ABL Season 6 Team Preview x Westports Malaysia Dragons: รีโหลด

มาดูกัน ความพร้อมของ ทีม เวสต์พอร์ต มาเลเซีย ดรากอนส์ ใน ABL กัน!

การแข่งขัน ASEAN Basketball League จะเริ่มต้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้แล้ว ผมจึงคิดว่า มันถึงเวลาอันสมควรแล้ว ที่เราจะมาถกกันเรื่องการเตรียมพร้อมของแต่ละทีม และไขข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องของตัวต่างชาติ 

ในปีนี้ ลีก จะประกอบด้วยทีมจากทั้งหมด 5 ประเทศ (ไทย, มาเลเซีย, สิงคโปร์ เวียดนาม และ ฟิลิปปินส์) แต่ละทีมจะพบกันทั้งหมด 4 ครั้ง เป็นฤดูกาลที่ยาวนานถึง 20 เกม จากนั้น 4 ทีมที่มีสถิติที่ดีที่สุด 4 ทีมจะเข้าไปในรอบเพลย์ออฟ เพื่อไปวัดกันในซีรี่ย์การแข่งขันชนะ 2 เกม เข้ารอบ เพื่อตัดสิน แชมป์

แต่ละทีม จะส่งรายชื่อผู้เล่นได้ 16 คน

ใน 16 นั้น สามารถใช้โควต้าในการเซ็น ตัวต่างชาติ ที่เรียกว่า “World Import” ซึ่งจะเป็นนักกีฬาสัญชาติอะไรก็ได้ มาจากที่ไหนก็ได้บนโลก (ต่างดาวก็คงได้ ถ้าสามารถดึงมาได้) ส่วนใหญ่แล้ว ทีมจะใช้โควต้านี้กับ นักกีฬาจากประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เล่นเกมใต้แป้น

นอกจากนี้ จะสามารถใช้โควต้าในการเซ็นตัวต่างชาติอีกสองตำแหน่ง คือ ASEAN/Heritage Import ซึ่งนี่คือคำอธิบายคร่าวๆ จากความเข้าใจของผม:

ASEAN Import คือ นักกีฬาที่

  • มีสัญชาติของชาติในภูมิภาค ASEAN ชาติใดชาติหนึ่ง ที่ไม่ใช่ชาติที่ทีมนั้นๆ ตั้งถิ่นฐานอยู่

หรือ

  • มีบิดา หรือ มารดา ที่มีสัญชาติของชาติในภูมิภาค ASEAN ชาติใดชาติหนึ่ง ที่ไม่ใช่ชาติที่ทีมนั้นๆ ตั้งถิ่นฐานอยู่ แต่เกิดและโตขึ้นมา นอกภูมิภาค ASEAN

ตัวอย่างเช่น ทีม สิงคโปร์ สลิงเกอร์ส (ที่ตั้งถิ่นฐานที่ สิงคโปร์) สามารถที่จะใช้โควต้า ASEAN Import ในการเซ็นตัวผมไปได้ (ที่มีสัญชาติไทยเต็มๆ) แต่เขาไปใช้โควต้านี้ในการเซ็น คริส โรซาเลส แทน (ที่มีสัญชาติเป็นลูกครึ่ง ฟิลิปปินส์-อเมริกัน)

Heritage importคือ นักกีฬาที่

  • มีบิดา หรือ มารดา ที่มีสัญชาติของชาติที่ทีมนั้นๆ ตั้งถิ่นฐานอยู่ แต่เกิดและโตขึ้นมา นอกภูมิภาค ASEAN

ในปีที่แล้ว เราได้เไห็นทีม ไซ่ง่อน ฮีต ใช้สิทธิ Heritage Import มาแล้วกับ สตาร์ดัง เดวิด อาร์โนล์ด (ที่มีมารดาเป็นคนเวียดนาม) และมันก็ได้ผลดีมากจนถึงขั้นมีการต่อสัญญามาในปีนี้อีก เช่นเดียวกันกับไซ่ง่อน ฮีต ทีม ไฮเทคบางกอกซิตี้ ก็มีการใช้สิทธิตรงนี้ ในการเซ็นสองลูกครึ่งไทย-อเมริกัน เฟรดดี้ โกล์ดสตีน และ ไทเลอร์ แลมบ์

