ABL Recap x เคแอล ดรากอนส์ vs. โมโน แวมไพร์ : ถล่มทลาย

ครั้งสุดท้ายที่สองทีมนี้ เจอกันที่สนาม MABA มีแต่คนเก็งไว้ว่า ดรากอนส์จะชนะแบบถล่มทลาย แต่ มันกลับกลายเป็นเกมที่สูสีกว่าที่คิดไว้ และสู้กันจนหยดสุดท้ายเลยทีเดียว พอใกล้จะบรรจงครบเวลาที่จะเจอกันอีกครั้ง มันจึงเป็นการแข่งขันที่หลายๆ คนเฝ้ารอติดตามเลย

For English, read here.

แต่กลับกลายเป็นว่า การเจอกันรอบสอง ของคู่นี้ แป้กพอๆ กับ “Star Wars: The Phantom Menace” คือ เป็นภาคต่อที่มีคนรอคอยอย่างใจจดใจจ่อ…แต่กลับไม่สนุกเท่าที่คาดไว้แม้แต่น้อย


รายละเอียดการแข่งขัน (6/12/15)

ผลการแข่งขัน: เคแอล ดรากอนส์ 110 – โมโน แวมไพร์ 72

เทปบันทึกการแข่งขัน: https://www.youtube.com/watch?v=CSJhNejnm3M
สถิติการแข่งขัน: http://www.fibalivestats.com/u/abl/224994/


กลายเป็นเกมที่เหมือนกับดรากอนส์ต้องการเชือดไก่ให้ลิงดู ว่านี่ถิ่นใคร กับทั้ง ABL ในเกมนี้ และ อาจจะเหมือนกับปลดปล่อยความเครียดบ้าง หลังจากที่เล่นได้ไม่ค่อยดีในสองเกมก่อนหน้านี้เช่นกัน (ชนะ โมโน ฉิวเฉียด และ แพ้ ไซ่ง่อน ฮีต นอกบ้าน)

พวกเขาออกมาเล่นอย่างหิวกระหายชัยชนะ และ ก็ได้อิ่มหน่ำสำราญกับเกมนี้อย่างเต็มที่ จังหวะการฟาสเบรกทุกครั้ง ไม่มีการปล่อยให้หลุด ทำให้การทำแต้มเกิน 100 แต้มในครั้งนี้ เป็นไปได้อย่างง่ายดาย

สิ่งที่ชอบและไม่ชอบ

  • น้องใหม่ร้ายบริสุทธิ์
Photo Credit: Mono Vampire Basketball Club
Photo Credit: Mono Vampire Basketball Club

เพื่อไม่ให้บรรยากาศเศร้าหมองจนเกินไป เรามาเริ่มต้นกับสิ่งที่น่าคาดหวังกับ โมโน แวมไพร์ ซักหน่อย เกมนี้ ทีมบริหารของ โมโน แวมไพร์ ได้ปรับ ควินซี่ โอโคลี่ ให้ไปอยู่ในรายชื่อผู้เล่นบาดเจ็บ และได้เปลี่ยนเป็น พอล บูโตแรค ชั่วคราว

บูโตแรค เป็น พาวเวอร์ ฟอร์เวิ์รด ที่สูง 6’10” และมีความสามารถในการยิงพอสมควร ที่ผ่านมา เขาเล่นในประเทศ ญี่ปุ่นมา 7 ปี หลังจากที่เล่นที่มหาวิทยาลัย อีสเทิร์น วอชิงตัน ในเกมเปิดตัวใน ABL ครั้งนี้ เขาทำไป 11 แต้ม 8 รีบาวด์ และยิงลง 5 ครั้งจากการยิง 10 ครั้ง ไม่ใช่ตัวเลขที่แย่นัก แต่ก็ไม่ได้น่าประทับใจอะไร

แต่จะว่าไป เกมบุกของ โฒโน แวมไพร์ ก็ดูลื่นไหลมากขึ้น กว่าตอนที่ใช้ ควินซี่ โอโคลี่ (ที่ดูเหมือนจะหลงๆ ระบบ ในสนามตลอด) ในทางกลับกัน บูโตแรค ก็ไม่ได้ เป็นคนที่มีความสามารถในการข่มขู่ในเกมรับมากนัก ทำให้ดูเหมือนว่า ผู้เล่น ดรากอนส์ มีความกล้าที่จะข้ามเข้ามาวงในมากขึ้น

