ในหลายๆ ครั้งเวลาที่จบการแข่งขัน เราก็จะมองหา Box score มาดูว่าตัวเลขมันจะเล่าอะไรให้เราฟังได้บ้าง โดยส่วนใหญ่แล้ว เราก็จะพบว่า ทีมที่ชนะมีจะมีคนใดคนนึงที่ยิงแทบไม่พลาดตลอดทั้งเกม แล้วเราก็จะหันไปบอกเพื่อนว่า “เฮ้ย วันนี้ XXX แม่งมาวะ”
ในขณะเดียวกัน โดยส่วนใหญ่พอเราหันไปดูทีมที่แพ้ เราก็จะเห็นคนนึงที่ยิงพลาดเกือบทุกลูก ซึ่งเราก็จะคิดในใจ “YYY ไม่มาเลยแฮะ วันนี้”
แต่ก็มีวันแปลกๆ บางที ที่ทั้งคนที่ยิงมา และยิงไม่มา ดันอยู่ทีมเดียวกัน
(For English > Click Here)
BTSL 01/03/2015: Mono Vampires 72 : Nakhon Pathom Madgoats 77
มาเคลียร์เรื่องแรกกันก่อน เกมนี้ แม๊ดโกท ได้ ไมเคิล เฟย์ นำทางเข้าเส้นชัยจริงๆ แน่นอนว่าเฟย์ไม่ได้ทำคนเดียว บาสเป็นกีฬาทีม ทุกคนมีส่วนร่วมในชัยชนะทั้งนี้ แต่ถ้าหากต้องกำกับตัวเลขไว้ ผมคิดว่าเฟย์น่าจะมีผลต่อผลของการแข่งขันนี้ประมาณ 70% เลยทีเดียว
Enter [Cheat Code]
ในเกมนี้ เฟย์ ได้แสดให้ทุกคนเห็นว่า สภาพของการที่ “ยิงมา” คืออะไร
“กด [สี่เหลี่ยม] ยิง”
“กด [สี่เหลี่ยม] พร้อมทั้งกด อนาล็อค หนีออกจากห่วง เพื่อยิงแบบเฟดอะเวย์”
“กด [สี่เหลี่ยม] พร้อมทั้งหมุน อนาล็อค หนีออกจากห่วง เป็นครึ่งวงกลมทวนเข็มนาฬิกา เพื่อยิงแบบเทิร์นอะราวน์เฟดอะเวย์”
เฟย์ยิงแม่นซะจนกระทั่งกล้องถ่ายทอดสดถึงขั้นติดโหมด “On Fire” ให้เลยทีเดียว
พอหลังๆ เริ่มมักง่าย กว่าเป็น “กด [สี่เหลี่ยม] แล้วจะได้สองแต้ม.”
แค่ให้สัมผัสบอลก็เป็นแต้มได้แล้ว
จบเกมไป เฟย์กวาดแต้มไปทั้งหมด 27 แต้มจากการยิงลง 13 ครั้ง จากทั้งหมด 21 ครั้ง (62%) อีกทั้งยังเก็บรีบาวด์ไป 11 ครั้ง
Ice Cold
การเป็นตัวยิงก็เป็นอะไรที่ลำบาก บางวันก็จะยิงมาเป็นห่านเหมือนไมเคิล เฟย์ แต่บางวันก็จะแห้งเหือดเดือดร้อนเหมือน เจโอ รัชเดช เครือทิวา ในนัดนี้
เจโอ ยิงไปทั้งหมด 17 ครั้งในเกมนี้ และ 15 ครั้งนั้นเป็นการส่องจากระยะสามแต้ม ซึ่งเขายิงลงไปทั้งหมด 2 ครั้ง
สถิติเมื่อกี๊มันตีความอะไรออกมาได้หลายอย่าง:
- นี่คือระดับความไว้วางใจที่ โค้ชโจ สุนทรพศ์ มะวิญธร มีให้กับซุปเปอร์สตาร์คนนี้ ลองมานั่งคิดพิจารณาตัวเลขสามตัวต่อไปนี้ เจอโอยิงไป 17 ครั้ง ด้วยเปอร์เซ็นต์ยิง 12% และเล่นไป เกือบ 36 นาที ลองคิดดูในสภาพของทีมปัจจุบันของตัวเองว่า ถ้าวันนึงยิงสามแต้มไป ห้าลูก แล้วพลาดหมดเลย จะได้ลงเล่นถึง 36 นาทีรึเปล่า ระดับความไว้วางใจนี้ น่าจะถึงขั้นที่สุดในวงการแล้วทีเดียว
- ต้องยอมให้ในระดับความมั่นใจของเจโอด้วย ลองนึกภาพตัวเองกำลังทำการแข่งขันบาสเก็ตบอลอย่างจริงจัง แล้วยิงลูกแรกพลาด ในหัวคงคิดประมาณว่า “เฮ้ยเอาน่า เดี๋ยวลูกน่าก็มา” แต่ไอ้อารมณ์ความหวังว่า “เดี๋ยวลูกหน้าก็มา” มันหดแคบลงเรื่อยๆ ทุกๆ ครั้งที่ยิงพลาด ลองนึกสถาพว่า ยิงพลาดไป 13 ครั้งโดยที่ไม่หวั่นไหวแม้แต่นิดเดียวว่า “เฮ้ย หรือว่าวันนี้ต้องลองอย่างอื่นวะ”
