มาดูกัน ความพร้อมของ ทีม สิงคโปร์ สลิงเกอร์ส ใน ABL กัน!
การแข่งขัน ASEAN Basketball League จะเริ่มต้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้แล้ว ผมจึงคิดว่า มันถึงเวลาอันสมควรแล้ว ที่เราจะมาถกกันเรื่องการเตรียมพร้อมของแต่ละทีม และไขข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องของตัวต่างชาติ
ในปีนี้ ลีก จะประกอบด้วยทีมจากทั้งหมด 5 ประเทศ (ไทย, มาเลเซีย, สิงคโปร์ เวียดนาม และ ฟิลิปปินส์) แต่ละทีมจะพบกันทั้งหมด 4 ครั้ง เป็นฤดูกาลที่ยาวนานถึง 20 เกม จากนั้น 4 ทีมที่มีสถิติที่ดีที่สุด 4 ทีมจะเข้าไปในรอบเพลย์ออฟ เพื่อไปวัดกันในซีรี่ย์การแข่งขันชนะ 2 เกม เข้ารอบ เพื่อตัดสิน แชมป์
แต่ละทีม จะส่งรายชื่อผู้เล่นได้ 16 คน
ใน 16 นั้น สามารถใช้โควต้าในการเซ็น ตัวต่างชาติ ที่เรียกว่า “World Import” ซึ่งจะเป็นนักกีฬาสัญชาติอะไรก็ได้ มาจากที่ไหนก็ได้บนโลก (ต่างดาวก็คงได้ ถ้าสามารถดึงมาได้) ส่วนใหญ่แล้ว ทีมจะใช้โควต้านี้กับ นักกีฬาจากประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เล่นเกมใต้แป้น
นอกจากนี้ จะสามารถใช้โควต้าในการเซ็นตัวต่างชาติอีกสองตำแหน่ง คือ ASEAN/Heritage Import ซึ่งนี่คือคำอธิบายคร่าวๆ จากความเข้าใจของผม:
ASEAN Import คือ นักกีฬาที่
- มีสัญชาติของชาติในภูมิภาค ASEAN ชาติใดชาติหนึ่ง ที่ไม่ใช่ชาติที่ทีมนั้นๆ ตั้งถิ่นฐานอยู่
หรือ
- มีบิดา หรือ มารดา ที่มีสัญชาติของชาติในภูมิภาค ASEAN ชาติใดชาติหนึ่ง ที่ไม่ใช่ชาติที่ทีมนั้นๆ ตั้งถิ่นฐานอยู่ แต่เกิดและโตขึ้นมา นอกภูมิภาค ASEAN
ตัวอย่างเช่น ทีม สิงคโปร์ สลิงเกอร์ส (ที่ตั้งถิ่นฐานที่ สิงคโปร์) สามารถที่จะใช้โควต้า ASEAN Import ในการเซ็นตัวผมไปได้ (ที่มีสัญชาติไทยเต็มๆ) แต่เขาไปใช้โควต้านี้ในการเซ็น คริส โรซาเลส แทน (ที่มีสัญชาติเป็นลูกครึ่ง ฟิลิปปินส์-อเมริกัน)
Heritage importคือ นักกีฬาที่
- มีบิดา หรือ มารดา ที่มีสัญชาติของชาติที่ทีมนั้นๆ ตั้งถิ่นฐานอยู่ แต่เกิดและโตขึ้นมา นอกภูมิภาค ASEAN
ในปีที่แล้ว เราได้เไห็นทีม ไซ่ง่อน ฮีต ใช้สิทธิ Heritage Import มาแล้วกับ สตาร์ดัง เดวิด อาร์โนล์ด (ที่มีมารดาเป็นคนเวียดนาม) และมันก็ได้ผลดีมากจนถึงขั้นมีการต่อสัญญามาในปีนี้อีก เช่นเดียวกันกับไซ่ง่อน ฮีต ทีม ไฮเทคบางกอกซิตี้ ก็มีการใช้สิทธิตรงนี้ ในการเซ็นสองลูกครึ่งไทย-อเมริกัน เฟรดดี้ โกล์ดสตีน และ ไทเลอร์ แลมบ์
ด้านรายละเอียดของแต่ละคำ และ นิยามของแต่ละหัวข้อ อาจจะแตกต่างออกไปเล็กน้อยจาก สิ่งที่แถลงอย่างเป็นทางการ จาก คณะกรรมการ ABL แต่โดยหลักๆ แล้วก็มีเนื้อหาประมาณนี้
เอาละ พอรู้เรื่องกันคร่าวๆ ละ มาดูแต่ละทีมกันเลยดีกว่า เริ่มต้นจากทีม สิงคโปร์ สลิงเกอร์ส!
