไทยจะสามารถตั้งเป้าหมายกับการเป็นที่สองของรายการ หรือ มีความหวังกับการคว่ำตัวเต็งอย่างฟิลิปปินส์ ได้อย่างจริงๆ จังๆ
ในรายการ FIBA Asia Challenge ทีมชาติไทยจะต้องเจอกับยักษ์ใหญ่ของเอเชีย อย่าง เกาหลีใต้ หรือ อิหร่าน หรือ แม้กระทั่งมหาอำนาจทางบาสระดับโลกอย่าง จีน

เพื่อที่จะได้เห็นภาพง่ายๆ หน่อย:

ตามการจัดอันดับของ FIBA ที่อัพเดทล่าสุดเมื่อเดือนตุลาคมปี 2015 ทีมชาติไทยอยู่อันดับที่ 81 ของโลกในประเภทบาสเกตบอลชายรุ่นใหญ่ หรือ ถ้าในระดับทวีป ก็เป็นอันดับที่ 22 ของเอเชีย
อันนี้คือทีมชาติไทย
ทีนี้ ทีมชาติอื่นๆ ที่เข้าร่วม FIBA Asia Challenge มีเพียงทีมชาติอิรักเท่านั้น ที่มีอันดับต่ำกว่าทีมชาติไทย
ในบรรดา 11 อันดับแรกของเอเชีย มีเพียงทีมชาติเลบานอน (อันดับ 6) ทีมเดียวเท่านั้น ที่ไม่ได้ร่วมแข่ง FIBA Asia Challenge ครั้งนี้

จากจอคอมที่ผมเปิดดู…ทีมชาติไทยอยู่ท้ายตารางของการจัดอันดับในเอเชียสำหรับรายการนี้จริงๆ

Screenshot (1)

นี่ไม่ใช่เพื่อบอกว่า ทีมชาติไทยไม่มีโอกาสที่จะชนะได้ แต่การที่จะคาดหวัง แชมป์ มันเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก แต่ในทางเดียวกัน ผมก็ต้องตั้งความคาดหวังกับทีมนี้ไว้บ้าง ซึ่งก็ค่อนข้างเป็นเรื่องที่ง่าย

สำหรับงานนี้ ผมขอแค่จบ 1 ใน 5 ทีมแรกของรายการ เพื่อคว้าตั๋ว FIBA Asia Cup จากโซน SEABA รอบหน้าเพิ่ม 1 ใบให้ได้

เอาละ เราได้ความคาดหวัง กับเป้าหมายละ แล้วต้องมีทีมแบบไหน ถึงจะทำตามเป้าหมายได้ละ?

เพื่อที่จะได้อันดับที่ 5 (เป็นอย่างน้อย) ไทยจะต้องจบ 4 อันดับแรกในรอบแบ่งกลุ่มรอบที่สองให้ได้ก่อน
ถึงแม้ว่า จะยังไม่รู้รายละเอียดของการแบ่งกลุ่มรอบสอง แต่การที่จะได้ 4 อันดับแรกนั้น แปลว่า ไทยคงต้องเอาชนะไม่ เกาหลีใต้ ก็ ญี่ปุ่น (…ถ้าชนะทั้งคู่ได้ก็ยิ่งดี) ในการแข่งขันรอบแรกที่อยู่ีกลุม D ด้วยกัน

japsokea
Photo Credit: CTBA (right), PhilStar (left)

ก็ถือว่าเป็นเรื่องโชคดีนิดหน่อย ที่สองทีมนี้ เล่นรูปแบบที่คล้ายคลึงกันพอสมควร คือ เป็นทีมที่เน้นการยิงและเล่นอย่างมีระเบียบวินัยและแบบแผนค่อนข้างดี ทีมเกาหลีใต้ถือว่ามีระดับมากกว่าพอสมควร แต่ก็ไม่ได้ถือว่าทิ้งห่างกันมากนัก
ผมคงไม่ลงรายละเอียดเรื่องสองทีมนี้ เพราะยังไม่ได้ค้นคว้าข้อมูลมากขนาดนั้น แต่รูปแบบการเล่นของสองทีมนี้ ค่อนข้างคงที่พอที่จะคาดการณ์ได้ในระดับหนึ่ง

