ในระหว่างที่แต่ละทีมขยับเขยื้อนเข้าหาตำแหน่งในพื้นที่บริเวณรับเหรียญของตัวเอง ก็รู้สึกได้ถึงความไม่พึงพอใจในตัวเองของนักบาสเก็ตบอลสิงคโปร์
การคว้าตำแหน่งอันดับสาม หรือ เหรียญทองแดงในรายการแข่งบาสเก็ตบอลระดับนานาชาตินี่ ไม่ใช่อะไรที่ทำได้ง่ายๆ แต่สำหรับสิงคโปร์แล้ว น่าจะตั้งเป้าหมายไว้สูงกว่านั้น เลยเกิดความผิดหวัง
For English, read here.
ทีมสิงคโปร์ชุดนี้ก็เป็นทีมที่มาแรงในช่วงที่ผ่านมานี้ ส่วนนึงก็เพราะตัวผู้เล่นในช่วงปฏิวัติวงการ ยุคปี 2009 (หลักๆ คือ เดสมอนด์ โอ และ หว่อง เวย ลอง) กำลังอยู่ในจุดสูงสุดของร่างกาย อีกทั้งการพัฒนาผู้เล่นท้องถิ่นที่ดีขึ้นมาอย่างมาก นอกจากนี้ สิงคโปร์ยังเป็นเจ้าภาพรายการแข่งขัน SEABA อีกด้วย อะไรหลายๆ อย่างจึงรู้สึกเหมือนลงตัวพอดิบพอดี
ใน SEA Games ปี 2013 สิงคโปร์เป็นทีมที่สู้กันทางด้านคะแนนได้สูสีที่สุดกับทีมเหรียญทองปีนั้น (ฟิลิปินส์) โดยแพ้ไป 88-75 ซึ่งระยะห่าง 13 แต้มตรงนั้น เป็นจำนวนแต้มห่างที่น้อยที่สุดในรายการแข่งขันปีนั้นเลย
ด้วยเหตุข้างต้นทั้งหลายทั้งปวงนี้ เรื่องที่จะคาดหวังเหรียญทอง SEABA กับทีมชาติสิงคโปร์ชุดนี้ ที่จับเอาตัวเก่าๆ มาเกือบครบ และเสริมด้านการเป็นเจ้าภาพ มันจะเป็นไปไม่ได้เชียวเรอะ?
แน่นอนว่า เราต่างก็รู้ว่าเรื่องราวในการแข่งขัน SEABA มันเป็นเช่นไร ความฝันเหรียญทองนั้นดับวูบลงก่อนที่จะได้ปะทะกับตัวบอสอยน่างฟิลิปินส์ซะอีก ด้วยการแพ้ ทีมชาติมาเลเซียคาถิ่นอย่างน่าเจ็บใจ
แต่แล้ว รายการ SEABA ก็คือ SEABA และ SEA Games ก็เป็นการแข่งขันที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง มาดูกันเล่นๆ ดีกว่าว่า ทีมสิงโตพ่นน้ำชุดนี้ ทำอะไรได้บ้าง
จุดเด่น:
ในระดับภูมิภาคนี้ การป้องกันคนครองบอลของทีมสิงคโปร์ชุดนี้ถือว่าเป็นอันดับต้นๆ โดยมี เดสมอนด์ โอ และ หว่อง เวย ลอง เป็นตัวหัวไล่บี้ตัวประกบหลัก ความกดดันของการป้องกันของสิงคโปร์นั้นดุดันซะจนทีมฝ่ายตรงข้ามมีการทำ เทิร์นโอเวอร์ เฉลี่ย 24.8 ครั้ง/เกม ซึ่งเป็นสถิติที่สูงที่สุดในรายการ SEABA ที่ผ่านมา (มากกว่า ฟิลิปินส์อีก!) อัตราการขโมยบอลอยู่ที่ 25.6% เป็นอันดับที่ 2 ในรายการ ซึ่งทิ้งห่างกับ อันดับที่สาม อยู่ค่อนข้างมากทีเดียว (มาเลเซีย, 18.2%) ตัวไล่หัวของสิงคโปร์มีการก้าวขาที่ไว และมีฐานการทรงตัวที่แข็งแกร่ง การที่จะสลัดการประกบของเขาได้ ถือว่า ยากพอสมควร