ทีมสลิงเกอร์ส เป็นหนึ่งในสองทีม ที่อยู่ในชุดทีมทที่ก่อตั้ง ABL โดยอีกทีมเป็นทีม เวสต์พอร์ต มาเลเซีย ดรากอนส์ ตัวทีมสลิงเกอร์ส มีประวัติของทีมที่ ที่บันทึกไว้ค่อนข้างละเอียดอยู่แล้วใน วิกิพีเดีย, เพราะฉะนั้น ถ้าหากรูเ้บื้องลึก ก็สามารถศึกษาจากตรงนั้นได้ สิ่งที่น่าสนใจคือ สลิงเกอร์ส เป็นทีมอาชีพทีมแรก (และทีมเดียว) ใน เอเชีย ที่เคยไปเล่น NBL (ลีกบาสอาชพของ ออสเตรเลีย) ความไม่สะดวกในด้านการเดินทาง ทำให้ต้องออกจาก NBL ไป แล้วมาร่วมทีมก่อตั้ง ABL ต่อ
สรุป ABL Season 5
สลิงเกอร์ส จบฤดูกาลไปด้วยสถิติ 12-8 ในปีที่แล้ว ทำให้ได้เข้ารอบ เพลย์ออฟ หลังจากที่หายไป สองปีติดๆ กัน ก่อนหน้านี้ ในส่วนนึง พวกเขาสามารถที่จะเชิดอกได้บ้าง ด้วยการที่เป็นทีมที่พึ่งพาตัว ท้องถิ่น มากที่สุดใน ABL โดยสลิงเกอร์ส ใช้จำนวนนาทีลงเล่นจาก ตัวผู้เล่นท้องถิ่นถึง 54.96% เป็นที่สองในลีก (โดยอันดับ 1 เป็นทีม ลาสการ์ เดรย่า ที่ใช้ผู้เล่นท้องถิ่นไป 60.07% จากเวลาการลงเล่นทั้งหมด) ด้วยการเล่นที่โดดเด่น ของ ผู้เล่นทรงคุณค่า อาเซียน หว่อง เวย ลอง และการเล่นปีแรกที่น่าประทับใจของ รัซเซล โล และ แลรี่ หลิว ทำให้ทีมสามารถใช้ตัว อิมพอร์ตเป็น อัล เวอร์การา ที่แก่หงำเหงือก และวนการใช้ตัว World Import ไปถึง 4 คนได้ โดยไม่ขาดตอนเท่าไหร่นัก
อย่างว่า อย่างนั้น อย่างนี้เลยนะ แต่มีบางจังหวะ เขาต้องใช้ อดัม เบสิช ที่เป็น วิศวกรที่ทำงานที่สิงคโปร์ ลงเล่นในเกมหนึ่งเลย!
