เรื่องราวที่จะอ่านต่อไปนี้ อาจจะไม่สวยงาม เท่าไหร่นัก
For English, read here.
ในอีกเพียงไม่กี่วัน ASEAN Basketball League ก็จะเริ่มเปิดศึกกันอีกครั้ง หลังจากที่ร้างลาในช่วงวันหยุด คริสต์มาส และ เทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา หลังจากที่เราอิ่มหนำสำราญกันมาพอสมควรแล้ว เรามาดูกันกับฟอร์มช่วงครึ่งแรกของฤดูกาล ของแต่ละทีมหลังจากแข่งไปทั้งหมด 29 เกมกันหน่อยละกัน
โมโน แวมไพร์

เป็นปีเปิดตัวที่ค่อนข้างทุลักทุเล สำหรับ โมโน แวมไพร์ เล็กน้อย
เปิดประตูออกมาด้วยการเล่นเกมนอกบ้าน 8 เกมติดกัน ก็ว่าเหนื่อยแล้ว ยังไปแพ้ 6 เกมติดกัน ก็ยิ่งเหนื่อยไปอีก
มาดูกันดีกว่า ว่า ครึ่งฤดูกาลที่ผ่านมา เป็นอย่างไรบ้าง
เกมบุก : C-
เกมบุกของ โมโน แวมไพร์ ประกอบด้วยสองส่วนใหญ่ๆ คือ การยิงสามแต้ม และ แอนโธนี่ แมคเคลน ว่ากันด้วย แอนโธนี่ แมคเคลนก่อนละกัน
ตอนนี้ แมคเคลนเป็นคนที่ทำแต้มได้มีประสิทธิภาพที่สุดใน ABL ด้วยประสิทธิภาพการทำคะแนน 57.9 eFG% เป็นผลพวงจากการที่สามารถเก็บรีบาวด์ฝั่งรุกได้ในอัตราส่วนที่ดีที่สุดใน ABL ที่ 17.3% อีกด้วย แต่มีบางจังหวะ ที่ผู้เล่นวงนอกสามารถจ่ายบอลให้ แมคเคลนเล่นได้ง่ายๆ แต่ถึงอย่างนั้น ก็มีหลายๆ ครั้งที่ดูแล้วรู้สึกว่า แมคเคลน ยังไม่ถูกงัดมาใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพเท่าไหร่นัก
อัตราการจบการครองบอลของ แมคเคลนอยู่ที่เพียง 22.5% ในบรรดา World Import มีเพียง สตีฟ โธมัส, วิลล์ ครีกมอร์, ควินซี่ โอโคลี่, พอล บูโตแรค, และ นาเกีย มิลเลอร์ เท่านั้น ที่จบการครองบอลน้อยกว่า แมคเคลน ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องที่น่าจะต้องพิจารณา เพราะ บทบาทและผลงาน ที่ทำให้ แมคเคลนน่าจะเป็นตัวเลือกในเกมบุกอันดับ 1 ของทีม
ส่วนหนึ่ง ก็เพราะว่า แมคเคลน ก็ไม่ได้น่ากลัวมากขนาดนั้น เวล่ได้บอลในจังหวะใต้แป้น ถึงแม้ว่าจะตัวใหญ่หยุดยากก็จริง แต่การขยับเขยื้อน ยังดูติดๆ ขับๆ ไม่คงที่เท่าไหร่นัก
แต่อีกส่วนหนึ่งก็อาจจะเป็นเพราะ แมคเคลน ไม่ใช่เป้าหมายสุดท้ายของเพลย์ที่ โมโน แวมไพร์ เล่นเป็นหลักด้วย
ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม การบุกขอแมคเคลนตอนนี้ คือหัวใจ ของการบุกของ โมโน แวมไพร์ ถ้ารวม แมคเคลนแล้ว อัตราการยิงลงของ โมโน แวมไพร์ อยู่ที่ 39.0% แต่พอเอาตัวเลขของแมคเคลนออกไปแล้ว กลับกลายเป็นว่า โมโน ยิงลงแค่ 34.8% เท่านั้น ซึ่งอัตราการยิงลงที่ตกลงมา 4.2% นั้น เป็นการลดลงของอัตราการยิงลงที่มากที่สุดใน ABL ตอนนี้
