มาดูกัน ความพร้อมของ ทีม ไฮเทคบางกอกซิตี้ ใน ABL กัน!
การแข่งขัน ASEAN Basketball League จะเริ่มต้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้แล้ว ผมจึงคิดว่า มันถึงเวลาอันสมควรแล้ว ที่เราจะมาถกกันเรื่องการเตรียมพร้อมของแต่ละทีม และไขข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องของตัวต่างชาติ
ในปีนี้ ลีก จะประกอบด้วยทีมจากทั้งหมด 5 ประเทศ (ไทย, มาเลเซีย, สิงคโปร์ เวียดนาม และ ฟิลิปปินส์) แต่ละทีมจะพบกันทั้งหมด 4 ครั้ง เป็นฤดูกาลที่ยาวนานถึง 20 เกม จากนั้น 4 ทีมที่มีสถิติที่ดีที่สุด 4 ทีมจะเข้าไปในรอบเพลย์ออฟ เพื่อไปวัดกันในซีรี่ย์การแข่งขันชนะ 2 เกม เข้ารอบ เพื่อตัดสิน แชมป์
แต่ละทีม จะส่งรายชื่อผู้เล่นได้ 16 คน
ใน 16 นั้น สามารถใช้โควต้าในการเซ็น ตัวต่างชาติ ที่เรียกว่า “World Import” ซึ่งจะเป็นนักกีฬาสัญชาติอะไรก็ได้ มาจากที่ไหนก็ได้บนโลก (ต่างดาวก็คงได้ ถ้าสามารถดึงมาได้) ส่วนใหญ่แล้ว ทีมจะใช้โควต้านี้กับ นักกีฬาจากประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เล่นเกมใต้แป้น
นอกจากนี้ จะสามารถใช้โควต้าในการเซ็นตัวต่างชาติอีกสองตำแหน่ง คือ ASEAN/Heritage Import ซึ่งนี่คือคำอธิบายคร่าวๆ จากความเข้าใจของผม:
ASEAN Import คือ นักกีฬาที่
- มีสัญชาติของชาติในภูมิภาค ASEAN ชาติใดชาติหนึ่ง ที่ไม่ใช่ชาติที่ทีมนั้นๆ ตั้งถิ่นฐานอยู่
หรือ
- มีบิดา หรือ มารดา ที่มีสัญชาติของชาติในภูมิภาค ASEAN ชาติใดชาติหนึ่ง ที่ไม่ใช่ชาติที่ทีมนั้นๆ ตั้งถิ่นฐานอยู่ แต่เกิดและโตขึ้นมา นอกภูมิภาค ASEAN
ตัวอย่างเช่น ทีม สิงคโปร์ สลิงเกอร์ส (ที่ตั้งถิ่นฐานที่ สิงคโปร์) สามารถที่จะใช้โควต้า ASEAN Import ในการเซ็นตัวผมไปได้ (ที่มีสัญชาติไทยเต็มๆ) แต่เขาไปใช้โควต้านี้ในการเซ็น คริส โรซาเลส แทน (ที่มีสัญชาติเป็นลูกครึ่ง ฟิลิปปินส์-อเมริกัน)
Heritage importคือ นักกีฬาที่
- มีบิดา หรือ มารดา ที่มีสัญชาติของชาติที่ทีมนั้นๆ ตั้งถิ่นฐานอยู่ แต่เกิดและโตขึ้นมา นอกภูมิภาค ASEAN