สิ่งสุดท้ายที่พิจารณาในการเลือกทีมคือ รายการนี้ ไม่ใช่รายการที่ทีมชาติไทยจะต้อง “ทุ่มหมดหน้าตัก” แน่นอนว่า ทุกเกมก็ต้องตั้งเป้าหมายที่จะชนะ แต่สิ่งที่สำคัญกว่า มองๆ แล้วอาจจะเป็นการสร้างความเข้ากันได้ และ สร้างเสริมประสบการณ์ของชุดผู้เล่นหลักๆ ของทีมชาติในชุดอื่นๆ ในอนาคต เพราะฉะนั้น จึงต้องพิจารณาเรื่องอายุ และ ศักยภาพแฝงของผู้เล่นบางคนเข้าไปด้วย

เกิร่นมาทั้งหมดนี้ ก็จะได้ว่ากันซักที ว่า 12 นักกีฬาตัวแทนทีมชาติไทยในมุมมองของผมว่าจะมีใครบ้าง


Thailand’s (Predicted) Final 12-Player Roster

…อย่าหาว่าลากยาวเลยนะ แต่ก่อนที่จะไปดูรายชื่อ 12 คนในใจของผม มาทวนรายชื่อ 24 คนก่อน คราวนี้จะแนบเอาตำแหน่งที่ผมประเมินว่าแต่ละคนเล่นด้วย:

บัณฑิต หลักหาญ (PG/SG)
ณกรณ์ ใจสนุก (SG/SF)
ไพรัช เสกธีระ (SG/SF)
จิตรภณ โตเวโรจน์ (SG)
ดรงค์พันธ์ อภิรมย์วิไลชัย (SG)
ปฏิภาณ กล้าหาญ (SF)
อรรภพร เลิศมาลัยภรณ์ (SF)
ชนะชนม์ กล้าหาญ (PF)
ธีรวัฒน์ จันทะจร (PF/C)
สุขเดฟ โคเคอร์ (PF/C)
ณัฐกานต์ เมืองบุญ (PG)
ดนัย คงคุ้ม (PF)
โสฬส สุนทรศิริ (PG)
ชนาธิป จักรวาฬ (PF/C)
เฟรดเดอริก ลิช (PG/SG)
กิตติเทพ ดาโสม (PG/SG)
กันตพงษ์ คอร์ซ่าห์-ดิค (PG/SG)
โมเสส มอร์แกน (SF)
วุฒิพงษ์ ดาโสม (SF)
สุวิชัย สุวรรณ (PG/SG)
ธวัชชัย สุขทับ (SF/PF)
อนุชา ลังสุ่ย (SF)
พีรณัฐ เสมมีสุข (PF)
ภูษิต โอภามุรธาวงศ์ (SG)

เอาละ ไม่ยืดเยื้อละ ไปลุยกันเลย!!


Thailand’s (Predicted) Final 12-Player Roster: ตัว โควต้า

อย่างที่หลายๆ คน อาจจะรู้แล้ว ในการแข่งขัน FIBA ทีมชาติแต่ละทีมสามารถจะมีผู้เล่นที่ได้รับสัญชาติชาตินั้นๆ หลังจาก ที่อายุ 16 ปีได้หนึ่งคน ประเทศอย่าง ไต้หวัน, ฟิลิปปินส์, หรือ กาตาร์ ต่างก็มีการใช้กฏข้อนี้ในการโอนสัญชาติให้กับผู้เล่นมืออาชีพ เช่น อันเดร แบลทช์ หรือ ควินซี่ เดวิส

ในทางกฏหมายไทย การที่จะโอนสัญชาติให้กับชาวต่างชาติ ถือว่าเป็นขั้นตอนที่ค่อนข้างยุ่งยาก แต่ก็ถือว่ามีอีกเงื่อนไขที่เข้าข่ายได้เหมือนกัน
อย่าง ไทเลอร์ แลมบ์, โมเสส มอร์แกน, หรือ เฟรดดี้ ลิช นั้นต่างก็มีเชื้อชาติไทยอยู่ในสายเลือดโดยตรงจากทางมารดา เพียงแต่ ทำเรื่องขอพาสพอร์ตหลังอายุ 16 ปี
ดังนั้น หากว่า ทีมชาติต้องการจะเรียกตัวลูกครึ่งพวกนี้จริงๆ ก็จะเรียกได้เพียงคนเดียว
ไอ้กฏ FIBA นี้มันบ้าก็จริง และไม่ได้ช่วยอะไรใครเท่าไหร่เลย…แต่กฏก็คือกฏ ได้แต่น้อมยอมรับและทำตามไปก่อน

เอาละ ว่าไปซะยาว สรุปสั้นๆ ว่า: ระหว่าง เฟรดดี้ ลิช และ โมเสส มอร์แกน ที่มีชื่อในรายชื่อคัดตัว 24 คน ทีมชาติไทยจะเลือกได้อย่างมากเพียง 1 คนเท่านั้น

