มาดูกัน ความพร้อมของ ทีม โมโน แวมไพร์ ใน ABL กัน!
การแข่งขัน ASEAN Basketball League จะเริ่มต้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้แล้ว ผมจึงคิดว่า มันถึงเวลาอันสมควรแล้ว ที่เราจะมาถกกันเรื่องการเตรียมพร้อมของแต่ละทีม และไขข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องของตัวต่างชาติ
ในปีนี้ ลีก จะประกอบด้วยทีมจากทั้งหมด 5 ประเทศ (ไทย, มาเลเซีย, สิงคโปร์ เวียดนาม และ ฟิลิปปินส์) แต่ละทีมจะพบกันทั้งหมด 4 ครั้ง เป็นฤดูกาลที่ยาวนานถึง 20 เกม จากนั้น 4 ทีมที่มีสถิติที่ดีที่สุด 4 ทีมจะเข้าไปในรอบเพลย์ออฟ เพื่อไปวัดกันในซีรี่ย์การแข่งขันชนะ 2 เกม เข้ารอบ เพื่อตัดสิน แชมป์
แต่ละทีม จะส่งรายชื่อผู้เล่นได้ 16 คน
ใน 16 นั้น สามารถใช้โควต้าในการเซ็น ตัวต่างชาติ ที่เรียกว่า “World Import” ซึ่งจะเป็นนักกีฬาสัญชาติอะไรก็ได้ มาจากที่ไหนก็ได้บนโลก (ต่างดาวก็คงได้ ถ้าสามารถดึงมาได้) ส่วนใหญ่แล้ว ทีมจะใช้โควต้านี้กับ นักกีฬาจากประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เล่นเกมใต้แป้น
นอกจากนี้ จะสามารถใช้โควต้าในการเซ็นตัวต่างชาติอีกสองตำแหน่ง คือ ASEAN/Heritage Import ซึ่งนี่คือคำอธิบายคร่าวๆ จากความเข้าใจของผม:
ASEAN Import คือ นักกีฬาที่
- มีสัญชาติของชาติในภูมิภาค ASEAN ชาติใดชาติหนึ่ง ที่ไม่ใช่ชาติที่ทีมนั้นๆ ตั้งถิ่นฐานอยู่
หรือ
- มีบิดา หรือ มารดา ที่มีสัญชาติของชาติในภูมิภาค ASEAN ชาติใดชาติหนึ่ง ที่ไม่ใช่ชาติที่ทีมนั้นๆ ตั้งถิ่นฐานอยู่ แต่เกิดและโตขึ้นมา นอกภูมิภาค ASEAN
ตัวอย่างเช่น ทีม สิงคโปร์ สลิงเกอร์ส (ที่ตั้งถิ่นฐานที่ สิงคโปร์) สามารถที่จะใช้โควต้า ASEAN Import ในการเซ็นตัวผมไปได้ (ที่มีสัญชาติไทยเต็มๆ) แต่เขาไปใช้โควต้านี้ในการเซ็น คริส โรซาเลส แทน (ที่มีสัญชาติเป็นลูกครึ่ง ฟิลิปปินส์-อเมริกัน)
Heritage importคือ นักกีฬาที่
- มีบิดา หรือ มารดา ที่มีสัญชาติของชาติที่ทีมนั้นๆ ตั้งถิ่นฐานอยู่ แต่เกิดและโตขึ้นมา นอกภูมิภาค ASEAN
ในปีที่แล้ว เราได้เไห็นทีม ไซ่ง่อน ฮีต ใช้สิทธิ Heritage Import มาแล้วกับ สตาร์ดัง เดวิด อาร์โนล์ด (ที่มีมารดาเป็นคนเวียดนาม) และมันก็ได้ผลดีมากจนถึงขั้นมีการต่อสัญญามาในปีนี้อีก เช่นเดียวกันกับไซ่ง่อน ฮีต ทีม ไฮเทคบางกอกซิตี้ ก็มีการใช้สิทธิตรงนี้ ในการเซ็นสองลูกครึ่งไทย-อเมริกัน เฟรดดี้ โกล์ดสตีน และ ไทเลอร์ แลมบ์
ด้านรายละเอียดของแต่ละคำ และ นิยามของแต่ละหัวข้อ อาจจะแตกต่างออกไปเล็กน้อยจาก สิ่งที่แถลงอย่างเป็นทางการ จาก คณะกรรมการ ABL แต่โดยหลักๆ แล้วก็มีเนื้อหาประมาณนี้
เราเริ่มพรีวิวออกไปแล้วกับ สิงคโปร์ สลิงเกอร์ส ต่อด้วยเคแอล ดรากอนส์ และ ล่าสุดก็เป็น ไซ่ง่อน ฮีต พอกันที กับทีมเก่าๆ เรามาดูทีมใหม่ๆ อย่าง โมโน แวมไพร์ กันดีกว่า!