นอกจากนี้ โมโน แวมไพร์ ยังเป็นทีมที่มีอัตราการยิงเป็นลูกสามแต้มมากที่สุดอีกด้วย จำนวนการยิง 24.6 ครั้ง อาจจะตามหลัง พิลิพินาส MX3 คิงส์ อยู่ แต่จำนวนการยิงสามแต้มนั้น นับเป็น 34.6% ของการยิงของ โมโน ทั้งหมด หรือ จะพูดง่ายๆ ก็ได้ว่า ในการยิงทุกๆ 3 ครั้งของทีมนี้ จะมีลูกนึง เป็นลูกยิงสามแต้ม
ในบาสสมัยใหม่ ที่เน้นการใช้พื้นที่ และ มีการพิสูจน์มาแล้วทางสถิติว่าการยิงสามแต้มเป็นการทำแต้มที่ดีที่สุด (ตัวอย่างเช่น โกลเดน สเตต วอริเออร์ส เป็นต้น) แต่ถึงอย่างไร มันก็ต้องมีจุดที่สมดุลย์ของมัน
การป้องกัน: B-
การให้เกรด โมโน แวมไพร์ ในด้านการป้องกันเป็นระดับ “B-” อาจจะดูใจดี สำหรับทีมที่ปล่อยให้ทีมตรงข้ามยิงลงถูง 41.9% นอกจากนี้ ยังปล่อยให้ทีมตรงข้ามมีโอกาสยิงถึง 31.1 ครั้งอีกด้วย (มากที่สุดเป็นอันดับ 2) เพราะฉะนั้น การปล่อยให้ยิงหลายครั้ง…แถมยังปล่อยให้ยิงลงหลายครั้ง ไม่น่าจะเป็นคอมโบที่ดีเท่าไหร่
แต่ก็มีเรื่องน่าสนใจที่ว่า ห้าเกมแรกของ โมโน แวมไพร์ (ที่เจอกับทั้ง 5 ทีมที่เหลือ) พวกเขาปล่อยให้ทีมตรงข้ามยิงลงเพียง 37.7% เท่านั้น ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าจะอยู่ในระดับประมาณสองอันดับแรก ตอนนั้น แอนโธนี่ แมคเคลน และ ควินซี่ โอโคลี่ ต่างก็หวดลูกยิงของฝั่งตรงข้ามกระจายไปทุกทิศทุกทาง โดย แมคเคลน มีอัตราการบล็อกอยู่ที่ 6.3% และ โอโคลี่ มีอัตราการบล็อกที่ 6.4% เป็นแกนขับเคลื่อนให้ โมโน มีอัตราการบล็อกช็อตเป็นจ่าฝูงของ ABL ได้อย่างง่ายดายที่ 13.5%
ผมไม่รู้ว่า หลังจากเกมนั้น เกมอะไรขึ้นเหมือนกัน บางที คู่ต่อสู้ อาจจะคุ้นเคยกับ โมโน แวมไพร์ มากขึ้ย บางที การที่แพ้ติดๆ กัน ก็อาจจะส่งผลกับจิตใจในระดับที่หยั่งไม่ถึง บางที อาจจะเป็นการที่ไม่ได้เล่นเกมในบ้านเลยก็ได้ หรือ บางที อาจจะเป็น เพราะ ควินซี่ โอโคลี่ เจอปัญหาอาการบาดเจ็บ แต่ไม่ว่าจะเพราะอะไร ผลที่ออกมาคือ ใน 6 เกมหลัง โมโน แวมไพร์ ปล่อยให้ทีมตรงข้ามทำแต้มในอัตรา 45.7% และ ปล่อยให้ยิงสามแต้มลงในอัตรา 32.2%
ถ้าจะเทียบกันให้เห็นภาพหน่อย ปีที่แล้ว ทีม ลาสการ์ เดรย่า ที่ชนะเพียง 1 เกมใน ABL ปล่อยให้ทีมตรงข้ามยิง 44.9% และ 30.8% จากสามแต้ม…ไม่ว่าจะเป็นทีมไหนๆ ใน ABL ก็ควรจะหลีกเลี่ยงที่จะล้ำเส้น สถิติ นี้ให้ได้
