BTSL Game Recap 28/03/15 Nakhon Pathom Madgoats vs. Mono Vampire: ว่าด้วยตัวเลข

ยังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่ผมอยากจะเขียน อยากจะแบ่งปันออกไป แต่ก็ทำไม่ได้ และมันไหลหายไปกับกาลเวลา

For English >> Click Here

BTSL 21/03/2015: Mono Vampires 65 : Nakhon Pathom Madgoat 85

ถ้าติดตามอ่านมาเรื่อยๆ ก็จะรู้ว่าผมชอบการเล่นของ อาร์ม ณัฐกานต์ เมืองบุญ มากขนาดไหน แต่ถ้าหากว่าท่านเพิ่งเคยได้มาอ่านบทความในพื้นที่แห่งนี้เป็นครั้งแรก ผมก็จะบอกอีกครั้งละกัน การเล่นของอาร์มมันให้ความรู้ที่ไหลไปตามจังหวะ และ มีความสงบนิ่งในตัวของมันเองที่ทำให้คนดูเพลิดเพลิน และ รื่นรมย์ไปกับมันโดยไม่รู้ตัว ทำให้เห็นว่า อาร์มรู้จังหวะการไหลของเกม ณ จังหวะนั้น และวิธีการควบคุมจังหวะของการเล่น

ผมอาจจะเขียนเชิงนี้ในทุกๆ บทความเลยก็ได้ ผมอาจจะพรรณโวหารให้ท่านผู้อ่านจำนวนน้อยนิดของตัวเองได้จินตนาการไปตามภาพที่แสนสวยงามที่ผมวาดไว้ และเคลิ้มฟินไปกับมัน

แบบนั้นผมก็ชอบนะ มันก็สนุกดี แต่ผมไม่อยากเขียนแบบนั้น
อย่างน้อยก็ไม่ใช่แบบนั้นทั้งหมด
ผมคิดว่าในส่วนของการจินตนาการนั้น ตัวคนอ่านเองทำได้ ไม่ต้องให้ผมมานั่งพรรณาโวหารให้อ่านหรอก ทุกคนมีพลังจินตนาการที่เหลือล้นอยู่แล้ว

ตอนนี้เราอยู่ในโลกของตัวเองแล้ว เหล่าโทรศัพท์สมาร์ทโฟน และ คอมพิวเตอร์ก้าวเข้ามาเป็นส่วนสำคัญของชีวิตแล้ว เราอาจจะไม่รู้ตัวว่าบางทีเรา “บริโภค” ตัวเลขมากกว่าบริโภคอาหาร ก็ยังเป็นไปได้
และมันก็เป็นอะไรที่ทำให้ชีวิตเราดีขึ้นมาได้ส่วนนึง เราได้มองเห็นภาพที่มันชัดเจนมากขึ้น ได้มุมมองที่ทำให้เห็นรอบด้านมากขึ้น เราอาจจะมีข้อมูลเรื่องจำนวนแคลอรี่ต่อวันของตัวเอง และมันก็ทำให้เรา มองเห็นตัวเองว่า “เออ กินเยอะไปแล้วนะ”

homer-simpson-daily-food-intake1
และนี่คือจำนวนแคลอรี่ที่ควรบริโภคต่อวัน

บาสเก็ตบอลก็เช่นกัน ความก้าวหน้าทางด้านสถิติของกีฬาบาสเก็ตบอลได้ทำให้มันกลายเป็นส่วนนึงที่แทบจะขาดไปไม่ได้เลย ทีมใน NBA หลายๆ ทีม เริ่มมีการประยุกต์ใช้ข้อมูลทางสถิติอย่างสุดขั้วในการบริหารทีม ซึ่งทีม ฮุสตั้น ร็อกเก็ตส์ ก็เป็นทีมที่บุกเบิกในด้านนี้ โดยมี General Manager เป็น เซียนตัวเลข อย่าง แดริลล์ มอรี่ย์ กุมบังเหี้ยนอยู่ เรื่องข้อมูลรายละเอียดในเชิงลึก อาจจะลองหาได้จากอินเตอร์เน็ตได้ง่ายๆ นั่นเพราะว่า มันเป็นประเด็นที่ใหญ่โตในกีฬาบาสสมัยนี้