ตอนนี้ น่าจะบอกได้ว่า โมโน แวมไพร์ ขึ้นทางด่วนในวงการบาสเกตบอลอยู่ก็ว่าได้ แบบทางด่วนพิเศษเลยแหละ ทีมนี้เพิ่งตั้งมาเมื่อตินเดืิน กุมภาพันธ์ 2014 แต่เวลาผ่านไปเพียง 1 ปี กับ 9 เดือน สภาพทีมกลายเป็น ทีมที่กำลังเตรียมตัวเพื่อเข้าแข่งขัน ลีกที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค ASEAN อีกทั้งยังเพิ่งซิวเอาแชมป์ระดับประเทศไปครองเป็นครั้งแรก ทุกอย่างดูเหมือนจะเดินทางมาได้อย่างสวยงาม สำหรับทีม โมโน แวมไพร์ ในช่วงที่ผ่านมา และ พวกเขาก็คงคาดหวังว่ามันจะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ
สรุป ABL Season 5 ผลงานในช่วงที่ผ่านมา
โมโน แวมไพร์ เป็นทีมน้องใหม่ใน ASEAN Basketball League เพราะฉะนั้น แทนที่เราจะมาสรุปความเป็นไปของปีที่แล้วใน ABL เรามาดูผลงานในช่วงที่ผ่านมาดีกว่า
ทีมแวมไพร์ ก่อตั้งขึ้นใมน กุมภาพันธ์ 2014 และก็ไม่เสียเวลาในการส่งเสียงดังออกไปในวงการบาสเกตบอล กับการดึงตัว โค้ช “เส็ง” ประเสริฐ ศิริพจนากุล ซึ่งเป็นอดีต โค้ช ของ สโมสรการไฟฟ้าฯ พอได้ตัว โค้ชเส็งมาแล้ว ก็ไม่รีรา แล้วดึงตัวโปรดจากสโมสรเก่า สโมสรการไฟฟ้าฯ มา ทั้ง “แวน” ไพรัช เสกธีระ, “บาส” กานต์ณัฐ เสมอใจ, และ “โส” โสฬส สุนทรศิริ (ที่ได้รางวัล ผู้เล่นทรงคุณค่า TBL2014) โดย สามคนนี้ ก็จะเป็นแกนนำของทีมตั้งแต่ตอนแรกเริ่มจนเรื่อยมาถึงวันนี้ นอกจากนี้แล้ว ยังมีผู้เล่นที่ดึงมาจาก นครปฐม แมดโกทส์คนหนึ่งคือ “ชอปเปอร์” จิตรภณ โตเวโรจน์
โมโน แวมไพร์ ได้เซ็นตัวต่างชาติคนแรก คือ แอนโธนี่ “บิกกี้” แมคเคลน และตั้งแต่ตอนนั้นเป็นต้นมา เขาก็เป็นตัวต่างชาติที่ โมโน แวมไพร์ ไว้ใจเสมอมา พวกเขาสามารถจบเป็นอันดับที่ 3 ในฤดูกาลปกติ และได้เข้าไปเจอกับ ทีมแชมป์ คือ แมดโกทส์ ถึงแม้ว่าจะยืดซีรี่ย์จนถึงเกมตัดสินเกมที่ 3 ได้ แต่ก็พ่ายให้กับความแกร่งของ แพะบ้า อยู่ดี
พอจบ TBL ก็มีการเสริมทัพเพื่อลุย BTSL เพิ่ม โดยมีการดึงตัว “สิงห์” ชนะชนม์ กล้าหาญ, ไบรอัน เชอร์แมน, และ “แซว” ศรัณยู อินทร์เมือง ก่อนที่จะลุยการแข่งขัน BTSL ทีมแวมไพร์ก็มีการพัฒนาแสดงออกมา แต่ก็ไม่มากพอที่จะผลักตัวเองเข้าสู่สถานะ “ตัวเต็ง” ในรอบภายในประเทศของ BTSL ทีม โมโน แวมไพร์ ก็จบเป็นดันดับที่สาม เช่นเดียวกันกับในรอบนานาชาติ
