BTSL Game Recap 28/02/15 PEA vs Thew Phaingarm: ก่อร่างสร้างตัว

รายชื่อทีมชาติชุด SEA เกมส์ปี 2015 เปิดตัวออกมาช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาแล้วก็พอว่ามีตัวแทนจากทั้ง นครปฐม แม๊ดโกทส์ ไฮเทค โมโน แวมไพร์ และ ทิวไผ่งาม ซึ่งทีมที่ชนะทั้งรายการ ทีบีแอล และ ดิวิชั่น 1 อย่าง นครปฐม แม๊ดโกทส์ ก็มีตัวแทนถึง 8 คน ทางไฮเทค และ โมโน ก็ได้ไปทีมละ 4 และ 2 คนตามลำดับ ซึ่งแต่ละคนต่างก็เป็นขาประจำติดธงอยู่แล้ว ทิวไผ่งามก็ได้ส่ง “บิ๊ก” ธีรวัฒน์ จันทจร รวมแล้วมีทั้งหมด 4 ทีมจาก 5 ทีมใน BTSL ที่มีตัวแทนติดทีมชาติชุดนี้

ส่วนทีมที่เหลือนั่น คือ ทีมการไฟฟ้าฯ

(For English Post > Click Here)

BTSL 28/02/2015: PEA 68 : Thew Phaingarm 61

ทีม การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค นั้นก็อยู่คู่วงการบาสไทยมาแต่ช้านาน เป็นจุดเริ่มต้น หรือเป็นบ้างหลังที่สองให้กับดาราบาสเก็ตบอลมากมายหลายคน จนเมื่อกระทั่งปีที่แล้ว ที่ต้องเสีย กุญซืออย่าง โค้ช “เส็ง” ประเสริฐ ศิริพจนากุล ให้กับทีมน้องใหม่ไฟแรง โมโน แวมไพร์ อีกทั้งยังพ่วงดารา อย่าง “แวน” ไพรัช เสกธีระ และ “บาส” กานต์ณัฐ เสมอใจ ไปอีกด้วย แต่ถึงจะเสียแกนหลักไปแบบนั้น ทางการำฟฟ้าฯ ก็ยังสามารถปิดฤดูกาล TBL เป็นอันดับที่ 5 อยู่ดี

Hi, Coach

โค้ช “หมู” กฤต ไพโรจน์พีระไพศาล เป็นผู้ฝึกสอนของการไฟฟ้าฯ และในเกมนี้ก็ได้ออกกล้องค่องข้างบ่อยเลย

Moo

สำหรับทีมที่กำลังก่อร่างสร้างตัวใหม่อย่างการไฟฟ้านั้น ความเป็นไปของทีมถูกแบกไว้ที่ไหล่ของโค้ชค่อนข้างมาก ทีมจะต้องหาเอกลักษณ์ของตัวเองให้เจอ และหาระบบของทีมที่ลงตัว ที่ผ่านมา อาจจะยังเป็นกระบวนการที่ตะกุกตะกัก โดยพ่ายแพ้แบบแต้มขาดให้กับทีม โมโนฯ และ ไฮเทค แต่แล้วในเกมนี้ มนุษย์ไฟฟ้า ก็แสดงศักยภาพของตัวเองออกมา

ผมใช้ชีวิตการเล่นบาสเก็ตบอลระดับมหาวิทยาลัยสามปีสุดท้ายภายใต้การนำทัพของโค้ชหมู ผมคิดว่าผมก็พอมีไอเดียเล็กๆ น้อยว่าบรรยากาศมันจะเป็นอย่างไรบ้าง

อย่างแรกคือ โค้ชหมูเชี่ยชาญในการสอนเกมป้องกัน หากได้ร่วมซ้อมกับโค้ชหมูอย่างจริงๆ จังๆ แล้วก็จะเข้าใจไปเองว่าทำไม คนๆ นี้ ถึงเรียกได้ว่าเป็นนักบาสที่ป้องกันดีที่สุดในประวัติศาสตร์บาสไทยคนนึงในยุคสมัยที่เขารุ่งเรือง โค้ชหมูจะคว้านลึกไปในสันดานของแต่ละคน และพยายามที่จะแก้ไข เพื่อให้เป็นนักกีฬาบาสที่ป้องกันได้ดีมากขึ้น มันไม่ใช่ว่าทุกคนจะกลายเป็น โทนี่ อัลเลน หรือ รอน อาร์เทสต์ หลังจากผ่านมือ โค้ชหมู แต่มันจะทำให้คุณไม่เป็นจุดอ่อนในแนวรับ ในแทบจะทุกๆ สถานการณ์

