การ Dunk เป็นการแสดงศักยภาพทางร่างกายที่ตื่นเต้นหวือหวา การยิงลูกจากครึ่งสนามลงก่อนหมดเวลา ก็เป็นสิ่งที่ตื่นเต้นเร้าใจคนดูในช่วงเวลาคับขัน แม้กระทั่งการจ่ายบอลชิ่งพื้น ที่ดูแสนจะน่าเบื่อก็ยังเป็นอะไรที่บันเทิงจิตใจได้ หากจ่ายได้ถูกที่ถูกจังหวะ ทั้งหลายเหล่านี้ คือ เบื้องหน้าที่ทำให้กีฬาบาสเก็ตบอลเป็นกีฬาที่ติดตามดูแล้วสนุก แต่ ท่ามกลางสิ่งตื่นตาเร้าใจที่แสดงให้เห็นบนสนามเหล่านี้ ก็มีกิจกรรมเบื้องหลังที่คอยขับเคลื่อนเสริมสร้างความบันเทิงของบาสเก็ตบอลเช่นเดียวกัน
17/09/14 INDONESIA WARRIORS 61 – HI-TECH BANGKOK CITY 78
For English, click here.
สำหรับภาษาอังกฤษ คลิกที่นี่
ในช่วงเช้าก่อนการแข่งขัน ทาง ABL ได้ออกมาประกาศทาง page facebook เรื่องการเซ็นสัญญา MVP รอบชิง ไทยแลนด์บาสเก็ตบอลลีก คนล่าสุด ไมเคิล เฟย์ (ซึ่งติดตามได้เพิ่มเติม ที่ ได้ที่ link 1, link 2, link 3) ทำให้เขากลายเป็น World Import คนที่ 5 ของอินโดนีเชีย วอริเออร์ส ในฤดูกาลนี้
คนแรกเลยคือ เทรเมน จอห์นสัน ซึ่งอยู่กับทีมมาตั้งแต่เกมแรกเลย และเป็นกำลังในการบุกสำคัญ
เทรเมนเป็น World Import คนเดียวของทีมจนกระทั่งทีมได้เซ็น คริส เอลลิส กับ จอห์น สมิธ มาร่วมทัพ
คริสเป็นตัวทำแต้มที่ทำแต้มได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นอันดับต้นๆ ของ ABL โดยทำ 17.0 แต้ม/เกม และด้วยความแม่นระดับ 60% eFG และ 60% True Shooting ซึ่งก็เป็น Top 5 ใน ABL ทั้งสองสถิติ
ตามผลรายงานอย่างทางการนั้น คริส ประสบกับปัญหาบาดเจ็ยที่เข่าเรื้อรัง ทำให้ต้องเอาตัวเก๋า ABL อย่าง จัสติน ฮาวเวิร์ด เข้ามาเสียบตำแหน่ง
ฮาวเวิร์ดเล่นไปสองเกม และทำตัวเลขในการทำแต้มและรีบาวด์ออกมาแล้วก็ดูดี แต่เขาก็ยังมีข้อเสียเรื่องการเสีย Turnover และการป้องกันใต้แป้นที่ยังไม่ประทับใจเท่าไหร่นัก
รูปดีๆ ของจัสติน ก็มี แต่เจอรูปนี้ใน google image แล้วก็อดสงสัยไม่ไก้ว่า เหตุใดต้องกลัวบอลกันขนาดนี้!!!