นอกจากนี้ แล้ว สิงคโปร์ยังทำได้ดีในการได้จังหวะยิงลูกโทษ ในรายการ SEABA ทีมสิงคโปร์ทำเฉลี่ยการยิงลูกโทษ 20.4 ครั้งต่อเกม และมีอัตรายิงลูกโทษต่อ Field Goal อยู่ที่ 41% ซึ่งสถิติทั้งคู่นี้ ก็ถือว่าสูงที่สุดในรายการ SEABA
ทั้งนี้ เมื่อพวกเขาได้โอกาสในการยิงลูกโทษแล้ว พวกเขาก็ยังทำได้ดีในการสำเร็จโทษอีกด้วย จากการไปยิงลูกโทษ 102 ครั้งในรายการนี้ พวกเขายิงลงไปทั้งหมด 66 ครั้ง ซึ่งเป็นอัตราการยิงลง 64.71%
เหตุผลนึงที่สิงคโปร์สามารถได้จังหวะในการยิงลูกโทษบ่อยๆ นั่นก็เพราะว่า นักกีฬาแต่ละคนสามารถอ่านเกมป้องกันได้พอสมควร และมีการตัดสินใจการจ่ายบอลที่ดี
ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงสามารถที่จะถ่ายบอลไปในตำแหน่งที่ดี ทำให้ได้โอกาสยิงดีๆ และ สามารถล่อการทำฟาวล์ ส่งผลให้มีการยิงลูกโทษจำนวนมากนั่นเอง
อีกสิ่งที่สิงโปร์ทำได้ดี คือการตะเกียกตะกายเก็บรีบาวด์ ทั้งๆ ที่ในรายชื่อทีมมีเซนเตอร์แท้ๆ แค่เพียง รัสเซิล โล และ เดลวิน โก ที่เป็นตัววงในแท้ๆ ที่ได้ลงอย่างต่อเนื่อง แต่ทีมนี้ก็มีอัตราการรีบาวด์ (True Rebounding Percentage) ที่ 53.77% ซึ่งเป็นอันดับ 2 ในรายการแข่งขัน SEABA (ถึงแม้ว่าจะห่างจากอันดับ 1 ฟิลิปินส์เกือบ 16%) ยอดการเก็บรีบาวด์สูงสุดในรายการนี้ของนักกีฬาสิงคโปร์นั้นก็กลับไม่ใช่ยักษ์ใหญ่ที่ไหน แต่เป็น จอมทัพตัวเล็กๆ อย่าง หว่อง เวย ลอง ที่เก็บไป 15 รีบาวด์ในนัดที่แข่งกับมาเลเซีย ถ้าไม่เตรียมตัวให้พร้อม จะโดยพวกการ์ด และ ปีก เก็บกวาดรีบาวด์ไปต่อหน้าต่อตาแน่
สิ่งที่ต้องปรับปรุง:
จริงๆ แล้วก็ไม่มีสถิติอะไรที่น่าเป็นห่วงสำหรับสิงคโปร์เท่าไหร่นัก สถิติส่วนใหญ่ของทีมนี้ จะตกอยู่ในช่วงหัวตารางแทบทั้งหมด ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดี
แต่สิ่งที่อาจจะทำให้สิงคโปร์ไม่ถึงฝั่งฝันนั้น เป็นอะไรที่อาจจะได้เห็นเพียงแค่ในจังหวะเล็กๆ น้อยๆ
ในบางครั้ง พวกเขาก็จะมีหลุดๆ ในเรื่องของการป้องกันได้ง่ายๆ ทำให้ต้องสงสัยว่า การป้องกันของสิงคโปร์นั้นแน่จริงรึเปล่า
บางครั้งก็จะมีจังหวะโอกาสสำคัญๆ ที่สิงคโปร์ปล่อยหลุดมือไปอย้างไม่น่าเชื่อ เช่น โอกาสที่ เวย ลอง จะได้เลย์อัพง่ายๆ ตอนที่เวลาเหลือเพียงหนึ่งนาที 44 วินาที ที่จะทำให้สิงคโปร์มีแต้มตามเหลือเพียง 2 แต้มเท่านั้น
แต่นั่นก็อาจจะเป็นผลแว้งกัดของการป้องกันแบบกดดันเป็นช่วงเวลานานๆ ยิ่งกดดันนานขึ้นเท่าไหร่ ก็จะมีโอกาสพลั้งพลาดมากขึ้นเท่านั้น ถ้าสิงคโปร์สามารถที่จะรักษาความดุดันได้ตลอดทั้งเกม พวกเขาจะมีสถานการณ์ที่จะต้องมานึกเสียใจภายหลังน้อยลง