ดังนั้น คนแรกที่ติดทีมชาติชุดจำลองของผมที่จะลุย FIBA Asia Challenge คือ…

เฟรดดี้ ลิช (PG/SG)

Photo Credit: Kuk Onvisa Thewphaingarm
Photo Credit: Kuk Onvisa Thewphaingarm

คิดว่ามีบางคน ยังติดใจว่าทำไม ไทเลอร์ แลมบ์ ถึงไม่ติดรายชื่อคัด 24 นักกีฬา มาตั้งแต่ย่อหน้าที่แล้วแหละ แต่มันมีเหตุผลของมัน ซึ่งผมคงเขียนทีหลัง
แต่สำหรับการตัดสินใจเลือกระหว่าง เฟรดดี กับ โมเสส ผมไปตัดสินใจโดยอ้างอิงกับ “ความต้องการ” ของทีมชาติ ณ ตอนนี้

ตั้งแต่การแข่ง SEABA Stankovic Cup ผมก็ได้บอกไปแล้วว่า ตำแหน่งการ์ดจ่าย เป็นตำแหน่งที่ผมห่วงมากที่สุด โดยมี บาส กานต์ณัฐ เสมอใจ และ พีท บัณฑิต หลักหาญ เพียงสองคนเท่านั้น ที่ได้ลงเล่นในบทบาทการ์ดจ่ายจริงๆ
ในการแข่งขันรอบนี้ บาส กานต์ณัฐ ถอนตัว (เหตุผลส่วนตัว) จากการคัดทีมชาติ ซึ่งจุดนี้ ทำให้ผมเอนไปทางที่จะเลือก เฟรดดี้ ไปค่อนข้างมาก ถึงแม้ว่า การ์ดจ่ายที่เหลือให้เลือกมี ทั้ง ณัฐกานต์ เมืองบุญ และ โสฬส สุนทรศิริ ก็ตาม แต่การป้องกันของ ญี่ปุ่น และ เกาหลี มันดุเดือดจริงๆ ผมจึงอยากได้ผุ้เล่นที่ผมมั่นใจว่าจะพาบอลขึ้นสนามมาได้อย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยๆ เฟรดดี้ ก็มีความมั่นใจว่าจะพาบอลได้แน่นอน

สิ่งที่เสียไปคือ การทำคะแนนของ มอร์แกน และร่างกายของเขา แต่ผมรู้สึกว่า จุดตรงนี้ ทีมชาติไทยสามารถอุดรอบยรั่วได้ง่ายกว่า
…จริงๆ แล้วก็แอบรู้มาด้วย ว่า ป่านนี้ โมเสส มอร์แกนเดินทางกลับประเทศอเมริกาไปเลย ก็เลยเลือกได้ง่ายเลย

ถ้าเกิดขึ้นจริง เฟรดดี้ จะเป็น ผู้เล่นโควต้า “โอนสัญชาติ” คนแรกของทีมชาติไทย


Thailand’s (Predicted) Final 12-Player Roster: ผู้ปกป้องพื้นที่ใต้แป้น

ปัญหาเรื่องขนาดตัวของผู้เล่นวงในของทีมชาติไทยเป็นสิ่งที่รุมเร้ามาในการแข่งขันระดับนานาชาติพอสมควรในยุคหลังๆ
ใน SEA Games 2015 เราต้องทนดู สุขเดฟ โคเคอร์ และ ธีรวัฒน์ จันทะจร โดน มาร์คัส เดาธิต ของฟิลิปปินส์ อัดใส่อย่างต่อเนื่อง
ใน FIBA Asia U18 ผู้เล่นที่ตัวใหญ่ที่สุดของทีมชาติไทย คือ การ์ดที่สูง 6’5″
ก็ว่ากันตามตรงเลย ว่าวงในไม่ใช่จุดแข็งของทีมชาติไทยจริงๆ

แต่อย่างไรก็ตาม มันก็เป็นตำแหน่งที่ต้องมีคนเล่น เพราะฉะนั้น ก็ถึงเวลาที่ผมต้องเลือก:

สุขเดฟ โคเคอร์ (PF/C)
พีรณัฐ เสมมีสุข (PF)
ชนาธิป จักรวาฬ (PF/C)

Photo Credit: Kuk Onvisa THewphaingarm (left, center), Mono Vampire Basketball Club (right)
Photo Credit: Kuk Onvisa THewphaingarm (left, center), Mono Vampire Basketball Club (right)

