สิ่งที่ผมมีอยู่ในหัวก่อนที่จะเริ่มเกมนี้คือ โมโน แวมไพร์ เป็นทีมที่ดี แต่ก็ไม่น่าจะดีมากพอที่จะเอาชนะ เคแอล ดรากอนส์ได้ตอนนี้ และถึงแม้ว่า โดยหลักการแล้ว สิ่งที่ผมกล่าวมา จะถูกต้อง…แต่โมโน แวมไพร์ ก็มีความใกล้เคียงที่จะล้มมังกร มากกว่าที่ผมคิดไว้มากเลยแหละ
For English, read here.
94 แต้ม และ กดดันให้เสียเทิร์นโอเวอร์ 20 ครั้ง นั้นคือตัวเลขที่ เคแอล ดรากอนส์ ทำเฉลี่ยไว้ ก่อนที่จะแข่งเกมนี้ นั่นคือสิ่งที่ โฒโน แวมไพร์ไปเผชิญมา ถึงแม้ว่าตอนจบเกม ดรากอนส์ จะเป็นทีมที่กุมชัยออกมาได้ แต่ ก็ทำแต้มได้เพียง 68 แต้ม และ บีบให้เสียบอลได้แค่ 11 ครั้ง แสดงออกมาให้เห็นว่า พวกเขาไม่ได้เล่นตามรูปเกมของตัวเองเท่าไหร่
รายละเอียดการแข่งขัน
ผลการแข่งขัน: เคแอล ดรากอนส์ 68 – โมโน แวมไพร์ 64
เทปการแข่งขัน: https://www.youtube.com/watch?v=5_C-M9KqZhQ
สถิติ: http://www.fibalivestats.com/u/abl/224987
ทั้งสองทีมออกตัวอย่างอึดอัดและเชื่องช้า ซึ่งก็ค่อนข้างจะชี้นำว่าเกมจะเข้าทาง โฒโฯ แวมไพร์ พอสมควร ด้วยความที่เป็นทีมที่ออกตัวช้ามาตลอด ผ่านไป 7 นาที แต้มก็ยังค้างกันอยู่ที่ 9-7 โดยฝ่ายเจ้าบ้านนำ และ แมทธิว ไรท์ ก็ทำได้ไม่ค่อยดี ยิงลงเพียง 1 ลูกจากการยิง 7 ครั้ง

แต่ช่วงท้ายควอเตอร์ ดรากอนส์ ก็เร่งเกมรุกขึ้นมาได้ด้วยการบุกสวนกลับเร็วตามที่ถนัด ทำให้จบควอเตอร์ด้วยแต้ม 18-9 ได้ ถึงแม้ว่าจะมีช่วงที่หวาดเสียวจากจังหวะที่ แคลวิน ก็อดเฟรย์ ปะทะ กับ เรจจี้ จอห์นสัน กลางอากาศ ทำให้ฝ่าย ก็อดเฟรย์ ต้องไปพักข้างนอกสนาม การที่ขาดก็อดเฟรย์ไป ทำให้เห็นว่า เขาสำคัญมากแค่ไหนสำหรับทีมนี้ ในเกมนี้
ในควอเตอร์ที่ สอง ดรากอนส์ ก็ยังแรงไม่หยุก และผลต่างแต้มก็เพิ่มขึ้นเป็น 16 แต้ม ซึ่งเป็นผลต่างที่มากที่สุดในเกมนี้ โดยการรันแต้มนี้เริ่มจากการที่ เรจจี้ จอห์นสัน โชว์สเต็บขาใต้แป้น ซัดไป 6 แต้มรัวๆ และได้แต้มเพิ่มมาอีก จากการที่ โฒโน แวมไพร์ตัดสินใจใช้ โซน 2-3 ที่เป็นการเน้นการเจาะวงใน เพราะเหตุนี้ ทำให้ ดรากอนส์ สามารถกระหน่ำสามแต้มรัวๆ ใส่ได้ โดยเก็บไปทั้งหมด 4 เม็ด ในควอเตอร์นี้
แต่ โมโน แวมไพร์ ก็ไม่ยอมหายไปง่ายๆ หลังจากที่ แคลวิน ก็อดเฟรย์ โดนเป่าฟาวล์ครั้งที่ 3 โดยมีเวลาเหลือ 2:35 นาที แผงการป้องกันของ เคแอล ดรากอนส์ ก็โล่งขึ้น ทำให้ โมโน แวมไพร์ อาศัยพื้นที่ว่างในการทำแต้ม ไล่ขึ้นมาจากตาม 15 แต้ม เหลือ เพียง 9 แต้ม “ปาล์ม” ดรงค์พันธ์ อภิรมย์วิไลชัย เป็นตัวแปรสำคัญ (อะแฮ่ม) ในควอเตอร์นี้ โดยทำไป 14 และยิงไม่พลาดแม้แต่ครั้งเดียว