ตอนนี้ ก็เหลือแต่ว่า โมโน แวมไพร์ จะสร้างเครื่องประสานร่างกายของ คิว กับ พอล เพื่อให้สร้างสุดยอดผู้เล่น World Import ได้เมื่อไหร่ ก็จะถือว่า เสร็จสิ้น โครงการลับ “พอลลี่ โอโคแรค 1.0” อย่างสมบูรณ์ พร้อมออกไปครองโลกได้

  • มังกรร่ายรำ

การที่ โมโน ไม่มี โอโคลี่ ในเกมนี้ สร้างปรากฏหารณ์ อีกอย่างหนึ่ง คือ โมโน กลายเป็นว่า ขาดตัวป้องกันแบบบ้าคลั่งไปคนหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่การที่จะบอกว่า บูโตแรคไม่ใช่คนที่ป้องกันไม่ดี แต่ เรียกว่า ชื่นชมเกมรับของโอโคลี่มากกว่า ด้วยร่างกาย และ ความกระหายต่อลูกบาส ทำให้ โอโคลี่ ไม่ต่างกับ จิงโจ้ ที่โด๊บยา เวลาเล่นเกมรับแบบสวนกลับ
บางที มันก็ไม่ได้จบแต่โดยดี (ฟาวล์บ้าง โกล์เทนดิ้งบ้าง) แต่มันก็ทำให้ดรากอนส์ในเกมก่อนหน้านี้ กังวล ในจังหวะจะขึ้นเลย์อัพ พอสมควร

ในเกมนี้ ดรากอนส์ ขึ้นเลย์อัพ อย่างสบายบรื๋อ เห็นได้ชัดๆ เลย คือ มีหลายจังหวะที่แม้แต่ เรจจี้ จอห์นสัน นักบาสตุ้ยนุ้ย ขึ้นเป็นคนนำการสวนเกมเร็วด้วยตัวเองเลยด้วยซ้ำ!

ในตรงนี้ ก็ต้องความดีความชอบให้กับ ความ มุ่งมั่นที่จะโจมตี ของ เคแอลดรากอนส์ อีกทั้งต้องชี้ให้เห็นด้วยว่า โมโน แวมไพร์ ลงไปป้องกันช้าจริงๆ

  • ทำลายล้าง
Photo Credit: Norman Goh
Photo Credit: Norman Goh

ถไหนๆ ก็พูดถึง เรจจี้ จอห์นสัน และ การสวนกลับเร็วละ มาดูจังหวะนี้กันหน่อย:

จังหวะการทำลายห่วงครั้งนี้ เป็นจังหวะที่ รู้สึกได้ก่อนหน้าที่จะเกิดขึ้นว่า มันกำลังจะเกิดขึ้นแน่ๆ….แต่พอมันเกิดขึ้นๆ ก็ยังอดที่จะตะลึงอึ้งทึ่งเสียวไม่ได้ ตั้งแต่วินาทีที่ เรจจี้ รับลูกส่งยาวมาจาก แมทธิว ไรท์ และอยู่อย่างโดดเดี่ยวใกล้แป้น ก็รู้ได้ ว่า มันต้องมีอะไรซักอย่างเกิดขึ้นแน่ๆ และพอจังหวะที่ จอห์นสัน ขึ้นยัด และหักห่วงลงมา ก็ยังรู้สึกขนลุกในวินาทีการแสดงออกมาซึ่งความบ้าพลังอยู่ดี

ในโลก social media มีหลายๆ กระแสว่าด้วย มันเป็นเพียงจังหวะที่เกิดขึ้นจากนักกีฬาอ้วนๆ คนหนึ่ง ไปเกาะห่วงเก่าๆ อันหนึ่ง ซึ่งคนเหล่านี้ น่าจะเป็นคนประเภทเดียวกันกับคนที่นั่งกรอไฮไลท์การดั๊งสวยๆ กลับไปกลับมา เพียงเพื่อชี้ให้ทุกคนเห็นว่ามันเป็น ทราเวลลิ่ง ไวโอเลชั่น
คนพวกนี้ รังเกียจความสนุกสนานในชีวิตแน่ๆ

