มาดูกัน ความพร้อมของ ทีม ไซ่ง่อน ฮีต ใน ABL กัน!
การแข่งขัน ASEAN Basketball League จะเริ่มต้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้แล้ว ผมจึงคิดว่า มันถึงเวลาอันสมควรแล้ว ที่เราจะมาถกกันเรื่องการเตรียมพร้อมของแต่ละทีม และไขข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องของตัวต่างชาติ
ในปีนี้ ลีก จะประกอบด้วยทีมจากทั้งหมด 5 ประเทศ (ไทย, มาเลเซีย, สิงคโปร์ เวียดนาม และ ฟิลิปปินส์) แต่ละทีมจะพบกันทั้งหมด 4 ครั้ง เป็นฤดูกาลที่ยาวนานถึง 20 เกม จากนั้น 4 ทีมที่มีสถิติที่ดีที่สุด 4 ทีมจะเข้าไปในรอบเพลย์ออฟ เพื่อไปวัดกันในซีรี่ย์การแข่งขันชนะ 2 เกม เข้ารอบ เพื่อตัดสิน แชมป์
แต่ละทีม จะส่งรายชื่อผู้เล่นได้ 16 คน
ใน 16 นั้น สามารถใช้โควต้าในการเซ็น ตัวต่างชาติ ที่เรียกว่า “World Import” ซึ่งจะเป็นนักกีฬาสัญชาติอะไรก็ได้ มาจากที่ไหนก็ได้บนโลก (ต่างดาวก็คงได้ ถ้าสามารถดึงมาได้) ส่วนใหญ่แล้ว ทีมจะใช้โควต้านี้กับ นักกีฬาจากประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เล่นเกมใต้แป้น
นอกจากนี้ จะสามารถใช้โควต้าในการเซ็นตัวต่างชาติอีกสองตำแหน่ง คือ ASEAN/Heritage Import ซึ่งนี่คือคำอธิบายคร่าวๆ จากความเข้าใจของผม:
ASEAN Import คือ นักกีฬาที่
- มีสัญชาติของชาติในภูมิภาค ASEAN ชาติใดชาติหนึ่ง ที่ไม่ใช่ชาติที่ทีมนั้นๆ ตั้งถิ่นฐานอยู่
หรือ
- มีบิดา หรือ มารดา ที่มีสัญชาติของชาติในภูมิภาค ASEAN ชาติใดชาติหนึ่ง ที่ไม่ใช่ชาติที่ทีมนั้นๆ ตั้งถิ่นฐานอยู่ แต่เกิดและโตขึ้นมา นอกภูมิภาค ASEAN
ตัวอย่างเช่น ทีม สิงคโปร์ สลิงเกอร์ส (ที่ตั้งถิ่นฐานที่ สิงคโปร์) สามารถที่จะใช้โควต้า ASEAN Import ในการเซ็นตัวผมไปได้ (ที่มีสัญชาติไทยเต็มๆ) แต่เขาไปใช้โควต้านี้ในการเซ็น คริส โรซาเลส แทน (ที่มีสัญชาติเป็นลูกครึ่ง ฟิลิปปินส์-อเมริกัน)
Heritage importคือ นักกีฬาที่
- มีบิดา หรือ มารดา ที่มีสัญชาติของชาติที่ทีมนั้นๆ ตั้งถิ่นฐานอยู่ แต่เกิดและโตขึ้นมา นอกภูมิภาค ASEAN
ในปีที่แล้ว เราได้เไห็นทีม ไซ่ง่อน ฮีต ใช้สิทธิ Heritage Import มาแล้วกับ สตาร์ดัง เดวิด อาร์โนล์ด (ที่มีมารดาเป็นคนเวียดนาม) และมันก็ได้ผลดีมากจนถึงขั้นมีการต่อสัญญามาในปีนี้อีก เช่นเดียวกันกับไซ่ง่อน ฮีต ทีม ไฮเทคบางกอกซิตี้ ก็มีการใช้สิทธิตรงนี้ ในการเซ็นสองลูกครึ่งไทย-อเมริกัน เฟรดดี้ โกล์ดสตีน และ ไทเลอร์ แลมบ์
ด้านรายละเอียดของแต่ละคำ และ นิยามของแต่ละหัวข้อ อาจจะแตกต่างออกไปเล็กน้อยจาก สิ่งที่แถลงอย่างเป็นทางการ จาก คณะกรรมการ ABL แต่โดยหลักๆ แล้วก็มีเนื้อหาประมาณนี้
เราได้เริ่มต้นด้วยการพรีวิวทีม สิงคโปร์ สลิงเกอร์ และ ต่อมาก็ได้ดูฟอร์มทีม เคแอล ดรากอนส์ มาดูกันต่อกับทีม ไซ่ง่อน ฮีต ดีกว่า!