ถึงแม้ว่าการเล่นของตัวท้องถิ่น ของสิงคโปร์ จะดีก็จริง แต่คุณภาพของตัวต่างชาติ ก็ไว้ใจได้เหมือนกัน

สลิงเกอร์ส ออกด้วยฤดูกาลที่แล้ว โดยใช้ ฮัสซาน อดัมส์ และ ตัวที่เล่นด้วยกันมาเนิ่นนาน ไคล์ เจฟเฟอร์ส แต่ผ่านไปเพียง 3 เกม อดัมส์ ก็ ต้องถูกเปลี่ยนตัวออกไป จากอาการบาดเจ็บ ไม่กี่เกมต่อมา สลิงเกอร์ส ก็ได้ตกลงสัญญากับ ตัวเก่าของ ไซ่ง่อน ฮีต ดิออร์ โลว์ฮอร์น
ทั้ง เจฟเฟอร์ และ โลว์ฮอร์น รวมพลังกันคว้าชัยมาจากทีม ไฮเทคบางกอกซิตี้ ที่กำลังชนะมา 7 เกมติดต่อกัน ด้วยลูกยิงสามแต้มก่อนหมดเวลา ทำให้ต้องมีช่วงต่อเวลาออกไป ท้ายที่สุด สลิงเกอร์ส ชนะก็จริง แต่กลับต้องเสีย ไคล์ เจฟเฟอร์ส ให้กับการบาดเจ็บที่เท้าระหว่างเกมนั้นพอดี ทำให้เขาไม่สามารถลงเล่นได้อีกตลอดฤดูกาล สลิงเกอร์สได้เอา ยักษ์ใหญ่ จัสติน ฮาวเวิร์ด การ์ดร่างลูกสูงวัย อย่าง อัล เวอร์การ่า เป็นการฺ์ดจ่ายหลัก ของ สลิงเกอร์ส โดยเขาทำไป 4.4 แอสสิสต์ต่อเกม (อันดับ 4 ใน ABL), 26.4 AST% (อันดับ 3 ใน ABL) และ 2.18 แอสสิสต์/เทิร์นโอเวอร์ (อันดับ 3 ใน ABL)
โค้ช นีโอ บาน เซียง รู้ตั้งแต่แรกแล้วแหละ ว่าจะต้องพึ่งพาตัวท้องถื่นค่อนข้างมาก และ ทีมจะต้องเจอกับความเสียเปรียบทางร่างกายอยู่ไม่น้อย เพื่อที่จะหลีกเลี้ยงประเด็นตรงนี้ เขาเลยออกแบบทีมให้เล่นช้าๆ โดยมี จังหวะการเล่น (pace) ที่ช้าที่สุดใน ABL ที่ 76.99 นอกจากนี้พวกเขายังมีจำนวนการครองบอลต่อเกมเฉลี่ยอยู่ที่ 77.46 ครั้งต่อเกมอีกด้วย ไม่มีทีมไหน ที่เฉลี่ยได้น้อยกว่า 80 ครั้งต่อเกมด้วยซ้ำไป การที่เล่นเกมจังหวะช้าแบบนี้ จึงทำให้มีโอกาสในการถูกเอาเปรียบทางด้านร่างกายน้อยลง และถือเป็นการวัดดันในด้านของ “ประสิทธิภาพ” ในการทำเกมมากกว่า
ก็ถือว่าเป็นแผนที่ประสบความสำเร็จพอสมควร เพราะพวกเขาก็สามารถจบฤดูกาลเป็นที่ 3 ในลีก และ เข้ารอบเพลย์ออฟไป ถึงแม้ว่าจะตกรอบรองชนะเลิศด้วยน้ำมือของ ไฮเทคบางกอกซิตี้ แต่ก็ดูเหมือนว่าจะเป็นสัญญาณที่ดี สำหรับอนาคตของทีม สิงคโปร์ สลิงเกอร์ส
มองสถานการณ์ข้างหน้ากับ ABL Season 6

ดูเหมือนอะไรๆ จะเริ่มต้นออกมาไม่ค่อยเป็นใจกับทีมสิงคโปร์สลิงเกอร์สเท่าไหร่ในปีนี้ ทั้ง รัซเซิล โล และ แลรี่ หลิว ต่างก็ไม่ได้เซ็นสัญญาต่อกับ สลิงเกอร์สในปีนี้ เหตุผลที่ไม่ได้เซ็นต่อ ไม่มีการประกาศออกมาอย่างเป็นทางการ แต่เท่าที่ได้ยินมา คือ โล ต้องการเตรียมเข้าเรียนมหาวิทยาลัย (ซึ่งตามมาตรฐานของประเทศสิงคโปร์ ต้องใช้การเตรียมตัวอย่างเข้มข้น) ส่วนทาง หลิว ไปเข้ารับใช้กรมตำรวจ
