SEA Games Preview: มหาอำนาจ

หลายๆ คนก็รู้อยู่แล้วฟิลิปินส์เป็นมหาอำนาจทางบาสเก็ตบอล และรู้มาระดับนึงว่าฟิลิปินส์เป็นประเทศที่คลั่งไคล้บาสเก็ตบอลมากขนาดไหน จากการที่ผมได้ติดตามการแข่งขัน PBA มานัดแล้วนัดเล่า ผมก็พอกะระดับความเก่งกาจของทีมชาติฟิลิปินส์ได้แหละ ว่ามันอยู่คนละระดับกัน ณ จุดนี้

แต่จนกว่าจะได้มาดูชุดทีมชาติของเขามาถล่มทีมชาติอื่นๆ แล้ว ถึงจะค่อยรู้สึกถึงความเป็นราชาของกีฬานี้จริงๆ

ผมได้เขียนบทความนี้ไว้เป็นภาษาอังกฤษตั้งแต่ก่อนแข่ง SEA Games แล้ว แต่ไม่มีเวลาจะได้มาแปลเป็นภาษาไทย เลยไม่ได้นำออกมาให้อ่านซะที ในเมื่อรายการแข่งขันมันจบลงไปแล้ว ก็จะเอาออกมาให้อ่าน เพื่อเป้นกระจกส่องย้อนไปเล่นๆ ละกันนะครับ

นี่คือ 1 สถิติที่น่าจะบอกกล่าวได้ทุกๆ อย่าง ในรายการแข่งขัน SEABA Championship ที่ผ่านมานั้น ฟิลิปินส์ชนะคู่แข่งไปด้วยผลต่างเฉลี่ย 68.4 แต้มต่อเกม ถ้าอยากจะยกตัวเลขมาเปรียบเทียบกันจริงๆ ในรายการนี้มีเพียง สิงคโปร์ และ ฟิลิปินส์ ที่ทำแต้มเฉลี่ยมากกว่า 68 แต้มต่อเกม ว่ากันแค่เพียงตามตัวเลข ก็รู้สึกได้เลย ว่ากำลังเล่นกันคนละกีฬา

พอมาถึงจุดนี้ ถึงจะเพิ่งรู้สึกตัวได้ว่า นี่คือทีมชุด Sinag Pilipinas ซึ่งเป็นทีมที่รวมนักกฬาที่ยังไม่ได้เป็นมืออาชีพมาแข่ง พอได้ลองคิดูว่า ถ้าฟิลิปินส์จะเอาชุดเต็มมาแข่งแล้ว ก็แอบตื่นเต้นว่ามันจะสุดยอดกว่านี้อีกหรอ กับทีมชาติใหญ่ชุด Gilas Pilipinas

บางทีความรู้สึกคงอาจจะเหมือนกันตอนที่อเมริกาเอาชุด Dream Team มาถล่มชาติอื่นๆ ใน โอลิมปิกนั่นแหละมั้ง แต่แล้ว ทีมชาติฟิลิปินส์ชุดนี้ จะสามารถบุกถล่มคู่ต่อสู้ใน SEA Games ได้อย่างต่อเนื่องหรือไม่?

จุดเด่น:

อ่า…แล้วอะไรละที่มันไม่เด่นออกมาบ้าง?

อันดับ 1 ใน SEABA ด้าน Effective Field Goal Percentage (62.3%, มากกว่าอันดับ 2 มาเลเซียถึง 19.1%)
อันดับ 1 ใน SEABA ด้าน อัตราการรีบาวด์ฝั่งรุก (53.01%, โดยที่ไม่มีทีมอื่นๆ ทำได้มากกว่า 40%)
อันดับ 1 ใน SEABA ด้าน อัตราการรีบาวด์ฝั่งรับ (83.25%)
อันดับ 1 ใน SEABA ด้าน อัตราการทำแอสสิสต์ (31.81%)
อันดับ 1 ใน SEABA ด้าน อัตราการเทิร์นโอเวอร์ (11.57% คือน้อยที่สุด)
อันดับ 1 ใน SEABA ด้าน อัตราการบล็อกช็อต (8.12%)
อันดับ 1 ใน SEABA ด้าน อัตราการขโมยบอล (35.3%)