ด้านรายละเอียดของแต่ละคำ และ นิยามของแต่ละหัวข้อ อาจจะแตกต่างออกไปเล็กน้อยจาก สิ่งที่แถลงอย่างเป็นทางการ จาก คณะกรรมการ ABL แต่โดยหลักๆ แล้วก็มีเนื้อหาประมาณนี้

เราได้เริ่มต้น พรีวิวไปแล้วกับ ทีม สิงคโปร์ สลิงเกอร์ส แต่คราวนี้ เราไปต่อกับที่ทีม เวสต์พอร์ต มาเลเซีย ดรากอนส์ กันดีกว่า!

ทีม เวสพอร์ต มาเลเซีย ดรากอนส์ (หรือ เรียกสั้นๆ ว่า เคแอล ดรากอนส์) เป็นอีกหนึ่งในทีมที่ร่วมก่อตั้ง ABL ขึ้นมา และเป็นทีมที่ค่อนข้างเป็นทีมที่แจ็งแกร่งมาตลอดทุกซีซั่น เว็บไซต์ของทีมนี้ น่าจะสวยงามที่สุดแล้วในบรรดาทุกทีม เพราะฉะนั้น ถ้าอยากรู้ลึก เพิ่มเติมเกี่ยวกับทีมนี้ แนะนำให้ไปอ่านต่อตรงนนั้น
ตั้งแต่ปี 2012 ก็ได้มีโค้ชชาวฟิลิปปินส์ นามว่า แอเรี่ยล แวนการ์เดีย เข้ามาคุมทีม และตั้งแต่นั่นมา ก็สามารถที่จะดึงตัวอิมพอร์ต ASEAN ระดับท็อปๆ มาได้เสมอ ล่าสุดนี้ ก็จะเป็น โมอาล่า เตาตัว ที่ได้ถูกเลือกเข้าเป็นอันดับแรกใน PBA Draft ก่อนหน้านั้น ก็จะมี จัสติน เมลตัน (ที่ตอนนี้เป็น ออลสตาร์ ใน PBA ไปแล้ว) รูดี้ ลิงกันนาย (ตอนนี้เล่นอยู่ใน PCBL) เอเวอรี่ ชาเรอร์ (ตัวที่ครบเครื่องมากๆ คนนึง) แพทริก คาบาฮุก (ดาวเด่นของ ไฮเทคฯ ปีที่แล้ว) ทุกคนต่างก็เคยสวมชุด เคแอล ดรากอนส์ มาแล้วทั้งนั้น ทุกๆ ปี โค้ช แวนการ์เดีย ก็จะเอาตัวระดับท็อปๆ มาได้เสมอ และ ก็จะสามารถเข้ารอบเพลย์ออฟได้เสมอ โดยเป็นทีมเดียวใน ABL ที่เข้าเพลย์ออฟมาได้ทุกปี และจนเมื่อถึงปีที่ผ่านมา ก็ค่อนข้างจะเป็นอะไรที่มั่นใจได้ว่า ดรากอนส์จะไม่เข้ารอบชิง
จนกระทั่งปีที่แล้ว

สรุป ABL Season 5

ตอนเริ่มฤดูกาลออกมา ก็ทำได้ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ โดยออกตัวแพ้ทีม ไฮเทคฯ นอกบ้านตัวเอง ถึงแม้ว่าจะชนะอีกสองเกมถัดมา แต่ โค้ช แอเรี่ยล ก็ไม่พอใจกับ ฟอร์มของ ราชอว์น แมคคาร์ธี่ ที่เป็นตัว ASEAN Import คนแรก และทำการสับเปลี่ยนมาเป็น เอเวอรี่ ชาร์เรอร์ การเปลี่ยนครั้งนั้น ทำให้ ดรากอนส์ เพิ่มอัตราการทำแต้มต่อการครองบอลจาก 0.97 แต้ม เป็น 1.07 แต้ม

ดรากอนส์ ก็แรงมาตลอดตั้งแต่ตอนนั้น และจบฤดูกาลลงด้วยการชนะทั้งหมด 15 เกม แล้วคว้าตำแหน่งอันดับ 1 ในตารางมาได้ ด้วยชัยชนะเหนือคู่ปรับไฮเทคฯ ที่กำลังแย่งชิงอันดับที่ 1 อยู่เช่นกัน

