มาดูกัน ความพร้อมของ ทีม ปาเกียว พาวเวอร์วิท พิลิพินาส อากีลาส ใน ABL กัน!
การแข่งขัน ASEAN Basketball League จะเริ่มต้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้แล้ว ผมจึงคิดว่า มันถึงเวลาอันสมควรแล้ว ที่เราจะมาถกกันเรื่องการเตรียมพร้อมของแต่ละทีม และไขข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องของตัวต่างชาติ
ในปีนี้ ลีก จะประกอบด้วยทีมจากทั้งหมด 5 ประเทศ (ไทย, มาเลเซีย, สิงคโปร์ เวียดนาม และ ฟิลิปปินส์) แต่ละทีมจะพบกันทั้งหมด 4 ครั้ง เป็นฤดูกาลที่ยาวนานถึง 20 เกม จากนั้น 4 ทีมที่มีสถิติที่ดีที่สุด 4 ทีมจะเข้าไปในรอบเพลย์ออฟ เพื่อไปวัดกันในซีรี่ย์การแข่งขันชนะ 2 เกม เข้ารอบ เพื่อตัดสิน แชมป์
แต่ละทีม จะส่งรายชื่อผู้เล่นได้ 16 คน
ใน 16 นั้น สามารถใช้โควต้าในการเซ็น ตัวต่างชาติ ที่เรียกว่า “World Import” ซึ่งจะเป็นนักกีฬาสัญชาติอะไรก็ได้ มาจากที่ไหนก็ได้บนโลก (ต่างดาวก็คงได้ ถ้าสามารถดึงมาได้) ส่วนใหญ่แล้ว ทีมจะใช้โควต้านี้กับ นักกีฬาจากประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เล่นเกมใต้แป้น
นอกจากนี้ จะสามารถใช้โควต้าในการเซ็นตัวต่างชาติอีกสองตำแหน่ง คือ ASEAN/Heritage Import ซึ่งนี่คือคำอธิบายคร่าวๆ จากความเข้าใจของผม:
ASEAN Import คือ นักกีฬาที่
- มีสัญชาติของชาติในภูมิภาค ASEAN ชาติใดชาติหนึ่ง ที่ไม่ใช่ชาติที่ทีมนั้นๆ ตั้งถิ่นฐานอยู่
หรือ
- มีบิดา หรือ มารดา ที่มีสัญชาติของชาติในภูมิภาค ASEAN ชาติใดชาติหนึ่ง ที่ไม่ใช่ชาติที่ทีมนั้นๆ ตั้งถิ่นฐานอยู่ แต่เกิดและโตขึ้นมา นอกภูมิภาค ASEAN
ตัวอย่างเช่น ทีม สิงคโปร์ สลิงเกอร์ส (ที่ตั้งถิ่นฐานที่ สิงคโปร์) สามารถที่จะใช้โควต้า ASEAN Import ในการเซ็นตัวผมไปได้ (ที่มีสัญชาติไทยเต็มๆ) แต่เขาไปใช้โควต้านี้ในการเซ็น คริส โรซาเลส แทน (ที่มีสัญชาติเป็นลูกครึ่ง ฟิลิปปินส์-อเมริกัน)
Heritage importคือ นักกีฬาที่
- มีบิดา หรือ มารดา ที่มีสัญชาติของชาติที่ทีมนั้นๆ ตั้งถิ่นฐานอยู่ แต่เกิดและโตขึ้นมา นอกภูมิภาค ASEAN
ในปีที่แล้ว เราได้เไห็นทีม ไซ่ง่อน ฮีต ใช้สิทธิ Heritage Import มาแล้วกับ สตาร์ดัง เดวิด อาร์โนล์ด (ที่มีมารดาเป็นคนเวียดนาม) และมันก็ได้ผลดีมากจนถึงขั้นมีการต่อสัญญามาในปีนี้อีก เช่นเดียวกันกับไซ่ง่อน ฮีต ทีม ไฮเทคบางกอกซิตี้ ก็มีการใช้สิทธิตรงนี้ ในการเซ็นสองลูกครึ่งไทย-อเมริกัน เฟรดดี้ โกล์ดสตีน และ ไทเลอร์ แลมบ์
ด้านรายละเอียดของแต่ละคำ และ นิยามของแต่ละหัวข้อ อาจจะแตกต่างออกไปเล็กน้อยจาก สิ่งที่แถลงอย่างเป็นทางการ จาก คณะกรรมการ ABL แต่โดยหลักๆ แล้วก็มีเนื้อหาประมาณนี้
เราเริ่มพรีวิวออกไปแล้วกับ สิงคโปร์ สลิงเกอร์ส ต่อด้วยเคแอล ดรากอนส์ และ ไซ่ง่อน ฮีต ได้ดูทีมเก่าๆ ไปแล้ว และได้ดูทีมใหม่ๆ อย่าง โมโน แวมไพร์ ไปแล้ว มาดูทีมน้องใหม่อีกทีมกันดีกว่า กับ ปาเกียว พาวเวอร์วิท พิลิพินาส อากีลาส!