ซึ่งก็ไม่ได้จะสื่อว่าตอนนี้ การไฟฟ้ากับเล่นเกมรับในระดับที่สุดยอด เพราะว่ามันไม่ใช่เลยแม้แต่นิดเดียว การไฟฟ้า เสียแต้มเฉลี่ยอยู่ที่ 71.33 แต้มต่อเกม ซึ่งเสมอกับนครปฐมอยู่ที่อับดับสาม แต่การไฟฟ้าก็มีเงื่อนไขที่แตกต่างออกไปว่า เขาไม่มีตัวป้องกันวงในที่ใหญ่โย่ง อย่าง บิกกี๊ สตีฟ โธมัส หรือ ไมเคิล เฟย์ ของสามทีมใหญ่เช่นกัน

อีกอย่างที่จะสังเกตุเห็นได้จากการดูและเล่นกับ โค้ชหมูคือ เขามี “ตัวตน” กับเกมอยู่เสมอ ถ้าไปจ้างใครซักคนมานั่งจั่งเวลาเฉลี่ยที่โค้ชแต่ละคนนั่งอยู่กับเก้าอี้ต่อ 1 เกม ผมกล้าพนันได้เลยว่า โค้ชหมูจะมีเวลานั่งเฉลี่ยต่อเกมน้อยที่สุด (แต่การพนันไม่ดีนะจ๊ะ) ตลอดทั้งเกมจะเห็นโค้ชหมูค่อยตะโกนทวนแผน หรือ ย้ำคำสั่งกับลูกทีมอยู่เสมอ ยิ่งฝั่งที่อยู่ใกล้ตัว เขาก็ยิ่งออกท่าทาง

แต่สิ่งที่ทั้งโค้ชหมู และ ทีมการไฟฟ้าต้องปรับปรุง คือ ด้านเกมรุก ซึ่งตอนนี้ทำได้แพงแค่ 60.33 แต้มต่อเกม ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานของ BTSL ประมาณ 10 แต้มเลยทีเดียว โค้ชหมูไม่ใช่โค้ชที่มีชื่อเสียงในด้านเกมบุก ซึ่งตัวเลขที่หามา ก็สนับสนุนถึงข้อนี้ และก็เป็นจุดใหญ่ๆ ที่ต้องปรับปรุงโดยเร็ว

Diamonds in the rough

อย่างที่กล่าวข้างต้นสุด ทีม การไฟฟ้าฯ เป็นทีมเดียวใน BTSL ที่ไม่มีตัวแทนทีมชาติในรายชื่อ SEA เกมส์ 2015 ซึ่งข้อความดังกล่าวนี้ จะเอาไปตีความยอย่างไรก๋แล้วแต่บุคคล แต่มันก็บ่งบอกได้ถึงความต่างในเรื่องระดับของความสามารถเฉพาะตัวระหว่างทีมการไฟฟ้าฯ และทีมอื่นๆ

ช่วงที่ผ่านมา การไฟฟ้าก็จะมีการจับมือกับนักกีฬาจากค่ายยักษ์์อื่นๆ ที่ยังถือว่าได้โอกาสฉายฟอร์มไม่มากนัก อย่างเช่น อธิวัฒน์ หุมอาจ ที่เล่นให้กับไฮเทคเมื่อปีที่แล้วในรายการ ทีบีแอล หรือ ธนสิทธ์ มูลวงศ์ ที่เล่นให้ ทิวไผ่งาม อีกด้วย ทั้งคู่ย้ายมาอยู่การไฟฟ้าแล้วก็น่าจะมีโอกาสได้ลงเล่นเพื่อโชว์ศักยภาพที่มี

แต่นักกีฬาที่ผมคิดว่าน่าสนใจที่สุดสำหรับ ทีมการไฟฟ้าฯ นี้ คือ “ตุ้ม” อนุชา ลังสุ่ย