และพวกเขาก็โชคดี ที่มีตัวเลขให้ใช้งานในการวิเคราะห์

ย้ายมาดูมาดูลีกใกล้บ้านอย่าง PBA ของฟิลิปินส์ดีกว่า
ตอนนี้ เทเร้นส์ โรเมโอ เป็นนักกีฬาของทีม โกลบอลพอร์ต บาตาง เพียร์ และกำลังฟอร์มฮอตสุดๆ หลังจากที่คว้าทั้ง MVP ของ ออลสตาร์เกม และเกมระหว่างผู้เล่นหน้าใหม่ และ ผู้เล่นปีสอง โรเมโอเป็นคนที่เลี้ยงลูกติดมือ หลอกคนหายมาหลายราย อีกทั้งยังจบสกอร์ด้วยร่างกายที่บิดเบี้ยวได้บ่อย นอกจากนี้ยังจ่ายบอลได้ดีอีกด้วย เขาเป็นชื่อที่ติดปากกันในลีกตอนนี้ และทีมสโมสรที่ใหญ่ที่สุด บารางกัย จีเนบร้า เองก็มีข่าวความสนใจในการคว้าเอาโรเมโอมาเข้าทีมก็เริ่มมีกระแสที่ดังมากขึ้นเรื่อยๆ เขาเป็นหนึ่งในคนที่กำลังลุ้นรางวัลผู้เล่นดีเด่นประจำคอนเฟอเร้นส์

ในอีกด้านนึง เราก็มี พอล ลี ซึ่งเล่นให้กับทีมอันดับ 1 ของคอนเฟอเร้นส์ตอนนี้ นั้นคือทีม เรน ออร์ ไชน์ อีลาสโต้ เพนเตอร์ส ตัวเขาเองก็เป็นสตาร์เช่นกัน เป็นคนที่เล่นหวือหวาไม่ใช่น้อย ยิงสามแต้มได้ดี และได้ยิงลูกโทษบ่อยๆ เขาเป็นคนที่ก้าวครั้งแรกเร็วก และเลี้ยงครอสโอเว่อร์ได้จัดจ้าน ตอนที่สัญญาเขาหมดเมื่อช่วยฤดูร้อนปี 2014 เขาเองก็มีข่าวว่า จีเนบร้า ก็มียื่นข้อเสนอให้เขาเหมือนกัน แต่ท้ายที่สุดแล้ว เจ้าตัวก็กลับมาซบที่เดิมอยู่ดี ลีเองก็กำลังลุ้นในการรับตำแหน่งผู้เล่นยอมเยี่ยมประจำคอนเฟอเร้นส์

แล้วถ้าหากว่า คุณต้องเป็นคนตัดสินใจว่าคนใดคนนึงนี้ จะได้รับรางวัล ผู้เล่นยอดเยี่ยมฯ คุณจะให้ใคร?

คุณอาจจะบอกก็ได้ว่า ลีเป็นคนที่มีดัชนีค่าประสิทธิภาพ (PER) ที่สูงที่สุดเป็นอันดับสองระหว่างผู้เล่นทองถิ่น อาจจะบอกก็ได้ว่า สำหรับผู้เล่นที่มีอัตราการใช้งาน (Usage Rate) เกิน 25% เขาเป็นคนที่นพใน อัตราการยิงแท้ (TS, True Shooting) อยู้่ที่ 58.7% หรือคุณอาจจะชี้ให้ผมเห็นว่า เขาเป็นคนที่มีอัตราการรีบาวด์อยู่ที่ 12.2% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าตัว รีบาวด์ชื่อดังๆ อย่าง คลิฟ ฮอดจ์ และ วิค มานูเอล ซะอีก เขาเป็นคนเดียวที่ยิงได้อย่างน้อย 40% จากการยิงทั้งหมด 40% จากสามแต้ม และ 80 เปอเซ็น จากลูกโทษ อัตราการยิงลูกโทษลงของเขาจริงๆ อยู่ที่ 93.2%