ให้ตายเถอะ

สรุปกันให้อ่านเข้าใจง่ายหน่อยจะได้ว่า ทีมฟิลิปินส์ชุดนี้ ยิงด้วยอัตราการยิงลงที่บ้าคลั่งมาก (eFG%) ด้วยรูปแบบการเคลื่อนบอลที่ดี (AST%) โดยที่ไม่เสียบอล (TOV%) และในกรณีบางครั้งที่ยิงไม่ลงนั้น พวกเขาก็เก็บรีบาวด์ฝั่งรุกได้เกินกว่าครึ่ง (ORB%) ด้านการป้องกัน หากว่าทีมบุกโชคดีพอที่จะบุกข้ามเส้นครึ่งสนามได้ (STL%) หรือยิงออกไปโดยไม่โดนบล็อก (BLK%) ก็ต้องมั่นใจว่าจะยิงลงให้ได้ เพราะถ้าพลาดแล้ว ก็โดนเก็บรีบาวด์ฝั่งรับเกือบทุกลูกอยู่แล้ว (DRB%)

ลองมองออกห่างจากเรื่องตัวเลข และมาดูรูปเกมเอา ก็มองเห็นได้แหละ ว่าทำไมทีมนี้ ถึงเก่งกาจสามารถ

สินาก ชุดนี้ เล่น Press เต็มสนามแทบตลอดทั้งเกม พวกเขาทำได้ดีในการบีบคนเลี้ยงบอลให้เข้าใกล้เส้น แล้วรุมเมื่อย้อนกลับมาอีกทาง

ทีมชาติสิงคโปร์ก็ตี Press จนแตกได้ บางครั้ง แต่จำนวนครั้งที่ถูกบีบจนเสียบอลไปได้นั้น มากกว่าจำนวนครั้งที่หลุดไป และนั้นคือเป้าหมายของการ Press แน่นอนว่าคุณอยากจะได้เทิร์นโอเว่อร์ในทุกๆ การป้องกัน แต่แล้วมันก็มีบางครั้งที่ป้องกันไม่ได้บ้าง และเมื่อถึงตอนนั้น ทีมป้องกันจะต้องสามารถที่จะคุมสติแล้วตั้งใจป้องกันต่อไป ซึ่งในจุดนี้ สินาก ก็ทำได้ดี

เมื่อถึงคราสิงคโปร์บุกข้ามเส้นครึ่งสนามมาได้ ความยาวของปีกฟิลิปินส์แต่ละตัว ก่อนกวนการยิงของสิงคโปร์ได้มากทีเดียว ช่วงแขน และ สปริงขา ของแต่ละคน (โดยเฉพาะ ทรอย โรซาริโอ้) นั่นสร้างความน่ารำคาญให้กับตัวยิงของสิงคโปร์ได้ตลอด และถึงแม้ว่าจะบล็อกไม่ได้ แต่มันก็ทำให้พะวงกับการยิง จนอาจจะทำให้ยิงพลาด

ในส่วนเกมบุกก็ไม่มีใครฝืนจังหวะของตัวเอง แต่ละคนรับรู้บทบาทและหน้าที่ของตัวเอง รู้ว่าต้องวิ่งไปทางไหน และจบที่ไหน สำหรับทีมที่รวมเอาสตาร์จากแต่ละมหาวิทยาลัยมายำรวมกันแล้ว การที่โค้ช แท็บ บอล์ดวินนั้น สามารถจะทำให้ทุกคนเชื่อมั่นในระบบนี้ได้ ถือว่าเป็นเรื่องที่ทำได้ดี บ๊อบบี้ เรย์ พาร์ค อาจจะเล่น Isolation ตลอดทั้ง ทัวร์นาเม้นนี้เลก็ได้ และ อาจจะทำได้ดีพอๆ กับ อัตราการยิง eFG 77.0% เหมือนเดิม แต่เขาก็ไม่ได้ทำเช่นนั้น การถ่ายบอลของทีมมีการไหลที่สวยงาม และผู้เล่นแต่ละคนสามารถอ่านการป้องกันของฝ่ายตรงข้ามเพื่อวางหมากเดินถัดมาได้

และถ้าทั้งหมดนี้มันเดินไม่สะดวกหรืออึดอัด ก็โยนให้ มาร์คัส เดาธิต อัดวงในให้น่วมแล้วทำแต้มง่ายๆ ก็ได้เหมือนกัน

