การเล่นบาสตัวเล็กเกมเร็ว เป็นเทรนด์สมัยใหม่ใน NBA ทีมที่อาศัยพละกำลังของสองตัวใหญ่ ปะทะคลุกวงในแบบหนักหน่วง กำลังค่อยๆ หายไป เช่นเดียวกันกับในบาสโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยินดีต้อนรับสู่ ABL ยุค เร็ว แรง ทะลุนรก
สำหรับภาษาอังกฤษ คลิกที่นี่
For English, click here.
KL ดราก้อนส์ เป็นทีมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเล่นเกมเร็ว ตัวต่างชาติทั้งสี่คน (เอเวอรี่ ชาเรอร์, โมอาล่า ทาวทูอ้า, คริส เอเวอร์สลี่, และ จัสติน น็อกซ์) ชอบที่จะออกวิ่ง นอกจากจะวิ่งเร็วแล้ว ยังวิ่งกันแรงอีกด้วย หากทีมนี้เปิดตัวออกฟาสเบรกเมื่อไหร่ มีความเป็นไปได้สูงที่จะจบสกอร์อย่างรวดเร็ว ไม่ก็ได้ฟาวล์ ดราก้อนส์เป็นทีมที่เล่นเร็วที่สุดในลีก ด้วยอัตราการเล่น (Pace) อยู่ที่ 82.26 ซึ่งสูงที่สุดโดยทิ้งห่างทีมอันดับสองอย่าง ลาสการ์เดรย่า ถึง 2.22 เลยทีเดียว
อัตราการเล่น (Pace) คือการประมาณจำนวนครั้งในการครองบอลของทีมๆ นึงต่อ 40 นาที
แต่ทางไฮเทคบางกอกซิตี้นั้นเป็นทีมที่เหมาะกับการบุกเกมครึ่งสนามมากกว่า โดยมีหอคอยคู่ สตีฟ โธมัส และ คริส ชาร์ลส์ อีกทั้งกองกำลังมือปืนจำนวนมากมาย ที่พร้อมจะสาดส่องเวลาที่ตัวป้องกันหุบลงไปรุมวงใน
อย่างไรก็ตาม ไฮเทคไม่ใช่ทีมที่เล่นช้า โดยประคองครามเร็วไว้ในระดับเกือบๆ ระดัเฉลี่ยที่ 78.69 ซึ่งอาจจะมีเพราะมี ไอ้ฟ้าแล่บ เจอริค กานยาด้า และ ตัวเปิดบอลฟาสเบรกที่ดีที่สุดในลีกอย่าง สตีฟ โธมัส คอยปั้นให้ตัวจบสกอร์อย่าง รูเบน วุฒิพงษ์ ดาโสม
ในเกมนี้ ทั้งสองทีมต่างก็เหยียบคันเร่งจนมิด ไม่แตะเบรคกันเลยแม้แต่นิดเดียว
27/09/14 WESTPORTS MALAYSIA DRAGONS 90 – HI-TECH BANGKOK CITY 93 (OVERTIME)
ทั้งสองทีมมีการครองบอลทั้งหมด 103 ครั้งต่อทีม มากที่สุดใน ABL ปีนี้เลย
เพื่อทำให้เข้าใจง่ายขึ้น เรามาแปลงเป็นจำนวนการครองบอลต่อนาที ได้ว่าทั้งสองทีมครองบอลไป 2.29 ครั้งต่อนาทีเลยทีเดียว เทียบกันง่ายๆ ก็คือ ใช้เวลาในการบุกแต่ละครั้งเฉลี่ยเพียง 13 วินาทีเท่านั้น!!!