หลังจากเริ่มครึ่งหลัง โมโน แวมไพร์ ก็ยังร้อนแรงไม่หยุด และ เคแอล ดรากอนส์ ก็ไม่มีอะไรจะตอบโต้
ถ้าจะให้พูดตรงๆ คือ มันกลายเป็น โชว์จอง กานต์ณัฐ เสมอใจ และ ควินซี่ โอโคลี่ นั่นเอง

“บาส” กานต์ณัฐ ยิงลูกสามแต้มไป 1 ลูกในช่วงต้นเกม แต่ก็เพิ่งมาฉายรังสิความโหดเอาก็ตอนควอเตอร์สาม ตลอดเวลาที่ผ่านมา กานต์ณัฐ เป็นคนที่เล่นหวือหวามาตลอด และในเกมนี้ก็มีการเลี้ยงครอสโอเวอร์หลายครั้ง รวมถึงลูกจากไขว้หลังแบบไม่มอง ให้โอโคลี่ ยัดลงไปโล่งๆ (แต่ไม่มีเทปให้ดู เพราะเทปการแข่งขันรวนในช่วงนี้) นอกจากนี้ก็ยังยิงสามแต้มลูกสำคัญๆ อีกสองลูก ตลอดเวลาที่ผ่านมา โอโคลี่ยังไม่ค่อยเป็นตัวเลือกที่น่าไว้ใจในเกมรุกของแวมไพร์ แต่ในเกมนี้ ก็มีฉายแววสำหรับการยิงแบบโพสต์มูฟ สองครั้ง
สองคนนี้ ทำรวมกันไป 15 แต้ม และเป็นแกนหลักของการถล่ม เคแอล ดรากอนส์ ในควอเตอร์ที่สาทมไป 21-10 คะแนน ทำให้ โมโน แวมไพร์ ขึ้นนำ 2 แต้มตอนจบ ควอเตอร์ที่ 3
พอมาถึงจุดนี้ ก็มีเพื่อนที่นั่งโต๊ะสื่อด้วยกันหันมาสะกิดผมว่า “เฮ้ย แม่งอาจจะเป็นไปได้ละวะ” โดยเขาหมายถึง โอกาสที่ โมโน แวมไพร์ จะพลิกล็อกในเกมนี้ และ ณ เวลานั้น ผมก็มีความคิดเหมือนกัน การป้องกันของ โมโน แวมไพร์ (โซน 2-3 ที่จะกล่าวถึงในส่วนถัดมา) สามารถที่จะชะลอการบุกของ ไรท์ และ บริกแมน อีกทั้งยังสามารถชิงความได้เปรียบจากการที่ แคลวิน ก็อดเฟรย์ ทำฟาวล์ ครั้งที่ 4 ได้อีกด้วย
ทุกๆ อย่างมันดูเป็นใจซะเหลือเกิน
จากนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นใน ควอเตอร์สุดท้าย มันเป็นอะไรที่คุณต้องติดตามสดๆ ถึงจะอินกับมันได้ จริงอยู่ ว่าแต้มที่ทั้งสองทีมทำรวมกัน อาจจะมีแค่ 29 คะแนน แต่เหล่าแฟนๆ ก็ไม่น่าจะได้หายใจกันอย่างทั่วท้องแน่ๆ
ทั้งสองทีมผลัดกันทำแต้ม ก่อนที่จะเกิดโค้งสำคัญ ที่ถือว่าเป็นช่วงชี้ชะตาของเกม
เวลาเหลือ 2 นาที โมโน แวมไพร์ ได้บอล และ นำอยู่ 2 แต้ม
มันคือช่วงเวลาเหมาะสมที่สุดแล้ว ที่จะตะปบทำแต้มปลิดชีพมังกร
แต่แล้ว ดรงค์พันธ์ ก็เจอ ตะปบ เข้าจัง โดย หว่อง ยี่ ฮาว ปีกของ ดรากอนส์ พุ่งเข้าตะปบหาลูกบาก…และขโมยลูกไปได้
เจสัน บริก แมน และ แคลวิน ก็อดเฟรย์ออกวิ่งสวนกลับเร็ว และ บริกแมนจ่ายให้ ก็อดเฟรย์ขึ้ยเตรียม ดั๊ง…แต่ก็โดน “สิงห์” ชนะชนม์ กล้าหาญ ฟาวล์ได้เสียก่อน…และก็ถูกเป่าเป็น อันสปอร์ตส์แมนไลค์ ฟาวล์