อย่างไรก็ตาม ผมยังเชื่อว่า โมโน แวมไพร์ ยังมีศักยภาพที่จะเป็นทีมที่ดีมากๆ ในด้านการป้องกันได้ ยังไงซะ พวกเขาก็ทำได้มา 5 เกมเต็มๆ และนั่นคือเหตุผลที่ โมโน แวมไพร์ ได้เกรด “B-” ในส่วนนี้
ตัวต่างชาติ: C
ผมอยากบอกไว้ ก่อนที่พูดอะไรต่อจากนี้ ผมชอบ ควินซี่ โอโคลี่นะ ผมเคยคุยกับเขา และพบว่า เขาเป็นคนที่อ่อนน้อม มุ่งมั่น และ ไฝ่ที่จะเรียนรู้ พัฒนาตัวเองมาก ร่างกายก็เป็นเลิศจริงๆ

แต่โชคไม่ดี ที่บทบาทที่โมโน ต้องการให้เขาเล่น ไม่ได้เหมาะกับ ทักษะที่เขาพร้อมจะมอบให้ ในขณะที่เขาเป็นคนที่เล่นเกมรับได้ดี (อ่านดูได้จากข้างบน) ในหลายๆ ครั้งเขาดูเหมือนหลงๆ ในฝั่งเกมบุก ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ดีแน่ๆ สำหรับทีมที่ต้องการตัวทำคะแนนตัวที่สองมาเสริม แมคเคลน นอกจาก สตีฟ โธมัส (ที่มีบทบาทของตัวเองชัดเจน และมีตัวทำคะแนนรายล้อมมากมาย) ก็มีเพียง โอโคลี่ นี่แหละ ที่ไม่สามารถทำแต้มได้ถึง 10 คะแนน มากกว่า 2 เกม สำหรับผมแล้ว โอโคลี่ เป็นตัวผู้เล่นสนับสนุนที่ดีมากๆ และ เขาน่าจะเล่นได้ดีในลีกยุโรบ ที่ไม่จำเป็นที่จะต้องพึ่งความสามารถในเกมบุกของเขามากเท่าไหร่ เป็นเรื่องน่าเศร้าที่ผมคิดว่า เขาอาจจะไม่เหมาะเท่าไหร่นักกับบท World Import ใน ABL ณ ขณะนี้
ผมชอบ พอล บูโตแรค นะ เขาเป็นคนที่อ่อนน้อมถ่อมตนอีกคน ฝึกซ้อมหนัก และเล่นฉลาดดี
แต่เขาถูกเลือกเข้ามาในสถานการณ์ที่เลวร้ายพอสมควร โมโน แวมไพร์ กำลังต้องการคนที่เทพท่านส่งมาช่วยเหลือภาระการทำคะแนนจากแมคเคลน และถึงแม้ว่า บูโตแรค จะช่วยให้เกมบุกไหลราบรื่นมากขึ้น…แต่เขาก็ยังไม่ใช่ตัวทำคะแนนด้วยตัวเองที่ดีมากนัก ถ้าจะพูดกันตรงๆ ก็เรียกได้ว่า ห่วยที่สุด ในบรรดา World Imports ด้วยกันนี่แหละ กับ ประสิทธิภาพการทำคะแนน 29.4 eFG% และก็คงไม่ใช่เรื่องบังเอิญเท่าไหร่นักที่ การป้องกันของ โมโน แวมไพร์ จะลดฮวบฮาบไปตั้งแต่ โอโคลี่ เจ็บ และ บูโตแรคเข้ามาแทน
ผม โคตร จะชอบ ฟรอยลัน บาเกี้ยน เลย (รู้สึกเหมือนว่ามีอะไรซ้ำๆ ไหม) เขาเป็นผู้เล่นที่อรรถยาศัยดีที่สุดใน ABL คนหนึ่ง และเขาเป็นคนที่จำหน้าคนได้แม่นมาก
แต่ด้วยการที่มีการ์ดอยู่ในทีมแล้วถึง 3 คน…การเซ็น ฟรอย มาก็เลยดูเป็นเรื่องน่าฉงนเล็กน้อย ในสองเกมแรกที่เขามีรายชื่อ เขาลงในสนามตอนเริ่มครึ่งหลังเท่านั้น ก่อนที่จะได้เป็นตัวจริงในเกมสุดท้ายของปี 2015 ซึ่งน่าสนใจ เพราะว่า ตลอดช่วงเวลาที่ฟรอยลงไปเล่น เขาแสดงให้เห็นว่า เขาสามารถจ่ายบอลให้กับ แมคเคลนได้อย่างง่ายดาย และ แมคเคลน ก็จบแต้มได้อย่างง่ายดายอีกด้วย เขาทำเฉลี่ย 10.2 แอสสิสต์ ต่อการลงเล่น 40 นาที ด้วยอัตราการแอสสิสต์ที่ 33.4% ผลงานของเขาก็ดีเหมือนที่คาดการณืไว้ แต่สิ่งที่ยังคาใจคือ…เขาคือคำตอบ ของ โจทย์ ที่ โมโน กำลังเผชิญ อยู่หรือ ไม่ ตอนที่เซ็นเขาหลังจากเกมที่ 7 ของ ฤดูกาล