ทีมไว่ง่อน ฮีต เป็นทีมที่ปฏิวัติวงการบาสเกตบอลในเวียดนามเลย โดยเป็นทีมบาสเกตบอลอาชีพทีมแรกในประเทศ ฮีตผ่านมาแล้ว สาม ฤดูกาล และถือว่าเป็นช่วงเวลาที่มีทั้งขึ้นทั้งลงมาอย่างสม่ำเสมอ หลังจากที่เปิดตัวมาสองฤดูกาลแรกอย่างตะกุกตะกัก ทุกๆ อย่างก็เริ่มดูดีขึ้นมาบ้าง เมื่อปีที่แล้ว ถึงแม้ว่าจะต้องข้ามอุปสรรคที่หนักหนามามากมาย
สรุป ABL Season 5
เมื่อลองมองย้อนกลับไปแล้ว การที่ ไซ่ง่อน สตาร์ท ออกมาด้วยการชนะ สาม เกมรวดดูแล้วไม่ค่อยน่าประทับใจเท่าไหร่ เพราะเป็นการชนะหนึ่งเกม กับ ทีม อินโดนีเซีย วอริเออร์ส และ อีกสองเกม กับทีมบ๊วยตาราง ลาสการ์เดรย่า แต่ ณ ขณะนั้น มันดูเป็นเรื่องที่ไม่ผิดปกติ ที่จะกล่าวว่า ฤดูกาลนี้ มันต้องเป็นฤดูกาลมหัสจรรย์ สำหรับ ไซ่งง่อน ฮีต แน่ๆ ตอนนั้นก็กำลังที่จะได้ดวลกับไฮเทคฯ เพื่อวัดกันว่า ใครจะเป็นทีมไร้พ่ายทีมสุดท้ายใน ABL แต่แล้ว ฮีต ก็ดันแพ้ให้กับ สิงคโปร์ สลิงเกอร์ส ไปก่อน เพียงเกมเดียวก่อนเจอไฮเทคฯ
ปีที่แล้ว ฮีต กล่าวขานตัวเองว่า เป็นทีมที่มี ห้าตัวจริงที่ดีที่สุด ซึ่งก็ถือว่า พูดได้เต็มปากเต็มคำอยู่ จัสติน วิลเลี่ยม ก็ถือว่าเป็นตัวป้องกันที่ดีมาก (ตัวป้องกันยอดเยี่ยมของ ABL, 4.3 บล็อกต่อเกม, อัตราการบล็อก 7.8%) ทาง ดัสติน สก็อตต์ ก็เป็นคนที่ทำทุกอย่างได้อย่างรอบด้าน และเป็นเพื่อนร่วมทีมที่ดีมาก การ์ดอัจฉรินะ ฟรอยลัน บาเกี้ยน เป็นคนที่ทำแอสิสสต์ได้มากที่สุดเป็นอันดับ 3 ใน ABL (4.4 ต่อเกม) อีกทั้งยังทำสตีลได้มากที่สุดอันดับ 2 ใน ABL อีกด้วย (2.2 ต่อเกม) ลีโอ อาเวนิโด้ ก็เป็นตัวแม่น ยิงสามแต้มลงไป 57 ลูก ซึ่งมากที่สุดใน ABL และแน่นอน ก็มีไอ้หนุ่มรูปหล่อ ผู้เป็นหน้าเป็นตาของทีม เดวิด เวียด อาร์โนล์ด เขาทำไป 14.5 แต้มต่อเกม และ เป็นคนที่ทำแต้มได้มีประสิทธิภาพมากที่สุดในลีกคนหนึ่ง (51 eFG%, สูงสุดเป็นอันดับ 5 ใน ABL) โดยการทำแต้มของ อาร์โนล์ด จะเป็นการผสมกันระหว่าง การยิงสามแต้ม และ การล่อฟาวล์ ด้วยระดับความสามารถของห้าตัวจริงขนาดนี้ ปฏิเสธ ไม่ได้เลยว่า ชุดนี้แหละ คู่ควรกับนามว่า “ห้าตัวจริงที่ดีที่สุดใน ABL”
