ในภาษากีฬา ฮอกกี้น้ำแข็ง มักจะมีผู้เล่นที่เรียกว่า เอนฟอร์เซอร์ ที่เป็นที่รู้จักกันในเรื่องการเล่นที่หนักหน่วง และค่อนข้างเป็นที่ครหา แต่ถึงแม้มันจะเป็นศัพท์ที่ใช้กันในวงการฮอกกี้น้ำแข็งเป็นหลัก แต่มันก็มีข้ามสายมาทาง บาสเกตบอลเช่นกัน
For English, read here.
ไม่ใช่ว่าทุกๆ ทีมจะต้องมี เอนฟอร์เซอร์ เพราะแต่ละทีมสามารถที่จะเล่นได้ และประสบความสำเร็จได้โดยไม่มีนักกีฬาประเภทนี้ แต่ก็ต้องยอบรับว่า ถ้ามีในจังหวะที่จำเป็นจะต้องใช้ มันก็ค่อนข้างจะได้เปรียบเลย
รายละเอียดการแข่งขัน
ผลการแข่งขัน: ไฮเทค บางกอก ซิตี้ 88 – ไซ่ง่อน ฮีต 71
เทปการแข่งขัน: https://www.youtube.com/watch?v=8vmvikLIceI
สถิติ: http://www.fibalivestats.com/u/abl/224986/
ไฮเทคเริ่มต้นเกมนี้อย่างร้อนแรงและรวดเร็ว แทบจะไม่ถึง 4 นาที ไอ้ตัวจี๊ด เฟรดดี้ โกล์ดสตีน ก็ฟื้นคืนชีพมาจากสภาพการยิงสุดบู่ ยิง 8 ลง 0 ที่ ซาน ฮวน ไปได้
และเพราะว่าเป็นตัวจี๊ดอย่าง โกล์ดสตีน เขาก็ต้องฟื้นคืนชีพอย่างมีสตายล์ซักหน่อย หลังจากนั้น ภายในระยะเวลาเพียง 2 นาที โกล์ดสตีนก็เอานิ้วลั่นไก แล้วก็กดค้างเอาไว้ สาดสามแต้มไป 4 ลูก และยิงลงไป 3 ลูก ทำให้ทีมนำออกไป 12 แต้ม ซึ่งผลต่างแต้มนี้ ก็จะคงอยู่จนจบควอเตอร์
ไซง่อน ฮีต เองก็ไฟลุกโชติช่วง หลักจากที่ออกมาสู้ศึกในควอเตอร์ที่ สอง โดยเฉพาะ โมเสส มอร์แกน เขาอาศัยจุดเด่นของเขาโดยการใช้ร่างกายเข้าแลกกับฟาวล์ (ซึ่งเขาจะจบเกมไปโดยยิงลูกโทษ 11 ครั้ง ลง 9 ครั้ง) ซึ่งตรงนี้ เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันให้ ฮีต ออกตัวรันแต้ม 19-6 จนขึ้นนำไปได้เป็นครั้งแรกหลังจากที่ทำแต้มแรกไป โมเสส มอร์แกน กำลังเข้าฝัก หลังจากที่ทำแต้ม 6 แต้มติดต่อกัน จากการทำแต้มแบบ ได้ฟาวล์ และ ยิงลง ต่อ้วยลูกยิงสามแต้มเน้นๆ
แน่นอนว่า หลังจากนั้น ลูกสามแต้มสวนกลับของ “หรั่ง” ณกรณ์ ใจสนุก อาจจะทำให้ไซ่ง่อน ฮีต ผ่อนไฟลงมาได้บ้าง แต่สิ่งที่ผมรู้สึกว่าเป็นจุดเปลี่ยนจังหวะของไซ่ง่อน ฮีตให้เป๋ไปเลย คือ การเปิดตัว “เอนฟอร์เซอร์” ของ ไฮเทค บางกอก ซิตี้
พี่น้องทุกท่าน กล่าวสวัสดี ปิยพงษ์ พิรุณ กันได้เลย
ในเกมที่เจอกับ โมโน แวมไพร์ เขาก็เป็นตัวแปรสำคัญด้วยลูกยิงสามแต้มปลิดชีพ และเขาก็จะมีบทบาทที่สำคัญในเกมนี้อีกเช่นเคย แต่ด้วยคนละบทบาทโดยสิ้นเชิง