ดาวหลง (ออกทะเลไปไกล)
หว่อง เวย ลอง
สำหรับคนที่ได้ตำแหน่งผู้เล่น ASEAN ทรงคุณค่าใน ABL ที่ผ่านมา ผลงานในการแข่งขัน SEABA ถือว่าเป็นอะไรที่พลิกผันเปลี่ยนแปลงไปพอสมควร ในรายการ ABL ที่ผ่านมา เวยลองนั้น เป็นผู้เล่นท้องถิ่นคนเดียวที่ทำแต้มเฉลี่ยต่อเกมได้เกิน 10 อยู่ที่ 10.4 แต้มต่อเกม แต่ใน SEABA เขากลับทำได้แค่ 6.6 แต้มต่อเกม แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เวย ลอง ก็ยังคงเป็นผู้เล่นที่เล่นจังหวะตัวต่อตัวได้ดีที่สุดในระดับภูมิภาค (ที่ไม่ใช่ฟิลิปินส์) ที่ดีที่สุด คนนึง
แต่ประสิทธิภาพในการทำแต้มก็ยังเป็นที่กังขาพอสมควรอยู่ อัตราการสิง eFG% ของเวย ลอง ใน SEABA นั้นอยู่ที่เพียง 42.0% แต่แล้ว มันก็ไม่ใช่อะไรที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน ใน ABL เวย ลอง มีอัตราการยิง eFG% ที่แค่ 37.9% เท่านั้น
แต่ถึงอย่างนั้นก็เถอะ เวย ลองได้แสดงให้เห็นมาหลายครั้งแล้วว่า ถ้าต้องการแต้ม เขามีความมั่นใจที่จะล่าแต้มมาให้ได้
อีกสิ่งนึงที่พลิกบทบาทสำหรับ เวย ลอง ในรายการ SEABA จาก ABL นั้นคือ Usage Rate (อัตราการใช้การครองบอล) และ อัตราการเทิร์นโอเวอร์ ใน ABL นั้น เวย ลองเป็นคนที่มีอัตรา Usage Rate สูงที่สุดเป็นอันดับที่ 6 ในบรรดาผู้เล่นท้องถิ่น และเป็นเพียงไม่กี่คน ที่ Usage Rate เกิน 20% ยิ่งกว่านั้น ใน ABL เข้ายังมีอัตราการเทิร์นโอเวอร์น้อยที่สุดในบรรดานักบ่าท้องถิ่นที่ไม่ได้มีบทบาทเป็นตัวยิงอย่างเดียวอีกด้วย อยู่ที่ 12.1 TOV%
ใน SEABA เวย ลองนั้น มีอัตราเทิร์นโอเวอร์พุ่งเป็น 24.0% และมี Usage Rate อยู่ที่แค่ 13.22% เท่านั้น
หวังวา่ เวย ลอง จากการแข่งขัน SEABA จะไม่ใช่ฟอร์มเดียวกับ เวย ลอง ที่จะแข่งใน SEA Games เพราะว่า สิงคโปร์ชุดนี้ต้องการการทำแต้มของเขาจริงๆ
รัซเซิล โล
Here’s another Singapore Slinger that seemed to have a complete turnaround. Low went from being one of the top 2 local rebounders in the ABL (11.9 TRB%) and finished out the SEABA Championship as Singapore’s 4th worst rebound (8.19 TRB%). His offense didn’t get much of a boost, scoring 7.8 points per game in SEABA, opposed to his 4.86 points in the ABL while shooting at approximately the same eFG%.