ทางดราก้อนส์และไฮเทค ต่างก็ดันเกมบุกเข้าหากัน กดดันให้อีกฝ่ายเสียบอล และข้ามเข้าหาห่วงในแทบทุกครั้งที่บุก เกมนี้จุงเป็นเกมที่มีจำนวน การขโมยบอล และจำนวนการยิงลูกโทษ สูงที่สุดในฤดูกาลนี้เลย
เกมเร็วแบบนี้อาจจะทำให้นึกถึงการแข่งขันของ เดนเวอร์ นักเก็ตส์ยุค ช่วง 1980 ที่วิ่งทำแต้มกันอย่างบ้าระห่ำ
Pedal to the Metal
ดราก้อนส์ชอบที่จะดันเกมบุกอยู่แล้ว และในเกมเร็วแบบนี้ ก็มักจะเป็นทีมที่ควบคุมจังหวะความเร็วในเกมเหล่านี้ ดูได้จากสามเกมที่มีจังหวะการครอบครองบอลที่มากที่สุดระหว่างสองทีม สามเกมนั้น เป็นเกมการแข่งขัน ของ ดราก้อนส์ทั้งสิ้น
เป็นเรื่องที่น่าสนใจว่า ดราก้อนส์แพ้ สองเกมในสามเกมเหล่านั้น ซึ่งเป็นการแข่งขันในเกมนี้ และ เกมที่แพ้คาบ้านของอิโดนีเชีย วอริเออร์ส จากตัวเลข อาจจะสรุปได้คร่าวๆ ว่า ดราก้อนส์ชอบที่จะดันเกมบุก แต่เมื่อดันมากเกินไป ก็จะแว้งกลับมาเผาตัวเองจนได้
ความรวดเร็วในการบุกของดราก้อนส์ เริ่มจากการกดดันคนครองบอลอย่างดุเดือด พวกเขาจะพยายามบีบให้ฝ่ายตรงข้ามเสียบอล ซึ่งการจะทำเช่นนั้นได้ ต้องมีการปะทะร่างกายกับฝ่ายรับกันหลายจังหวะ
ระดับจำนวนฟาลว์เฉลี่ยต่อเกมของทุกทีมใน ABL เท่ากับ 18.67 ครั้งต่อเกม แต่ทางดราก้อนส์นั้น ครองความเป็นผู้นำด้านสถิตินี้ด้วยจำนวนทั้งหมด 22.87 ครั้งต่อเกม และทิ้งห่างไปเกือบ สี่ ครั้งต่อเกมมาอยู่ สำหรับฟาลว์บุคคลที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 1.74 ครั้งต่อเกม แต่มีคนที่เก็บฟาลว์ต่อเกมมากกว่า เฉลี่ยทั้ฝหมก 8 คนที่เป็น เป็นผู้เล่นดราก้อนส์
ซึ่งนั่นเป็นอัตราการฟาวล์ระดับปกติของดราก้อนส์
ฟากแต่เกมนี้ไวยิ่งกว่าระดับปกติอีก ในเกมนี้ระหว่างไฮเทค และ ดราก้อนส์ ต่างฝ่ายต่างก็ฟาลว์ทับถม จนในที่สุดต้องเสีย อุย บาน ซิน, โล ชี ฟาย, และ โมอาล่า ทาทูอ้า จากการฟาวล์ครบห้าครั้ง ตัวทำแต้มหลักอย่าง เอเวอร์สลี่ และ น็อกซ์ ก็เล่นอย่างเกร็งๆ ในช่วงต่อเวลา เนื่องจากฟาวล์ไปสี่ครั้งแล้ว ส่งผลกับเกมบุกของดราก้อนส์ไม่ใชน้อย
Avery “Showtime” Scharer
ขอพูดตรงนี้ไว้เลย ว่า MVP ของ ABL ปี 2014 นี้ขอยกให้ เอเวอรี่ ชาเรอร์ นอกเสียจากว่า ฟาลานโด้ โจนส์ ของ ลาสการ์ เดรย่า จะเข้าโหมด ซุปเปอร์ ไซย่า และพาทีมชนะ สี่เกมสุดท้าย ในระดับของฝีมือเพียวๆ ราชอน แมคคาร์ธี่ ที่เริ่มฤดูกาล 3 เกมแรก กับ ดราก้อนส์ (และตอนนี้เป็น Draft pick รอบที่สองใน PBA D-League) ก็ไม่ได้น้อยหน้า ชาเรอร์ขนาดนั้น แต่ทีมดราก้อนส์ยกขึ้นมาอีกระดับนึงจริงๆ เมื่อได้ชาเรอร์มาเสริมทัพ
