ผมมีเรื่องจะสารภาพ: ผมไม่ได้หวังอะไรมากกับบาสทีมชาติมาเลเซียในรายการ SEABA 2015 ที่ผ่านมา
For English, Read here.
ผลของรายการ SEABA ที่ผ่านมาปลายเดือนเมษายนนั้น ผมวาดไว้ว่า ทีมชาต ฟิลิปินส์ (ที่ได้เขียนกล่าวถึงเล็กน้อยในอีกบทความนึง) คงคว้าแชมป์ไปได้ง่ายๆ และทีมชาติสิงคโปร์ก็จะลอยลำเข้าเป็นที่สอง
ขอออกตัวปกป้องความคิดก่อนหน้านี้ ว่า สิงคโปร์นั้น ทั้งเป็นเจ้าภาพ แล้วก็มีทีมที่เล่นด้วยกันมาเนิ่นนาน และต่อเนื่อง แต่เรื่องของสิงคโปร์ เรามาคุยกันทีหลังดีกว่า
ผมขออ้างเหตุผลต่อไปนี้ก่อน เพื่อให้เห็นว่า ทำไมผมถึงได้เมินทีมชาติมาเลเซียไป
ดาวดับ:
“โล ชี ฟาย” นั้น เป็นถึง 1 ในผู้เล่นในลีก ASEAN Basketball League ที่เป็นรายชื่อในโผสุดท้ายของรายวัล ผุ้เล่นท้องถิ่นยอดเยี่ยม เขายิงสามแต้มลงถึง 34 ลูก ซึ่งน้อยกว่าเพียง ลีโอ อาเวนิโด้ และ เดวิด แฮริสัน อาร์โนล์ด ผู้เล่นสองคนที่มีเวลาลงเล่นมากกว่า ชี ฟาย เกือบสองเท่า แต่ก็ไม่ใช่ว่าเขาสักแต่ยิงทิ้งยิงขว้าง
ชี ฟาย มีอัตราการยิงลงสูงถึง 34% ในขณะที่ยิงเฉลี่ยเกมละ 5 ลูก ในบรรดาผู้เล่นท้องภิ่นด้วยกัน ที่มีจำนวนการยิงในประมาณที่มีนัยยะแล้ว ชี ฟาย นั้นมีอัตราการยิง Effective Field Goal Percentage เป็นอันดับที่สอง อยู่ที่ 49%
แล้วเขาก็เกิดอุบัติเหตุ ทำให้เอ็นไขว้หน้าเขา่ฉีก

“ยิม เฉิน ห่าว” นั้นไม่ได้ลงเล่นมากเท่า ชี ฟาย ใน ABL แต่ตอนที่เขาลงไปเล่นแล้ว เขาก็ถือว่าเป็นตัวยิงที่ดีมากระดับนึง ในเกมที่แข่งกับ ไซง่อน ฮีต เกมนึงช่วงท้ายฤดูกาล ก็ได้กระหน่ำทำแต้มใส่ไป 19 แต้ม ในบรรดาผู้เล่นท้องถิ่นแล้ว มีเพียง “คานู” วัฒนา สุทธิสินธุ์, “รูเบน” วุฒิพงศ์ ดาโสม, เม โจนี่ (สวัสดีจ๊า ลาสการ์ เดรย่า!) และ วอง เวย์ ลอง ที่ทำได้มากกว่านั้นในฤดูกาลที่แล้ว
เขายิงสามแต้มไปทั้งหมด 28 ครั้ง แล้วยิงลงไปถึง 50% จากลูกยิงทั้งหมดด้วย ซึ่งอาจจะยังเป็นตัวเลขที่ไม่มีนัยยะมากขนาดนั้น แต่ก็มองข้ามไม่ได้เลย อัตราการยิง Effective Field Goal Percentage ที่สูงถึง 60% ซึ่งจะสูงกว่า เพื่อน อิมพอร์ต ร่วมทีม จีสติน น็อกซ์ ด้วยซ้ำ
แล้วเขาก็เกิดอุบัติเหตุทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่เข่าเช่นกัน

มือปืนตัวแม่น (อีกทั้ง ชี ฟาย ที่น่าจะเป็นตัวทำแต้มหลักของทีม) อยู่ดีๆ ก็หายไปถึงสองคน จากทีมบาสเสือเหลือง (ชื่อเล่นนี้ใช้ได้ในวงการบาสไหมหว่า? ไม่เคยเห็นใส่เสื้อสีเหลืองเลย)
ก็ไม่แปลกใช่ไหม ที่มันอาจจะทำให้ผมมองข้ามทีมนี้ไป?