paul-lee-rain-or-shine-san-mig-coffee-ph-cup-2013
ให้ตายเถอะ

นั้นคือข้อสนับสนุนความเป็นผู้เล่นยอดเยี่ยมของ พอล ลี

ส่วนโรเมโอนั้น ทำค่าดัชนีประสิทธิภาพ (PER) อยู่สูงสุดเป็นอันดับที่ 3 ทั้งที่เป็นคนที่มีอัตราการใช้งาน (Usage Rate) อยู่ที่ 30.4% นอกจากนี้เขายังทำแต้มต่อเกมมากที่สุดในกลุ่มผู้เล่นท้องถิ่น อยู่ที่ 21 แต้มต่อเกม ซึ่งเป็นจำนวนแต้มต่อเกมที่มากกว่าอันดับที่สองเกือบ 4 แต้มเต็มๆ…ไม่ใช่ 0.4 แต้มนะครับ แต่เป็น 4 แต้มเต็มๆ การที่เข้าทำแต้มได้มากขนาดนั้น ทั้งที่นังรักษาอัตราการยิงแท้ (TS, True Shooting) อยู่ที่ 51.8 นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย

2014_10_26_18_03_12
ก็ไม่แย่เท่าไหร่นะ…

อาจจะลองมาดูที่ รายละเอียดการยิงของสองคนนี้ก็ได้

shot_chart
Shot Chart ของ โรเมโอ: ยิงแม่นมากๆ สามแต้มช่วงบน แล้วด้านขวา
shot_chart (1)
Shot Chart ของลี : อาจจะไม่ได้ยิงแม่นเป็นไฟ แต่ก็กระจายๆ ความแม่นอย่างทั่วถึงกว่า

ที่ยกเรื่องนี้ขึ้นมา ไม่ได้จะมาบอกว่า ใครสมควรได้รางวัลผู้เล่นยอดเยี่ยมมากกว่ากันนะ [Editor’s note?: แต่ถ้าจะถามจริงๆ ก็คงยกให้ พอล ลี] แต่อยากแสดงให้เห็นว่า ข้อมูลทั้งหมดที่พ่นใส่ไปเมื่อกี๊ ทำให้การสนทนา หรือ การต่อล้อต่อเถียงในประเด็นบาสมันมีความเข้มข้น เห็นภาพ มากขึ้น และเอนเอียง น้อนลง
แน่นอนว่าผมคงไม่ตัดสินอะไรโดยอ้างอิงจากตัวเลขอย่างเดียว ถ้าเป็นแบบนั้น คอมพิวเตอร์ก็จะทำงานแทนเราแล้ว แต่ข้อมูลหลักฐานที่ชัดเจน เสริมกับความรู้สึกส่วนตัว คือส่วนผสมที่ควรจะมาใช้ในการเข้าใจและชื่นชมถึงแก่นแท้ของบาสเก็ตบอล

และนั่นคือสิ่งที่เราจะได้มา หากว่าเรามีตัวเลขให้ใช้และอ้างอิง (ขอบคุณทาง HumbleBola สำหรับสถิติข้างต้น)

นั่นคือปัญหาที่ผมประสบอยู่ตอนนี้กับ บาสเก็ตบอลไทยแลนด์ซุปเปอร์ลีก ตัวลีกมี concept ที่น่าสนใจ หากให้ลองเปรียบ ก็เหมือนเอา 5 ทีมที่สถิติดีที่สุดใน NBA มาฟัดกันแบบพบกันหมดเพื่อวัดความเป็นจ้าวแห่งบาสเก็ตบอลของอเมริกา มันจะกลายเป็นรายการที่พลาดไม่ได้ แม้แต่ เกมเดียว

แต่สำหรับคนที่ติดตามลีกนี้ มันขาดความต่อเนื่อง แน่นอนว่าคุณรับรู้ได้ว่าทีมไหนกำลังเล่นดีหรือไม่ดี ดูได้จากสถิติแพ้ชนะ แต่ในส่วนรายละเอียดที่ลึกซึ้งกว่านั้น มันเป็นเพียงแค่การพิจารณาทางความรู้สึกล้วนๆ

หากอ้างอิงกันตามสถิติ คนดูตอนนี้ ไม่รู้เลยว่าใครเป็นคนที่ทำแต้มได้มากที่สุดต่อเกม ไม่รู้ว่าใครเป็นคนที่ทำแต้มได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ไม่รู้ว่าใครมีการทำ assists ที่มากที่สุด