ชาเรอร์เล่นเหมือนกับ เจสันคิดที่โด๊ปกระทิงแดงมาหนึ่งลัง และระดับความมั่นใจพอๆ กับ Nick Young หรือ Swaggy P เขาเป็นที่ทำอะไรได้รอบด้าน และเป็นเพียงคนเดียวใน ABL ที่ทำได้อย่างน้อย 10 แต้ม 5 รีบาวด์ และ 5 แอสสิสต์ มาตลอดทั้งฤดูกาล
แต่นอกจากทางด้านสถิติแล้ว ชาเรอร์ เป็นคนที่เป็นผู้นำทางด้านจิตใจ และเป็นกระบอกเสียงของทีม จากมุมมองของคนภายนอก จะมองเห็นว่า ดราก้อนส์มีผู้นำหลากหลายรูปแบบในทีม
อุย บาน ซิน และ จอห์น เอิง ต่างก็เป็นผู้นำในฐานะผู้เล่นมากประสบการณ์ นำด้วยความอาวุโส และความเคารพนับถือ
คริส เอเวอร์สลี่ น่าจะเป็นคนที่มีทักษะดีที่สุดในทีม แต่ดูเป็นคนที่พูดไม่เยอะเท่าไหร่ และเหมาะกับบทบาท คนที่นำด้วยการปฏิบัติซะมากกว่า
แต่ชาเรอร์คือจอมทัพโดยแท้จริง เวลาดูเขาเล่น จะสามารถเห็นเขาเป็นคนตะโกนบอกแผน โดยมั่นใจว่าทุกคนเข้าใจตรงกัน เวลาขอเวลานอกบางครั้ง ชาเรอร์ก็มีจังหวะนั่งเก้าอี้โค้ชเพื่อสรุปเกมแบบสั้นๆ ก่อนด้วย เขาเป็นคนที่เริ่มการกดดันเกมบุกที่ครึ่งสนาม แล้วเป็นคนจุดประกายเริ่มการออกวิ่งเกมบุก อีกทั้งยังเป็นคนจบสกอร์เองได้อีกด้วย
ชาเรอร์ล่อแผงการ์ดของไฮเทคซะป่วยในช่วงท้ายเกม ด้วยช่วงแขนที่ยาวและไว การข้ามเข้าหาห่วงของเขา เพื่อทำแต้ม หรือจ่ายบอลออกมาอีกที เป็นแกนหลักในการเริ่มต้นการตีแต้มขึ้นมาของดราก้อนส์
ความคิดเห็นส่วนตัวตอนนี้คือ:
Gimme more Ammo
คานู วัฒนา สุทธิสินธุ์ มาร่วมทัพในช่วงครึ่งฤดูกาลหลัง และเขาก็พิสูจน์ทักษะในการทำแต้มได้อย่างดี ในบทบาทตัวทำแต้มชุดสำรอง นอกจากเป็นตัวเซ็ทยิง คานูยังสามารถใช้ช่วงการก้าวจังหวะยาวๆ เข้าหาห่วงเพื่อสร้างพื้นที่ในการจ่าย หรือ ทำแต้มต่อไป
การเสริมคานูเข้ามา ทำให้เกมของไฮเทคเกิดมิติเพิ่มขึ้นมาอีก โดยพลังการข้ามของคานูน่าจะทำให้ทีมรับอัดแน่นข้างในมากขึ้น ส่งผลให้ตัวยิงของไฮเทค น่าจะยิงกันง่ายขึ้น
Setting the stage
ในเกมที่อัดแน่นไปด้วยพลัง ความดุเดือด และความเร็ว กลับเป็นลูกยิงที่ไร้ซึ่งการปะทะใดๆ ทั้งสิ้น และเชื่องช้าที่สุดในเกม ที่เป็นจุดตัดสิน นั่นก็คือ ลูกโทษ
ดราก้อนส์นำอยู่ 1 คะแนน แล้วก็เหลืออีกเพียง 12 วินาทีก็จะคว้าชัยสบายๆ ไปแล้ว ก่อนที่คานูจะพุ่งทะยานเข้าไปฟาวล์ เอเวอรี่ ชาเรอร์ เพื่อส่งเขาไปยิงลูกโทษ ชาเรอร์ก็ไม่ได้ยิงลูกโทษขี้เหร่ อยู่ที่ 68.2% ถ้าเขาสามารถเก็บสองลูกนี้ได้ก็จะกดดันให้ไฮเทคหาทาง set ยิงลูกสามแต้มโล่งๆ ให้ได้
ท้ายสุด ชาเรอร์ก็ยิงพลาดไป 1 ลูก ซึ่งเป็นการเซ็ทเวที เพื่อจังหวะต่อไป
Oh, Canada!