KLD Scharer
Photo Credit: Kuk Onvisa Thewphaingarm

เอเวอร์รี่ ชาร์เรอร์ เล่นได้ยอดเยี่ยมมากจริงๆ โดยเป็นคนเดียวใน ABL ที่ทำได้อย่างน้อย 15-5-5 คือทำได้ 15.3 แต้ม 7.2 รีบาวด์ 6.5 แอสสิสต์ ต่อเกม เขาเป็นคนเดียวที่ทำ ทริปเปิ้ล ดับเบิ้ลได้ แถมยังทำได้ถึง 2 ครั้ง (แข่งกับ ไฮเทคฯ และ แข่งกับ ไซ่ง่อน ฮีต) ชาเรอร์ เป็รห้องเครื่องที่ดีเยี่ยม สำหรับ รถที่เร็วร้อนแรง ที่เรียกว่า เคแอล ดรากอนส์ ตั้งแต่ตำแหน่งเบอร์ 3-4-5 ถือว่า ดรากอนส์ มีผู้เล่นที่ลงตัวและดีสุดๆ โดยมี จัสติน น็อกซ์, โมอาล่า เตาตัว, และ คริส เอเวอร์สลี่ ในตำแหน่งเบอร์ 2 ก็จะมีตัวท้องถิ่นคือ โลห์ ชี ฟาย ที่เป็นโคตรตัวยิง (อัตรายิงสามแต้มลง 33.9% อยู่ในกลุ่มทอปๆ ของ ABL) นอกจากนี้ เคแอล ยังมีตัวมากประสบการณ์รอวนเปลี่ยนถ่ายอากาศอยู่เสมอๆ อีกด้วย (อูย บาน ซิน, จอห์น เอิง, และ เทียน ยวน เคว็ก) อีกทั้งยังมีดาวรุ่ง รอเสียบ (ทอง เวน เคียง, ยี่ หู)

ปีที่ผ่านมา มันไม่ใช่แค่ปีที่ โค้ช แวนการ์เดียจะพา ดรากอนส์ เข้ารอบชิง แต่น่าจะเป็นปีที่ เขาน่าจะได้แชมป์เสียด้วยซ้ำ

แต่ทุกอย่างมันก็ไม่ได้เป็นไปตามแผน พวกเขาสามารถก้าวข้ามทีมไซ่ง่อน ฮีต ไปได้ก็จริง ในรอบรองชนะเลิศ แต่พวกเขากลับเข้าไปเจอกับทีม ไฮเทคฯ ที่ฟอร์มกำลังเข้าด้ายเข้าเข็ม นอกจากนี้ ดรากอนส์ เองก็โคตรซวยที่ฟอร์มเข้าขั้นแป้กสองเกมติดๆ กัน จึงพลาดท่าปราชัยให้กับทีมไฮเทคฯ ไปจนได้

แต่คุณสามารถที่จะมองย้อนไปดูผลงานของ ดรากอนส์ ได้สองมุม

หนึ่ง คือ คุณมองไปที่ตัวผู้เล่น แล้วอุทานออกมาว่า “เฮ้ย เอ็งไม่ได้แชมป์ได้ไงวะเนี่ย?!”

หรือ คุณอาจจะรับรู้ว่า ทีม เคแอล ดรากอนส์ ชุดปีที่ผ่านมานั้นมันสุดยอดมากๆ จริงๆ
นี่คือทืมที่เป็นที่ 1 ใน ABL ในด้าน pace การเล่น
อันดับ 1 ใน ABL ในด้าน แต้มต่อเกม
อันดับ 1 ใน ABL ในด้าน ประสิทธิภาพการทำแต้ม (Effective Field Goal Percentage)
อีกทั้ง ยังเป็นทีมที่มีอัตราการ เทิร์นโอเวอร์ น้อยที่สุดใน ABL อีกด้วย

เชื่อได้เลยว่า ประสิทธิภาพ เกมบุกขนาดนั้น ไม่ใช่อะไรที่เราจะได้เห็นกันง่ายๆ หรือ ได้เห็นกันเร็วๆ นี้ แน่ๆ