และแล้วก็มาถึงฤดูร้อนที่สำคัญ สดๆ ร้อนๆ จากการแข่งขัน SEA Games โมโน แวมไพร์ ออกล่ายักษ์ แล้วจัดการเซ็น “อาร์ม” ณัฐกานต์ เมืองบุญ, “เติ้ล” รัชเดช เครือทิวา, และ “ปาล์ม” ดรงค์พันธ์ อภิรมย์วิไลชัย มาจาก นครปฐม แมดโกทส์ นอกจากนี้ ยังมีการเสริมทัพด้วยการดึง “ยักษ์” ชัยวัฒน์ แกดำ มาในช่วงครึ่งฤดูกาล ทั้งสี่คนถือได้ว่าเป็นที่สุดในแต่ละตำแหน่ง ในประเทศนี้ได้เลย ถึงแม้ว่าจะเริ่มต้นฤดูกาลออกมาแบบสะดุดเล็กน้อย จากการที่แพ้ ไฮเทคฯ แต่ก็พลิกสถานการณ์กลับมา ชนะทุกๆ เกมที่เหลือจนได้แชมป์ TBL
มองสถานการณ์ข้างหน้ากับ ABL Season 6
หลังจากที่ฉลองแชมป์ TBL ได้ไม่นาน โมโน แวมไพร์ ก็ต้องถูกพรากจาก ตัวอิมพอร์ต “ดอท” คาดาเรี่ยน เรนส์ ไปหลังจากที่ได้มีการเซ็น สัญญ่กับทีมในลีก กาตาร์ ทางทีมงานโมโน แวมไพร์ ได้ใช้เวลาในการศึกษาและประเมินนักกีฬาหลายๆ คน ก่อนที่จะพิจารณาและเซ็นตัววงใน ชาวไนจีเรี่ยน/แคนาดา “คิว” ควินซี่ โอโคลี่ ซึ่งอ่านเรื่องราวได้เพิ่มเติม ที่นี่) หลังจากนั้น ก็ไม่ได้มีการเคลื่อนไหวเพื่อดึงใครมาในโควต้า ASEAN import
เป็นการกระทำที่ถือว่าค่อนข้างหนักแน่นสำหรับทีม โมโน แวมไพร์ ที่มองเห็นแล้ว ว่าจะเป็นการพัฒนาตัวผู้เล่นหลักๆ ที่ยังอายุไม่มาก เช่น โมฬส หรือ จิตรภณ แต่นอกจากนี้ พวกรุ่นพี่คนอื่นๆ ในทีมก็มีประสบการณ์ใน ABL มาแล้วบ้าง เพราะฉะนั้น ขั้นตอนในการปรับตัวของทีม ไม่น่าจะหนักหนาสาหัสมาก
ข้อได้เปรียบ
การวนตัวผู้เล่นท้องถิ่น
ในการแข่งขัน TBL นอกจากจะได้ใช้ ตัวต่างชาติสองคนในเวลาการลงเล่นที่ใกล้เคียงกัน โค้ชเส็งยังแบ่วงเวลาในการลงเล่นของผู้เล่นได้ดีมาก และค่อนข้างเท่าเทียม มีเพียง รัชเดช และ ดรงค์พันธ์ ที่เล่นเฉลี่ย มากกว่า 20 นาทีต่อเกม (แต่ก็มากกว่าเพียงนิดเดียว) แต่ละคน สามารถก้าวเข้ามา และทำผลงานได้ในทันที นอกจากนี้ ยังมีผู้เล่น 5 คน (กานต์ณัฐ, ณัฐกานต์, รัชเดช, ดรงค์พันธ์, และ ชนะชนม์) ที่ได้รับใช้ธงทีมชาติไทย ใน SEA Games ที่ผ่านมา ที่เกือบจะเอาชนะทีม สินาก พิลิพินาส ได้ ทำให้ทีมผู้เล่นท้องถิ่นของโมโน แวมไพร์ ถือว่ามีความแข็งแกร่ง
ความใหญ่ของ แอนโธนี่ แมคเคลน
ก็แน่นอนแหละ ดูชื่อเล่นก็รู้แล้วว่าใหญ่ แมคเคลนน่าจะเข้ามาใน ABL เป็นตัวผู้เล่นที่ “ใหญ่” ที่สุดทั้งในเชิงของน้ำหนัก และ ส่วนสูง การที่จะหยุดเขาได้ จะต้องไม่ใช่เรื่องที่ง่ายแน่นอน ถึงแม้ว่าบาสสมัยใหม่จะตัวเล็กลง และ ABL จะเล่นด้วยจังหวะที่ต่างออกไปจาก TBL แต่ แมคเคลนก็ยังถือว่าเป็น ใหญ่มากๆ เพราะฉะนั้น ทีม โมโน แวมไพร์น่าจะเอาไปใช้ประโยชน์ฺจากจุดนี้ให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้