  • ผลพวง

นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น หลังจากที่มีการดั๊งห่วงพัง ที่ผมรู้สึกว่าต้องชี้ให้ทุกคนได้ทราบ:

คะแนนในจังหวะนั้น อยู่ที่ 98-55 และมีเวลาเหลือ 8:09 นาที ในควอเตอร์ที่ 4 สิ่งที่น่าลุ้นตอนนั้น คือ แล้วถ้าสนาม MABA ซ่อมห่วงไม่ได้ขึ้นมา…จะทำอย่างไรละ?
ทีมรายงานข่าวประจำมาเลเซียเลยไปสืบ และประกาศออกมาว่า ถ้าซ่อม หรือ หาห่วงสำรองมาไม่ได้ เกมนี้ จะถูกยกเลิกไปก่อน แล้วมาแข่งกันต่ออีกที
คงเป็นเหตุการณ์ที่แปลกดี หากว่า ต้องนัดให้ทีม โมโน แวมไพร์ บินมาจากเมืองไทยในภายหลัง เพียงเพื่อเล่นให้ครบอีก 8 นาทีของการแข่งขันที่ผลทิ้งห่างขนาดนี้แล้ว ก็เป็นเรื่องที่โชคดีว่า ไม่ต้องการยกเลิก หรือ เลื่อนการแข่งขันแต่อย่างใด แต่ก็คงนย่าสนใจดี หากว่า เรื่องราวมันดำเนินไปถึงจุดนั้นจริงๆ

แน่นอนว่า ทันทีที่มีการซ่อมห่วงเสร็จ เป็นธรรมดาที่คนอย่างผมจะคาดหวังให้ ดรากอนส์ รีบขึ้นบุกเพื่อขึ้นดั๊ง และ พังห่วงอีกรอบ แล้ว ไม่นานนัก แมทธิว ไรท์ ของ เคแอล ดรากอนส์ ก็มีจังหวะที่จะฟาสเบรกแบบหลุดเดี่ยว:

ไรท์ เหมือนจะพิจารณาในใจอยู่ ว่า จะดั๊งดีไหม แต่ท้ายสุดแล้วก็เปลี่ยนใจแล้ววางบอลลงห่วงไปนิ่ม…ทำให้ผมเสียใจพอสมควรเลย

สุดท้าย ผมอยากชี้ให้ทุกคนเห็นว่า ว่า เรจจี้ จอห์นสัน ปล่อยให้โค้ชของตัวเอง แอเรี่ยล แวนการ์เดีย วืดในการจับมือแสดงความดีใจ หลังจากที่ดั๊งทำลายห่วงไป

AVHanging

ช่างใจจืดใจดำจริงๆ

  • อุทแมน ซุปเปอร์แมน
Photo Credit: Mono Vampire Basketball Club
Photo Credit: Mono Vampire Basketball Club

สำหรับ แฟนพันธุ์แท้ของ โมโน แวมไพร์ คงไม่ได้ต้องบอกกันหรอก ว่า อุทแมน อัลมาบรู๊ค คือ ใคร
แต่สำหรับใครที่ไม่คุ้นชินกับบาสในประเทศไทย อาจจะมีจังหวะที่งงๆ อยู่บ้างว่าทำไม โมโน แวมไพร์ ถึงสามารถส่ง World Import ได้ 3 คน
หรือว่า นี่จะเป็น ASEAN Import คนใหม่ในตำนาน?!