แม้กระทั่งเมื่อจบการแข่งขันแล้ว ก็ยังไม่มีการนำเสนอข้อมูลที่มองเห็นได้ว่า ใครคือผู้ที่ทำแต้มได้สูงที่สุดในการแข่งขันเกมนั้น ซึ่งเป็นอะไรที่ต้องรอฟังมาจากผู้บรรยายเกมเท่านั้น

แน่นอนว่าทางผู้จัดจะต้องมีการบันทึกสถิติไว้อยู่แล้ว เพราะว่า ผุ้บรรยายต่างก็มีการพูดถึงสถิติต่างๆ ระหว่าง และหลังจบเกม ซึ่งมันก็ทำให้หงุดหงิดที่ข้อมูลในส่วนนี้ ไม่มีการเอาออกมากระจายให้เหล่าคนดูรับรู้

ผมไม่ได้เขียนในส่วนนี้ เพื่อที่จะตำหนิ หรือ ด่าว่าใคร เพราะหากให้ผมมาเป็นคนจัดการลีกเอง ก็คงไม่มีทางได้ดีแม้แต่ครึ่งเดียวของที่เป็นอยู่ตอนนี้ แต่เราก็ต้องยอมรับสภาพเช่นกันว่า ตอนนี้ การกีฬา กับข้อมูลเชิงสถิติ มันล้อไปด้วยกันแล้ว ต้องประยุกต์ตัวเองตามหน่อยแล้ว

ผมชอบเกมการเล่นของ อาร์ม ณัฐกานต์ เมืองบุญ มาก เพราะว่ามันเป็นการเล่นที่เรียบง่ายดูแล้วสนุก แต่ในฐานะคนที่เขียนบทความออกมา ผมอยากที่จะสามารถอธิบาย โดยมีข้อมูลที่ชัดเจน เพื่อสนับสนุนความรู้สึกของตัวเอง

jlkak

ตอนนี้ผมอาจจะมีอาการหงุดหงิดอยู่ก็จริง อาจจะเป็นเหมือน อาร์ม ในรูปด้านบน แต่อย่างไรก็ตาม ผมก็จะยังคงเขียนต่อไป

In my Opinion

ในส่วนตรงนี้ของบทความ ผมขอยกสิ่งที่ผมชอบและไม่ชอบจากการดูเกมนี้

1. ประชุมเพลิง: หากว่าต้องยกอะไรซักอย่างที่เห็นว่าทีมจ่าฝูงอย่าง นครปฐม แมดโกท ทำได้ดีกว่าทีมอื่นๆ ณ ตอนนี้ ลองดูที่ม้านั่ง เวลาที่มีการขอเวลานอก หรือ พักการแข่งขัน หากดูม้านั่งของ โมโน หรือ การไฟฟ้าฯ ก็จะเห็น โค้ชของทั้งสองทีมเป็นคนพูด เป็นคนกำกับอยู่เสมอ แต่มองไปทางด้านของ แมดโกท บางทีก็จะเห็น “เจโอ” เป็นคนสื่อสารอยู่ตรงกลาง บางครั้งก็เป็นพี่ยักษ์ บางครั้งก็เป็นพี่ปาล์ม

ในการจัดการกลุ่มคนกลุ่มนึง มันอาจจะง่ายกว่าที่จะมีคนที่พูดออกมาเพียงคนเดียว แต่ถ้ากลุ่มนั้นเข้าใจกันมากพอ และรู้หน้าที่ตัวเอง การบริหารจัดการกลุ่มๆ นั้น ก็ไม่ได้ต้องพึ่งคนๆ เดียวเสมอ ทีม แมดโกท แลดูเป็นทีมที่เข้าใจกันและกันในระดับลึก ซึ่งเป็นผลพวงจากการสร้างทีมจากผู้เล่นที่เล่นด้วยกันมานานในจุดสูงสุดของวงการ