หลังจากที่พัวผันกับ โมเสส มอร์แกน หลังจากที่มีการเก็บรีบาวด์ฝ่ายรุก ปิยพงษ์ ตัดสินใจที่จะ “ผลัก” โมเสส ออกไปนอกสนาม และ โมเสส ด้วยความที่เป็นคนไม่ยอมใคร ก็รีบลุกขึ้นมาตอบโต้โดยทันควัน เหมือนมีอะไรจะพูดกับ ปิยพงษ์ (ต้องเป็นเรื่องดีๆ น่ารักๆ แน่ๆ!!!) และด้วยความเก๋าขั้นเทพ ปิยพงษ์ ก็ดีดตัวออกทันทีที่ โมเสส เข้ามาในระยะที่ใกล้เกินควร

หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ก็เห็นได้ชัดเลยว่า โมเสส และ ทีม ฮีต ทั้งทีมค่อนข้างจะหัวเสียอย่างชัดเจน และ ปล่อยให้แต้มทิ้งห่างออกไปเรื่อยๆ ทีละนิด
สิ่งที่น่าสนใจคือ ในเหตุการณ์พัวพันร่างกายจังหวะอื่นๆ ในเกมนี้ (มีอีกไม่ใช่น้อย) คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องหลักๆ ก็จะเป็น ปิยพงษ์ และ สุขเดฟ โคเคอร์ จาก ไฮเทค และ วิลล์ ครีกมอร์ ของ ไซ่ง่อน ฮีต
มองแล้ว เป็นไปได้ว่า อาจจะเป็นการวางแผนแบบเก๋าเกม ที่เอาผู้เล่นที่มีบทบาทน้อยกว่า (ในที่นี่ หมายถึง ตัวผู้เล่นท้องถิ่น) เพื่อเข้าแลกกับกับการทำให้ผู้เล่นหลักของฝ่ายตรงข้ามหัวเสีย (ครีกมอร์)
หรือบางทีแล้ว ฮีต อาจจะซวยเอง และวันนี้ ปิยพงษ์ แค่อารมณ์เสียมาจากไหนก็ไม่รู้
แต่ผลลัพธ์ท้ายที่สุด คือ มันทำให้ ไฮเทคเล่นง่ายขึ้น
ผมขอออกตัวก่อนว่าไม่ได้ส่งเสริมให้มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นในสนาม (อีกทั้งยังต่อต้านด้วยซ้ำ เพราะ รู้ว่า ถ้าตัวเองต้องเจอแบบนี้ในสนามก็คงหงุดหงิดมาก) แต่มันก็เป็นแทคติกของเกม และมีคณะกรรมการอยู่แล้ว ที่พิจารณาเรื่องพวกนี้ เพื่อให้การเล่นมีการพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ
โค้ช โทนี่ การ์เบลอตโต้ ของ ไซ่ง่อน ฮีต ที่เป็นคนออกท่าทางออกอารมณ์อยู่แล้วข้างสนาม ต้องสมยอมให้กับความหงุดหงิดทั้งหลายเหล่านี้ และก็เสีย เทคนิคัล ฟาวล์ สองครั้งติดต่อกัน จนต้องโดนไล่ออกจากสนามในควอเตอร์ที่ 4
ถ้าตอนนั้น ฮีต ยังมีความหวังเพียงเล็กน้อยที่จะพลิกกลับมาได้ทัน มันแทบจะดับหายไปอย่างหมดสิ้นก็ตอนที่ โค้ชกลายเป็นเพียงผู้ชมข้ามสนามหน้าห้องน้ำไป
ไฮเทคก็ชนะไปอย่างง่ายด้วย ด้วยคะแนน 88-71
ความประทับใจหลังเกม
ผลการแข่งขันในเกมนี้ดุทิ้งห่าง จนอาจจะไม่เห็นภาพว่าจริงๆ แล้ว ไฮเทค ก็หืดจับอยู่พอสมควร แต่ก็ดิ้นออกมาได้ เหมือนที่ดิ้นหนี สิงคโปร์ สลิงเกอร์ส และ โมโน แวมไพร์ ไซ่ง่อน ฮีต แสดงออกมาให้เห็นว่า พวกเขาสามารถที่จะเล่นได้อย่างสูสีกับไฮเทค แต่เจอลูกเก๋า และ ความนิ่งของไฮเทค จนโดนทำแต้มทิ้งห่างออกไป