นักบาสอย่างอนุชา ผมคิดว่าเป็นอะไรที่หาค่อนข้างยากในวงการบาสไทย แค่ความสูงประมาณๆ 2 เมตรก็ทำให้เป็นผู้เล่นที่น่าสนใจแล้ว แต่เมื่อผนวกรวมกับวิธีที่เขาเล่นบาส มันเพิ่มระดับความตื่นเต้นไปอีก

“ตุ้ม” เป็นคนที่สามารถแย่งรีบาวด์ในฝั่งรับได้ และสามารถพาบอลขึ้นมาบุกด้วยตัวเองอย่างต่อเนื่องได้เลยทันcan be seen rebounding the ball and bringing it up the court by himself. He tends to start off half court defenses on the ที เวลาขึ้นมาบุก ปกติก็จะอยู่รอบนอกเขตสามแต้ม เขาสามารถที่จะข้ามเข้าไปทำแต้มใกล้แป้นได้ หรือแม้กระทั่งยิงสามแต้มได้อีกด้วย ในเกมที่แข่งกับทิวไผ่งามนัดนี้ เขาก็แสดงให้เห็นว่า ทักษะรอบด้านและร่างกายในเกมบุกของเขา เป็นปัญหาในการตามประกบสำหรับฝ่ายป้องกันไม่ใช่น้อย เลยทำไปได้ถึง 14 แต้ม และ 14 รีบาวด์

ถ้าได้เห็นนักกีฬาบาสที่มีขนาดสูง ยาว และเล่นได้จากข้างนอก คนส่วนใหญ่ก็มักที่จะรวบแล้วเอาไปเปรียบเทียบว่าเป็น เควิน ดูแร้นท์ ปีกตัวเก่งของ โอคลาโฮม่า ซิตี้ ธันเดอร์ อย่างที่ทีมงานคนพากษ์ในเกมนี้ได้เอ่ยถึง ซึ่งก็พอเข้าใจตรรกะตรงนี้ แต่โดยส่วนตัวแล้ว รู้สึกว่า การเปรียบเทียบกับรูปแบบการเล่นของ ลามาร์คัส อัลดริดจ์ ของ พอร์ตแลนด์ เทรลเบลเซอร์ส น่าจะเห็นภาพได้ชัดเจนกว่า ทักษะของตุ้มมันสามารถรองรับการเล่นจากวงนอก แต่ก็ยังไม่อยู่ในขั้นที่เรียกว่า วางใจได้ เหมือนว่าทุกๆ ครั้งที่อนุชาทำให้เราตื่นเต้นกับความเป็นไปได้ในความสามารถของเขา เขาก็จะแสดงความเยาว์วัยและมีการตัดสินใจที่ไม่ค่อยดีกับรูปเกมหลายๆ ครั้งเช่นกัน

นอกจากนี้ อนุชา ยังมีปัญหาในเรื่องการจบสกอร์อีกด้วย ใน ทีบีแอล ที่ผ่านมา เขายิงไป 25.8% ในระยะ 2 คะแนน ซึ่งยังถือว่าเป็นตัวเลขที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่นักสำหรับกลุ่มที่ยิงในอัตราใกล้เคียงกัน แต่ถึงอย่างไรก็ยังมีความหวังสำหรับพื้นที่ในการเติบโต ดูจากอัตราการยิงลงจากระยะ 3 คะแนน ที่ยิงได้ 30.3% แล้ว ก็พอมองได้ว่าอาจจะเป็นปะญหาจากการเลือกยิงมากกว่า เป็นเรื่องที่ดีที่อนุชาได้เล่นทีมเดียวกันกับพี่ชาย “โอ้” ทศพิธ ลังสุ่ย ที่เป็นสตาร์ประจำทีมของไฟฟ้าด้วยเช่นกัน ทั้งคู่น่าจะคอยผลักดันกันเองให้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง

“BOX OUT”

อย่างที่เขียนไว้ข้างบน ผมเคยเล่นให้กับโค้ชหมู และอีกอย่างที่เขาเน้นย้ำบ่อยๆ คือเรื่องการ Boxing Out หรือที่เรียกว่า “ตั๊นคนรีบาวด์” กันอย่างติดปากในวงการบาสไทย ซึ่งการตั๊นคนรีบาวด์นั้น เป็นสิ่งที่ทิวไผ่งามน่าจะต้องกลับไปย้ำกัยอีกรอบ