ความจริงก็คือ อุทแมน เป็น คนไทยแท้ๆ อายุยังน้อย (23 ปี) ถึงแม้ว่าร่างกายจะผอมเพรียวไปนิด แต่เกมนี้ เขาก็เปิดตัวได้โอเค ถึงแม้ว่าจะลงในช่วงที่เกมขาดไปแล้วก็ตามที่ เขาทำไป 12 แต้มจากการยิงลง 6 ครั้งจากการยิง 8 ครั้ง

ก็รู้ ว่า การป้องกัน ของเคแอล ดรากอนส์ คงมีหลวมๆ บ้าง เพราะเกมขาด แต่ยังไง ก็อยากจะแสดงความดีใจกับการเปิดตัว ของ อุทแมน ในเกมนี้

  • น้อง เคย์เดน จอห์นสัน

NBA มี สเตฟ เคอรี่ กับ ไรลี่ เคอรี่
ABL มี เรจจี้ จอห์นสัน กับ เคย์เดน จอห์นสัน

kayden

เย็นไว้ น้องสาว ไว้พูดให้ได้ก่อน ค่อยเอาไมค์ไปนะ

  • แฟนพันธุ์แม้

ในเกมนี้ ผมได้เจอกับแฟนโมโน แวมไพร์คนหนึ่ง ที่ขับรถมาจาก จังหวัดตรัง ประเทศไทย เพื่อมาดูทีมโมโน แวมไพร์ แข่ง ที่เมือง กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ผมได้คุยกันหลังเกม (และต้องขออภัยที่จำชื่อไม่ได้จริงๆ) ได้พบว่า เขาเป็นเพื่อนกับ “แวน” ไพรัช เสกธีระ
ยังไงก็น่าเสียดายที่เขาต้องเดินทางมาไกลเพื่อดูเกมนี้…แต่ก็ ต้องแสดงความชื่นชมจริงๆ ครับ
แฟนพันธุ์บาสไทยแบบนี้ ถ้ามีมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งน่าดีใจมากเท่านั้นแหละ

Photo Credit: Mono Vampire Basketball Club
Photo Credit: Mono Vampire Basketball Club

ว่ากันด้วยตัวเลข

  • 110, 60.5%, 38

ตัวเลขสามตัวนี้ แสดงถึงพลังของ เคแอล ดรากอนส์ ในเกมนี้
110 คือ จำนวนแต้มที่ทำได้ ซึ่งเป็นจำนวนแต้มสูงสุดในการแข่งขัน ABL ในสองปีที่ผ่านมา จริงๆ ก็ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่จะเป็น เคแอล ดรากอนส์ที่ทำลายสถิตินี้ได้ เพราะ 5 อันดับการทำแต้มสูงสุดในสองปีที่ผ่านมา…ต่างก็เป็นของ เคแอล ดรากอนส์ทั้งนั้น (110 แต้ม เจอกับ โมโน แวมไพร์, 108 แต้ม เจอกับ ไซ่ง่อน ฮีต, 107 แต้ม เจอกับ MX3 พิลิพินาส คิงส์, 107 แต้ม เจอกับ ไฮเทค บางกอก ซิตี้, และ 106 แต้ม เจอกับ ลาสการ์ เดรย่า)

60.5% เป็นอัตราการยิงของเคแอล ดรากอนส์ในเกมนี้ ซึ่งเป็นอัตราการยิงที่สูงสุดเป็นอันดับสองใน ABL รอบสองปีที่ผ่านมา

38 คือผลแต้มต่างของเกมนี้ ซึ่งเป็นผลแต้มต่างที่สูงสุดเป็นอันดับสองในรอบสองปีที่ผ่านมา

ท่าทางจะเป็นอะไรที่ปกติธรรมดา สำหรับ เคแอล ดรากอนส์ แล้วแหละ

  • 0-17

ก่อนหน้านี้ ทีม โมโน แวมไพร์ เฉลี่ย ยิงสามแต้มลง 6.9 ครั้งต่อเกม ในเกมนี้ กลับยิงไม่ลงเลยซักลูก
นอกจากนี้ ยังเฉลี่ย ยิงสามแต้ม 24 ครั้งต่อเกม แต่ในเกมนี้ ยิงออกไปเพียง 17 ครั้งเท่านั้น
ต้องยกนิ้วส่วนหนึ่งให้กับแผนเกมรับของ เคแอล ดรากอนส์ เลย