ข้อเสียเปรียบ
ไม่มี ASEAN/Heritage Import
อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น โมโน แวมไพร์จะไม่ใช้ ASEAN/Heritage Import เป็นการกระทำที่ถือว่าแน่วแน่มาก และจะต้องทำให้นักกีฬาที่ได้ลงเล่นในปีนี้ มีพัฒนาการที่ชัดเจน…แต่มันจะทำให้ชีวิตในลีกนี้ ลำบาดขึ้นพอสมควรเลย ตำแหน่งปีกสามารถใช้ตัวผู้เล่นท้องถิ่นได้ไม่มีปัญหา แต่ตำแหน่ง การ์ดจ่าย อาจจะลำบากนิดหน่อย
การ์ดจ่าย สาม คนของ โมโน แวมไพร์ ถือว่ามีความสามารถสูงมาก โดย 2 คนเป็นถึงผู้ที่ร่วมเล่นใน SEA Games ที่ผ่านมาคือ กานต์ณัฐ และ ณัฐกานต์ แม้แต่ โสฬส เอง ก็ยังมีดีกรี เป้นผู้เล่นทรงคุณค่าอยู่แล้ว
แต่ตำแหน่งการ์ดในลีก ABL มันหนักและดุเดือดมาก นึกถึงปีที่แล้วมี่มีทั้ง เอเวอรี่ ชาเรอร์, เจอริค กานยาด้า, ฟรอยลัน บาเกี้ยน, จอห์น สมิธ จูเนียร์, เร็กซานเดอร์ เลนส์, และ อัล เวอร์การา ปีนี้ อาจจะดุกว่าเดิมด้วยซ้ำ ด้วยรายชื่อ เจสัน บริกแมน, คริส โรซาเลว, สเตฟาย หงวน, วิลลี่ มิลเลอร์, และ เฟรดดี้ โกลด์สตีน
จังหวะ และความดุเดือด ในจังหวะของ ABL มันจะเป็นอีกระดับ และถึงแม้ว่าผมจะเชื่อในในตัวการ์ดท้องถิ่นอยู่แล้ว แต่มันต้องมีช่วงเวลาในการปรับตัวแน่ๆ
ชั้นของผู้เล่นวงใน
ข่าวดีคือ แมคเคลน หลีกเลี่ยงการทำฟาวล์ได้ดีขึ้นมาก โดนทำเฉลี่ยเพียง 2.2 ฟาวล์ต่อการลงเล่น 40 นาทีใน TBL 2015 ในทางกลับกัน โอโคลี่นั้น เฉลี่ยการทำฟาวล์ประมาณ 2 ครั้ง ถายในระยะเวลาไม่ถึง 20 นาทีในการลงเล่นที่ลีก แคนาดา กับ เดนมาร์ก
ถ้าโอโคลี่ มีปัญหาเรื่องการฟาวล์ ชั้นของผู้เล่นวงในของ โมโน แวมไพร์ จะถูกทดสอบอย่างหนัก
คาดการณ์ผลงาน
มันไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ๆ ปีนี้ พวกเขามีขนาดร่างกายที่ดี มีความเข้าใจกันระหว่างลูกทีมที่ดี ด้วยการที่เล่นด้วยกันมาเรื่อยๆ แต่การที่ปล่อยตำแหน่ง ASEAN/Heritage imports ว่างไว้ น่าจะแสดงผลออกมาตั้งแต่ต้นฤดูกาล พวกเขามีความสามารถมากกว่าทีม ลาสการ์ เดรย่า เซาธ์ สุมาตรา ที่ชนะไปเพียง 1 เกมเมื่อปีที่แล้ว แต่อาจจะยังต้องเร่งเครื่องตามทีมอื่นอีก 1 จังหวะ
ผมคาดการณ์ไว้ว่า ปีแรกนี้ โมโน แวมไพร์จะชนะ 6-8 เกม
ติดตามอ่าน Preview ทั้งหมดของทีมใน ABL ตามนี้เลยนะครับ
สิงคโปร์ สลิงเกอร์ส
เวสต์พอร์ต มาเลเซีย ดรากอนส์
ไซ่ง่อน ฮีต
โมโน แวมไพร์
พิลิพินาส อากีลาส
ไฮเทค บางกอก ซิตี้
2 thoughts on “ABL Season 6 Team Preview x Mono Vampires: มองไปข้างหน้า”