ประเทศฟิลิปปินส์น่าจะเรียกได้ว่าเป็นประเทศที่คลั่งบาสมากที่สุดในโลก ถ้าเทียบเป็นสัดส่วนต่อประชากร ในฟิลิปปินส์ มีลีกอาชีพที่ถือว่าเป็นลีกที่มีมานานที่สุดใน เอเชียด้วย
บทบาท และ ความเก่งกาจของประเทศฟิลิปปินส์ใน ABL นั้นมีมาให้เห็นอย่างสม่ำเสมอ ในปีแรกของการตั้ง ABL ตังแทนจากประเทศ ฟิลิปปินส์ คือ ฟิลิปปินส์ แพททริออตส์ ก็จัดการคว้าแชมป์มาได้ ในปีที่สอง แพททริออตส์ ทะลุไปถึงรอบชิงได้อีกครั้ง แต่กลับต้องมาแพ้ให้กับ ช้างไทย สแลมเมอร์ส ในซีซั่นที่ 3 ได้มีทีจากฟิลิปปินส์เพิ่มมา 1 ทีมคือ ซานมิเกล เบียร์เมน ทีมแพททริออตส์ ถอนทีมออกไปใน ซีซั่นที่ 4 แต่ฟิลิปปินส์ ก็ยังคงมีทีมตัวแทนประเทศ โดยมีทีม ซาน มิเกล เบียร์เมน ซึ่งในปีแรกที่ลงแงข่ เบียร์เมน ก็ชวดการคว้าแชมป์มาให้ชาวพินอย ด้วยการแพ้ อินโดนีเซีย วอริเออร์ส แต่ก็สามารถล้างตาแก้แค้นได้สำเร็จด้วยการคว้าแชมป์ในซีซั่นถัดมา คือ ซีซั่นที่ 4 ด้วยการชนะวอริเออร์ส คู่ปรับเดิม
ในซีซั่นที่ 5 ไม่มีทีมจากประเทศ ฟิลิปปินส์ เข้าร่วม แต่ลีกก็ยังมีกลิ่นอายของชาวฟิลิปปินส์ อยู่ทุกหนทุกแห่งในรูปแบบของตัว ASEAN Import อย่างที่เคยมีๆ มาทุกๆ ฤดูกาล
ซีซั่นที่ 6 นี้ ประเทศฟิลิปปินส์ ออกตัวแรงมากสำหรับชาวฟิลิปปินนส์ โดยมีถึง 2 ทีม ที่ประกาศเข้าร่วม คือทีม มินดานาว อากีลาส ที่มี แมนนี่ ปาเกียว เป็นเจ้าของ และ ทีม ราคาล มอเตอร์ส
ในเวลาถัดมาไม่นาน ทีม ราคาล มอเตอร์ส ได้ถอนทีมออกไป เหลือไว้แต่เพียงทีม อากีลาส ซึ่งมาเปลี่ยนชื่อทีมใหม่เป็น ปาเกียว พาวเวอร์วิท พิลิพินาส อากีลาส หรือ เหยี่ยวฟิลิปินส์ นี่เอง
มองสถานการณ์ข้างหน้ากับ ABL Season 6
เป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะแน่นอนว่า ไม่ว่า ฟิลิปปินส์จะส่งทีมไหนมาแข่วง ABL แล้ว ทีมนั้น จะต้องจัดเต็มมาอย่างแน่นอน ตั้งแต่ทีมประกาศอย่างเป็นทางการว่าจะส่งแข่ง ก็ไม่รอช้าที่จะประกาศว่า จะใช้ วิลลี่ มิลเลอร์ เป็นตัวหลักของทีม (อ่านรายละเอียดได้ ที่นี่) อีกคนหนึ่งที่เปิดตัวออกมาแต่เนิ่นๆ คือ ตัวต่างชาติ ชาร์ลส์ แมมมี่ (อ่านรายละเอียดได้ ที่นี่)