สุขเดฟ อาจจะไม่ค่อยมีผลงานระดับ “สตาร” มาหลายรายการแล้วก็จริง แต่ผมรู้สึกว่า เขากำลังเล่นได้ดีในบทบาท “ตัวเสริม” มากกว่า อย่าลืมด้วยว่า สุขเดฟ นั้นเพิ่งอายุครบ 26 ปีเมื่อต้นสิงหาคมที่ผ่านมา
เขาเคยได้เป็นผู้เล่นทรงคุณค่าของ คิงส์คัพ (ถ้าจำไม่ผิด) ตั้งแต่อายุ 18 ปี และเป็นผู้เล่นหลักของทีมชาติ และ ไฮเทค มาตลอด 8 ปีที่ผ่านมา ซึ่งตรงนี้ ผมคิดว่าได้สร้างความคาดหวังในตัวเขาที่สูงมาก
มาตอนนี้ เขาอาจจะไม่ใช่โคตรสตาร์ของวงการบาสไทย แต่ ด้วยขนาดร่างกาย และ ความคล่องตัว เขายังเป็นชิ้นส่วนที่สำคัญของทีมชาติได้ ใน TBL ฤดูกาลที่ผ่านมา เขาอาจจะไม่ใช่ตัวทำแต้มกระจุบกระจาย แต่เขาก็ป้องกันเหล่าตัวต่างชาติร่างยักษ์ได้ดี อีกทั้งยังทุ่มสุดตัวในการป้องกัน และ เคลื่อนบอลดีอีกด้วย
ดูเหมือนว่า เขาน้อมรับบทบาทการเป็น “ตัวเสริม” มากขึ้น และมันก็ทำให้ฟอร์มของเขาดูน่าประทับใจมากขึ้น

เขาอาจจะไม่ใช่สตาร์ แต่ ด้วยจำนวนตัวเลือกที่น้อยอยู่แล้ว รวมไปถึงประสบการณ์ของ สุขเดฟ ในระดับชาติ ทำให้เขาเป็นคนจำนวนน้อยในรายชื่อ 12 คนนี้ ที่เรียกได้ว่า “ล็อคผลมาว่าจะติด”

ถ้าหาก พีรณัฐ และ ชนาธิป ติดทีมชาติชุดนี้จริงๆ ก็จะเป็นครั้งแรกที่ติดธง และน่าจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมมากๆ ทั้งสองคนได้ถูกพิจารณาอย่างมากมาตั้งแต่รายการ SEABA Stankovic Cup แต่ พีรณัฐ เกิดข้อเท้าพลิกในการคัดตัววันที่สอง ส่วน ชนาธิป พลาดการคัดรอบ 12 คนอย่างหวุดหวิด

ทีมชาติไทย ไม่ใช่ทีมที่จะเอาชนะทีมอื่นๆ ได้ด้วยการเอาชนะวงในอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ผมจึงเห็นว่า น่าจะใช้โอกาสนี้ในการสร้างอนาคต และ ปั้นดาวรุ่งในตำแหน่งนี้แต่เนิ่นๆ เลยดีกว่า
วงในชุดนี้ จะเป็นวงในที่ประสบการณ์น้อยมาก แต่มันถึงเวลาแล้วแหละ ที่จะต้องสร้างรากฐานตั้งแต่ตอนนี้ สุขเดฟเองก็ต้องเริ่มผันตัวมาเป็นพี่ใหญ่ ส่วน พีรณัฐ กับ ชนาธิป เองก็จ้องดูดซับประสบการณ์ทั้งหมดที่จะได้รับเข้าตัวให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

Photo Credit: Mono Vampire Basketball Club
Photo Credit: Mono Vampire Basketball Club

สำหรับ บิ๊ก ธีรวัฒน์ จันทะจร นั้นติดทั้งชุด SEA Games 2015 และ SEABA Stankovic Cup 2016 แต่ถ้าเป็นผม ผมรู้สึกว่าเขาควรจะพักผ่อนหน่อย อาการบาดเจ็บต่างๆ ที่รุมเร้า ทำเอาซะเซนเตอร์ดาวรุ่งคนนี้ ไม่ได้ลงเลย แม้แต่นาทีเดียวในเกมตัดสินเกมที่ 3
ผมอยากให้ ธีรวัฒน์พักฟื้นให้กลับมา 100% ก่อนแล้วค่อยว่ากัน