มาตีแผ่สองเหตุการณ์ที่สำคัญมากๆ นี้กันดีกว่า เริ่มจากการขโมยบอล ของ หว่อง ยี่ ฮาว จากมุมมองของผมในวินาทีนั้น คือ มันเป็นฟาวล์แน่ๆ แต่ ดรงค์พันธ์ อาจจะพยายามดึงความสนใจกรรมการมากเกินไปหน่อย นี่ก็ผ่านมาแล้วเป็นเกมที่ 5 และ กรรมการก็เริ่มมีความคุ้นเคยกับนักกีฬามาพอสมควรแล้ว ดรงค์พันธ์ เป็นคนหนึ่ง ที่เป็นที่รู้จักกันว่ามีทักษะการ “แสดง” เก่งเพื่อเรียกฟาวล์ แต่สำหรับครั้งนี้ กรรกมารไม่ยอมเป่าให้
ถามว่าถูกไหมที่ไม่เป่า? ถ้าเอาความเห็นส่วนตัวล้วนๆ คือ ควรจะเป่าฟาวล์นะ แต่ก็เข้าใจเหมือนกัน ว่าทำไม กรรมการถึงไม่เป่า
มาดูกันกับจังหวะที่สอง คือ จังหวะที่ ชนะชนม์ ปะทะ กับ ก็อดเฟรย์ ปัญหาตรงจุดนี้ ไม่ใช่ว่าเป็นกาวล์หรือไม่ เพราะมันคือฟาวล์แน่ๆ แต่มันเป็น อันสปอร์ตส์แมนไลค์ฟาวล์หรือไม่ คือ คำถามที่สำคัญมากกว่า
ถ้าวัดจากสายตาอย่างเดียว ก็เป็นการฟาวล์ที่ตรงไปตรงมาดี
ยังไงซะ ในสถานการณ์แบบนั้น ชนะชนม์ ก็ต้องทำฟาวล์อยู่แล้ว ใครจะยอมให้ยัดง่ายๆ ใส่ และนั่นคือความเห็นของผม ชนะชนม์เพียงแต่ทำสิ่งที่ต้องทำ ไม่มีอะไรมากกว่านั้น
แต่ถ้าจะว่ากันตามกฏที่บัญญัติไว้ การฟาวล์แบบ อันสปอร์ตส์แมนไลค์ จะเรียกได้ต่อเมื่อ
• มีการปะทะกันแบบไม่ได้มีเป้าหมายจะหาบอล และเป็นเจตนาที่ไม่ตั้งใจจะเล่นตามกฏ
• การปะทะเข้าหาลูกบอลที่มีการใช้ความรุนแรง ที่มากเกินความจำเป็น
ผมคิดว่า ชนะชนม์ มีเป้าหมายจะเข้าหาบอลอยู่แล้ว แต่ ปัญหาคือ การที่คนสูง 6’3″ เข้าหาคนที่สูง 6’8″ ที่กระโดดสูงกว่า…ก็คงไม่แปลกที่การปะทะจะไม่โดนบอล สิ่งที่กรรมการมองเห็นว่าเป็นการเหวี่ยงสองแขนเข้าหาก็อดเฟรย์ อาจจะเข้าข่าย “การใช้ความรุนแรงที่เกินความจำเป็น
ถ้าถามอีกครั้งว่า แล้วนี่คือผลการตัดสินที่ถูกต้องหรือไม่ ตามความเห็น ผมว่าพลาดทั้งคู่ แต่ก็เข้าใจเหมือนกันว่า ทำไมถึงเป่า
จากนั้น ก็อดเฟรย์ ยิงลูกโทษลงเพียงลูกเดียว อีกทั้งยังโดน บล็อกอีกหลังจากที่เปิดบอล แต่การเป่าที่ผิดพบลาดในจังหวะนี้ ทำเอา โมโน แวมไพร์ เปลี่ยนไป และพลาดในการครองบอลครั้งต่อมา ก็เลยโดน แมทธิว ไรท์ สวยกลับด้วยลูกยิงหยอดๆ ที่พลิกเกมขึ้นมาได้ และทำให้ดรากอนส์ นำจนจบเกม
แวมไพร์จะบุกกลับมามือเปล่าอีกครั้ง และ ดรากอนส์ ก็ทิ้งทวงคนั้งสุดท้าย
เจสัน บริกแมน ทำล้าย โซน 2-3 ลงไปได้ในที่สุด หลังจากที่จัดการอยู่นาน โดยเข้าเห็น ไรท์ถูกปิดในมุมสนาม บริกแมนก็เลยจ่ายข้ามฟากไปอีกด้านที่มี เคว็ก เทียน ยวน และก็เป็น เคสว็กที่ ยิงสามแต้มลงครั้งแรกในเกมนี้ จากการยิงสามครั้ง