แน่นอนว่าพอถึงเวลาแข่งจริงแล้ว มาเลเซียก็ตลุยผ่านการแข่งขัน SEABA ไปได้ โดยคว้าชัยชนะเหนือคู่ปรับ และ เจ้าภาพ สิงคโปร์ เพื่อคว้าตำแหน่งอันดับที่สองไปได้
ก็เครื่องมือตอกย้ำได้ต่อไปว่า ผมไม่ได้รู้เรื่องบาสอะไรเท่าไหร่เลยจริงๆ….
เราก็มีถึงจุดนี้ เหลือเพียง 2 สัปดาห์ ก็จะเริ่มการแข่งขัน SEA Games แล้ว เรามาดูกันดีกว่า สำหรับทีมที่ว่ากันได้ว่า น่าจะเป็นทีมที่มีโอกาสที่ดี ที่จะเข้าชิงได้ ใน SEA Games 2015 ที่จะถึงนี้
จุดเด่น:
อาจจะเป็นการชักจูงให้เข้าใจผิดได้ หากจะชี้ไปที่ตัวเลขของอัตราการยิงสามแต้มของมาเลเซีย ที่เป็นที่สองในรายการ SEABA ที่ผ่านมา (27.5%) แล้วบอกว่าทีมนี้ ก็ไม่ได้เสียอะไรมากจากการที่ดาวยิงสองคนที่กล่าวมาข้างได้รับบาดเจ็บ
แต่ความเป็นจริงแล้ว หากมองลงไปในตัวเลขอย่างลึกซึ้งอีก ถ้าไม่นับสถิติจากเกมที่มาเลเซีย แข่งกับ ลาว แล้ว (ซึ่งมาเลยิงสามแต้มไป 35 ลูก ลง 15 ครั้ง) จะกลายเป็นว่า มาเลยิงสามแต้มลงเพียงแค่ 23.3% เท่านั้น…ซึ่งก็ไม่ได้สูงซักเท่าไหร่เลย
แต่ถึงอย่างนั้น พวกเขาก็ยังมี เคว็ก เทียน ยวน ตัวเล่นวงในที่สามารถดีดออกมายิง ที่เป็นจุดศูนย์กลางของทีม
สถิติรีบาวด์นั้นไม่ค่อยจะดีเท่าไหร่ สำหรับมาเลเซีย โดยเป็นอันดับ 4 กับอัตราการเก็บรีบาวด์ที่ 47% แต่ถ้าเอาผลสถิติจากเกมที่เจอกับฟิลิปินส์ออกไป (ซึ่งมาเลเซียได้พักตัวรีบาวด์ที่ดีที่สุดของตัวเอง ไอแวน โย) สถิติการรีบาวด์ของมาเลเซียก็จะดูดีขึ้นมาได้บ้าง ไม่ถึงขั้นที่เรียกว่าแย่ มาเลเซียเป็นทีมที่กล้าชนกล้าลุย การที่คลุกวงใน และคว้าเอารีบาวด์ได้นั้น ถือเป็นจุดที่ทำได้ดีอย่างนึง
แต่สิ่งที่มาเลเซียนั้นทำได้ดีอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเจอกับทีมอะไรนั้น คือการ จ่ายบอลให้ถูกคน และถูกเวลา พวกเขามีอัตราการทำ แอสสิสต์ สูงที่สุดเป็นอันดับสองในการแข่งขันที่ 25% รองมาจากฟิลิปินส์ที่ทำไว้ 31% แต่นั้นมันก็…ฟิลิปินส์ จุดนี้น่าจะดีขึ้นได้อีก หลังจากที่ได้ดึง วอง วี เส็ง มาเสริม ในทัพที่จะลุย SEA Games
ผมได้ดูการแข่งขันของ มาเลเซีย เพียงเกมเดียว คือ เกมที่เจอกับ สิงคโปร์ ซึ่งการป้องกันของมาเลเซียก็ทำได้ดี ในการก่อกวนเกมบุกไม่ให้ได้จังหวะ ด้วยการเล่น Match-Up Zone ที่วิ่งกันพล่าน
ทีมที่จะแข่งกับมาเลเซียนั้น ต้องระวังกับจังหวะการ Backdoor Cut ซึ่งดูเหมือนว่า หลายๆ คนในทีมจะมีความเข้าใจในจังหวะที่สมควรจะตัดได้ดี เพื่อให้ได้จังหวะง่ายๆ โล่งๆ ในการทำแต้ม