Thailand’s (Predicted) Final 12-Player Roster: โหลดกระสุน

ยากที่ประสบความสำเร็จในการแข่งขันระดับนานาชาติ ถ้าไม่มีมือยิงที่สามารถกระจายถ่างการป้องกันออกให้กว้าง นี่คือหลักการของบาสสมัยใหม่ที่ปฏิเสธไม่ได้

พอดีเลย ที่ทีมชาติไทยมีตัวยิงที่ถือว่าเชื่อใจได้ นี่คือสองคนที่ผมเลือก:

ณกรณ์ ใจสนุก (SG/SF)
ไพรัช เสกธีระ (SG/SF)

Photo Credit: Kuk Onvisa Thewphaingarm (left), Mono Vampire Basketball Club (right)
Photo Credit: Kuk Onvisa Thewphaingarm (left), Mono Vampire Basketball Club (right)

สำหรับ ณกรณ์ ผมถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ค่อนข้างจะง่าย จากการพิจารณาฟอร์มในการแข่งขันนานาชาติรอบที่ผ่านมา ถึงแม้ว่า ฟอร์มจะดูตกลงในการแข่ง TBL ที่ผ่านมา
จากที่ยิงได้ 56.7% ใน SEABA Stankovic Cup ณกรณ์กลับยิงได้เพียง 27.0% ใน TBL กับทีมไฮเทค แต่ส่วนตัวแล้ว ผมยังมองว่า ตรงนี้เป็นฟอร์มที่ตกลงเพราะระบบการเล่น รูปแบบการเคลื่อนบอลของทีมไฮเทค ต่างจากทีมชาติพอสมควร ซึ่งตรงนี้ ก็ทำให้โอกาสการยิงของ ณกรณ์ แปลกต่างไปจากเดิม

ในส่วนของ ไพรัช นั้น ไม่ค่อยได้เล่นเท่าไหร่นักใน SEABA Stankovic Cup แต่ถ้าต้องเล่นตำแหน่งเดียวกับ ชิตชัย อนันติ ที่กำลังทอปฟอร์ม ก็คิดว่า คงมีไม่กี่คนที่จะเบียดไปลงเล่นได้เท่าไหร่นัก
ฟอร์มของ ไพรัช ในเพลย์ออฟ ตกลงไปพอสมควร แต่ ในฤดูกาลปกติ เขาโชว์ฟอร์มการยิงได้โดดเด่นมากพอ ทำให้ผมมั่นใจที่จะเอาตัวมาเล่นทีมชาติครั้งนี้ (โดยการยิง 44.0% จากระยะสามแต้ม) นอกจากเรื่องการยิงแล้ว ไพรัช ยิงเสริมในเรื่องการข้ามเข้าหาห่วงได้ด้วย

สิ่งที่ผมถือว่าเป็นความได้เปรียบที่ทำให้น่าสนใจกว่า บัณฑิต หลักหาญ หรือ จิตรภณ โตเวโรจน์ คือ ความยาวช่วงแขน และ ช่วงตัว
การที่จะเจอกับทีมที่เคลื่อนบอล และ ยิงได้ดีอย่าง เกาหลีใต้ และ ญี่ปุ่น แปลว่า ผมควรจะต้องมีปีกที่สามารถป้องกันได้คลอมคลุมพื้นที่ค่อนข้างกว้าง และมีแขนที่เหยียดยาวได้มากพอจะก่อกวนการยิงได้


Thailand’s (Predicted) Final 12-Player Roster: นกปีศาจ

Photo Credit: dinosaurs.about.com
Photo Credit: dinosaurs.about.com

ข้อความสำคัญจากย่อหน้าข้างต้นคือ “ความยาวช่วงแขน”
ทั้ง ณกรณ์ กับ ไพรัช ต่างก็ถือว่าก้านยาวพอสมควร แต่ ทีมชาติไทยน่าจะมีลุกเล่นมากกว่านี้

ผู้เล่นสองคนต่อไปนี้ คือ สองผู้เล่นที่โดดเด่นออกมาด้วยความยาวร่างกายล้วนๆ แถมนอกจากนั้น ยังมีรูปแบบการเล่นที่หลากหลาย อีกทั้งยังเป็นวัยพลังหนุ่มอยู่ด้วย
สองคนนี้ จะต้องเป็นแกนการทำทีมที่สำคัญของทีมชาติไทยแน่นอน

ปฏิภาณ กล้าหาญ (SF)
อนุชา ลังสุ่ย (SF)

Photo Credit: TBL (left), Hitech Basketball Club (right)
Photo Credit: TBL (left), Hitech Basketball Club (right)