ความฮือฮาของทีม อากีลาส เวียบลงไปซักพักหนึ่ง ก่อนที่มีรายงานจากสื่อข่าว Spin.PH ที่บอกว่า ตัวต่างชาติที่ดีที่สุดใน PBA ในการแข่งขันรอบล่าสุด คือ เอซี รีด จะเป็นตัวต่างชาติ World Import คนที่สองของทีมอากีลาส (ซึ่งได้อธิบายไว้เพิ่มเติม ที่นี่ นอกจากนี้แล้ว ในบทความดังกล่าว ยังกล่าวถึงสองลูกครึ่งฟิลิปปินส์ อัลลี ออสเตรีย (รายละเอียด ที่นี่) และ เจอรามี่ คิง (รายละเอียด ที่นี่) ลูกครึ่งสองคนนี้ และ การ์ดร่างเล็กขวัญใจแม่ยก จากมหาวิทยาลัย อาเทเนโอ เด มะนิลา คือ นิโก เอลอร์ด จะเป็นกลุ่มวัยรุ่นของทีมอากีลาส
ผู้เล่นคนอื่นๆ ในทีม เป็นผู้เล่นเก่าจาก PBA โดยที่น่าจะคุ้นหูมากที่สุด คงไม่พ้น วัล อาคุญญ่า ที่เล่นให้กับ แบล็ควอเตอร์ อีลิท ปีที่แล้ว และ เคยเล่นใน ABL มาแล้วกับบางทีมของ ฟิลิปปินส์ นอกจากนั้นก็มี ซันเดย์ ซัลวาโชน ที่เล่นให้กับแบล็ควอเตอร์ในปีที่แล้วเช่นกัน จอนดาน ซาลวาดอร์ ก็เล่นให้กับทีม บาราโก บูล เมื่อปีที่แล้วเช่นกัน ส่วนที่เหลือ คือ ลีโอ นาฮอร์ด้า และ คาร์โล ชาร์ม่า ห่างเหินจาก PBA มาปีกว่าๆ แล้ว
ความเคลื่อนไหวล่าสุดของทีม คือ การที่ชนะ ไซ่ง่อน ฮีตไปในเกมอุ่นเครื่อง ด้วยสกอร์ 117-83
ข้อได้เปรียบ
Pinoy Pride
ถือว่าเป็นบาปมหันต์ ถ้าเราตัดสินนักกีฬา หรือ ทีมๆ หนึ่ง เพียงจากชื่อเสียง หรือ คำกล่าวปากต่อปาก เราควรจะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติที่มีมา เพื่อพิจารณาให้รู้แน่แท้จริง แต่ถึงจะบอกอย่างนั้น ทีมไหนจากฟิลิปปินส์ก็ถือว่า ต้องน่ากลัวแน่ๆ บาสเก็ตบอล เป็นวิถีชีวิต ของพวกเขา สำหรับบางคนแล้ว บาสเก็ตบอลอาจจะถือว่ายิ่งใหญ่กว่าชีวิตตัวเองเสียด้วยซ้ำ ด้วยเหตุผลเหล่านี้ ทำให้ชาวฟิลิปปินส์ส่วนมาก เล่นด้วยจังหวะที่ “เร่าร้อน” กว่าคนทั่วไปจังหวะหนึ่ง และมันทำให้เกิดความได้เปรียบในหลายๆ ครั้ง
ความเป็นมืออาชีพ