นี่เป็นทีมที่ไม่ได้โดดเด่นอะไรมากเป็นพิเศษ แต่สิ่งที่ทำได้ ก็ค่อนข้างจะทำได้ดีทีเดียว
สิ่งที่ต้องปรับปรุง:
ผมได้พูดถึงเรื่องการยิงสามแต้มไปแล้วข้างบน แต่คิดว่าน่าจะต้องพูดถึงกันอีกรอบ ถ้าทีมมาเลเซียนี้ จะใช้อาวุธในการบุกที่ดีที่สุดของตัวเอง (ไอแวน โย) อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ต้องพัฒนาเรื่องการยิงสามแต้ม เพื่อให้โซนการป้องกันกระจายออกมากว้างขึ้น
นอกจากการยิงสามแต้มแล้ว ทีมนี้ต้องพัฒนาเรื่องการยิงลูกโทษอีกด้วย มาเลเซียยิงลูกโทษลงเพียง 43.08% เท่านั้น ซึ่งรั้งท้ายในการแข่งขัน SEABA แบบห่างชั้นพอสมควรทีเดียว อาจจะเป็นจุดเปลี่ยนเกมได้เลยทีเดียวในจังหวะเกมกระชั้นชิด
แน่นอนว่า ทีมร่วมกลุ่มที่ลุ้นอันดับสอง (ฟิลิปินส์จองเก้าอี้ อันดับ 1 ไปแล้ว) จะรับรู้เรื่องนี้อยู่แล้ว และคงพร้อมที่จะใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างแน่นอน

สิ่งนึงที่อาจจะน่าเป็นห่วงสำหรับ มาเลเซีย คือ เรื่อง จังหวะการเล่นที่ช้า ถึงแม้ว่า การ์ดจ่าย “ทง เวน เคียง” จะเป็นผู้เล่นที่จัดได้ว่าเร็ว ทีมมาเลเซีย ยังหาผู้เล่นที่จะมาขนาบข้างตรงปีกที่จะซิ่งขึ้นมาจบสกอร์ด้วยกันได้ดีเท่าไหร่นัก ในการแข่งขันที่ผ่านมา พวกเขารั้งท้ายอยู่ในเรื่อง Pace อยู่ที่ 58.45 อีกทั้งยังไม่ได้ยิงแม่นมากพอที่จะทำให้จำนวนการครองบอลน้อยครั้งที่มีนั้น จบลงอย่างมีประสิทธิภาพเสมอ
สรุปแล้ว สำหรับมาเลเซีย ถ้าอยากจะเล่นจังหวะช้าเหมือนเดิม ก็ไม่ได้เป็นปัญหาเท่าไหร่หรอก แต่ก็ต้องหาจังหวะการยิงที่ดีของตัวเองให้ได้ เพื่อให้การครองบอลทุกครั้งสามารถจบลงด้วยจังหวะการยิงที่ดี และ มีประสิทธิภาพ…ซึ่งจะเป็นเรื่องยาก ถ้าไม่สามารถที่จะยิงสามแต้ม หรือ ลูกโทษได้
สตาร์ประจำทีม
ทง เวน เคียง
ถ้าติดตามอ่าน Blog นี้มาได้ระยะนึงแล้ว ก็จะรู้ว่า ผมชื่นชอบในการเล่นของ “ทง” มาซักพักใหญ่แล้ว การ์ดจ่ายอายุน้อยคนนี้ ติดเป็นตัวสำรองของ การ์ดจ่ายเทพ เอเวอรี่ ชาเรอร์ เกือบทั้งฤดูกาล ABL ที่ผ่านมา แต่เขาก็ได้ลงเล่นเฉลี่ยถึงเกมละ 10.7 นาที ในเวลาที่ลงเล่นนั้นเขาก็ทำหน้าที่ในการครองเกมได้ดี โดยทำเฉลี่ย 6.11 แอสสิสต์ต่อการลงเล่น 40 นาที ซึ่งเป็นอันดับ 4 ใน ABL ทั้งหมด และมากกว่า ฟรอยลัน บาเกี้ยน ที่ชาวไทยคุ้นเคยกันซะอีก อัตราการทำแอสสิสต์ของเขาก็อยู่ที่ 19.7% เป็นอันดับ 9 ใน ABL อีกด้วย