Watching him play though, you get to see that he has improved a lot on his post play footwork.
He might still look really stiff and is still struggling to finish shots, but seeing that he has hit quite a low in SEABA, SEA Games should probably be the right time for Low’s performance to go up.
ดาวเด่น (เป็นสง่า)
วู ชิง เด
บางทีผมก็สงสัยนะ ว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ผมเรียนรู้มาจากการติดตาม ทีม สิงคโปร์ สลิงเกอร์ส จาก ABL นั้นควรโยนทิ้งเผาให้มอดไหม้ไปให้หมด วู ชิง เด นักบาสวัย 22 ปีนั้น ไม่ได้โชว์ผลงานที่โดดเด่นออกมาเท่าไหร่นักใน ABL และไม่ได้มีสัญญาว่า นี่แหละ คือดาวเด่นคนต่อไปของสิงคโปร์ ถึงแม้ว่าเขาจะเป็นปีกจอมขยันคนนึง ที่ทำหน้าตาและบทบาทของตัวเองได้ดี ในช่วงเวลาจำกัดที่ได้ลงเล่น แต่พอเราได้ดูเขาอีกทีในรายการ SEABA นั้น ก็เห็นได้ว่า ชิง เด นั้นพัฒนาขึ้นมาอีกระดับนึงแล้ว
วู ชิง เด เป็นผุ้เล่นทีมชาติสิงคโปร์คนเดียวที่ทำเฉลี่ยเป็นเลขสองหลัก คือ ทำไป 10.6 แต้มต่อเกม และ เขาก็ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพพอสมควร ด้วยอัตราการยิง eFG% ที่ 47.7% อีกอย่างที่เขาทำได้ดีพอสมควรใน ABL คือการตะเกียกตะกายกรุยทางเพื่อเข้าไปคว้ารีบาวด์เกมบุก ซึ่งใน SEABA เขาก็ทำได้ดีเช่นเดิม โดยเป็นคนที่มีอัตราการรีบาวด์เกมรักสูงสุดเป็นอันดับที่ 8 อยู่ที่ 11.74%
นอกจากนี้ เขายังปรับตัวเขากับบทบาทที่เพิ่มขึ้นมา เห็นได้จาก Usage Rate ของเขาที่ขึ้นมาเป็น 20.17% และเขาก็ทำได้ดี โดยมีอัตราการเทิร์นโอเวอร์ เพียง 9.08% เท่านั้น
ชิง เด ก้าวข้ามขึ้นมาจากบทบาทตัวปะทะและบทตัวจุดชนวน ขึ้นมาเป็นผู้เล่นหลักแล้ว เขาเป็นชิ้นส่วนที่สำคัญในการต่อยอดการพัฒนาทีมชาติของสิงคโปร์ที่ดี และถ้าเขายังพัฒนาด้วยอัตรานี้อยู่ ก็จะกลายเป็นผู้เล่นที่น่ากลัว ในอนาคตแน่นอน
ดาวรุ่ง (พุ่งแรง)
ลีออน เคว็ก