มองสถานการณ์ข้างหน้ากับ ABL Season 6

ไม่เพียงแต่รูโหว่ที่ขาดหายไปจากการจากลาของอิมพอร์ตทั้งสี่หน่อ ดรากอนส์ จะต้องรีบเสริมสำหรับ การเล่นของ ตัวเก๋าเกมส์ สองคนที่หายไป คือ อูย บาส ซิน และ จอห์น เอิง ที่ประกาศเลิกเล่นไปแล้ว โดยเฉพาะ บาน ซิน ที่ทำได้ 4.8 แต้ม และ 1.8 แอสสิสต์ ต่อเกม แต่นอกจากสถิติแล้ว บาน ซิน ยังมีความสำคัญอย่างมากที่เป็นตัวที่จะพักจังหวะเกมเวลาที่ ชาร์เรอร์ เดือดขึ้นมา (ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยพอสมควร)

KLD Shee Fai

การแขวนห่วงของสองคนนั้นยังไม่พอ ดรากอนส์ ต้องเสีย โลห์ ชี ฟาย ไปอีก จากอาการบาดเจ็บ เอ็นไขว้หน้าเข่าฉีก ซึ่งต้องพักฟื้นกันยาวนานกว่าจะหวนกลับสนามได้ เพียงแค่นี้ จำนวนนาทีทั้งหมดที่ลงเล่นของดรากอนส์ปีที่แล้วก็หายไป 85.1% ซะแล้ว

แต่ ดรากอนส์ ก็ฟื้นตัวอย่างรวดเร็สว ด้วยการคว้า ASEAN Import ระดับเจ๋งๆ คือ เจสัน บริกแมน และ แมธทิว ไรท์ ซึ่งทั้งคู่นี้ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทั้ง ที่นี่ และ ที่นี่ แน่นอนว่า รูโหว่ที่ เอเวอร์รี่ ชาเรอร์ทิ้งไหวมันเป็นรูที่ยากจะอุดได้ แต่การที่ได้สองคนนี้ มาก็ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี

KLD Tong
Photo Credit: Kuk Onvisa Thewphaingarm

แต่ข่าวดีก็มีได้เพียงไม่นาน หลังจากที่เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ทำให้ การ์ดดาวรุ่งของมาเลเซีย ทอง เวน เคียง (ที่เล่นได้ดีมากในการเล่นระดับนานาชาติ) ต้องบาดเจ็บพักยาวๆ ตอนนี้ สถานะของเขาอยู่ในขั้นที่เรียกว่า เสถียร แล้ว แต่การเล่นใน ABL ปีนี้ คงเป็นอะไรที่เกินจะคาดหวัง เป็นการสูญเสียที่ใหญ่โต พอสมควรกับ เคแอล ดรากอนส์ ที่ได้ อัตราการทำแอสสิสต์ 19.3% จาก เวน เคียง มาปีที่แล้ว ซึ่งเป็นสถิติ ที่ดีมากๆ ในบรรดาผู้เล่นท้องถิ่น

แต่ก็เช่นเดียวกับสถานการณ์ของ สิงคโปร์ สลิงเกอร์ส ทีมก็ต้องเดินต่อไป ไม่นานนัก พวกเขาก็ได้ตัว แคลวิน ก็อดเฟรย์ และ เรจจี้ จอห์นสัน มาเสริมวงใน เป็นตัว World Import (ซึ่งอ่านเรื่องราวของทั้งคู่ได้จาก ที่นี่ และ ที่นี่).

เร็วๆ นี้ ทีม ดรากอนส์ ก็ได้มีการไปทัวร์ เมือง มะนิลา ประเทศ ฟิลิปปินส์ เพื่อทำการอุ่นเครื่องกับสามทีม PBA คือ แบล็ควอเตอร์ อีลิท, โกลบอล พอร์ต, และ ทอล์ก แอนด์ เท็กซ์ ซึ่งนอกจากจะได้ปรับจูนพวกตัวต่างชาติแล้ว ยังได้ปรับจูน ตัวท้องถิ่นหน้าใหม่ด้วย