สำหรับ ฮาวเวิร์ด มาแล้วก็ผ่านไป กับวอริเออร์ส และได้ไป เซ็นสัญญา กับ Singapore Slingers ต่อ
ทางวอริเออร์สจึงเสริมทัพ โดยดึงเอา โอนีล มิมส์ มา
มิมส์เป็นคนที่เล่นอย่างทุ่มกับเกมรับ โดยเป็น top 5 ในด้านของ Steal% (4.6%) และ Block% (4.5%) ซึ่งเป็นตัวเลขที่ประมาณการอัตราการทำ steal หรือ block ในเวลาที่เล่น นอกจากนี้ เกมบุกของ มิมส์ก็ถือว่าอยู่ระดับที่ พอใช้ได้ โดยยิงได้ดีกว่า 50% ทั้ง eFG% และ True Shooting% ทำให้มีแต้มเฉลี่ยต่อเกมที่ 15.0 แต้ม/เกม ดูเหมือน่าเขาจะเข้ากับระบบได้ดี ในฐานะสตาร์ตัวเสริม เช่นเดียวกับ สตีฟ โธมัส (เสริม คริส ชาร์ลส์) ไคล์ เจฟเฟอร์ส (เสริม ดิออร์ โลว์ฮอร์น) และ ดัสติน สก็อตต์ (เสริม จัสติน วิลเลี่ยมส์)
ถือว่ามิมส์เล่นกับทีมได้น่าประทับใจ โดย นักรบอิเหนาก็ไม่แพ้ใครเลยตอนที่มีเขาอยู่ในทีม และชนะสามเกมรวด โดยชนะสามทีมจ่าฝูงในตาราง ABL เลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม ในเช้าวันที่จะเริ่มต้นแข่งขันเพื่อตามล่าชัยชนะนัดที่สี่ ก็มีข่าวเรื่องไมเคิล เฟย์ ออกมา
Mike Fey

การที่ติดตามบาส ไทยแลนด์บาสเก็ตบอลลีกมาอย่างต่อเนื่องก็ทำให้ได้เปรียบแฟนๆ อินโดนีเซียนิดหน่อยในเรื่องความคุ้นเคย เจ้าของ MVP รอบชิงนั้นทำเฉลี่ยไป 15.3 แต้ม/เกม ในฤดูกาลปกติ เป็นอันดับ 6 ใน TBL และ รีบาวด์ไป 8.5 ครั้ง/เกม เป็นอันดับ 8 ใน ธฺศ
เกมของเฟย์ที่ผมคุ้นเคย คือ เกมยิงระยะกลางที่แม่นยำ และ การถ่ายบอลจากตำแหน่งเส้นโทษทำช่วยหล่อลื่นความลื่นไหลของเกมบุก แต่เกมของเฟย์นั้นใช้ได้ผลใน TBL ตามความเห็น คิดว่าเป็นเพราะ ประเด็นใหญ่ๆ สองประเด็นต่อไปนี้
- TBL มีการกำหนดให้มีผู้เล่นต่างชาติลงสนามได้เพียง 1 คนต่อ 1 ครั้ง ทำให้ขนาดตัวของฝ่ายป้องกันในสนามของ TBL เล็กกว่าอย่างมีนัยยะ
- ทางทีมนครปฐม แม๊ดโกตส์ ได้เปรียบตรงที่มีเซนเตอร์ยักษ์ใหญ่จอมคลุกวงในอย่าง ชัยวัฒน์ แกดำ ทำให้ เฟย์สามารถลอยออกไปนอกจากพื้นที่ใต้แป้นได้อย่างสบายใจ
ทีมอื่นๆ ใน TBL หาทางตอบโต้จุดนี้ได้ยาก หากว่าเอาเซนเตอร์ต่างชาติตัวใหญ่ไปติด เฟย์ ก็จะกลายเป็นว่าทาง ชัยวัฒน์ก็จะได้เปรียบตัววงใน แล้วถ้าหากว่าเอาเซนเตอร์ต่างชาติไปปะชัยวัฒน์แทน เฟยืก็จะมีตัวประกบที่ขนาดเล็กลง สามารถยิงข้ามได้ง่ายขึ้น และหาช่องจ่ายบอลได้ง่ายขึ้น
แต่ในระบบเกมบุกของ อินโดนีเซียนั้น เฟย์ไม่มีโอกาสได้เล่นกับเซนเตอร์ตัวใหญ่ๆ คลุกวงในดุๆ เพราะว่า ตัวเขาเองนั้นแหละคือ เซนเตอร์วงในคลุกวงในดุๆ ตามบทบาทที่ทางผู้บริหารทีมน่าจะวาดฝันไว้ นักรบอิเหนาไม่มีตัวท้องถิ่นที่ตัวใหญ่ คลุกวงในเพียวๆ (ซึ่งใน ABL ทั้งหมด น่าจะมีแค่ Delvin Goh) และ ตัว World Import อย่าง เทรเมน จอห์นสัน ก็เล่นได้ดีที่สุดจากวงนอกเข้ามาเสียมากกว่า ในเกมนี้ก็เห็รได้ชัด ว่าทางไมเคิลเฟย์ ก็มีอารมณ์ที่รู้สึกอึดอัด และสับสน