ในเกมนี้ การไฟฟ้าฯ รีบาวด์ไปทั้งหมด 45 ต่อ 22 ครั้ง ซึ่งคิดเป็นสองเท่านิดๆ อีกทั้งยังได้รีบาวด์เกมบุกมากกว่าทิวไผ่งามเกือบ 4 เท่า ที่ 15 ครั้งต่อ 4 ครั้ง ทีมการไฟฟ้าฯ อาจจะไม่ใช่ทีมที่ทำแต้มได้ดีเท่าไหร่ แต่ถ้าหากปล่อยให้ทีมนี้มีโอกาสครั้งที่สอง หรือ ครั้งที่สาม หรือแม้กระทั่งครั้งที่ 4 มันก็กลายเป็นระดับการบุกที่ดีขึ้นมาได้เลย

In my Opinion

ในส่วนตรงนี้ของบทความ ผมขอยกสิ่งที่ผมชอบและไม่ชอบจากการดูเกมนี้

1. ย้อนเวลาหาจิ๋นซี: ควอเตอร์ที่สามของเกมนี้จบแบบเร้าใจอยู่พอสมควร หลังจากที่การครองบอลของทิวไผ่งามเด้งไปเด้งมาจนมาตกในมือ ไบรอั้น ออสติน ที่ยิงลูกสองแต้มระยะกลางลงไปพร้อมๆ กับสิ้นเสียงนกหวีดหมดเวลา

แน่นอนว่าทาง การไฟฟ้าฯ รีบออกมาบอกเลย ว่า ออสตินยิงออกไปไม่ทันแน่ๆ ในฐานะที่ทิวไผ่งามก็ยืนกรานว่ายังไงก็ทัน กลุ่มกรรมการเดินไปยังโต๊ะกรรมการ แล้วปรึกษาหารือกัน

การเป็นกรรมการเป็นเรื่องที่ลำบากมาก ไม่มีทางที่พวกเขาจะตัดสินใจเรื่องนี้ออกมาได้แบบที่ได้ผลประโยชน์กันทั้งสองฝ่ายอย่างแน่นอน

แต่ก็หยุดแค่ซักครู่แล้วพิจารณาก่อน ว่านี่คือเกมที่มีการถ่ายทอดสดนะ อีกทั้งยังมีระบบการถ่ายไฮไลท์เพื่อทำ รีเพลย์อีกด้วย เป็นเรื่องที่น่าสงสัยว่า ทางโต๊ะกรรมการไม่มีการเอะใจที่จะไปขอดูรีเพลย์จากทีมงานถ่ายทอดเลยหรือ?

ปล: แต่ก็ต้องเห็นใจโต๊ะกรรมการตรงนี้ซักหน่อย ขั้นตอนการดำเนินการในสถานการณ์แบบนี้อาจจะยังไม่ชัดเจนเท่าไหร่นัก และทางโต๊ะกรรมการก็เหมือนพยายามจะพิจารณาจาก มุมไฮไลท์ที่ทางทีมงานทีวีถ่ายมา แต่ก็ไม่มีนาฬิกาการแข่งขันที่ถ่ายติดกล้องมา จึงใช้ประกอบการพิจารณาไม่ได้

แต่ด้วยพลังของอินเตอร์เนต ผมจึงมีโอกาสที่จะได้พิจารณาจังหวะนี้อย่างละเอียดถี่ถ้วน และขอลงดาบฟันธงว่า จริงแล้วลูกนี้ ไม่ควรนับคะแนน เห็นได้จากว่าบอลยังอยู่ในมือของออสตินตอนที่นาฬิกาเหลือ 0.00 วินาทีเรียบร้อยแล้ว

vlcsnap-2015-03-09-22h27m09s89
แม้ว่าภาพอาจจะเบลอๆ แต่ก็ค่อนข้างชัดเจนว่าบอลยังอยู่ในมือ แต่เวลาหมดลงไปแล้ว