KLD Yeo
Photo Credit: Kuk Onvisa Thewphaingarm

หนึ่งในกลุ่มนั้นี่โดดเด่นออกมาทันที คือ ไอแวน โย ฤดูร้อนไม่เป็นเช่นเคยที่ผ่านมา ทีมชาติ มาเลเซียได้ลงแข่งในรายการแข่งขันนานาชาติ สามรายการคือ ชิงแชมป์ SEABA, SEA Games และ ชิงแชมป์ FIBA Asia โยเป็นคนที่ทำแต้มได้มากที่สุดในทีมตลอดทั้งสามรายการ (10.0 ใน SEABA, 9.75 ใน SEA Games, และ 13.0 ใน FIBA Asia) นอกจากนี้ เขายังเป็นคนที่รีบาวด์ได้ดีอีกด้วย (11.8 ใน SEABA, 4.5 ใน SEA Games, 9.7 ใน FIBA Asia) สถิติของเขาอาจจะดูโดดๆ เพราะมีบางเกมที่ โค้ช จับนั่ง เพื่อเก็บแรงเขาไว้สำหรับเกมอื่นๆ แต่สถิติที่มีบาวงส่วนมันก็ทำให้มองเห็นได้ว่า โย จะเป็นส่วนที่สำคัญของทีมนี้ได้อย่างแน่นอน

คนอื่นๆ ที่ติดทีมดรากอนส์ ชุดนี้ ก็จะมี ฉี เขือน หม่า และ เหว่ย ฮอง ชู ที่ต่างคนก็เป็นเป็นส่วนนึงของทีมชาติ มาเลเซียในฤดูร้อนที่ผ่านมาเช่นกัน เขือน หม่า นั้นก็เป็นถึง กัปตันทีมเลยด้วย

ตัวท้องถิ่นที่กลับมาร่วมทีมอีกครั้งก็จะมี เทีนย ยวน เคว็ก, ควาน ยูง จิง, ยี่ หู หว่อง, และ อิซราน เอดิกา บิน คามารูดิน ในบรรดากลุ่มนี้ เทียน ยวน และ ยูง จิง จะเป็นส่วนที่สำคัญ ที่มีทั้งความยาวและความสูง เสริมสร้างกลุ่มตัวท้องถิ่นที่สูงที่สุดใน ABL

ข้อได้เปรียบ

ขุนพลดารา

ไม่ต่างจากทีมปีที่แล้วเท่าไหร่นัก สำหรับทีม ดรากอนส์ ที่จะมีรายชื่อตัวอิมพอร์ท ที่โดดเด่น เป็นประกาย บริกแมน ก็เป็นคนที่สลักลายชื่อลงบนหนังสือสถิติของ NCAA มาหลายๆ รายการ แมทธิว ไรท์ ก็เป็นคนที่มีบทบาทที่สำคัญกับทีมที่เล่นมาแล้วในถ้วยที่สูงสุดของ NCAA เรจจี้ จอห์นสัน เป็นตัวสำคัญของทีมใน คอนเฟอเรนส์ ACC เช่นเดียวกับ จัสติน น็อกส์ ที่เล่นที่ UNC มาก่อน แม้แต่ เคลวิน ก็อดเฟรย์ ที่เด้งไปมา หลายสถาบัน ก็ยังเคยเป็นผู้เล่นที่ดีที่สุดใน คอนเฟอเรนซ์มาเช่นกัน

แน่นอน ว่า การที่มี ดารา ไม่ได้แปลว่า ชนะแน่นอน…แต่มันก็ช่วยได้มาก และ ดรากอนส์ ก็มีพลังดาราหนักแน่นอีกเช่นเคย

ใหญ่ และ ยาว

ไม่! มันไม่ใช่อย่างที่คิด! เราหมายถึงขนาดตัวหน่า… ควาน ยูง จิง และ เทียน ยวน เคว็ก ต่างก็รายงาน ว่า สูง 6’7″ ทั้งคู่ นอกจากนี้ยังมีทั้ง ไอแวน โย และ เหว่ย ฮอง ชู ที่สูง 6’5″ ทำให้ โค้ช แวนการ์เดีย มีผู้เล่นที่มีรูปร่างที่ใหญ่โตพอสมควร แต่ เขาจะปรับเอาไปใช้ในแผนเกมอย่างไรก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่คาดว่ามันต้องมีส่วนไม่ใช่น้อยแน่ๆ