ผู้เล่น ฟิลิปปินส์ เหล่านี้ และ ตัวต่างชาติ ต่างก็เล่นบาสเก็ตบอล ที่เป็น “อาชีพ” มาตั้งแต่เริ่มต้นการเล่นครั้งแรกแล้ว สิ่งที่ทีมอื่นๆ ใน ABL ทำอยู่ เพื่อให้เกิดเป็นอาชีพนั้น ก็เป็นสิ่งที่น่าปรบมือให้รัวๆ แต่ มันก็ยังต้องใช้เวลาในการทำให้มันเกิดขึ้นได้จริงๆ ผู้เล่น สต๊าฟโค้ช ทีมบริหาร ทุกคนต่างก็มีความคิดในหัวตัวเองกันแล้ว ว่าการทำงานบาสเกตบอลเป็นอาชีพต้องทำกันอย่างไร
ข้อเสียเปรียบ
Pinoy Pride
โอเคละ ความเป็น “ฟิลิปปินส” มันมีข้อได้เปรียบของมันก็จริง แต่ในอีกมุมมองหนึ่ง มันก็ทำให้พวกเขากลายเป็น เป้าหมายอันดับหนึ่งของหลายๆ ทีม ทุกคนอยากจะเป็นทีมที่ล้มทีมจากฟิลิปปินส์ ทุกคนอยากเป็นคนที่ทำแต้มกระจุยกระจายใส่ผู้เล่นฟิลิปปินส์ ทุกคนอยากจะมีป้ายชื่อติดว่า ผู้พิฆาตพินอย
การเป็นทีมอากีลาส มันจะทำให้คู่ต่อสู้มีไฟลุกขึ้นมาท เพื่อเล่นให้ดีขึ้นอีกระดับนึง และมันก็ทำให้งานหยาบขึ้นเวลาเจอกัน
ขนาดร่างกาย
บาสเก็ตบอลสมัยใหม่เน้นไปทาง สมอลล์บอล หรือ บาสที่อาศัยความไวและการทำแต้มจากวงนอกเป็นหลัก แต่ขนาดร่างกายก็ยังเป็นสิ่งที่สำคัญ ในทีมแชมป์ NBA อย่าง โกลเดนสเตท วอริเออร์ ก็เห็นอยู่ว่า แอนดรู โบกัต ไม่ได้มีไว้ยืนหล่อๆ อย่างเดียว
ตัวผู้เล่นที่สูงที่สุดของอากีลาส จะเป็น ชาร์ลส์ แมมมี่ ที่สูง 6’7″ และจะต้องคอยตีกับยักษ์ อย่าง คริส ชาร์ลส์, สตีฟ โธมัส, จัสติน ฮาวเวิร์ด, เรจจี้ จอห์นสัน, เลนนี่ แดเนี่ยล, แอนโธนี่ แมคเคลน, ควินซี่ โอโคลี่, และ แคลวิน ก็อดเฟรย์ ถือว่าไม่ใช่งานง่ายๆเลย
คาดการณ์ผลงาน
ด้วยองค์ประกอบของความเร็ว ประสบการณ์ ความดุดัน และ เทคนิค ตอนนี้ก็มองได้ว่า อากีลาส น่าจะอยู่ชั้นบนสุดของหาวงโซ่อาหารใน ABL ไม่ใช่ว่าไม่มีทางที่จะชนะพวกเขาได้ แต่ก็ต้องยอบรับว่าคงชนะยากจริงๆ
ผมมองว่า เขาน่าจะเก็บชัยชนะได้ 14-15 เกมในปีนี้
ติดตามอ่าน Preview ทั้งหมดของทีมใน ABL ตามนี้เลยนะครับ
สิงคโปร์ สลิงเกอร์ส
เวสต์พอร์ต มาเลเซีย ดรากอนส์
ไซ่ง่อน ฮีต
โมโน แวมไพร์
พิลิพินาส อากีลาส
ไฮเทค บางกอก ซิตี้
One thought on “ABL Season 6 Team Preview x Pacquiao Powervit Aguilas Pilipinas: ออกตัวแรง”