แต่ปัญหาของไซ่ง่อน ฮีต ที่ทำให้จบผลงานออกมาได้ชัยชนะเพียง 9 ครั้ง คือ ตัวม้านั่งสำรองนั่นเอง ระดับของความสามารถที่ตกลงมาจากตัวจริงคนที่ห้า มาที่ ตัวสำหรับคนแรก มันห่างกันในระดับที่ไม่น่าจะเคยเห็นในระดับบาสอาชีพมาก่อน ถึงแม้ว่าพวกเขา จะได้ตัว ไรอัน เล มาช่วงกลางฤดูกาล แต่ เขาเองก็ยังไม่สามารถแสดงผลงานได้อย่างต่อเนื่อง
ความหวังที่จะได้เข้ารอบเพลย์ออฟ ที่กำลังร่อแร่ๆ อยู่นั้น ก็ได้ถูกท้าทายด้วยโชะตาดอกแรก หลังจากเกมที่ 13 ของฤดูกาลที่ชนะ อินโดนีเซีย วอริเออร์ส ในบ้าน เช้าหลังจากเกมนั้น โค้ช เจสัน ราบาโดว์ส ถูกพบว่าเสียชีวิต ภายในบ้านของตัวเอง สภาพของทีมที่กำลังใจถดถอยอย่างหนักหน่วง และมีสถิติชนะ 1 แพ้ 3 ก่อนที่จะมาเจอกับทีม สิงคโปร์ สลิงเกอร์ส ในสภาพที่ต้องชนะเท่านั้นในบ้าน และเหมือนมีพลังขับเคลื่อนบางอย่างที่ทำให้ทีมชนะไปได้อย่างไม่ยากลำบากนัก มันจึงนำไปสู่การนัดหมายที่จะแข่งกับทีม อินโดนีเซีย วอริเออร์ส ที่ประเทศ อินโดนีเซีย โดยมีตั๋วเข้ารอบเพลย์ออฟเป็นเดิมพัน
แต่แล้วโชคชะตาก็ยังจะซ้ำเติม โดย ดัสติน สก็อตต์ พบปัญหาเกี่ยวกับเอกสารการเดินทาง ทำให้ไม่สามารถไปร่วมทีมที่อินโดนีเซียได้ แลัทำให้ ฮีตต้องเซ็นตัว มาร์ก ยี มาใช้ชั่วคราว
ในเกมนั้น ฮีตกำลังนำอยู่สามแต้ม โดยมีเวลาเหลือในการแข่งขันเพียงน้อยนิด ดูเหมือนว่าในที่สุด ฮีต ก็ก้าวข้ามผ่านอุปสรรคที่ขวางหน้าทั้งหมดได้…แต่แล้วมันก็ยังไม่จบ เพราะ โบนันซ่า เซียร์ก้า ได้ยิงลูกสามแต้ม 1 ใน 7 ลูกที่ยิงลงมาตลอดทั้งฤดูกาลได้จังหวะพอดิบพอดี ดันให้เก็บเข้าสู่ช่วงต่อเวลา ท้ายที่สุดแล้ว ฮีต ก็เอาชนะไปได้ แต่มันก็ไม่ใช่ง่ายๆ เลยกับความสำเร็จที่ได้มา
ชัยชนะในครั้งนั้น หมายถึงการเข้ารอบเพลย์ออฟครั้งแรกของ ไซ่ง่อน ฮีต และถึงแม้ว่าจะเข้ารอบไปโดน เคแอล ดรากอนส์ เชือดอย่างไม่เหลือ ชิ้นดี…แต่การที่ก้าวข้ามามาถึงจุเนั้นได้ ก็ประสบความสำเร็จแล้ว
มองสถานการณ์ข้างหน้ากับ ABL Season 6
สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับ ไซ่ง่อน ฮีต สำหรับ ฤดูกาลนี้ คือ การที่ได้ เดวิด อาร์โนล์ด กลับมา จากมุมมองทางบาสเกตบอลล้วนๆ เขาอาจจะดูไม่ได้มีอะไรมากขนาดนั้น แต่ถ้าดูภาพรวมทั้งหมด การ่ที่ได้ อาร์โนล์ด กลับมา คือสิ่งที่ดีที่สุดที่จะเกิดขึ้นได้ แฟนๆ รักอาร์โนล์ด อย่างหัวปักหัวปำ และมันก็ให้ความรู้สึกที่ “ต่อเนื่อง” สำหรับทีมที่ให้ความรู้สึกแห่งความหวังที่สามารถก้าวข้ามอุปสรรคในปีที่แล้วมาได้อย่างต่อเนื่อง ปีนี้ เขาเก็บประสบการณ์ใน ABL มาแล้ว 1 ปี มันจึงไม่ใช่เรื่องแปลกนัก หากจะคาดหวังว่าเขาจะทำผลงานได้ดีกว่า 14.5 แต้ม, 3.8 รีบาวด์, และ 2.7 แอสสิสต์ จากปีที่แล้ว
ทางฮีต ก็ไม่ได้รอจนจบซีเกมส์ ก่อนที่จะคว้าตัว สเตฟาน หงวน (ซึ่งอ่านรายละเอียดของเขาได้ ที่นี่) มาจากประเทศ สวีเดน ก็ต้องใช้เครดิตกับทางทีมงานของ ไซ่ง่อน ฮีต ที่ออกตามหาเหล่านักบาสมีฝีมือ จากหลายมุมทั่วโลก เพื่อมาเสริมความแกร่งให้กับทีม ชาวเวียดนาม น่าจะมีกระจัดกระจายอยู่หลายมุมโลก จึงไม่ใช่เรื่องแปลก หากจะมีนักบาสอย่าง สเตฟาน หรือ เดวิด มากกว่านี้อีก สเตฟาน เองก็เข้ามาในปีนี้ ในแบบแม่พิมพ์เดียวกับ อาร์โนลด์ ปีที่แล้ว โดยเป็นคนที่มีบุคลิก และ หน้าตาที่ “ขายได้” ทำให้แฟนๆ หลงรักเขาคนนี้ อีกคนซะแล้ว ถ้าเขาสามารถที่จะพิสูจน์ตัวเองกับ ABL ได้ว่า เขาเองก็มีฝีมือไม่น้อยหน้า เดวิด ฤดูกาลข้างหน้าของ ฮีตนี้ มันต้องสนุกอย่างแน่นอน
ไซ่ง่อน ฮีต เดินเกมอย่างเบาๆ เงียบๆ ภายใต้ร่มเงา และก็กวาดเอาตัวต่างชาติ เลนนี่ แดเนี่ยล ไปอย่างเงียบๆ (อ่านเรื่องราวของแดเนี่ยล เพิ่มได้ที่นี่) เพื่อเสริมพลังใต้แป้น ไม่นานหลังจากนั้น เขาก็เก็บเอาตัว ลูกครึ่งไทย-อเมริกัน โมเสส มอร์แกน (อ่านเรื่องราวของเขาเพิ่มได้ ที่นี่) ซึ่งมอร์แกนนั้นเล่นใน ไทยแบลนด์ บาสเก็ตบอล ลีกในช่วงหน้าร้อนที่ผ่านมา มอร์แกน จะเป็นคนที่ปฏิวัติอะไรหลายๆ อย่าง โดยเป็นตัวลูกครึ่งไทย ที่ได้เป็น ASEAN Import ซึ่งปกติแล้วจะใช้กับคนฟิลิปปินส์ หรือ พวกลูกครึ่ง ฟิลิปปินส์ เขาจะเป็นคนที่ เน้นย้ำ คำว่า “ASEAN” ใน “ASEAN Basketball League” ได้ เป็นอย่างดี สำคัญยิ่งวกว่านั้นคือ เขาจะเล่นในตำแหน่ง สมอลล์ ฟอร์เวิร์ด และจะเป็นตัวที่สามารถทำแต้มได้อีกคนหนึ่ง