ในรายการแข่งขัน SEABA นั้น ก็ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปมาก “ทง” เป็นที่ทำแอสสิสต์ต่อเกม (5.00 ต่อเกม) ได้สูงที่สุดเป็นอันดับ 2 และเป็นอันดับ 3 ด้านอัตราการทำแอสสิสต์ (13.8%) ซึ่งเป็นรอง หนุ่มการ์ดจ่ายในดวงใจของผมอีกคน คือ จิโอ จาลาลอน ของ ฟิลิปินส์ ที่คว้าอันดับ 1 ไปในสองหัวข้อนี้ ❤
แต่อย่างในก็ตาม ในฐานะที่เป็นคนถือบอลหลัก “ทง” ยังคงมีปัญหาในเรื่องการทำ เทิร์นโอเว่อร์ ด้วยการที่เป็น “ผู้นำ” ในอัตราการทำเทิร์นโอเวอร์ที่ 33.6%

ถึงอย่างไร การเทิร์นโอเวอร์ก็เป็นส่วนนึงสำหรับผู้เล่นที่ชอบเล่น หวือหวา อย่าง”ทง” อยู่แล้ว แล้วถ้ามันมีบางครั้งที่ต้องเสียบอลไป แต่หลายๆ ครั้งมันเป็นมีผลลัพธ์ที่เด็ดดวงตามมาเช่นกัน
ไอแวน โย
โย ไม่ได้อยู่ในทีม เวสพอร์ต มาเลเซีย ดรากอนส์ ใน ABL ปีที่แล้ว ผมเลยไม่ได้มีข้อมูลอะไรเท่าไหร่นักสำหรับผู้เล่นคนนี้ ก่อนที่รายการ SEABA จะเริ่มต้นขึ้น แต่พอได้เห็นแล้ว ก็เริ่มรู้สึกได้ว่า “คนนี้ไม่ธรรมดา”
ได้รับสายข่าวเรื่อง โย นี้จากเพื่อนชาวมาเลเซียคนนึงที่รักบาสเป็นชีวิตจิตใจเช่นกัน และก็ถือว่าเป็นบุญตัวเองจริงๆ ในเกมแรกนั้น โยระเบิดฟอร์มใส่ทีมอินโดนีเซีย โดยทำไป 15 แต้ม และ 13 รีบาวด์ ตลอดทั้งรายการ เขาทำไป 10 แต้มต่อเกม (เป็นที่ 1 ในทีม) และทำไป 11.38 รีบาวด์ต่อเกม (เป็นที่สองในรายการ) โดยเป็นที่ 1 ในเรื่องอัตราการรีบาวด์ที่ 21.4%
แต่ตัวเลขของเขา อาจจะเหมือนเป็นการย้อมสีใส่ไข่เล็กน้อย เพราะทางมาเลเซีย ไม่ได้ส่งเขาลงเล่นในเกมที่เจอกับ ฟิลิปินส์ เพื่อพักให้สดที่สุด สำหรับการแข่งขันกับสิงคโปร์ในเกมต่อมา
ตรงนี้ อาจจะทำให้ ความหนักแน่นทางสถิติของ โย นั้นอ่อนลงมาหน่อย แต่ก็เป็นเครื่องยืนยันได้ถึงความสำคัญของเขาต่อทีมมาเลเซียชุดนี้จริงๆ
โย เป็นปีกที่ชอบคลุกคลีข้างใน เขามีความสูงพอๆ กับ รูเบน แต่อาจจะมีกล้ามเนื้อมากกว่านิดหน่อย เขามีอัตราการยิงลงภายในเขตสองแต้มที่ 53.66% ซึ่งถือเป็นอันดับสามในรายการแข่งขันนี้ สำหรับนักกีฬาที่ไม่ได้เล่นทีมฟิลิปินส์ (เดี๋ยวพอเขียนเกี่ยวกับฟิลิปินส์ แล้วจะรู้ว่าทำไมต้องมีเงื่อนนี้ขึ้นมา) เขามีทักษะการยิงระยะกลางที่ดีพอสมควร และ การวางบอลใกล้ห่วง ก็มีความนั่มนวลและแม่นยำ
ดูเหมือนว่าเขาจะมีความเข้าใจที่ดี ในเรื่องของการเล่น Pick & Roll กับ ทง เวน เคียง ซึ่งน่าจะเป็นตัวเลือกในการบุกที่ดี สำหรับ มาเเซียในรายการแข่งขัน SEA Games ที่จะถึงนี้