มีหลายฝ่ายเคยรายงานมาว่า ปฏิภาณ ถือว่าเป็นคนที่ โค้ชทิม ลูอิส ประทับใจพอสมควรจากการเรียกตัวติดทีมชาติครั้งแรกรอบที่ผ่านมา และผมเข้าใจเลยว่าทำไม ปฏิภาณ เป็นผู้เล่นที่มีร่างกายและทักษะที่สามารถเล่นได้ตั้งแต่ตำแหน่ง SG หรือ SF หรือ PF ก็ยังได้ ซึ่งมันทำให้โค้ชมีตัวเลือกในการพลิกแพลงเกมมากขึ้นทั้งในด้านเกมรุก และ เกมรับ สำหรับทีมชาติไทยที่ยังไม่มีตัวทำแต้มจัดๆ คนใดคนหนึ่ง การที่จะมีผู้เล่นหลายๆ คนที่เล่นอย่างหลากหลาย เพื่อความยืดหยุ่นของการเล่น ก็น่าจะเป็นไอเดียที่ดี
ถึงแม้ว่า ปฏิภาณ จะไม่ได้ฉายแวว แบบ ชิดชัย อนันติ ก็จริง แต่ผมว่าเขาทำได้ดีมากพอที่ทีมชาติไทยจะเริ่มสนใจที่จะลองคุ้ยดูว่า ศักยภาพแฝงของเขาจะไปได้ไกลขนาดไหน

อนุชา เองก็ถือว่าเป็นผู้เล่นที่อยู่ในประเภทคล้ายๆ ปฏิภาณ คือ เป็นผู้เล่นก้านยาวที่สามารถเล่นได้หลากหลายตำแหน่ง เขาไม่ได้มาคัดตัวทีมชาติ SEABA Stankovic Cup เนื่องจากมีอาการบาดเจ็บที่เท้า แต่ โค้ชทิม ยังเคยเอ่ยกับผมเองด้วยซ้ำ ว่า เขาเห็นอนุชาเป็นหนึ่งในผู้เล่นใน TBL ที่ไม่ติดทีมชาติที่มีฟอร์มน่าสนใจ

มีอีกหลายคนที่หยุดปากชมศักยภาพของ อนุชา ไม่ได้ อย่าง โค้ชเส็ง ประเสริฐ ศิริพจนากุล (โค้ชทีม OSK) หรือ แม้แต่เพื่อร่วมทีม สตีฟ โธมัส กับ เอเวอรี่ ชาเรอร์ โดยทั้งคู่กล่าวว่า มันเป็นเรื่องที่น่ากลัวว่าเขาจะเก่งขึ้นได้อีกมากขนาดไหน…แต่เขาไม่รู้ตัวเลย

สิ่งที่น่าสนใจที่สุด และ สำคัญที่สุด คือ ทั้งสองคนอายุเพียง 22 ปีเท่านั้น ผมรู้สึกว่า ขอให้เพียงแค่ได้ถูกโดยนเข้ากองไฟไปสัมผัสความร้อนบ้าง แล้วน่าจะทำให้แกร่งขึ้น และเป็นอนาคตของทีมชาติที่น่าเกรงขามได้


Thailand’s (Predicted) Final 12-Player Roster: ตัวเก๋า

จากผู้เล่นที่มีรายชื่อเท่าที่เขียนมานั้น คนที่มีอายุมากที่สุด คือ ไพรัช ที่ 29 ปี จากนั้นก็จะเป็น เฟรดดี้ (28), สุขเดฟ (26), ณกรณ์ (25), ปฏิภาณ (22), อนุชา (22), พีรณัฐ (21), และ ชนาธิป (19)

ถือว่า โคตร เด็ก

ผมเองก็ตั้งใจว่า จะใช้ทีมชาติชุดนี้ในการสร้างทีมในอนาคตพอสมควร เพื่อให้ตรงกับจังหวะที่ จัสติน แบสซี่ (18) พร้อมถูกเรียกตัวมาใช้ในอนาคต แต่ก็ใช่ว่าจะเรียกแต่คนอายุน้อยๆ มาใส่ทีมทั้งหมดแล้วปล่อยให้เล่นไปได้ ยังไงซะก็ยังมีเป้าหมายที่จะต้องจบใน 5 อันดับแรกให้ได้
ผมควรจะต้องมีตัวเก๋าๆ ที่รู้จังหวะที่จะต้อง “ทุบ” หรือ เล่นหนักเป็น แถมต้องเป็นผู้นำทีมได้อีกด้วย