2. ALL OVER YOUR FACE YA’LL: ออสติน อาจจะได้ไฮไลท์จากลูกยิงหมดเวลาควอเตอร์สามลูกนั้น แต่ก็ไม่ได้มีไฮไลท์ลูกนั้นลูกเดียว

ออสตินได้ยัดใส่หน้าของ “ตุ้ม” ไปเต็มๆ เป็นการจบเพลย์ที่สวยงามของ ทิวไผ่งาม ซึ่งใครที่ติดตามดู ไบรอั้น ออสติน มาเรื่อยๆ ก็จะรู้ว่าเขาเล่นบาสที่ดุดันแบบนี้มาตลอด ตั้งแต่เขายัดลูก Alley-oop ใส่ “รูเบน” วุฒิพงษ์ ดาโสม เมื่อตอนแข่งกีฬามหาวิทยาลัย ในนาม มหาวิทยาลัยสยาม

https://instagram.com/p/yUUfHzlkbo/

BOOM SHAKALA.

3. Pick & Roll Terror : จาบริล เบลี่ย์ หรือ จาบริล ตาคุย (ตามที่แจ้งอย่างทางการไว้) เป็นปีกครบเครื่องที่เป็นตัวอิมพอร์ต ของ การไฟฟ้าฯ เขาสามารถครองบอลและจ่ายบอลได้ดี ซึ่งเมื่อเขาจับคู่กับอนุชา ลังสุ่ยในการเล่น Pick & Roll มันจึงเป็นอะไรที่ค่อนข้างลงตัวแล้วน่ากลัวมาก

เบลี่ เป็นคนที่จ่ายบอลหลังจากการสกรีนได้ดี เขามีเซ้นที่จะรับรู้ว่า ตัวกันออกพุ่งตัวออกมากดดันคนเลี้ยงบอลเมื่อไหร่ แล้วสวนกลับจังหวะนั้นด้วยการส่งให้ตัวสกรีนที่ไหลเข้าหาแป้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วก็เป็น น้องตุ้มที่ทำหน้าที่นี้ น้องตุ้มก็อาจจะไหลไปทำแต้มที่ห่วง (ถึงแม้จะต้องปรับปรุงเรื่องการจบสกอร์) หรืออาจจะลั่นไกยิงระยะกลางไปเลย ไม่ใช่เพียงแค่การบุก Pick & Roll เท่านั้นที่น่ากลัว เกมป้องกัน Pick & Roll ของคู่นี้ก็น่าหวาดหวั่นไม่ใช่น้อย

ทั้งคู่เป็นตัวกันที่ค่อนข้างรอบด้าน ป้องกันได้ตั้งตัวที่ 2 (shooting guard) จนถึงตัวที่ 5 (Center) ถ้าเล่น Pick & Roll ใส่สองคนนี้ ก็เตรียมตัว โดน switch อย่างรวดเร็ว โดนที่ฝ่ายตั้งรับ ก็ไม่ได้เกิดการเสียเปรียบเท่าไหร่นัก

ในสุดสัปดาห์ที่จะถึงนี้ จะมีการแข่งขัน BTSL สองคู่ ตามต่อไปนี้:
วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม เป็นการแข่งขันระหว่างทีม สโมสรไฮเทค กับ ทีมสโมสรทิวไผ่งาม ที่สนามทุ่งครุ
วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม เป็นการแข่งขันระหว่างทีม สโมสรการไฟฟ้าฯ กับ ทีม นครปฐม แม๊ดโกท ที่สนามเทศบาลนครปฐม
โดยติดตามได้ตั้งแต่เวลา 14.00 น. ถึง 16.00 น. ได้ทางช่อง 3 แฟมิลี่

ตามไลค์เพจของรายการแข่ง BTSL ได้ตามรูปข้างบนได้เลยนะครับ การแข่งขันดีๆ ของคนไทย น่าสนับสนุน
รูปถ่ายสวยๆ ขอขอบคุณช่างภาพคุณกุุ๊ก อรวิสา ทิวไผ่งาม และจาก เพจ PEA Basketball Fanclub.

 

Advertisement

2 thoughts on “BTSL Game Recap 28/02/15 PEA vs Thew Phaingarm: ก่อร่างสร้างตัว

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.