ในปีที่แล้ว เราได้เไห็นทีม ไซ่ง่อน ฮีต ใช้สิทธิ Heritage Import มาแล้วกับ สตาร์ดัง เดวิด อาร์โนล์ด (ที่มีมารดาเป็นคนเวียดนาม) และมันก็ได้ผลดีมากจนถึงขั้นมีการต่อสัญญามาในปีนี้อีก เช่นเดียวกันกับไซ่ง่อน ฮีต ทีม ไฮเทคบางกอกซิตี้ ก็มีการใช้สิทธิตรงนี้ ในการเซ็นสองลูกครึ่งไทย-อเมริกัน เฟรดดี้ โกล์ดสตีน และ ไทเลอร์ แลมบ์
ด้านรายละเอียดของแต่ละคำ และ นิยามของแต่ละหัวข้อ อาจจะแตกต่างออกไปเล็กน้อยจาก สิ่งที่แถลงอย่างเป็นทางการ จาก คณะกรรมการ ABL แต่โดยหลักๆ แล้วก็มีเนื้อหาประมาณนี้
เราเริ่มพรีวิวออกไปแล้วกับ สิงคโปร์ สลิงเกอร์ส, เคแอล ดรากอนส์, ไซ่ง่อน ฮีต, โมโน แวมไพร์ และ ปาเกียว พาวเวอร์วิท พิลิพินาส อากีลาส! มาปิดท้ายกับทีม ไฮเทค บางกอกซิตี้ กันดีกว่า
เรื่องราวกว่าจะมาเป็นทีม ไฮเทคบางกอกซิตี้ ค่อนข้างจะยืดยาว เพราะฉะนั้น เราจะตัดแต่ส่วนที่ต้องเน้นออกมาละกัน อย่างแรกคือ ชื่อทีม “ไฮเทคบางกอกซิตี้” นี้ เพิ่งได้มาใช้ใน ABL ซีซี่น 5 แต่การมีส่วนร่วมของสโมสรไฮเทคใน ABL ก็นับน้อยไปได้ถึง ABL ซีซั่นที่ 2 ในช่วงที่ยังเรียกว่า ช้างไทย สแลมเมอร์ส ชื่อมีเปลี่ยนจาก ช้างไทยสแลมเมอร์ เป็น สปอร์ตเรฟไทยแลนด์สแลมเมอร์ส จนในที่สุดมาเป็น ไฮเทคบางกอกซิตี้ แต่โดยภาพใหญ่ๆ แล้ว ก็ถือได้ว่า คือๆ ทีมเดียวกัน
ไฮเทคถือว่าเป็นทีมที่มีชื่อทีมหนึ่งของประเทศไทย โดยมีการคว้ารางวัลมาหลายรายการในประเทศมาแล้ว และถึงแม้ว่าในช่วงก่อตั้งสโมสรตอนแรกๆ จะมีเรื่องติดขัดมากมาย แต่มันก็ทำให้หลายเป็นความภูมิใจในตัวสโมสรที่โตมาจนถึงขั้นนี้
ไฮเทคฯ เพิ่งจบฤดูกาล TBL 2015 ไปอย่างน่าผิดหวัง หลังจากที่แพ้ให้กับ โมโน-ทิวไผ่งาม ในรอบรองชนะเลิศ และจบฤดูกาลไปอย่างน่าผิดหวัง แพ้ 3 ใน 6 เกมสุดท้ายของฤดูกาล
สรปุ ABL Season 5
การที่จะเป็นแชมป์ในการแข่งขันบาสเก็ตบอลฤดูกาลหนึ่งนั้น ไม่ใช่เพียงแต่ต้องเป็นทีมที่ดีที่สุด หากแต่ว่าต้องเป็นทีมที่มาแรงที่สุด ในจังหวะที่เหมาะสมที่สุดอีกด้วย ไฮเทคฯ เกือบจะมาแรงผิดจังหวะไปแล้วในซีซั่นที่ผ่านมา หลังจากที่เปิดตัวอย่างหรูหรา ชนะ 7 เกมติดต่อกัน ซึ่ง 7 เกมตรงนั้น เล่นในบ้านหมดเลย จึงเกิดข้อสงสัยว่า เกมนอกบ้านจะเล่นได้ดีเหมือนเดิมรึเปล่า