เสียตัวหน้าใหม่ปีที่แล้วสสองคนนี้ไป ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่เสียหายค่อนข้างมากอยู่สำหรับทีมเกาะเมอร์ไลออน โล เป็นผู้เล่นวงในท้องถิ่นที่ถือว่าดีที่สุดใน ABL คนหนึ่ง จำนวนรีบาวด์ 4.14 ครั้งต่อเกมนั้น สูงที่สุดในบรรดาผู้เล่นท้องถิ่น และ อัตราการรีบาวด์ 11.9% นั้นเป็นที่ สอง ถึงแม้ว่าในปีที่แล้ว เกมการบุกใต้แป้นของเขายังอาจจะดูทื่อๆ แต่ก็ดูเหมือนมีพัฒนาการขึ้นมาพอสมควร ในการเล่น SEABA กับ ซีเกมส์
หลิว เป็นตัวแม่นสามแต้มคนหนึ่งประจำทีมเมื่อปีที่แล้ว (32.8%, อันดับ 8 ใน ABL) และเขาก็เป็นเพียง 1 ใน 2 ตัวผู้เล่นท้องถิ่นที่ยิงสามแต้มลง 20 ลูกขึ้นไป เช่นเดียวกันกับ โล เขาก็แสดงผลงานออกมาได้ดีในการแข่งขันระดับนานาชาติที่ผ่านมา และ ทีมชาติไทยน่าจะจดจำความแสบของลูกยิงของเขาได้
แต่แล้ว ทั้งคู่กลับไม่ได้ใส่ชุด สลิงเกอร์ส ในปีนี้

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เหล่าผู้เล่นท้องถิ่นของสิงคโปร์ที่เหลืออยู่ ก็ไม่ใช่เล่นๆ อยู่ดี ตัวผู้เล่นทรงคุณค่าภูมิภาค อาเซียน อย่าง หว่อง เวย ลอง อาจจะไม่ใช่คนที่ทำแต้มได้อย่างมีประสิทธิภาพขนาดนั้น (38 eFG%) ถึงอย่างนั้น เขาก็ยังเป็นคนที่ทำแต้มได้อย่างต่อเนื่องให้กับทีม เสริมการทำแต้มของ ดิออร์ โลว์ฮอร์น โดยทำไป 10.4 แต้มต่อเกม ซึ่งมากที่สุดในบรรดาผู้เล่นท้องถิ่น ใครที่ได้ดู ABL ปีที่แล้ว ก็น่าจะเห็นด้วยว่า เขาคือคนที่ทำแต้มช่วงท้ายเกมได้ดีคนหนึ่ง
เอิง ฮาน บิน และ วู ชิง เด จะเป็นกองกำลังประสานใน-นอก จากตำแหน่งปีกได้ดี และ ถึงแม้ว่า เดสมอนด์ โอ จะแก่ลงมาแล้วบ้าง อีกทั้งยังเพิ่งแต่งงานไป แต่เขาน่าจะยังคงลงเล่นและเสริมการป้องกันแบบกัดไม่ปล่อยให้กับสิงคโปร์ได้อย่างดี

ตัวท้องถิ่นที่น่าจะสำคัญมากที่สุดคนหนึ่งคือ เดลวิน โก การที่ขาด รัซเซิล โล ไปทำให้แผงวงในของ สลิงเกอร์ส อ่อนยวบยาบลงทันที ทำให้ โก ที่ทำเฉลี่ย 8.2 แต้ม และ 10.4 รีบาวด์ต่อเกมในการแข่งขันชิงแชมป์เอเซียของ FIBA ที่ผ่านมา ซึ่งมีเกมที่เขาจัดการถล่มมาเลเซียคนเดียว ด้วยการทำ 20 แต้ม และ 18 รีบาวด์
ปีที่แล้ว โก อาจจะลงเล่นแค่เพียง 8.3 นาทีต่อเกม เลยดูไม่มีบทบาทมาก แต่ปีนี้ รอดูได้เลย กับบทบาทที่ใหญ่โตมากขึ้น และ เวลาการลงเล่นที่นานขึ้นด้วย
ข่าวสารจาก บล็อกเกอร์ ในวง ABL อีกคน คือ Slingers Nation ได้ยินมาว่า สิงคโปร์จะเรียกผู้เล่นหน้าใหม่ขึ้นมาทั้งหมด 4 คน โดยส่วนตัวแล้ว ผมสนใจ ลีออน เคว็ก มากที่สุด หลังจากที่ติดตามเขามาตั้งแต่เขาลงในทีม อะดรอยท์ ใน การแข่งขัน นานาชาติที่ประเทศมะละกา การ์ดสูง 6’2″ คนนี้ ยังอายุเพียง 20 ปีเท่านั้น และเขาคงจะมีอาการความ “ไม่นิ่ง” แสดงออกมาอยู่หลายครั้งๆ อย่างแน่นอน แต่ในจังหวะที่เขาแสดงศักยภาพออกมา มันเป็นสิ่งที่น่าตื่นตาตื่นใจมากๆ เขาทำเฉลี่ย 7.8 แต้ม และ 4.6 รีบาวด์ ต่อเกม ใน การแข่งขันชิงแชมป์เอเซียที่ผ่านมา