มาดูแล้ว ถ้าไซ่ง่อน มีการ์ดจ่ายนิ่งๆ ซักคน ที่จะคอยบังคับคอยควบคุม ให้ เลนนี่ แดเนี่ยล, วิลล์ ครีกมอร์, และ โมเสส มอร์แกน อารมณ์คงที่ทั้งเกมได้ ไฮเทคอาจจะดิ้นได้ยากหน่อย ตอนนี้ เดวิด อาร์โนล์ด ก็ทำสุดกำลังแล้วในฐานะการ์ดจ่ายจำเป็น แต่เราก็ยังเห็นความอึดอัดของเขาในการรับสองบทบาท เขาเริ่มต้นเกมออกมาพร้อมจะทำแต้ม โดยทำออกไป 6 แต้ม แต่หลังจากนั้น เขาก็ค่อนข้างที่จะเงียบนิ่งไป เพราะทีมต้องการการกระจายบอลมากขึ้น
เล่ามาซะยาว แต่เนื้อความก็มีแค่ว่า ตอนนี้ ไซ่ง่อน ฮีต ต้องการ สเตฟาน หงวน มากๆ
ไฮเทค ก็ได้รับชัยชนะที่สำคัญไปอีกเกมหนึ่ง ที่แสดงออกมาให้เห็นถึงความสามารถรอบด้านของทีมนี้ ถึงแม้ว่า กำลังหลักจะเป็นตัวอิมพอร์ต แต่ เราก็ได้เห็นการก้าวขึ้นมาของตัวท้องถิ่นอย่าง ณกรณ์ ใจสนุก ที่ทำไป 11 แต้ม และยิงสามแต้มลง 3 ลูก หรือ อย่าง วุฒิพงษ์ ดาโสม ที่แรงต่อเนื่องมาเรื่อยๆ ด้วยชัยเหนือทีมำไซ่ง่อน ครั้งนี้ ทำให้เหลือบททดสอบเพียงอย่างเดียว คือทีมคู่อริ เคแอล ดรากอนส์ ทั้งสองทีมจะฉะกันในอีก สองสัปดาห์
สิ่งที่ชอบและไม่ชอบ
- เอนฟอร์เซอร์

อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น เกมนี้ ค่อนข้างที่จะเป็นเกมจิตวิทยา ด้วยการใช้ความแรงในการเข้าบวกเพื่อทำให้ความหงุดหงิดเข้าแทรก นอกจากกรณีระหกว่าง ปิยพงษ์ และ โมเสส ที่พูดไปแล้ว ก็มี จังหวะอีกสองครั้งที่ ปิยพงษ์ มีการ “ปะทะ” กับ วิลล์ ครีกมอร์ ด้วย
ก็ต้องบอกอีกครั้งว่า ไม่รู้ว่า ปิยพงษ์รู้อยู่แล้วว่า ครีกมอร์ เป็นคนหงุดหงิดง่าย (อย่างที่เห็นได้จากอาการตอบสนองต่อกรรมการตลอดทั้งเกม) หรือว่า เป็นแค่วันอารมณ์เสีย ของ ปิยพงษ์ เฉยๆ แต่ ก็เห็นได้เลยว่า ครีกมอร์ อารมณ์เสียอย่างมาก และมันก็ยิ่งแย่ลงเมื่อเจอ สุขเดฟ โคเคอร์ เข้ามาทักทายอีก
เห็นได้ชัดเลยว่า หน้าที่แดงก่ำของ ครีกมอร์ อาจจะไม่ใช่แค่ผลจากความเหนื่อย แต่ อาจจะมาจากความหงุดหงิดอีกด้วย ปิยพงษ์ ก็ถือว่า โชคดี ที่กรรมการคลาดจังหวะไป (รวมถึงเหล่าคนพากย์ภาษาอังกฤษที่ไม่รู้เรื่องรู้ราวอีกด้วย) และผมเองก็เพิ่งได้ทมาเห็นก็ตอนที่ดูเทปการแข่งขันซ้ำ แต่ก็รับรองได้เลยว่า กรรมการจะเริ่มหมายตา ปิยพงษ์ มากขึ้นในเกมถัดๆ ไป
ไซง่อน ฮีต เองก็มีจังหวะที่ อาจจะทำให้ไฮเทคหัวเสียขึ้นมาได้บ้าง ตอนที่ ต๊วน จุม โง เข้าปะทะ กับ ณกรณ์ ใจสนุก และ เฟรดดี้ โกล์ดสตีน ในรูปแบบที่ค่อนข้างอันตราย ในพื้นที่สนามแทบจะจุดเดียวกัน