มีการเสริมทัพที่มาแบบเงียบๆ ช่วงท้ายคือ การเซ็น วิลล์ ครีกมอร์ ซึ่งน่าจะเป็นรายการเซ็นคนสุดท้าย ด้วยเวลาที่เหลือเพียง 5 วันก่อนเริ่มแข่งวันแรก สามารถอ่านเรื่องราวของ ครีกมอร์เพิ่มได้ ที่นี่
นอกจาก อาร์โนล์ด แล้ว ฮีต จะยังมีคนที่หลงค้างจากชุดปีที่แล้ว คือ หงวน หงอบ ถั่น แล้ว จัน เตี่ยน ทิน ทั้งคู่เล่นไปเพียงคนละ 80 นาที ตลอดทั้งฤดูกาลที่แล้ว แต่อย่างน้อยมันก็เป็น 80 นาทีที่เป็นประสบการณ์ในการเล่น ABL ที่อาจจะมีประโยชน์กับ โค้ช โทนี่ การ์บาเล็ตโต้ หากถึงเวลาต้องใช้งานจริงๆ เตี่ยน ทิน นั้นก็ได้ลงเล่นกับทีมชาติ เวียดนามที่เล่นใน SEA Games ปีที่ผ่านมา หลังจากที่ร้างการส่งแข่งมานาน นอกจาก เตี่ยน ทิน แล้ว ยังมี หงวน ถั่น แหง่ง, ดั่ม ฮุย ได่, โต กวาง จุม และ ฟาน มิน ลวน เท่าที่ทราบ คือ มีเพียง กวาง จุม ที่มีประสบการณ์ในการเล่น ABL มาก่อน (แต่ถ้ามีใครอีกก็บอกด้วยนะครับ)

ในบรรดา ตัวทีมชาติเวียดนามนั้น ชื่อที่โดดออกมาที่สุดคงไม่พ้น หงวน ถั่น แหง่ง ที่ทำเฉลี่ย 14.0 แต้ม และ 9.6 รีบาวด์ต่อเกม ในการแข่งขัน SEA Games ด้วยความสูง 6’3″ ทำให้เขาเป็นผู้เล่นท้องถิ่นที่สูงที่สุดในทีม
ขอเสริมตรงนี้ ว่า น่าเสียดายจริงๆ ที่ เราไม่น่าจะได้เห็น ฮาน มินห์ จิ่ว เล่นให้กับ ไซ่ง่อน ฮีต โดยกัปตัน ทีมชาติคนนี้ ทำไป 17.8 แต้ม, 4.8 รีบาวด์, และ 3 แอสิสต์ ใน SEA Games ที่ผ่านมา

ก็ได้แต่หวังว่าจะมีปาฏิหาริย์ซักอย่างที่จะทำให้สองฝ่ายนี้ ได้โคจรมาอยู่ด้วยกันให้ได้…
ข้อได้เปรียบ
การทำแต้ม

การทำแต้มไม่น่าจะเป็นปัญหาในปีนี้ ปีที่แล้วพวกเขามี ห้าตัวจริงที่สุดยอดก็จริง แต่แทบไม่มีใครที่เป็นคนที่เกิดมาเพื่อทำแต้มจริงๆ (เว้นแต่เพียง เดวิด อาร์โนล์ด บาเกี้ยน กับ สก็อตต์ ออกตัวชัดเจนว่าเป็น “ผู้ส้ราง” มากกว่า “ผู้ทำ” สำหรับ อาเวนีโด้ ก็ทำแต้มได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะเป็นคนที่ทำแต้มในจังหวะนิ่ง มากกว่าการสร้างจังหวะให้ตัวเอง จัสติน วิลเลี่ยมส์ อาจจะป้องกันได้โหดมากก็จริง แต่การทำแต้มหลายๆ ครั้งก็ฝืนเอามากๆ