สิ่งที่ต้องปรับปรุง:

คงเป็นเรื่องยากที่จะพัฒนาหรือปรับปรุงอะไรจากที่เห็นมาในรายการ SEABA และ ในบาสระดับ ASEAN แต่ ผมก็คงต้องเขียนอะไรลงไปบ้างสินะ…

สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปจากชุด SEABA กับ ชุด SEA Games นั้น จะสับเอา บ๊อบบี้ เรย์ พาร์คส์ และ รัซเซิล เอสโกโต้ ออก แล้วเติม พริ้นส์ ริเวโร่ กับ เบเซอร์ อาเมอร์ เข้าไปแทน
พาร์คส์ กับ เอสโกโต้ นั้นเป็นสองคนที่ทำแต้มได้มีประสิทธิภาพที่สุดสองคนรองลงมาจากมาร์คัส เดาธิต (77.0 และ 75.0 eFG%, ตามลำดับ) อาจจะไม่ได้ส่งผลในระดับที่มีนัยยะสำหรับการขาดสองคนนี้ไป ถ้าทั้งทีมยังทำแต้มในอัตรา eFG มากกว่า 50% แต่การที่ไม่มี พาร์คส์ ก็ทำให้ฟิลิปินส์ชุดซีเกมส์นี้ ไม่มีตัวผู้เล่น Isolation ที่สามารถเปิดใช้ได้ตลอดเวลา

มันจะมีผลมากถึงขั้นอาจจะเปลี่ยนแปลงผลของฟิลิปินส์ชุดนี้รึเปล่า? ก็คงไม่หรอก
ลองคิดดูว่า ผมสามารถจะเจาะหาจุดอ่อนของทีมชาติฟิลิปินส์ชุดนี้ได้จริงๆ ผมคงไม่มานั่งเขียนบทความที่ร้านกาแฟเป็นงานอดิเรก และ คงไปหาทีมบาสคุมเอาแล้วแหละ…

สิงที่ต้องชี้ออกมา อาจจะไม่ใช่อะไรที่ปรับปรุงได้ แต่คงเป็นอะไรที่ต้องพึงระวังไว้ ด้วยอายุเฉลี่ยเพียง 23.83 ปี ในรายชื่อทีม (22.8 ถ้าไม่นับ ปู่ เดาธิต) นี่จะเป็นทีมที่มีอายุน้อยที่สุดเป็นอันดับ 3 ในรายการ

อาจจะไม่มีความหมายอะไรมาก ดูจากความนิ่ง ในเกมที่ผ่านๆ มา แต่ถ้าทีมที่ค่อนข้างโชกโชน เจนเกมอย่าง อินโดนีเซีย (อายุเฉลี่ย 28.75 ปี) และ ไทย (27.75 years) สามารถจะป่วนจิตใจของเหล่าหนุ่มๆ ปินส์ได้ ก็ไม่แน่ว่าอาจจะมีโอกาสเล็กน้อย ที่จะแตกหักจนพ่ายไปเลยก็ได้

ตัวผู้เล่น

ปกติแล้ว ในบทความช่วงนี้ จะ ไว้เขียนเกี่ยวกับ สตาร์ ของทีม แต่ดูจากวิธีการเล่นของ ฟิลิปินส์แล้ว ค่อนข้างยากที่จะมาตีว่า ใครเป็นดาวเด่นเพราะฉะนั้นผมจะเพียงจับชื่อบางคนที่น่าสนใจมากล่าวถึง

คีเฟอร์ ราเวน่า

kiefer

คีเฟอร์ คือ ตัวพาดหัวข่าวของทีม เขาคือผุ้เล่นที่หนุ่มๆ ฝันว่าจะได้เป็น สาวๆ ฝันจะได้ควง และ ป้าๆ ฝันว่าจะได้ดูแล เขาคือผุ้เล่นที่เล็งกันไว้ว่าจะได้เป็นโฉมหน้าของ PBA คนต่อไป ถ้าถามว่าผมประทับใจกับฟอร์มใน SEABA รึเปล่า ผมคงตอบว่า ก็ไม่ได้ขนาดนั้น เขาใช้จำนวนการครองบอลของฟิลิปินส์ไปถึง 25.15% แต่ก็ไม่ได้มีสถิติอื่นๆ ที่โดดเด่นออกมา เหมือนว่าเขาเล่นไปชิลล์ๆ ตลอดมากกว่า