ดรงค์พันธ์ อภิรมย์วิไลชัย (SG)
วุฒิพงษ์ ดาโสม (SF)

Photo Credit: Mono Vampire Basketball Club (left), Kuk Onvisa Thewphaingarm (right)
Photo Credit: Mono Vampire Basketball Club (left), Kuk Onvisa Thewphaingarm (right)

การรู้จังหวะที่จะต้อง “ทุบ” การเล่นหนัก และ การเป็นผู้นำนั้น จริงๆ แล้วน่าจะใช้อธิบาย การ์ดวัย 31 ปีอย่าง ดรงค์พันธ์ ได้ดีมากๆ
อขาติดทีมชาติมาหลายชุดจนนับไม่ถ้วน และก็เป็นผู้นำของทีมในแต่ละชุดเป็นส่วนมากอีกด้วย รูปแบบการข้ามที่ดุเดือดหนักหน่วง แถมยังสามารถก่อกวนประสาททีมตรงข้ามเป็นสิ่งที่โดดเด่นสำหรับเขา และถึงแม้ว่าประสิทธิภาพการทำแต้มจะตกลงมาเรื่อยๆ ตามอายุ แต่สิ่งที่ทีมต้องการจากเขาไม่ใช่การทำแต้มระเบิดระเบ้ออยู่แล้ว

เช่นเดียวกัน กับ ดรงค์พันธ์ และ เพื่อนร่วมรุ่นอย่าง สุขเดฟ วุฒิพงษ์ ดาโสม เองก็ติดทีมชาติมาหลายชุดเช่นเดียวกัน
ที่เขาไม่ได้ไปคัดตัวทีมชาติชุด SEABA Stankovic Cup ก็ด้วยเหตุเดียวกับ อนุชา ลังสุ่ย คือ มีอาการบาดเจ็บ แต่ วุฒิงพษ์ ได้รับการเทรน อละ ฟื้นฟู ร่างกายจาก มิสเตอร์แจ็คสัน ซึ่งเขาบอกว่าเป็นจุดเปลี่ยนในการเล่นอาชีพของเขา ทำให้เขาเล่นได้ดุดันมากขึ้น

ผู้เล่นสองคนนี้ มีประสบการณ์มากมายแน่นอน ทั้งสองคนสามารถเป็นผู้นำทีมได้ อีกทั้งยังติดสนองความต้องการของทีมในการเล่นเกมหนัก


Thailand’s (Predicted) Final 12-Player Roster: จอมทัพ

โอเค ผมมีเฟรดดี้ ลิช อยู่แล้วในรายชื่อ

แต่แค่นั้น ผมว่าไม่พอ ลิชเป็นการ์ดทำแต้มที่สุดยอดก็จริง การเลี้ยงบอลสุดมหัศจรรย์ ความสามารถทางร่างกายที่เป็นเลิศ อีกทั้งระยะการยิงที่เหมือนจะไม่มีที่สิ้นสุด
เขาเล่นในตำแหน่งการ์ดจ่ายเพียวๆ ได้…แต่คงไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับการเป็นการ์ดทำแต้ม

และนั่นคือเหตุผลที่ทำไมทีมชาติไทยต้องการการ์ดที่เป็น “จอมทัพ” ซักคน
ต้องเป็นใครซักคนที่ควบคุมจังหวะของเกมเป็น และรู้จังหวะในการให้บอลเพื่อนร่วมทีม

คนนี้แหละที่ฉันตามหา

ณัฐกานต์ เมืองบุญ (PG)

Photo Credit: Mono Thewphaingarm
Photo Credit: Mono Thewphaingarm

ณัฐกานต์ ถือว่าเป็นการ์ดจ่ายขนานแท้ ที่อาจจะ แท้ที่สุดในไทยเวลานี้แล้ว การ์ดจ่ายเพียวๆ แบบนี้ เป็นตำแหน่งที่เริ่มมีบทบาทน้อยลงในวงการบาสปัจจุบัน แต่พอมีให้ได้ดูจริงๆ ก็ยังติดตามได้อย่างสนุกสนานมากที่สุดตำแหน่งหนึ่ง ใน TBL ปีนี้ ณัฐกานต์รับบทบาทการทำแต้มมากขึ้น แต่ผมรู้สึกว่า เขาคงจะสนุกสนานมากกว่านี้ หากว่าได้เล่นกับทีมที่มีตัวเลือกในการทำแต้มรายล้อมซ้ายขวามากกว่า