ลูกนี้ ดับฝันของ โมโน แวมไพร์ ไปจนแตกสลาย และผลเกมก็จบลงที่ 68-64
8;k,xitmy[.0s]y’gd,
ชนะ 0 – แพ้ 5 แลดูเป็นสถิติที่โหดร้ายสำหรับทีมที่เล่นมาอย่างสุดหัวใจตลอด 5 ที่ผ่านมา โดยแต้มต่างไม่เกิน 6 แต้ม พวกเขาเล่นกันดีมากๆ และถ้าไม่เชื่อคนอย่างผม อย่างน้อยก็น่าจะเชื่อคนอย่าง โค้ช แอเรี่ยล แวนการ์เดีย ได้ ตอนนี้ประเด็นว่า “พวกเขาจะเล่นได้รึเปล่า” ตกลงไป แต่สิ่งที่เริ่มคิดกลับกลายเป็นความเสียดายที่คิดว่า โมโน แวมไพร์ จะ ชนะต่อไป หรือ ใครจะมาหลุดสถิติได้
เคแอล ดรากอนส์ อาจจะหลุดลอยนวลจากเกมนี้ แต่พวกเขาก็ได้ถูกแฉออกมาแล้วว่า เกมของ เคแอล ดราหกอนส์ขาดอะไรเ้บาง อีกอย่างที่น่าจับตาคือ ผลงานการเล่นของตัวท้องถิ่นของ เคแอล ดรากอนส์
ในขณะที่ ไฮเทค (สุขเดฟ โคเคอร์) สิงคโปร์ สลิงเกอร์ (เดลวิน โกฮ์) อละ โมโน แวมไพร์ (ชัยวัฒน์ แกดำ) ต่างก็มีตัววงในที่พอฟัดพอเหวีย่งกับตัวอิมพอร์ตได้บ้าง
เคแอล ดรากอนส์ ยังลาหลังประัเทศอื่นตรงนี้อยู่
สิ่งที่ชอบและไม่ชอบ
- สาม ตามหลัง สอง
ส่วนตัวแล้ว ผมเกลียด การป้องกันแบบ โซน 2-3 เพราะว่ามันเป็นการป้องกันเวลาเล่นกันโดยทั่วไป โดยมีเหตุผลว่า “มันไม่เหนื่อย” ซึ่งจริงๆ แล้ว ที่มันไม่เหนื่อย…เพราะว่า มันป้องกันกันไม่ถูก!!! แต่เรื่องราวนี้ ไว้เล่ากันวันหลัง
เรื่องราวที่สำคัญในเกมนี้ คือ โมโน แวมไพร์ ได้ใช้โซน 2-3 เข้าบวกกับ เคแอล ดรากอนส์ และมันก็ทำให้เขาเกือบชนะได้
เรื่องราวอาจจะสวยหรูกว่านี้ ถ้าไม่ไปเสียสามแต้ม 4 ลูก ตอนควอเตอร์ที่ 2 แต่เล่นไปเรื่อยๆ แล้ว การป้องกัน โซน ของ แวมไพร์ ก็ดีขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน
รูปแบบก็คงคล้ายๆ กับ โซน 2-3 มหาวิทยาลัย ซีราคิวส์ โดยผู้เล่นแถวล่างด้านข้างสองคนกระจายออกไปกว้างกว่าปกติ
เมื่อบอลเคลื่อนเข้าพื้นที่ใต้แป้นแล้ว (ไม่ว่าจะจากการจ่ายหรือการข้าม) ตัวล่างของโซนก็จะหุบเข้าหาบอล ทำให้ตัวปีกที่มุมเกิด “ว่าง” ขึ้นมา
โดยส่วนมากแล้ว บอลก็จะถูกจ่ายออกไปที่มุม แล้ว ปีกตัวบนก็จะเข้ามาตะครุปเอาบอลไป
อย่างแย่ที่สุด บอลก็จะถูกส่งออกไปที่หัวโซน และก็เริ่มต้นการบุกใหม่อีกครั้ง ดูตลอดทั้งเกมแล้วก็รู้สึกว่า ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นอะไรที่ผ่านการซ้อมมาแล้ว และมันก็เกือบจะประสบความสำเร็จแล้ว…หากไม่โดยลูกสามแต้มลูกสุดท้าย