แต่สิ่งที่ผมชอบคือจังหวะในการเล่น Pick & Roll ที่เขาตระหนักอยู่ตลอดว่า ตัวป้องกันวางตัวกันอย่างไร และ ช่วงชิงความได้เปรียบของจังหวะได้ดีมาก

นอกจากนี้ คีเฟอร์ ยังแสดงถึงความสามารถทางร่างกายของเขา และ ความมุ่งมั่นในการบุก โดยมีจังหวะข้ามหาห่วงเพื่อยัดลูก Dunk ลูกนี้ ที่เกือบจะลง

แต่ก็อย่างที่ว่า ผมรู้สึกว่า ยังไม่มีใครมาท้าทายคีเฟอร์ จนถึงจุดที่เขาจะสำแดงเดชออกมาเท่าไหร่ เราจึงอาจจะยังไม่ได้เห็นเขาในร่างสุดยอด

จิโอวานนี่ จาลาลอน

jio

ใครที่ตามอ่านบล็อกนี้มาตลอด ก็น่าจะรู้ว่าผมหลงรัก จิโอ จาลาลอน มานานแล้ว ตั้งแต่แรกพบเจอในนัดซ้อมแข่งกับแบล็ควอเตอร์ หลังจากที่ได้ดูเขาเล่นใน SEABA แล้ว ก็ยังคงตราตรึงจิตใจเหมือนเดิม ในขณะที่คีเฟอร์เป็นการ์ดจ่ายแบบบู๊ทำแต้ม จาลาลอน นั้นเป็นตัวคุมเกมและป้องกันหนึบหนับมากกว่า ตลอดทั้งรายการเขาทำอัตราการแอสสิสต์ (24.54%) และ ทำอัตราแอสิสต์ต่อเทิร์นโอเวอร์ (7.5) สูงที่สุดในรายการ มีหลายๆ จังหวะที่เขาทำการดึงตัวกันมาแล้วจ่ายออกต่อให้เกิดจังหวะการทำแต้มง่ายๆ อย่างต่อเนื่อง จนบางทีแล้ว เขาอาจจะดูเหมือนว่าจ่ายบอลมากจนเกินไป แต่สำหรับทีมที่มีพลังในการบุกที่กระจายทั่วถึงอย่างฟิลิปินส์ชุดนี้ ก็ไม่น่าจะเป็นปัญหามากนัก

จิโอนั้นเป็นมือขโมยบอลตัวฉมังในรายการนี้ และกดดันคู่ต่อได้ตลอดทั้งเกม อัตราการขโมยบอลขอลเขาอยู่ที่ 84.7% (เป้นตัวเลขที่เพี้ยนซะจนต้องตรวจสอบที่มาข้อมูลประมาณ 10 รอบ แต่ก็ยังไม่พบเจออะไร)

เขาอาจจะไม่ใช่ตัวเลือกที่จะเป็นดาวเด่นประจำทีม เนื่องจากว่า เขายังขาดตกบกพร่องด้านการทำคะแนนไปบ้าง แต่ในฐานะตัวเสริม เขาน่าจะทำได้ดีมาก การเลี้ยงลูกครอสโอเวอร์ก็สุดยอดอีกด้วย

มาร์คัส เดาธิต

marcus

เดาธิต อาจจะเปรียบเหมือนไม้ตายก้นหีบของ แท็บ บอล์ดวิน และ ฟิลิปินส์ชุดนี้
ฟิลิปินส์ชุดนี้อาจะะไม่ได้เน้นเรื่องขนาดร่างกายในแผนการทีมก็จริง อีกทั้งในบางครั้ง ถึงไม่มีเดาธิต รูปเกมยังดีกว่าด้วยซ้ำ