ได้ดูการแข่งขันสองเกมสุดท้ายของสิงคโปร์แล้ว ไม่ได้รู้สึกประทับใจกับเคว็กเท่าที่คาดการณ์ไว้จากเสียงร่ำลือที่เคยได้ฟัง เขาจบรายการนี้ไปเป็นผู้เล่นที่ทำคะแนนต่อเกมมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในทีมที่ 8.00 แต้มต่อเกม แต่ดูเหมือนว่า ยิ่งคู่ต่อสู้หินเท่าไหร่ เคว็กก็ดูเล่นลำบากขึ้นเป็นทวีคูณ เขาเปิดตัวได้อย่างสวยงามในนัดเปิดสนาม โดยทำไป 18 แต้ม แต่ในสองเกมสุดท้ายที่เจอกับ ฟิลิปินส์ และ มาเลเซีย เขากลับทำรวมสองเกมได้แค่ 8 แต้มเท่านั้น
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เคว็ก ยังมีจังหวะบางจังหวะที่แสดงให้เห็นถึงเซ้นส์ในเกมบุกของเขา เขามีความสามารถทางร่างกายที่ดีพอ ที่จะทำให้เขาสามารถพุ่งฉีกจากตัวประกบได้ และก็แสดงจังหวะแบบนั้นให้เห็นได้เรื่อยๆ
แต่เกมป้องกันของเขาก็ยังต้องปรับปรุงมาก หลายๆ ครั้งที่เขายังดูหลงๆ ในระบบเกมป้องกันของสิงคโปร์อยู่ แต่ตรงจุดนี้ เขายังมีช่องว่างให้พัฒนาขึ้นมาอีกมาก
แล้วรู้ไหมว่าตานี่มันอายุแค่ 18 ปีเอง?
แล้วคุณละ ตอนคุณอายุ 18 ปี คุณทำแต้มเฉลี่ยต่อเกมไปเท่าไหร่ในการแข่งขันบาสเก็ตบอลระดับนานาชาติ?
ผมคาดหวังกับตัว เคว็ก ไว้ระดับนึง ว่าจะระเบิดฟอร์มออกมาได้แรงกว่านี้ใน SEA Games และ ในการแข่งขัน ABL หากเขาได้ติดทีม สลิงเกอร์สในฤดูกาลหน้า
เดลวิน โก
อย่าง เดลวิน นี่ไม่รู้ว่าจะเรียกว่า ดาวรุ่งได้อีกรึเปล่า เพราะเขาเองก็อายุ 20 และวนเวียนอยู่ในการแข่งขันระดับสูงสุดของสิงคโปร์มาเนิ่นนานแล้ว แต่การที่ติดตามพัฒนาการของเขาตั้งแต่ ABL มาจนถึง SEABA ก็คิดว่ายังไม่สามารถเรียก เดลวิน ได้เต็มปากว่าเป็น สตาร์
เดลวินเป็นคนที่รีบาวด์ได้ดี ใน ABL เขาเป็นกลุ่มท็อปๆ ในด้านอัตราการรีบาวด์ (10.9 TRB%) ในยรรดาผู้เล่นท้องถิ่น และก็ทำได้ดีเหมือนเดิมใน SEABA (18.3 TRB% สูงสุดเป็นอันดับ 8 ในรายการ) การรีบาวด์เป็นอะไรที่เขาทำได้ดีมาเสมอ และก็น่าจะทำได้ดีต่อไป ด้วยรูปร่างของเขาเป็นทุนเดิม
สิ่งที่เขายังต้องพัฒนาต่อไป (และสิ่งที่ทีมชาติสิงคโปร์ต้องพัฒนาพอสมควร) คือ เรื่องการจบสกอร์ สำหรับคนที่ทำแต้มใต้แป้นเป็นส่วนใหญ่ ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องที่น่าตกใจพอควรที่ อัตราการยิง eFG% ของ เดลวินยังอยู่ที่เพียงประมาณ 37% เท่านั้น