ก็อีกนั้นแหละ เราก็ไม่รู้ว่า เจตนาของผู้เล่นแต่ละคนคืออะไรบ้าง แต่ก็ต้องยอมรับว่า เหตุหารณ์ทั้งหมดนี้ ก็คงทำให้ผมเองหัวเสียเช่นเดียวกัน ถ้าอยู่ในสนาม
- เลนนี่ “ให้ตายเถอะอยากได้การถ่ายทอดสดที่ชัดกว่านี้หน่อย” แดเนี่ยล

เลนนี่ แดเนี่ยล น่าจะเป็นเฟตุผลอันดับ 1 เลยว่าทำไม ABL ควรจะเร่งแก้ปัญหาเรื่องการถ่ายทอดสดโดยด่วน เวลาเขาลงสนาม เขาพร้อมจะตอบแทนแฟนๆ ด้วยไฮไลท์เพลย์อย่างน้อยๆ 1 ครั้งต่อเกมที่จะสามารถเป็น เพลย์ยอดเยี่ยมประจำปีได้เลย
จริงๆ แล้ว ถ้า ้พลย์ยอดเยี่ยมตอนจบปี เป็น เลนนี่ แดเนี่ยล หมดเลย ผมก็คงไม่แปลกใจเลยด้วยซ้ำ
แดเนี่ยล ทำให้ผมนึกถึง ดเวย์น เวด ในความสามารถทางร่างกายที่เหนือจินตนาการ และ ทุกๆ ครั้งที่เขาลงเล่น คนดูแทบจะหัวใจวายในรูปแบบการเล่นที่สุดแสนจะมุทะลุ ในต้นๆ เกมเขาก็ผ่อนๆ ลงมาจากเกมก่อนหน้านี้ ด้วยการยิงระยะกลางมากขึ้น แต่ยิ่งเกมผ่านไป และ จังหวะเกมเร็วขึ้น เขาก็เริ่มพุ่งเข้าหาห่วงมากขึ้น ซึ่งก็เป็นสิ่งที่เขาควรจะทำ…แต่ก็อดไม่ได้ที่จะรู้สึกเสียวไส้ทุกๆ ที
- เหรียญทองสองด้าน

เฟรดดี้ โกล์ดสตีน เป็นคนที่มีชื่อเสียงในฐานะคนที่ทำคะแนนได้อย่างหวือหวา ด้วยการยิงสามแต้มแบบฉับพลัน ครอสโอเวอร์สุดเฉียบ และ การวางบอลราวกับเล่นกายกรรม
แต่มุมหนึ่งของเกมที่อาจจะถูกมองข้ามไป คือ การจ่ายบอลของเขา ตอนนี้ อัตราการทำ แอสสิสต์ต่อการเทิร์นโอเวอร์ ของ เขาอยู่ที่ 2.4 ซึ่งก็ถือว่าเป็นอันดับที่สองใน ABL และอัตราการทำแอสสิสต์ และ การทำแอสสิสต์ต่อเกม ก็อยู่อันดับต้นๆ เช่นเดียวกัน
เขามีชื่อในฐานะตัวทำแต้มก็จริง แต่เขาจ่ายบอลได้ดีไม่น้อยหน้าการทำแต้มเลย
เหมือนเช่นลูกนี้
- เฮ้ย ‘จารย์!

ผมก็เข้าใจความหงุดหงิดของไซ่ง่อน ฮีต ในเกมนี้นะ ผมยังเขียนเรื่องราวแนวๆ นี้ว่ามันก็เกิดขึ้นกับ โมโน แวมไพร์มาแล้ว เมื่อไม่กี่เกมที่ผ่านมานี้ และก็อยากจะย้ำอีกซักรอบ: ทุกคนไม่สามารถปล่อยให้เรื่องพวกนี้มาครอบงำจิตใจเราได้ อาการกิริยาท่าทางของ เลนนี่ แดเนี่ยล และ วิลล์ ครีกมอร์ แสดงออกอย่างชัดเจนว่ากำลังหงุดหงิดมากๆ และ มันก็ส่งผลต่อการเล่นด้วย ในครึ่งแรก แดเนี่ยล ยิง 10 ลง 7 และพอเริ่มครึ่งหลังออกไป ก็ยิงไปเพียงแค่ 11 ลง 3 ในส่วนเกมที่เหลือ ครีกมอร์ เล่นไม่ดีตั้งแต่ต้นจนจบ ยิงไป 14 ครั้ง ลง 3 ครั้ง
คนที่รับผลเต็มๆ คือ โค้ช โทนี่ การ์เบล็อตโต้ ที่โดนเด้งออกไปจากเกม
อย่างที่เขาว่ากัน ความหงุดหงิด เป็นอะไรที่เข้าใจได้ แต่ต้องระบายออกให้เป็น
- ว่ากันด้วยตัวเลข