ในปีนี้ ฮีต มีทั้ง เลนนี่ แดเนี่ยล ที่เป็นตัวทำสกอร์ อันดับ 1 ของทีมมาตั้งแต่สมัยมหาวิทยาลัย มี โมเสส มอร์แกน ตัวยิง ที่ผันตัวมาเป็นตัวทำแต้มหลักในสมัยที่เล่นที่ไทย ซึ่งเขามีร่างกายที่แข็งแรงที่เรียกฟาวล์จากฝ่ายตั้งรับได้ง่าย อีกทั้งยังยิงไกลได้ดี
รวมกันกับ เดวิด อาร์โนล์ด แล้ว สามคนนี้ น่าจะหาตัวจับได้ยากจริงๆ
ข้อเสียเปรียบ
ชั้นของผู้เล่น
เป็นปัญหาที่ค้างคามาตั้งแต่ปีที่แล้ว ถึงแม้ว่า ฮีตจะมีห้าตัวจริงที่ยอดเยี่ยม และปีนี้ ก็มีห้าตัวจริงที่มีประสบการณ์การเล่นระดับสูงในอเมริกา และที่ยุโรปมาแล้ว แต่พอหลุดจากตัวที่ห้านั้น ระดับฝีมือ ก็ตกลงฮวบอีกเช่นเคย ตอนนี้ ที่ม้านั่งมีผู้เล่นของทีมชาติหลายคนก็จริง ซึ่งดีกว่าชุดปีที่แบล้ว แต่มันมากพอรึเปล่า ที่จะใช้การใน ABL ได้?
แต่แน่นอน หากว่า พวกเขาสามารถจับ ฮาน มินฮ์ จิ่ว ลงทีมได้…ปัญหาตรงนี้ ก็จะลดลงมาหน่อย ทำให้ โค้ช โทนี่ การ์บาเล็ตโต้ ปวดหัวน้อยลง
การป้องกัน
ปีนี้ เขาจะไม่มี จัสติน วิลเลี่ยม คอยปัดตบทุกลูกยิงอยู่ใต้แป้นอีกต่อไป อีกทั้งจะไม่มี ฟรอยลัน บาเกี้ยน ค่อยดักขโมยบอลอีกด้วย เลนนี่ แดเนี่ยล น่าจะเก็บบล็อกได้บ้างเป็นครั้งคราว แต่มันก็ไม่ใช่ในระดับ เดียวกับ จัสติน วิลเลี่ยม ปีที่แล้ว ต้องยอมรับว่า ฮีต พึ่งพาเกมรับของวิลเลี่ยมสูงมาก และเราคงได้เห็นว่า ฮีต จะมีอาการติดขัดทางเกมป้องกันบ้าง ไม่มากก็น้อย
คาดการณ์ผลงาน
ทีมนี้ รวมตัวกันช้ากว่าทีมอื่นๆ (ยิ่งมีการเซ็น วิลล์ ครีกมอร์ ในช่วงโค้งสุดท้าย) โมเสส มอร์แกน เองก็ยังรักษาอาการบาดเจ็บให้หายอยู่ ทีมจึงอาจจะยังไม่อยู่ในสภาพ 100% แต่มันก็เป็นการเดินเกมที่ดี ที่ผู้บริหารทีม ได้พาทีมออกทัวร์ มะนิลา เพื่อให้ได้ปรับตัวกัน แต่ถึงอย่างไร มันก็ยังคงต้องใช้เวลา
พวกเขาคงจะออกตัวได้ช้าหน่อย แต่ก็น่าจะกลับมาชนะได้ประมาณ 7-9 เกม อย่างไรก็ตาม หากว่า เขาสามารถที่จะจับตัว ฮาน มินห์ จิ่ว มาได้จริงๆ น่าจะทำให้ ฮีต พลิกมาได้อีกซักเกมสองเกม
ติดตามอ่าน Preview ทั้งหมดของทีมใน ABL ตามนี้เลยนะครับ
สิงคโปร์ สลิงเกอร์ส
เวสต์พอร์ต มาเลเซีย ดรากอนส์
ไซ่ง่อน ฮีต
โมโน แวมไพร์
พิลิพินาส อากีลาส
ไฮเทค บางกอก ซิตี้