เจโอรู้ว่าตัวเองเป็นตัวยิง และยิงแม่นมาก เพราะฉะนั้น ในหัวของเขาก็คงคิดไว้แล้วว่า “ยังไงก็ต้องลงซักลูกละวะ” - เจโอเป็นนักบาสไทยคนเดียวที่เคยไปเล่นในระดับอาชีพที่อเมริกา อย่างที่เคยเขียนไว้ ที่นี่ เขามีทั้งความแข็งแกร่ง ความไว และความคล่อง แต่เขาก็รู้ตัวว่าบทบาทของเขาในทีมตอนนี้คือเป็นตัวยิง และเขาก็รักษาบทบาทนั้นได้ดี
หากต้องตอบในฐานะที่เป็นคนบ้าสถิติ ก็ต้องบอกเลย ว่าไม่ชอบเกมของเจโอเลย เขายิงลูกสามแต้มที่ฝืนการไหลของเกมบุก และเลี้ยงลูกอยู่กับตัวเองนานเกินไป ในวีดีโอข้างบน (นาทีที่ 0:07) จะเห็นจังหวะนึงที่เจโอโดนรุมสองหลังจากที่ได้สกรีนจาก ดนัย คงคุ้ม และแทนที่จะจ่ายสอดเข้าไปให้ดนัยที่ว่างมากๆ กลับยิงสามแต้มแบบเฟดอะเวย์ การที่เจโอยิงลูกอะไรทั้งหลายเหล่านี้ มันทำให้รู้สึกถึงบาสที่ “ไม่มีประสิทธิภาพ”
แต่ในฐานะแฟนของบาสเก็ตบอล มันเป็นอะไรที่สุดยอดมาก เจโออาจจะยิงพลาดมา 10 ลูกติดๆ กัน แต่พอเจโอ ลั่นลูกต่อไป ในใจคนดูคิดเหมือนกันว่า “เฮ้ย ลูกนี้ลงชัวร์” แล้วพอเจโอยิงลงลูกนึงจริงๆ มันให้อารมณ์เหมือนว่า เขาจะต้องยิงลงอีก 23 ลูกรวด
นั่นคือความรู้สึกและบรรยากาศของการดู เจโอ เล่น
แฃะมันคือความรู้สึกที่สุดยอดมาก
เจโออาจจะพลาดลูกสามแต้มไป 13 ลูกก็จริง แต่หนึ่งในสองลูกที่เขายิงลงก็เป็นลูกยิงที่ดันให้แต้มของ แม๊ดโกด นำเป็นแต้มสองหลักในจังหวะที่โมโนกำลังไล่ตามมา
จุดนี้จะมองข้ามไก็ไม่ได้เช่นกัน
ในบางวัน มันอาจจะไม่สวยงาม แต่เจโอก็จบงานได้อย่างที่ตั้งใจไว้ในจังหวะที่สำคัญได้เสมอ
Drive Baby, Drive.
บทสัมภาษณ์เจโอก่อนการแข่งขันนี้ ก็เป็นอะไรที่น่าสนใจ:
แล้วก็เป็นแบบนั้นจริงๆ แม๊ดโกดแสดงให้เห็นว่า สามแต้มไม่ใช่อาวุธหลักของทีมนี้ แต่ถ้าใครที่ดูแม๊ดโกดมาเรื่อยๆ ก็น่าจะรู้อยู่แล้ว อาวุธสามแต้มระยะไกลเป็นอาวุธที่ใช้ได้ เวลามันยิงมา แต่มันไม่ใช่อาวุธหลักที่แม๊ดโกดเอาไปใช้ในการไล่ล่า
จุดเด่นของทีมแพะบ้าคือสิ่งนี้ต่างหาก:
ทีมแพะบ้าเป็นทีมที่มีการ์ดและปีกที่มีขนาดสูงใหญ่ และแข็งแกร่ง ทั้งแฝดปอย-ปาล์ม ดรงค์พันธ์ และ ดรัญพงศ์ อภิรมย์วิไลชัย ทั้งอาร์ม ณัฐกานต์ เมืองบุญ และ เจโอ ทุกคนไม่ใช่การ์ดไวสายฟ้าแล่บแบบ โสฬส (โมโน) กัณวัฒน์ (ไฮเทค) หรือ กานต์ณัฐ (โมโน) แต่ร่างกายส่วนบนของพวกเขาแข็งแรงมาก แล้วข้ามเข้าถึงห่วงแทบทุกครั้งเลยทีเดียว
Moving the Ball
แทบจะย้ำทุกครั้งที่มีการเขียนเกี่ยวกับทีม โมโน ว่า ทีมนี้เป็นทีมที่มีการไหลของเกมบุกที่สวยงามที่สุดในประเทศไทยแล้วในขณะนี้
โมโนทลายเกมรับแบบ แมนทูแมน ของ แม๊ดโกดได้หลายๆ ครั้งด้วยการล่อให้มาดับเบิ้ลทีม ล้วคายออก ซ้ำไปซ้ำมา จนได้ตัวที่ว่างที่สุด