แต่เดาธิตก็เป็นตัวเลือกที่จะเอาไว้ส่งลงไปเพื่อเปลี่ยนจังหวะเกมได้ดี ด้วยส่วนสูง 6 ฟุต 11 นิ้ว ในระดับ ASEAN มีผู้เล่นไม่กี่คนที่จะหยุดเขาใกล้ห่วงได้หรอก ซึ่งก็ทำแต้มด้วยอัตราการยิงลง 80.0 eFG% อีกทั้งยังเก็บรีบาวด์ด้วยอัตราสูงสุดที่ 21.01% อีกด้วย

ฟิลิปินส์อาจจะไม่จำเป็นต้องมีเดาธิต แต่มีแล้วก็ไม่เสียหายหรอกเรอะ

ผู้เล่นที่ยังต้องติดตามดูฟอร์มเพิ่มเติม

เจธ ทรอย โรซาริโอ้

troy

นอกจาก จาลาลอน แล้ว ผู้เล่นอีกคนที่ผมตกหลุมรักแรกพบ คือ ทรอย โรซารโอ้ นั่นเอง เขามีทั้งความยาว สรปิง และ ความพริ้ว ซึ่งมันทำให้คาดการณ์ว่า เขาน่าจะสามารถทำลายล้างคู่ต่อสู้ได้ในทุกๆ เพลย์

แต่แล้ว มันก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้น

เขาไม่ได้โชว์ผลงานที่ดีนักในด้านการรีบาวด์ (10.94% ต่ำสุดอันดับสามในทีม) และถึงแม้ว่าเขาจะมีบทบาทในการก่อกวนการบุกของฝ่ายตรงข้ามด้วยความยาวช่วงแขน แต่เขาก็ไม่ได้สร้างความแตกต่างที่มองเห็นได้อย่างมีนัยยะในเกมรับเท่าไหร่นัก

ผมยังเชื่อมั่นในตัวโรซาริโอ้ และ เชื่อว่าเขาต้องระเบิดฟอร์มในเกมใดเกมนึง…แต่ตอนนี้ เขายังไม่มีจังหวะนั้น

เบเซอร์ อาเมอร์

baser

อาเมอร์คือผู้เล่นคนนึงที่ถูกเรียกเข้ามาแทนที่ บ็อบบี้ เรย์ พาร์คส์ ถึงเข้าอาจจะไม่มีพละกำลัง และ ศักยภาพทางร่างกายที่ดีเท่าปาร์คส์ แต่ก็ต้องยอมรับว่า อาเมอร์ ก็มีการเล่นที่รอบด้านอยู่ไม่แพ้กัน (เท่าที่เคยอ่านมา)

เรื่อง อาเมอร์ เราจะเว้นไว้ก่อน จนกว่าจะได้เห็นเขาเล่น

T&D ฟันธง:

การฟันธงว่าฟิลิปินส์จะได้เหรียญทองนี่เรียกว่า ฟันธง ได้ปะหว่า? ถ้าจะเอาการฟันธงที่หนักแน่นกว่านี้ ก็คงต้องฟันธงว่า ฟิลิปินส์ จะชนะคู่แข่งด้วยแต้มห่างเฉลี่ยมากกว่า 25 แต้มต่อเกม

มองอย่างโลกมืด:

ถ้ามองกันในแง่ร้ายสุดๆ แล้ว ก็คือการแพ้ 1 เกมในรายการนี้ เพราะว่า ราเวน่าได้ ประกาศออกมาแล้วว่า จะไม่กลับประเทศหากไม่ได้เหรียญทอง ถึงผมจะคิดว่า มันไม่น่าจะเป็นไปได้ก็เถอะ แต่ถ้าจะแพ้จริงๆ ก็คงแพ้ให้กับทีมที่ครบเครื่องพอสมควรอย่างอินโดนีเซีย

มองอย่างโลกสวย:

แล้วมันมีอะไรที่สวยงามไปยิ่งกว่าเหรียญทองใน SEA Games นี้อีกหรอ?

และนี่ก็คือ บท Preview ทีมชาติฟิลิปนส์ สำหรับชุดลุย SEA Games!

nat

You can read Tone’s & Definition’s other SEA Games related previews here:

ลองติดตามอ่านบทวิเคราะห์ทีมชาติอื่นๆ ที่จะลุย SEA Games ได้ตาม Link ต่อไปนี้ได้:

ฟิลิปินส์
ไทย
มาเลเซีย
สิงคโปร์
อินโดนีเซีย

Advertisement

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.