2. Point Forward: เวลาที่ “สิงห์” ชนะชนม์ กล้าหาญ อยู่ในสนาม เขามักจะเป็นคนที่ลากพาบอลขึ้นมาข้ามเส้นครึ่งสนาม ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เนื่องจาก Style การเล่นที่ปกติแล้วจะลอกเลียนแบบมาจาก เดนนิส รอดแมน นักบาสสุดประหลาด การที่พี่สิงห์เป็นคนพาบอลขึ้นมา หมายถึง การที่โค้ชเส็งมีความสนใจในการใช้ตำแหน่ง Point Forward ในการเริ่มต้นเกมบุก อีกทั้งยังอาจจะหมายความว่า “โส” โสฬส สุนทรศิรินั้น อาจจะสบายใจกับการเป็นตัวการ์ด off-ball

3. อัดอั้นในใจ: มีคนมาถามผมว่า ทำไมแมเคลนถึงไม่ค่อยได้บอลในตำแหน่งโพสต์เท่าไหร่ในเกมนี้ และผมก็ค้นพบตัวเองว่า ยังให้คำตอบตรงจุดนี้ไม่ได้ ตอนที่นั่งดู replay ก็ไม่ใช่ว่าทาง แมดโกท จะรุมแมคเคลนจนขยับไม่ได้ แต่ก็ยังมีจำนวนเพียงนับครั้งได้ที่บิ๊กกี้ได้บอลในตำแหน่งที่เล่นใต้แป้นได้จริงๆ ในจังหวะที่ได้บอลนั้น บิ๊กกี้ ก็ทำได้ดี แต่ตัวผมเอง อยากเห็นเขาได้บอลใต้แป้นมากกว่านี้

4. แว่นตาหายไปไหน!?: ไบรอัน เชอร์แมน ปีกเก้งก้างของโมโน ได้ตัดสินใจที่จะไม่ใส่แว่นป้องกันตา อาวุธ ประจำกายในการแข่งขันครั้งนี้ ซึ่งทำให้ผมรู้สึกไม่คุ้นชินกับผู้เล่นคนนี้เท่าไหร่
เป็นเรื่องที่ไม่น่ามีอิทธิพลอะไรกับชีวิตส่วนตัวมากเท่านี้ แต่จนกว่าจะถึงวันใดที่ ไบรอัน เชอร์แมน ยอมกลับมาใส่แว่นแล้ว วันนั้นผมถึงจะยอมเรียกเขาว่า ไบรอัน เชอร์แมน อีกครั้ง
ในระหว่างนี้ เจ้าคนนี้ที่ไม่ได้ใส่แว่น ผมตั้งชื่อให้ว่า ไบรยัน เชอร์มาโน่ ละกัน

shermano

ขอร้องเถอะ ขอแว่นตาคู่นั้นกลับมาหวนลงสนามอีกครั้งเถิด

jllxw

5. ลูกจ่ายเลเซอร์: ขอเตือนเหล่าคนป้องกันไว้ตอนนี้เลย ไม่ว่า เจโอ จะอยู่ตรงไหนของสนาม หากว่ามีช่องว่างให้เขา เขาจะแหวกลูกส่งเข้าไปประเคนลูกให้เพื่อนร่วมทีมยิงได้เสมอ

ในสุดสัปดาห์นี้ จะมีการแข่งขัน BTSL สองคู่ ตามต่อไปนี้:
วันเสาร์ที่ 4 เมษายน เป็นการแข่งขันระหว่างทีม สโมสรโมโน แวมไพร์ กับ ทีมสโมสรทิวไผ่งาม ที่สนามมหาวิทยาลัย
วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน เป็นการแข่งขันระหว่าง ทีม สโมสรการไฟฟ้าฯ กับ ทีมสโมสรไฮเทค ที่ LED Building
โดยติดตามได้ตั้งแต่เวลา 14.00 น. ถึง 16.00 น. ได้ทางช่อง 3 แฟมิลี่

ตามไลค์เพจของรายการแข่ง BTSL ได้ตามรูปข้างบนได้เลยนะครับ การแข่งขันดีๆ ของคนไทย น่าสนับสนุน
รูปถ่ายสวยๆ ขอขอบคุณช่างภาพคุณกุุ๊ก อรวิสา ทิวไผ่งาม

Advertisement

2 thoughts on “BTSL Game Recap 28/03/15 Nakhon Pathom Madgoats vs. Mono Vampire: ว่าด้วยตัวเลข

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.