พอออกเกมการแข่งขันนอกบ้านเกมแรกปุ๊บ ไฮเทคฯ ก็พลาดท่าปั๊บ แพ้สิงคโปร์คาถิ่น OCBC Arena ที่ต้องสาป หลังจากนั้น ไฮเทคฯ ก็สลับแพ้ชนะตลอดมา โดยไม่สามารถที่จะชนะติดต่อกันเกิน 2 นัดได้เลย
การแข่งขันรอบเพลย์ออฟเริ่มต้นขึ้น และไฮเทคก็เกิดไฟลุกขึ้นมาทันใด พวกเขาชนะไปสี่เกมรวด และแสดงผลงานได้ยอดเยี่ยมในเกมแรกของรอบชิงชนะเลิศ ที่ไปขย้ำ มังกรมาเล ถึงถิ่น ในเกมที่ 2 ถึงแม้ว่าจะออกตัวได้ไม่ดี แต่ท้ายที่สุดแล้วก็พลิกกลับมาชนะ เอาแชมป์ไปได้ในบ้านตัวเอง

สิ่งที่ทำให้ไฮเทคฯ มีฟอร์มที่ดุดันมาตลอดทั้งปีคือการป้องกัน คริส ชาร์ลส์ และ สตีฟ โธมัส (อ่านรายละเอียดของสองคนนี้ได้ ที่นี่) ทำให้ไฮเทคเป็นทีมที่รีบาวด์ดีที่สุด (อัตราการรีบาวด์ 53.7%) และเป็นทีมที่ป้องกันดีที่สุด (อัตราการบล็อก 10.3%, อัตราการยิงลงของทีมตรงข้าม 36.6%)

แน่นอนว่า มันไม่ได้มีแค่สองหน่อฝรั่งนั่นหรอก ที่ทำให้ทีมเป็นแชมป์ได้ ตัว ASEAN Import เจอริค กานยาด้า และ ตัวเสริมกลางฤดูกาลอย่าง แพทริก คาบาฮุก ต่างก็ยิงลูกสำคัญๆ และช่วยให้เกมบุกขับเคลื่อนออกไปได้อย่างพอประมาณ ไฮเทคได้พลังในการบุกเสริมจาก “คานู” วัฒนา สุทธิสินธุ์ ที่จบฤดูกาลด้วยการทำแต้ม 7.8 แต้มต่อเกม ด้วยการยิงลงอย่างมีประสิทธิภาพสูง 51 eFG% ด้าน “รูเบน” วุฒิพงษ์ ดาโสม ก็เป็นอาวุธที่น่ากลัวในด้านการป้องกัน และเกมสวนกลับเร็ว และมีผลงานการทำแต้ม 8.2 แต้มต่อเกม “เดฟ” สุขเดฟ โคเคอร์ ไม่ได้ลงสนามนานเท่าไหร่ เพราะติดยักษ์ใหญ่สองตนอยู่ แต่พอได้ลงก็ทำผลงานได้ดี โดยอัตราการรีบาวด์ 11.9% และ อัตราการบล็อก 2.5% ถือว่าเป็นที่สุดของบรรดาผู้เล่นท้องถิ่นเลย
ไฮเทคฯ ยังได้กองกำลังเสริมอีกเพียบจาก “นพ” อรรถพร เลิศมาลัยภรณ์ (ที่ยิงลูกสำคัญๆ ไปพอตัวเช่นกัน), “แก้ว” กัณวัฒน์ เลิศเลาห์กุล, “พีซ” บัณฑิต หลักหาญ, และ “บาส” มณเฑียร วงศ์สว่างธรรม นอกจากนี้แล้วก็ยังมี “บอย” ปิยพงศ์ พิรุณ ที่นอกจากจะรับเป็นตัวป้องกันในหลายๆ จังหวะ ยังต้องรับบทเป็นผู้จัดการทีมอีกด้วย
มองสถานการณ์ข้างหน้ากับ ABL Season 6