ผมได้ยลสถิติจากทีมงานเก็บสถิติ ของทางสนามเจ้าบ้าน ไฮเทค บางกอก ซิตี้ ชุดหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลที่เรียกได้ว่าสามารถพลิกวงการใน ABL ได้เลย ตอนนี้ ไซ่ง่อน ใช้ตัวท้องถิ่นสองคน คือ ฮาน มินฮ์ จิ่ว และ ต๊วน จุม โง เพื่อใช้ในตำแหน่งสุดท้าย ประกบกับ สี่ ตัวอิมพอร์ต สิ่งที่น่าสนใจคือ ทั้งที่ มินฮ์ จิ่ว ฟอร์มดีกว่ามากใน ซีเกมส์ที่ผ่านมา แต่ ในเกมนี้ ฮีต กลับเล่นได้ดีกว่า ตอนที่ จุม โง ลงสนาม มาดูตัวเลขชุด Line Up Analysis กันดีกว่า
ตอนที่ มินฮ์ จิ่ว ลงสนาม (17:58 นาที) : 1.5 แต้ม/นาที, -14 แต้มต่าง
ตอนที่ จุม โง ลงสนาม (16.45 นาที) : 1.9 แต้ม/นาที, -3 แต้มต่าง
แน่นอนว่า ข้อมูลที่ได้มาชุดนี้ ยังเอาไปใช้งานอะไรมากไม่ได้ เพราะว่าเป็นกลุ่มตัวอย่างข้อมูลที่เล็กมากๆ แต่พอฤดูกาลนี้ผ่านไปเรื่อยๆ เราน่าจะเห็นภาพอะไรที่ใหญ่มากขึ้นได้
- คริต ชาน!!!

พูดได้ไม่เต็มปากเท่าไหร่ว่าที่ผ่านมา คริส ชาร์ลส์ ถูกมองข้ามมาโดยตลอด ยังไงซะตายาวก้านมะพร้าวนี้ก็เก็บรางวัลผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำสัปดาห์ของ ABL มาแล้วหนึ่งครั้งในปีนี้ แต่เพราะอะไรก็ไม่รู้ ถึงรู้สึกว่า คริส ยังไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร ในเกมนี้ คริสทำไป 20 แต้ม 16 รีบาวด์ และ 7 บล็อก
ไอ้สถิติที่อาจจะเป็นจุดสูงสุดของชีวิตของใครหลายๆ คน กลับเป็นเพียงแค่วันธรรมดา วันหนึ่ง ของ คริส ชาร์ลส์
สถิติของคริส ชาร์ลส์ ในฤดูกาลนี้:
19.8 แต้ม (อันดับที่ 8)
16.8 รีบาวด์ (อันดับที่ 1)
5.3 บล็อก (อันดับที่ 1)
19.6% อัตราการรีบาวด์ (อันดับที่ 1)
13.4% อัตราการแอสสิสต์ (อันดับที่ 1 ในบรรดาผู้เล่นวงใน)
10.9% อัตราการบล็อก (อันดับที่ 1)
3.0 จำนวนบล็อกต่อการฟาวล์ (อันดับที่ 1)
อื้อหือ…ให้ตายเถอะ
ทีมไซ่ง่อน ฮีต จะไปเจอกับ เคแอล ดรากอนส์ อีกรอบในวันที่ 28 พฤศจิกายนที่จะถึงนี้ โดยเป็นการจับคู่กับอีกครั้งของสุดยอดเกมเมื่อต้นฤดูกาลที่ผ่านมา และเป็นอีกครั้ง (ปและครั้งสุดท้าย) ที่คู่นี้จะเล่นที่ CIS Arena ในปีนี้ พลาดไม่ได้จริงๆ
สำหรับ ไฮเทค บางกอก ซิตี้ จะต้อนรับการมาเยือนของทีมหน้าเก่าอีกครั้ง คือ ทีม สิงคโปร์ สลิงเกอร์ส สามารถอ่านบทวิเคราะห์ หลังเกมที่แล้วได้ที่นี่ เผื่อจะเห็นภาพอะไรมากขึ้น เกมนี้จะแข่งวันยที่ 20 พฤศจิกายน
กว่าจะถึงตอนนั้น ก็เอาสตีฟ โธมัส กระพือปีกไปดูเล่นก่อนละกัน
Feature Photo Credit: Kuk Onvisa Thewphaingarm