- ความสัมพันธ์ฉันท์พินอย

สิ่งหนึ่งที่อาจจะถูกมองข้ามไป คือ การป้องกันของ โมโน แวมไพร์ที่ ชะลอ การประสานงานของ เจสัน บริกแมน และ แมทธิว ไรท์ อย่างที่กล่าวข้างต้น การป้องกันโซน 2-3 เป็นการป้องกันที่ตัดช่องทางการจ่ายบอลจากข้างในออกสู่ข้างนอก และ หลายๆ ครั้งที่การจ่ายบอลแบบนั้น คือ การจ่ายบอลจาก เจสัน บริกแมน ไปหา แมทธิว ไรท์ ถ้าเคยดูการแข่งขันของเคแอล ดรากอนส์ จริงๆ ก็จะเห็นได้เลยว่า บริกแมน แทบจะรู้ตลอดเวลาว่า ไรท์ อยู่ที่ไหน และ พร้อมจะจ่ายบอลให้ทำแต้ม
จากการทำแอสสิสต์ของ บริกแมน 47 ครั้ง มี 16 ครั้งที่จ่ายให้กับ ไรท์ (38.0%)
จากการยิงลง 42 ครั้งของไรท์ มี 16 ครั้งที่เป็นการแอสสิสค์ จาก บริกแมน (39.1%)
ในเกมนี้ แวมไพร์ ป้องกันให้การทำแต้มจากสาย บริกแมน-ไรท์ เกิดขึ้นเพียง 2 ครั้งเท่านั้น และก็คงไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แน่ๆ ที่เกมเดียวที่ ดรากอนส์ แพ้ในปีนี้ (ให้กับสิงคโปร์ สลิงเกอร์ส) พวกเขาจะทำแต้มจากสาย บริกแมน-ไรท์ ได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น
อาจจะไม่ใช่สูตรสำเร็จ แต่ดูเหมือนว่า ถ้าหยุดการจ่ายบอลของ บริกแมน ไปให้ ไรท์ ได้ โอกาสที่จะชนะ ดรากอนส์ ก็น่าจะดีขึ้นตามลำดับ
- โอโคลี่ เจ้าใช่สายยิงซะทีไหนเล่า

สิ่งหนึ่งที่ผมไม่เข้าใจเกี่ยวกับ ควินซี่ โอโคลี่ ในเกมนี้ คือ การกระหน่ำยิงลูกยิงระยะกลางของอิมพอร์ตทรงผมสุดแนวคนนี้ ทุกคนรู้ว่า เขาไม่ถนัดในการยิงระยะนี้ และ ทุกคนเกรงกลัวในการรับบอลแล้วเคาะ 1 ทีเพื่อเข้าดั๊ง แม้กระทั่งการโพสต์อัพ ก็ยังพอถูไถเลย แต่แล้ว กว่าครึ่งในการยิงของเขาในเกมนี้ มาจากการยิงระยะกลาง
คิวเอ๋ย จงทำตามสิ่งที่เจ้าถนัดเถิด
ดรากอนส์ จะเจอกับ ไซ่ง่อน ฮีต อีกรอบในวันที่ 28 พฤศจิกายน ในการพบกันอีกครั้งของคู่หยุดโลก ที่สนาม CIS Arena มาดูกันดีกว่า ว่า ดรากอนส์ จะถูกแบไต๋มากเกินไปในเกมนี้ หรือ ไม่ หรือว่า ดรากอนส์ จุดอุดรู่โหว่ได้สำเร็จทันเวลา
โมโน แวมไพร์ จะพยายามคว้าชัยชนะมาให้ได้อีกครั้ง โดยวนมาเจอทีมจากฟิลิปปินส์ อีกรอบ เนื่องจากเจอกับทีมใน ABL มาครบ 5 ทีมแล้ว ในรอบที่แล้ว พิลิพินาส คิงส์ ชนะไป 1 แต้ม แต่ในคราวนี้ คงมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปไม่ใช่น้อย อาจจะได้ผลการแข่งขันที่ต่างออกจากเดิม
Feature Picture Credit: Mono Vampire Basketball Club