มันเป็นการเคลื่อนไหวทางบาสเก็ตบอลที่ผมคิดว่าสวยงามมาก และถ้าได้ “ลาส” กานต์ณัฐ เสมอใจ กลับมา ก็น่าจะมันส์ขึ้นอีก
In My Opinion
ในส่วนตรงนี้ของบทความ ผมขอยกสิ่งที่ผมชอบและไม่ชอบจากการดูเกมนี้
1. ท้ายเกม: โมโนตีตื้นขึ้นมาเหลือ 6 แต้มและเหลือเวลา 35 วินาที แถมยังได้รับการครองบอลใต้แป้นตัวเองอีก เพียงแค่เปิดบอลเข้ามาแล้วหาจังหวะยิงดีๆ
โมโนวิ่งแผนที่จำกัดให้คนส่งบอลส่งตัดโซนการป้องกันแทบทั้งหมด ซึ่งการที่มาพูดภายหลังอาจจะเป็นการติเตียนที่ง่าย แต่ในจังหวะนั้นๆ มันก็ยังดูเป็นการตัดสินใจที่แปลกอยู่ดี
แท๊ดโกดได้บอลไปแล้วก็ได้ลูกโทษ ลงไปลูกนึง ทำให้กลับมานำเป็น 7 แต้ม ซึ่งแทบจะหมดหวังสำหรับโมโน แต่แล้ว ไกรวิทย์ เวทวิทยากิจก็สอบสามแต้มแบบไม่คาดฝันรักษาความหวังของโมโนเอาไว้
ลูกนี้ทำให้โมโนตามมาเหลือ 4 แต้ม แต่ก็เหลือเวลาเพียง 24 วินาที เพียงแค่ แม๊ดโกด ส่งบอลเข้ามาในสนามและเผาเวลารอโดนตีฟาวล์ก็จะชนะไปได้ง่ายๆ เลย แต่แล้ว…
ดนัย คงคุ้ม วัดใจยิงโดยที่เวลาเหลือเฟือพอให้โมโนลองส่องไกลอีกลูก อีกทั้งยังไม่ได้ฟาวล์ด้วย ซึ่งเป็นความผิดพลาดที่ไม่คาดว่าจะเกิดจากนักกีฬาที่เจนสนามอย่างพี่นัย
แต่ก็ถือเป็นเรื่องโชคดีที่โมโนไม่สามารถที่จะยิงลงในการบุกถัดมาได้
เป็นการจบเกมที่ถือว่า ตื่นตาตื่นใจมาก
2. แม่ม้ายมวยไทย: ผมก็เข้าใจนะว่า มวยไทยยังเป็นกีฬาที่นิยมชมชอบกันในหมู่คนไทย แต่มันจำเป็นจริงๆ หรือที่จะทำอินโทรของการแข่งขันบาสให้เหมือนอินโทรของคู่มวยประจำวัน?
3. โสฬส สุนทรศิริ: การที่ได้ดูได้ติดตามการเล่นของ “โส” ถือว่าเป็นอะไรที่สนุกสนานมากสำหรับแฟนบาสอย่างผม
ไอ้พวกลูกส่งเทพ ลูกเลี้ยงหลอกล่อ ต่างๆ มันก็น่าเร้าใจอยู่หรอก แต่สิ่งที่ดึงดูด คือ ลักษณะการmี่เร่าร้อน
เป็นนักกีฬาที่จะต้องคอยเฝ้าดูและติดตามต่อไป และหวังว่าตัว โส จะได้รับการฝึกสอนและดูแลในระดับที่ดีที่สุดเพื่อพัฒนาตัวเองต่อไป
ในสุดสัปดาห์ที่จะถึงนี้ จะมีการแข่งขัน BTSL สองคู่ ตามต่อไปนี้:
วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม เป็นการแข่งขันระหว่างทีม สโมสรไฮเทค กับ ทีมสโมสรทิวไผ่งาม ที่สนามทุ่งครุ
วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม เป็นการแข่งขันระหว่างทีม สโมสรการไฟฟ้าฯ กับ ทีม นครปฐม แม๊ดโกท ที่สนามเทศบาลนครปฐม
โดยติดตามได้ตั้งแต่เวลา 14.00 น. ถึง 16.00 น. ได้ทางช่อง 3 แฟมิลี่
ตามไลค์เพจของรายการแข่ง BTSL ได้ตามรูปข้างบนได้เลยนะครับ การแข่งขันดีๆ ของคนไทย น่าสนับสนุน
รูปถ่ายสวยๆ ขอขอบคุณช่างภาพคุณกุุ๊ก อรวิสา ทิวไผ่งาม
3 thoughts on “BTSL Game Recap 01/03/15 Mono Vampires vs Nakhon Pathom Madgoats: บางทีก็ไม่ใช่วันของเรา”