ข้อเสียเปรียบ

ตำแหน่งการ์ด

เจสัน บริกแมน ไม่มีปัญหาในการเล่นตำแหน่งการ์ดหรอก เขาเป็นคนที่เกิดมาเพื่อเล่นตำแหน่งตัวจ่ายอยู่แล้ว ไม่ได้ห่วงเลย ว่า บริกแมน จะเล่นได้ขนาดไหน แต่ห่วงว่า จังหวะที่ต้องพักตัวเนี่ย…ดรากอนส์ จะทำยังไง

การที่เสีย อูย บาน ซิน,ทอง เวน เคียง, และ หว่อง วี เส็ง ไป ทำให้ดรากอนส์ กลายเป็นทีมที่มีประสบการณ์ 0 นาทีใน ABL ในตำแหน่งที่เรียกได้ว่า สำคัญที่สุดในลีกนี้ ดูจากรายชื่อทีมแล้ว คงต้องเป็น ฉี เขือน หม่า ที่จะเป็นการ์ดสำรอง และไม่แน่ว่าคงต้องใช้ แมทธิว ไรท์ ในการเล่นเบอร์ 1 อีกไม่น้อย (ซึ่งเขาก็เคยเล่นมาบ้างแล้ว ตอนเล่นที่ มหาวิทยาลัย เซนท์ โบนาเวนเจอร์)

เป็นอุปสรรคใหญ่โตจริงๆ ที่ ดรากอนส์ จะต้องก้าวข้ามผ่านให้ไป

ประสบการณ์

ประสบการณ์ อาจจะดูไม่สำคัญเท่าไหร่ สำหรับลีกที่พึ่งพา ตัวต่างชาติ ค่อนข้างมาก แต่ไม่ได้มองไปไหนไกล ทีมแชมป์ปีที่แล้ว ใช้ตัวผู้เล่นต่างชาติ ที่ต่างก็เคยเล่นใน ABL มาแล้วทั้งนั้น อีกทั้งมีตัวผู้เล่นสำรองที่เล่นมาใน ABL หลายปีอีกด้วย ตรงนี้เป็นอะไรที่มองข้ามไม่ได้แน่ๆ

รายชื่อนักกีฬาดรากอนส์ในปีนี้ เล่นไปเพียง 7.8% ของนาทีการลงเล่นทั้งหมดของทีม ดรากอนส์ ปีที่แล้ว บริกแมน, ไรท์, และ จอห์นสัน ต่างก็เล่นบาสระดับอาชีพมาเพียง 1 ปีเท่านั้น สำหรับ ก็อดเฟรย์ การเล่นที่นี่จะเป็นการเล่นอาชีพครั้งแรก

ไม่ว่าจะมีความสามารถกันขนาดไหน ทีมนี้มีอายุเฉลี่ยเพียง 24.4 ปีเท่านั้น โดยผู้เล่นที่มีอายุมากที่สุด คือ หมิง โจ ฟูง มีอายุ เพียง 27 เท่านั้น เชื่อได้เลย ว่า ประสบการณ์ จะเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ โค้ช แวนการ์เดีย ต้องก้าวข้ามผ่านไปได้ อีกเช่นกัน

คาดการณ์ผลงาน

ความสามารถเพียวๆ ของ ทีมนี้ น่าจะดันให้เข้า รอบเพลย์ออฟได้ ถ้าจะให้ชนะได้ 15 เกมเเหมือนเดิม อาจจะยากเกินไปหน่อย แต่ให้ชนะน้อยกว่า 10 เกมคงไม่มีทาง ความเป็นไปได้ที่จะเข้ารอบชิงยังมีอยู่ แต่มันไม่ได้ง่ายเท่าไหร่นัก

ผมว่า ดรากอนส์ ปีนี้ น่าจะชนะได้ซัก 12 เกม


ติดตามอ่าน Preview ทั้งหมดของทีมใน ABL ตามนี้เลยนะครับ

สิงคโปร์ สลิงเกอร์ส
เวสต์พอร์ต มาเลเซีย ดรากอนส์
ไซ่ง่อน ฮีต
โมโน แวมไพร์
พิลิพินาส อากีลาส
ไฮเทค บางกอก ซิตี้

 

Advertisement

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.