แน่นอนว่า การเป็นผู้เล่นหน้าใหม่ เขาจะต้องชนกับกำแพงในการปรับตัว แต่เชื่อได้ว่า ก่อนปิดฤดูกาล เขาน่าจะสร้างชื่อให้กับตัวเองได้ไม่น้อยหน้า โล และ หลิว ในปีที่แล้ว
ตัวต่างชาติ World Import ของ สิงคโปร์ ปีนี้ จะเป็น ปีก ซาเวียร์ อเล็กซานเดอร์ และ จัสติน ฮาวเวิร์ด ที่เล่นให้กับทีมสลิงเกอร์ส มาตั้งแต่ปีที่แล้ว
สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ อเล็กซานเดอร์ ได้ที่นี่ และอ่านเรื่องของฮาวเวิร์ด ได้ที่นี่
นอกจากนี้แล้ว สลิงเกอร์ส ยังยุติการใช้งาน อัล เวอร์การา การ์ดตัว อิมพอร์ต อาเซียน ที่ใขช้มานาน และเปลี่นยมาใช้ ลูกครึ่ง ฟิลิปปินส์-อเมริกัน คริส โรซาเลส แทน สามารถอ่านเรื่องราวของ โรซาเลส เพิ่มได้ที่นี่
ข้อได้เปรียบ
การทำทีมอย่างมีระบบ
ทีมสลิงเกอร์สค่อนข้างจะตระหนักถึงข้อจำกัดของทีมตัวเอง และพยายามหาทางลดความเสี่ยงที่จะพูดเอาเปรียบจากข้อจำกัดเหล่านั้นอยู่อย่างสม่ำเสมอ พวกเขามีระบบการพัฒนาผู้เล่นที่ค่อนข้างดีเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาผู้เล่น อย่าง เวย ลอง หรือ โอ พวกเขาทำได้ดีในการแก้ปัญหาที่สถานการณ์เฉพาะหน้าได้ดี จากที่เห็นในปีที่แล้ว และ จุดนี้ ก็จะเป็นอะไรที่เป็นจุดแข็งของทีมนี้ในการแข่งขันรอบนี้
ความเข้ากันได้ของตัวผู้เล่น
ผู้เล่นท้องถิ่นของ สลิงเกอร์ส ชุดนี้ แทบจะเรียกได้ว่า เล่นด้วยกันมาตลอดจริงๆ ตัวท้องถิ่นเกือบทั้งหมดก็เล่นทีมชาติมาด้วยกัน และ เล่นด้วยกันมาตลอดช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา มันเป็นเรื่องยากที่จะเอาตัวเลขมาจับความ “เข้ากันได้” แต่ถ้ามันมีสถิติที่จับต้องได้จริงๆ ก็คาดว่า สิงคโปร์ น่าจะเป็นทีมชั้นำของ ABL ทีมหนึ่ง
ซาเวียร์ อเล็กซานเดอร์ อาจจะต้องใช้เวลาในการปรับตัวซักหน่อย แต่ทาง จัสติน ฮาวเวิร์ด ก็เล่นกับทีมชุดนี้มาตั้งแต่ปีที่แล้ว น่าจะเข้ากันไม่ได้ยาก ทั้งฮาวเวิร์ด และ โรซาเลส ต่างก็คุ้นเคยกับเกมในภูมิภาค ASEAN มาแล้ว ช่วงเวลาในการปรับตัวกับจังหวะการเล่น ไม่น่าจะมีปัญหา
ขุมกำลังวงนอก
ตัววงนอกของสลิงเกอร์สมีทั้ง อเล็กซานเดอร์, เวย ลอง, ฮาน บิน, โอ, ชิง เด, อีกทั้ง เคว็ก ด้วย เป็นหกตัววงนอกที่น่าจะหมุนวนกันได้อย่างเมามัน และน่าจะสร้างผลงานได้น่าพอใจในช่วงเวลาที่ลงเล่น โดยไม่มีรอยต่อขรุขระในช่วงการเปลี่ยนตัวเท่าไหร่นัก