ความประทับใจหลังเกม

เกมที่ โมโน แวมไพร์ พ่ายให้กับ ไฮเทค ก่อนเกมนี้ เหมือนว่าจะเป็นจุดสิ้นสุดของช่วง ฮันนี่มูนของ โมโน แวมไพร์ ใน ABL มันเป็นเกมแรกที่แพ้ด้วยแต้มต่างตัวเลข 2 หลัก และการที่จะเจอกับการพ่ายแพ้ต่อเคแอล ดรากอนส์ แบบนี้ในเกมถัดมาทันที คงเป็นอะไรที่ชอกช้ำใจไม่ใช่น้อย
ส่วนหนึ่ง ก็เข้าใจว่า เป็นเกมแรกที่ พอล บูโตแรค ลงเล่น แต่สถานการณ์ หลังจากนั้น ก็ไม่ได้ดีขึ้นมาเท่าไหร่เลย ในเกมต่อจากเกมนี้ พวกเขาสามารถชนะ MX3 พิลิพินาส คิงส์ได้ แต่ทุกๆ อย่างก็ดูเหมือนจะรูดตกลงมาเรื่อยๆ
ก็หวังแต่ว่า ปีหน้าจะเริ่มต้นออกมาได้ดีกว่านี้

ดรากอนส์ กลับมาได้อย่างสง่าผ่าเผย และ เกมนี้คงมีส่วนช่วยให้กำลังใจทีมมากพอที่จะเอาชนะเหนือ ไฮเทค บางกอก ซิตี้ ได้ในเกมถัดมา ถึงแม้ว่า ท้ายสุด พกวเขาจะไม่สามารถส่งท้ายปีเก่าด้วยชัยชนะได้ ด้วยการแพ้สิงคโปร์ สลิงเกอร์ส คาบ้าน แต่ก็ค่อนข้างจะชัดเจนแล้วแหละ ว่าทีมนี้ มีแววเต็งแชมป์ทีมหนึ่งแน่นอน


ในปี 2016 ดรากอนส์ จะเปิดตัวด้วยการเจอกับ ไซ่ง่อน ฮีต ในวันที่ 9 มกราคม โดยจะเป็นครั้งแรกที่สองทีมนี้ เจอกันที่สนาม MABA หลังจากที่สองทีมนี้ ซัดกันอย่างเมามัน ที่สนาม CIS Arena ในสองเกมแรก ถึงแม้ว่า ฮีต จะสามารถชนะ ดรากอนส์ มาได้แล้วเกมหนึ่งก็จริง…แต่ ฮีต ก็ยังไม่สามารถเอาชนะ ดรากอนส์ ในบ้านได้เลย อย่างน้อยๆ ก็ในสามครั้งล่าสุดที่ผ่านมา

โมโน แวมไพร์ จะเปิดศักราชปี 2016 แบบตึงมือนิดๆ ด้วยการออกไปเยือนสนาม OCBC Arena เพื่อเจอกับสิงคโปร์ สลิงเกอร์ส ทั้งสองทีม ต่างก็เน้นการเล่นนอกบ้านมาตลอดช่วงครึ่งฤดูกาลแรก แต่ผลงานกลับต่างกันคนละทิศคนละทางเลย ที่ผ่านมา สลิงเกอร์ส แสดงให้เห็นว่า การที่จะชนะพวกเขา ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย และยิ่งได้มาเล่นในบ้าน…มันยิ่งไม่ใช่งานที่จะทำส่งแบบลวกๆ แน่นอน คราวที่แล้ว โมโน แวมไพร์ มาเล่นที่ OCBC Arena ก็ทำเอาหวาดเสียวนิดๆ แต่ สลิงเกอร์ส ก็ยังเอาชนะได้อยู่ดี
สลิงเกอร์สสามารถเอาชนะได้ทั้ง ไฮเทค และ ดรากอนส์ คาบ้านมาแล้ว ในขณะที่ชัยชนะของโมโน ตอนนี้ มีแต่กับเกมที่เจอ MX3 พิลิพินาส คิงส์เท่านั้น สองทีมนี้ จะเจอกันวันที่ 3 มกราคม เป็นเกมแรกของ ABL ในปี 2016


Feature Picture Credit: Mono Vampire Basketball Club

 

Advertisement

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.