กานยาด้าก็เคยพิสูจน์ความเลือดเย็นให้เห็นแล้วทีนึง ตอนที่ยิงลูกดับฝันของไซ่ง่อนฮีต ช่วยคว้าชัยในสนามไทยญี่ปุ่น
หว่อง เวย ลอง ยังเป็นคนที่ยิงลูกท้ายเกมได้ดีที่สุดใน ABL ตอนนี้ แต่ถ้าหากว่า กานยาด้า ยังมีไม้เด็ดแบบนี้ให้เห็นอยู่ และปล่อยออกมาให้หมดได้ ก็อาจจะต้องถึงเวลาเปลี่ยนใจ
อาจจะต้องมองข้ามจุดที่ว่า เหลือตั้ง 12 วินาที น่าจะ set play ให้เป็นรูปเป็นร่างกว่าที่เห็นก็ได้
อาจจะต้องมองข้ามจุดที่ว่า ไฮเทคมุทะลุพาบอลขึ้นมาซะจนเกือบเสียบอลไปแล้วด้วย
แต่ยังไงก็ตาม เจอริค กานยาด้า ยิงลูกเบรกเกมและเบรกกำลังใจของ ดราก้อนส์ ทำให้การไหลของเกมกลับมาที่ไฮเทคอีกครั้งในช่วงต่อเวลา
But wait…
การยิงของกานยาด้าอาจจะทำให้เกมเสมอขึ้นมาได้ แต่ก็เหลือประมาณ 4 วินาที ซึ่งมากพอที่จะ set แผนเพื่อให้ได้จังหวะยิงงามๆ โค้ช แอเรียล แวนการ์ดเดีย จึงเรียกเวลานอก เพื่อวางแผนสุดท้ายของควอเตอร์นี้
อาจจะต้องให้เครดิตกับคริส ชาร์ลส์ ที่เป็นนักกฬาที่แขนขายาวที่สุดใน ABL ทำให้เขาเขาสามารถที่จะเข้าไปบล็อกลูกนี้ได้
แต่ก็คิดอยู่ว่าแผนที่ดราก้อนส์ใช้ โดยให้ คริส เอเวอร์สลี่วิ่งสวนออกมาเพื่อรับบอลยิงสามแต้มระยะไกล มันคือ แผนที่ดีที่สุดที่ ทางดราก้อนส์ จะงัดออกใช้ในเวลานี้แล้วหรือ
Fan of the Game
อ่อนไหวทุกที ที่เห็นความรักของแฟนๆ ที่มีให้แต่ละทีม
Eyes on the prize
นอกจากว่าจะคว้าชัยชนะได้อย่างน่าประทับใจแล้ว ไฮเทค ยังได้สัมผัสกับสาวๆ ดราก้อนเกิร์ลส อีกด้วย
บางกอกสไตล์ไม่แพ้ใครจริงๆ
Cover Photo courtesy of Onvisa Thewpaingarm (KukThew)
One thought on “ABL Recap: เร็ว แรง ทะลุนรก”