ผมยังขอยืนยันคำเดิมว่า ณัฐกานต์ นี่แหละ คือกุญแจสำคัญที่ขาดหายไปจากทีมชุด SEABA Stankovic Cup


Thailand’s (Predicted) Final 12-Player Roster: ตัวแปร

สิ่งหนึ่งที่ต้องเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างทีมคือ นานๆ ทีที่คุณจะได้ใช้ผู้เล่นคนที่ 11 หรือ 12 ที่คุณเลือกไป
สำหรับผม นี่แปลว่า ผมยอมที่จะเสี่ยงกับตัวเลือกที่อาจจะ “เสี่ยง” มากกว่า ผู้เล่นที่อาจจะดูเข้ากันได้ตามตรรกะทั่วไป

ความเสี่ยงตรงนั้น มันอาจจะได้เป็นผลตอบแทนที่คาดไม่ถึง หรืออาจจะเป็นผู้เล่นที่พร้อมจะลงทุนดูระยะยาว

กันตพงษ์ คอร์ซาห์-ดิค (PG/SG)

Photo Credit: Kuk Onvisa Thewphaingarm
Photo Credit: Kuk Onvisa Thewphaingarm

ผมใช้ตัวเลือกตัวสุดท้ายของผมไปกับผู้เล่นที่ยังไม่ได้ลงเล่นในลีกอาชีพของไทยเลยแม้แต่วินาทีเดียว วะฮะๆๆ บ้าปะละ

แต่เรามาลองมองอีกมุมหนึ่งบ้าง กันตพงษ์ (หรือ โทนี่) ถือว่าเป็นนักกีฬาที่น่าสนใจเกินกว่าจะมองข้ามไปได้ เขายังอายุน้อย ความสามารถทางร่างกายดีมาก อีกทั้งยังผ่านประสบการณ์การเล่นในโปรแกรมระดับนานาชาติ

มันเป็นความรู้สึกที่…ต้องทดลองเล่นกับมันดูยังไม่รู้ เข้าใจว่า เก้าอี้ตำแหน่งนักกีฬาทีมชาติ มันไม่ควรจะเป็นอะไรที่มาใช้ “ทดลองเล่น” แต่ผมรู้สึกมั่นใจพอว่า ผลลัพธ์ ที่ได้ออกมาจะคุ้มกับความเสี่ยง

ข่าวที่ได้ยินมาคือ โค้ชทิม เองก็เรียกตัว โทนี่ มาจากอเมริกา ที่เขากำลังจะเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย เพื่อมาติดรายชื่อคัดทีมชาติ 24 คนนี้ เพราะฉะนั้น เขาเองก็คงคาดหวังอะไรกับเด็กคนนี้ ไม่น้อย
ผมเองก็ค่อนข้างจะเชื่อ และ ที่สำคัญกว่า คืออยากเห็นผลลัพธ์ของมันเร็วๆ นี้


Thailand’s (Predicted) Final 12-Player Roster: สรุป

…ถ้าใครขี้เกียจอ่านข้างบนทั้งหมด ดูรายชื่อทีมชาติ 12 คนที่ผมเลือกตามนี้ก็ได้:

เฟรดดี้ ลิช (PG/SG)
ณัฐกานต์ เมืองบุญ (PG)
กันตพงษ์ คอร์ซาห์-ดิค (PG/SG)
ดรงค์พันธ์ อภิรมย์วิไลชัย (SG)
ณกรณ์ ใจสนุก (SG/SF)
ไพรัช เสกธีระ (SG/SF)
ปฏิภาณ กล้าหาญ (SF)
วุฒิพงษ์ ดาโสม (SF)
อนุชา ลังสุ่ย (SF/PF)
พีรณัฐ เสมมีสุข (PF)
สุขเดฟ โคเคอร์ (PF/C)
ชนาธิป จักรวาฬ (PF/C)

คิดอย่างไรก็รายชื่อ 12 คนสุดท้ายของผมบ้าง? แล้วรายชื่อ 12 คนสุดท้ายของท่านผู้อ่านละ มีใครบ้าง?

เชิญคอมเมนต์ได้ที่นี่ หรือ จะไปคอมเมนต์ความเห็นที่ เพจ Facebook “Tones & Definition” ก็ได้นะครับ หรือ จะแชร์บทความนี้ลง Social Media ที่ไหนก็ได้ พร้อมกับความเห็นของตัวเอง ทำได้หมดครับผม 🙂

Advertisement

One thought on “Thailand’s (Predicted) Final 12 roster for FIBA Asia Challenge 2016

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.