แม้จะขาด บาส มณเฑียร, คานู, กานยาด้า, และ คาบาฮุก แต่ผู้เล่นสำคัญที่เหลือ กลับมาร่วมทัพกันหมด คนที่จะก้าวเข้ามาในบทของ บาส มณเฑียร อาจจะเป็น “บ็อบบี้” ณกรณ์ ใจสนุก ที่ได้ลงเล่นไปในบางเกมปีที่แล้ว แต่อาจจะตกไลน์อัพไปเพราะความไม่ต่อเนื่องของผลงาน ปีนี้ เขาก็โตขึ้นมาอีกขั้น และน่าจะรับบทบาทที่ใหญ่กว่าเดิมได้ ไฮเทคจะเป็นทีมที่มีจำนวนนาทีการลงเล่นจากปีที่แล้ว มากที่สุดใน ABL คือ 67.8% โดยมีสิงคโปร์ตามเป็นอันดับ 2 อยู่ที่ 46.1%

คนหนึ่งที่เสริมเข้ามาในรายชื่อผู้เล่นท้องถิ่นคือ “นัย” ดนัย คงคุ้ม ที่ไฮเทคไปดึงตัวมาจากทีม นครปฐม แมดโกทส์ หลังจากที่ทีมสลายไปตัวชั่วคราวก่อนที่จะเริ่มแข่ง TBL 2015 ดนัยเป็นตัวเบอร์ 4 ที่มีการยิงระยะกลางที่แม่นยำ
การที่จะไม่มี “คานู” ในปีนี้ ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เนื่องจากบาดเจ็บ เอ็นไขว้หน้าฉีกมาจากการแข่งขันในกีฬา SEA Games แต่การที่ได้สองคนที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ น่าจะช่วยบรรเทาความช้ำใจจากการบาดเจ็บครั้งนี้ได้มาก
สองคนที่ว่านี้ คือ ตัวที่ไฮเทคฯ เสริมมาสองคน คือ ลูกครึ่ง ไทย-อเมริกัน เฟรดดี้ โกล์ดสตีน และ ไทเลอร์ แลมป์ ทาง เฟรดดี้ เคยมาเล่นที่ไทยแล้วครั้งหนึ่งในรายการแข่งขันสั้นๆ และสามารถอ่านเรื่องราวของเขาเพิ่มเติมได้ ที่นี่ ในขณะที่ แลมบ์ น่าจะเป็น “ชื่อ” ที่ดังที่สุดคนหนึ่งใน ABL ปีนี้ สามารถอ่านเรื่องของ แลมบ์ เพิ่มเติมได้ ที่นี อีกทั้งยังติดตามอ่านเรื่องนักบาส ไทย-อเมริกัน (เช่น โมเสส มอร์แกน ของไซ่ง่อน ฮีต) เพิ่มเติม ได้จาก ที่นี่
ข้อได้เปรียบ
ความต่อเนื่อง
จากรายชื่อนักกีฬา 12 คนที่ไฮเทคส่งมา มี 9 คนที่ลงเล่นด้วยมาแล้วในชุด ABL ปีที่แล้ว หนึ่งในหน้าใหม่ (ดนัย) ก็ปรับตัวเข้าได้อย่างดีใน TBL มาแล้ว เพราะฉะนั้น โค้ช เจอร์รี่ หรุยส์ ก็จะเหลือบทบาทในการปรับจูนสองลูกครึ่งไทย-อเมริกันเข้ากับระบบให้ได้ ซึ่งอาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายก็จริง แต่อาจจะง่ายกว่า สิ่งที่โค้ช ทีมอื่นๆ ต้องจัดการ
การป้องกัน