เกรดในส่วนนี้ ถูกค้ำชูไว้ด้วยการที่ โมโน แวมไพร์ ตัดสินใจ ใช้ แอนโธนี่ แมคเคลน ต่อไปหลังกจากที่เป็น ตัวอิมพอร์ตคนแรกในประวัติศาสตร์ของสโมสร เขาทำได้ดีในฐานะ พลังกำลังของเกมบุก และ เกมรับ ซึ่งไม่ใช่อะไรที่ World Import ทุกคนจะสามารถกล่าวอ้างได้ ตอนนี้ คงถึงเวลาที่ ทีมบริหาร จะต้องหาคนที่จะมาช่วยแบ่งเบาภาระของแมคเคลนแล้วแหละ
ผมเกือบให้เกรด “C+” ไปละ แต่ก็นึกขึ้นมาได้ว่า ตอนนี้ ทีมมีตำแหน่ง ASEAN/Heritage Import ว่างอยู่ ที่ยังไม่ได้ใช้ซักที ซึ่งเป็นเรื่องที่ น่าผิดหวังนิดๆ หน่อยๆ เป็นการส่วนตัว
ผู้เล่นท้องถิ่น: A-

บางทีผมก็อาจจะแค่ ลำเอียง ในฐานะคนไทย แต่ผมรู้สึกจริงๆ ว่า โมโน แวมไพร์ น่าจะมีชุดผู้เล่นท้องถิ่นที่ดีที่สุดในลีก ABL ชุดหนึ่ง “เจโอ” รัชเดช เครือทิวา เป็นคนที่ปล่อยว่างไม่ได้เลย และจะยิ่งน่ากลัวถ้าสร้างโอกาสให้ยิงแบบไม่ต้องเลี้ยงไปเลี้ยงมาได้ แต่ถึงแม้อย่างนั้นแล้ว เขาก็ยังเป็นคนที่ยิงแม่นมากอยู่ดี โดยยิงอยู่ที่ 29.4% จากระยะสามแต้ม สำหรับ “ปาล์ม” ดรงค์พันธ์ อภิรมย์วิไลชัย ก็เป็นคนที่มีเกมที่เล่นได้ดีมากๆ อยู่หลายเกม โดยเฉพาะเกมที่ทำไป 18 แต้ม 5 รีบาวด์ และ 3 แอสสิสต์ ที่เจอกับ เคแอล ดรากอนส์ ตอนนี้ เขาทำเฉลี่ยอยู่ที่ 8.7 แต้ม 3.4 รีบาวด์ และ 3.6 แอสสิสต์ต่อเกม ซึ่งผลงานอาจจะตกลงมาหน่อย ในช่วงท้ายๆ ก่อนสิ้นปี แต่เขาก็ยังเป็นอาวุธที่อันตรายอยู่ดี
นี่ยังไม่พูดถึง “อาร์ม” ณัฐกานต์ เมืองบุญ และ “บาส” กานต์ณัฐ เสมอใจเลยนะเนี่ย
แต่ประเด็นตอนนี้ อาจจะอยู่ที่ว่า ผู้เล่นแต่ละคน อาจจะถูกบีบให้อยู่ในบทบาทที่ใหญ่กว่าที่ควรเป็นอยู่ ณ ขณะนี้ แต่ถ้าได้ปรับตัวให้เข้ากับบทบาทนี้อักซักปีหนึ่ง แบบ ที่ สลิงเกอร์ส ฟูมฟัก หว่อง เวย์ ลอง กับ เดสมอนด์ โอ…ก็อาจจะเป็นอะไรที่น่ากลัวมาก
ผลงานโดยรวม: D+
โมโน แวมไพร์ มีศักยภาพที่ซ่อนเร้น และ มีอะไรที่น่าติดตามมากมาย ดูได้จากตัวเลขสถิติ เป็นจุดๆ…แต่สถิติที่สำคัญที่สุดตอนนี้ คือ ผลแพ้/ชนะ ยังดูไม่ดีเท่าไหร่เลย การที่เก็บชัยชนะมาได้เพียง 2 ครั้ง (และเป็นชัยชนะเหนือ พิลิพินาส MX3 คิงส์ ทั้งสองเกม) มันดูไม่ค่อย เซ็กซี่เท่าไหร่
แต่ข่าวดีคือ…หลังจากนี้ มันก็มีแต่พัฒนา…ใช่ไหม?