สำหรับคนที่มีการยิงระยะกลางและระยะไกลจำนวนมากอย่าง เวย ลอง แล้ว eFG% เพียง 37% ก็ยังพอทำใจได้ แต่นี่คือคนที่ทำแต้มส่วนใหญ่จากการเก็บรีบาวด์ฝั่งบุกเป็นส่วนมาก เขาน่าจะทำได้ดีกว่านี้ เดลวิน เป็นคนที่ยิงลูกโทษได้ดีพอสมควร เพราะฉะนั้น ปัญหาที่ชัดเจนเลย คือการจบสกอร์ใต้แป้นนั่นแหละ
เดลวิน โก ก็ถือว่าก้าวขึ้นมาถึงจุดนี้ในวงการมานานพอสมควรแล้ว และถึงแม้ว่าเขายังเด็ก และมีเวลาพัฒนาอีกมาก เขาควรจะต้องเร่งจังหวะในการพัฒนามากขึ้นหน่อยซะแล้ว
T&D ฟันธง:
สิงคโปร์ฉลุยผ่านในรอบคัดเลือกกลุ่ม แต่ต้องมาพ่ายแพ้ให้กับทีมชาติไทยอย่างฉิวเฉียด ในการต่อสู้เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะฟิลิปินส์ เขาต้องเจอกับ ฟิลิปินส์อีกครั้งในรอบรอง และก็สู้สุดใจขาดดิ้น แต่ก็แพ้อีกครั้ง และต้องไปเจอกับคู่ปรับ มาเลเซีย ในเกมชิงทองแดง จากการที่งัดไม้เด็ดทั้งหมดเพื่อสู้กับฟิลิปินส์ไปแล้ว ทำให้ต้องมาต่อสู้กับมาเลเซียได้อย่างไม่เต็มที่ และยิงพลาดมากเกินไป จนต้องพ่ายในบ้านให้กับมาเลเซียอีกครั้ง
มองอย่างโลกมืด:
กลายเป็นว่าอยู่ดีๆ สิงคโปร์กับช็อตพร้อมกันหมด ยิงไม่ลงในนัดที่เจอกับทีมเวียดนามที่กำลังคึกกับการมาแข่ง SEA Games ครั้งแรงในรอบหลายปี พวกเขาแพ้เวียดนามในที่สุด และแพ้ไทยในนัดต่อมา ทำให้ทีมต้องตกรอบคัดเลือกกลุ่มและพลาดเข้ารอบรองไป
มองอย่างโลกสวย:
การป้องกันของสิงคโปร์ กัดแทะแนวรุกของไทยจนทำอะไรไม่ได้ ทำให้พวกเขาเข้าไปเจอกับมาเลเซียในรอบรองชนะเลิศ สิงคโปร์เล่นอย่างดุเดือดด้วยความเคียดแค้นจากการแพ้พ่ายใน SEABA ทำให้ทะลุเข้าไปแข่งขันในรอบชิงกับฟิลิปินส์
พวกเขาต่อสู้อย่างสุดใจขาดดิ้น และได้มีโอกาสในการยิงสามแต้มเพื่อตีเสมอในวินาทีสุดท้ายขาก หว่อง เวย ลอง แต่กลับกลายเป็นว่าพลาดไปเพียงนิดเดียว ผู้คนจะสรรเสริญการต่อสู้อย่างห้าวหาญของพวกเขา และทำให้สิงคโปร์กลายเป็นชาติที่น่าจับตาในวงการบาสเก็ตบอล ก่อนที่จะไปลุยใน FIBA Asia
และนี่ก็คือ บท Preview ทีมชาติสิงคโปร์ สำหรับชุดลุย SEA Games!
ลองติดตามอ่านบทวิเคราะห์ทีมชาติอื่นๆ ที่จะลุย SEA Games ได้ตาม Link ต่อไปนี้ได้:
3 thoughts on “SEA Games Preview: สิงโตพ่นไฟ”