“คริส ชาร์ลส์ และ สตีฟ โธมัส” บอกแค่นี้ ก็น่าจะเพียงพอสำหรับการขยายความความแข็งแกร่งของแนวรับของไฮเทคฯ นอกจากนี้แล้ว การป้องกันจะยิ่งง่าย และ ลื่นไหลขึ้น ถ้ามีความเข้าใจกัน ซึ่งจากเหตุผลที่กล่าวข้างต้น ตรงนี้น่าจะไม่มีปัญหา เฟรดดี้ เป็นคนที่มีร่างกายยอดเยี่ยม และน่าจะก่อความรำคาญให้กับการ์ดฝ่ายตรงข้ามได้ดี ไทเลอร์เองก็เล่นในระบบของ โค้ช เบน ฮาวแลนด์ มาถึงสองปี (ซึ่งฮาวแลนด์ถือเป็นโค้ชที่ปั้นเกมรับของนักกีฬาได้ดีคนหนึ่ง) นอกจากนั้น แลมบ์ ก็ยังมีชื่อเสียงด้านการตั้งรับมาตลอดอยู่แล้ว
ทีมไฮเทคบางกอกซิตี้ ตีเข้าไม่ง่ายแน่นอน
ข้อเสียเปรียบ
ปัญหาสุขภาพ
สิ่งหนึ่งที่เป็นประเด็นใน TBL ที่ผ่านมาคือเรื่องอาการบาดเจ็บ ไม่ใช่ว่า เพราะมีตัวเจ็บ เลยเล่นไม่ดี แต่เพราะจังหวะในการ กลับมาเล่นของแต่ละคนมากกว่า ตลอดทั้งฤดูกาลปกติ ทีมไฮเทคเล่นโดยไม่มี รูเบน, สุขเดฟ, คานู, หรือ คริส ชาร์ลส์ แต่พอถึงเวลารอบเพลย์ออฟ ทั้ง รูเบน, สุขเดฟ, และ คริส ชาร์ลส์ กลับต้องมาปรับตัวเข้ากับทีมกะทันหันในสถานการณ์ที่กดดัน
ไฮเทคมีผูเล่นเพียงพอ ที่จะทนรับกับการบาดเจ็บสั้นๆ ได้ แต่ก็ต้องบริหาร ช่วงเวลาในการกลับลงมาเล่นให้ลงตัว
ล่อเป้า
ประเด็นนี้ อาจจะดูเป็นอะไรเล็กน้อย แต่มองข้ามไม่ได้จริงๆ เหมือนกับกรณี เดียวกับ การเป็นทีมจากฟิลิปปินส์ ไฮเทคจะต้องเตรียมตั้งกับการที่เป็นเป้าหมายหัวของหลายๆ ทีมในปีนี้ ถึงแม้ว่า เคแอล ดรากอนส์ จะเปลี่ยนผู้เล่นแทบยกชุด แต่เชื่อว่าความแค้นมันจะถ่ายทอดมาได้แน่ๆ ทีม อากีลาส ก็คงอยากจะออกพิสูจน์ว่า ปีที่ผ่านมา ได้แชมป์ไป ก็แค่เพราะ ไม่มีทีจากฟิลิปปินส์ และ แน่นอน ทีมโมโน แวมไพร์ ก็ไม่มีทางยอมให้กับคู่แข่งร่วมเมืองได้ง่ายๆ
คาดการณ์ผลงาน
ทีมที่รวมเอาแกนหลักของผู้เล่นชุดแชมป์ ABL ปีที่แล้วกลับมา และเสริมทัพด้วยตัวที่มากฝีมือ ก็น่าจะเรียกได้ว่า เป็นตัวเต็งได้
ผมคาดการณ์ว่า น่าจะชนะได้ประมาณ 14-15 เกมได้เหมือนเดิม กับทีม ไฮเทค บางกอก ซิตี้
ติดตามอ่าน Preview ทั้งหมดของทีมใน ABL ตามนี้เลยนะครับ
สิงคโปร์ สลิงเกอร์ส
เวสต์พอร์ต มาเลเซีย ดรากอนส์
ไซ่ง่อน ฮีต
โมโน แวมไพร์
พิลิพินาส อากีลาส
ไฮเทค บางกอก ซิตี้
One thought on “ABL Season 6 Team Preview x Hitech Bangkok City: ตั้งป้อมปราการ”