ปล. สิ่งที่จะบอกต่อไปนี้ ไม่เกี่ยวกับ SEA Games เลยแม้แต่น้อย แต่ ถ้าไอแวน โย ลงเล่นให้การ ดรากอนส์ ใน ABL ฤดูกาลหน้า ระดับชั้นของผู้เล่นท้องถิ่นของทีมนี้ จะน่ากลัวไม่ใช่น้อย
เคว็ก เทียน ยวน
เคว็กเป็นคนที่ทำแต้มได้มากที่สุดเป็นอันดับสองของทีมมาเลเซียในรายการ SEABA โดยทำแต้มไปอย่างมีประสิทธภาพที่ 54.29% จากการยิงทั้งหมด และ 50% จากสามแต้ม แน่นอนว่า การยิงจุกโทษต้องปรับปรุงพอสมควร (20%) เพราะอัตราการยิงลูกโทษลงในรายการ ABL ก็ไม่ได้ดีมากพอที่จะทำให้ปักใจได้ว่าเดี๋ยวมันก็ดีขึ้น ในด้านการรีบาวด์ เคว็กก็ทำได้ดีใมน ABL (6.55 รีบาวด์ต่อ 40 นาที และ อัตราการรีบาวด์ 8.6%) ภายในการเล่น 10.1 นาทีต่อเกม สถิติในการแข่งขัน SEABA ก็ไม่ได้ต่างออกไปเท่าไหร่นัก (8.3 รีบาวด์ต่อ 40 นาที, อัตราการรียาวด์ 9.55%)

คุณค่าของเขาในทางเทคนิคการเล่นจะอยู่ที่การเป็นตัวผุ้เล่นตำแหน่ง 4 ที่สามารถจะดีดออกไปยิงได้ อีกทั้งยังเก็บรีบาวด์ได้เป็นครั้งครา
แต่คุณค่าสำหรับทีมของเขา จะอยู่ที่การเป็นผู้นำ และ จุดศูนย์กลางของผู้เล่นทุกคน
T&D ฟันธง:
มาเลเซียจะเป็นผู้ที่เล็ดรอดออกมาจากกลุ่ม ในฐานะอันดับสอง หลังจากที่ชนะอินโดนีเซียไปแบบฉิวเฉียด พวกเขาจะเข้ารอบไปเจอทีมชาติไทยก่อนที่จะแพ้แล้วไปเจอ สิงคโปร์ในรอบชิงทองแดง และก็เป็นอีกครั้งที่พวกเขาจะย้ำชัยเหนือทีมสิงคโปร์ คาถิ่นเป็นรอบที่สองในเวลา 2 เดือน
มองอย่างโลกมืด:
ในการปะทะกับคู่แค้นอย่างอินโดนีเซียนั้น คณะกรรมการตัดสินตัดสินใจที่จัดเป่าคุมเกมให้ไม่มีจังหวะการเล่นรุนแรงมาก จึงมีการเรียกฟาวล์นับล้าน (…ก็ไม่ถึงล้านจริงๆ อะนะ ไม่งั้นก็คง ฟาวล์เอ้า กันหมด)
ทีมมาเลเซียก็ยังคงมีปัญหากับการยิงลูกโทษ ทำให้ทีมอินโดนีเซียที่เก๋ากว่า กระหน่ำลูกโทษสำคัญลูกแล้วลูกเล่าและก็ต้องพ่ายแพ้ไปในที่สุด ทำให้ไม่ผ่านเข้าสู่รองที่สองของการแข่งขัน
มองอย่างโลกสวย:
โล ชี ฟาย และ ยิม เฉิน ห่าว ฟื้นตัวกลับมาลงสนามได้อย่างปาติหาริย์ราวกับเป็น วูลฟ์เวอรีน และได้เพิ่มพลังในการบุกให้กับมาเลเซียอย่างท่วมท้น ผลักดันให้ทีมาเลเซียนี้ทะลุเข้าไปถึงรอบชิง และสู้กับฟิลิปิน์ได้อย่างสูสี ถึงแม้ว่าจะแพ้ในที่สุด แต่กองเชียร์ของคู่ปรับอย่างสิงคโปร์ก็อดใจที่จะลุกขึ้นปรบมือให้กับความพยายามที่จะสู้ไม่ถอยของมาเลเซียอยู่ดีทันทีที่จบเกม
และนี่ก็คือ บท Preview ทีมชาติมาเลเซีย สำหรับชุดลุย SEA Games!
ลองติดตามอ่านบทวิเคราะห์ทีมชาติอื่นๆ ที่จะลุย SEA Games ได้ตาม Link ต่อไปนี้ได้:
2 thoughts on “SEA Games Preview: ม้ามืดเสือเหลือง”