ข้อเสียเปรียบ
วงใน
ตัวผู้เล่นวงในของทีมนี้ หลักๆ แล้ว ก็จะมีแค่ จัสติน ฮาวเวิร์ด และ เดลวิน โก เท่านั้น เราอาจจะพิจารณา ชิง เด เป็นตัวเบอร์ 4 จัวเล็กก็ได้ แต่ถึงอย่างก็ตาม ทั้งทีมก็มีแค่นี้จริงๆ ผมไม่มั่นใจเท่าไหร่ว่า อเล็กซานเดอร์จะสามารถเล่นใต้แป้นได้หรือไม่ แต่นั่นเป็นสิ่งที่ต้องจับตาดูกัน
การป้องกันของสลิงเกอร์สมันกัดจิกได้อย่างน่ารำคาญก็จริง แต่พอถึงจุดๆ หนึ่งแล้ว ขนาดร่างกายมันเป็นอะไรที่กลบความน่ารำคาญตรงนั้นได้ ถ้า ฮาวเวิร์ด หรือ โก เกิดมีปัญหาด้านการฟาวล์ขึ้นมาแล้ว ผมนึกไม่ออกจริงๆ ว่า จะเอาใครมาหยุดเหล่าปีศาต สตีฟ โธมัส, คริส ชาร์ลส์, แอนโธนี่ แมคเคลน, เรจจี้ จอห์นสัน, ชาร์ลส์ แมมมี่, หรือ ควินซี่ โอโคลี่
ตรงนี้ โค้ง บาน เซียง จะต้องสร้างสรรค์ เกมรับออกมาเพื่อกลบข้อเสียเปรียบตรงนี้ให้ได้
ความล้า
แน่นอนว่า ประสบการณ์ เป็นสิ่งที่มีค่า แต่ การที่แกนหลักของ สลิงเกอร์ส ชุดนี้ มีการซ้อมและแข่งขันกันอย่างเข้มข้น มาเกือบตลอดทั้งช่วงปิดฤดูกาล เพื่อแข่งสามรายการนานาชาตินั้น อาจจะทำให้แต่ละคนมาความล้าสะสมที่มองข้ามไป
และก็เป็นอีกครั้งที่ โค้ช บาน เซียง จะต้องหาทางกระจายเวลาการลงเล่น ให้ทุกคนเล่นไหวอยู่รอดตลอดฝั่ง
คาดการณ์ผลงาน
การเสีย แลรี่ หลิว ไปใน ABL ฤดูกาลนี้ ก็ถือว่า เป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่าเสียดาย ที่รู้กันมาตั้งแต่ แข่ง SEA Games จบไปแล้ว แต่ผมยังรู้สึกว่า การยิงสามแต้มของหลิวยังพอช่วยๆ กันเสริมได้ แต่การที่ไม่ได้ โล กลับมาคุมวงใน นั้นเสียหายหนักกว่ามาก มันทำให้การสับเปลี่ยนตัวของทีมนี้ แทบจะรวนทั้งหมด และน่าจะทำให้ โค้ช บาน เซียง ต้องวางรูปแบบเกมรุกใหม่หมดเลย
ผมประทับใจทีม สลิงเกอร์ส นะ ที่สามารถพัฒนาผู้เล่นมาได้เรื่อยๆ จนเกือบที่จะเป็นทีมที่ดีมากๆ ทีมหนึ่งในปีนี้ แต่เหมือนว่า ปีนี้ กลับต้องมาเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่อีกครั้งซะแล้ว
ปีที่แล้วชนะไปได้ถึง 12 เกม แต่ ทีมชุดปีที่แล้ว ถือว่าเป็นทีมที่ดีเป็นพิเศษจริงๆ อย่างไรก็ตาม ผมไม่คิดว่า ทีมปีนี จะทำได้เหมือนปีที่แล้ว เพราะมีหมากใหม่ๆ พอสมควร ที่ต้องจัดวางให้ลงตัว คิดว่า ชนะ 6-8 เกม น่าจะกำลังดี
ติดตามอ่าน Preview ทั้งหมดของทีมใน ABL ตามนี้เลยนะครับ
สิงคโปร์ สลิงเกอร์ส
เวสต์พอร์ต มาเลเซีย ดรากอนส์
ไซ่ง่อน ฮีต
โมโน แวมไพร์
พิลิพินาส อากีลาส
ไฮเทค บางกอก ซิตี้
2 thoughts on “ABL Season 6 Team Preview x Singapore Slingers: เริ่มนับหนึ่งอีกครั้ง”