แน่นอนว่านี่เป็นเพียงเกมแรกของเขากับทีม แล้วเราก็ต้องมาติดตามกันต่อในเกมวันอาทิตย์ที่จะแข่งกับ ไซ่ง่อนฮีต แต่ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจที่จะติดตามความคืบหน้าของความเข้ากันได้ของเฟย์กับทีม และทางทีมงานผู้ฝึกสอนจะดำเนินการอย่างไร แชมป์ NBA เก่าอย่าง Miami Heat ก็เคยเล่นโดยใช้ ตัวในยิงระยะกลางดีๆ อย่าง คริส บอช ผสมกับ เลอบรอน เจมส์ ที่ตำแหน่ง พาวเว่อร์ ฟอร์เวิร์ด เพราะฉะนั้น มันก็เป็นระบบที่ประสบความสำเร็จได้
เฟย์ และ จอห์นสันเองก็มีเพลย์ให้เห็นเป็นครั้งคราวที่อาจจะเป็นสัญญาณความเข้าขากันของสองคนนี้
เป็นกลยุทธการเสริมทัพที่น่าสนใจสำหรับอินโดนีเชีย วอริเออร์ส ซึ่งเหมือนว่าจะลงตัวกับ โอนีล มิมส์ แต่ก็มีการเปลี่ยนแผนมาเป็น Fey ในที่สุด
วันที่ 12 กันยายนที่ผ่านมาเป็นวันสิ้นเขตการลงทะเบียนรายชื่อนักกีฬา ABL เพราะฉะนั้น รายชื่อที่มีอยู่ตอนนี้ของแต่ละทีม จะไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้อีกแล้ว จึงเป็นเรื่องน่าสนใจว่า แต่ละทีมจะมีการพัฒนาเข้ากันอย่างไรในช่วงโค้งสุดท้าย
เหนียวแน่น (Keepin’ it Tight)
เป็นการแข่งขันที่แต้มค่อนข้างสูสีมาตลอดทั้งเกม ไฮเทคดันแต้มขึ้นนำมากที่สุด 8 แต้ม ในช่วงควอเตอร์สอง แต่ก็เร่งเครื่องต่อไม่ได้ จนโดนวอริเออร์สขึ้นนำไปถึงสองรอบในควอเตอร์ที่สาม
วอริเออร์สอาศัยการหมุนถ่ายตัวกันในโซน 2-3 ขยับออกไปไล่ตัวยิงสามแต้มของ ไฮเทคได้อย่างรวดเร็ว ในส่วนด้านเกมบุกเองนั้น ก็ถ่ายบอลกันได้ดี ซึ่งแกนกลางของเกมบุกนั้น คือ อาร์กี้ วิสนุ ซึ่งเป็นตัวท้องถิ่นที่ฝีมือเจนจัดที่สุดใน ABL คนนึงเลยทีเดียว
อาร์กี้เป็นคนที่มีความสามารถในการทะลุทะลวงการป้องกันของฝ่านรับได้ดีที่สุดคนนึงใน ABL เลยทีเดียว และสามารถจะเริ่มต้นการทะลุทะลวงนั้น จากนอกเขตสามแต้ม หรือภายในพื้นที่ใต้แป้นก็ได้ เมื่อเข้าไปข้างในแล้ว นอกจากจะจบสกอร์ได้ดีพอสมควร แล้วยังมีทักษะการจ่ายบอลสูงอีกด้วย
D is for Defense
ถ้าพูดถึงตัวท้องถิ่นแล้ว ก็คงอดที่จะพูดถึง รูเบน วุฒิพงษ์ ดาโสม ไม่ได้ รูเบนเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่หาพื้นที่เพื่อวางบอลง่าย ยิงง่ายๆ และ Dunk โหดๆ ได้อย่างยอดเยี่ยม
แต่เราอาจจะติดภาพการทำแต้มของรูเบนกันจนมากเกินไป จนเรามองข้ามจุดสำคัญที่ทำให้โค้ชของรูเบนแต่ละคนไว้ใจให้เค้าลงยืนในสนามนานพอที่จะมีบทบาทในเกมรุก นั่นก็คือ เกมป้องกัน ในเกมนี้ รูเบนก็มีหน้าที่ประกบกับตัวทำแต้มของ วอริเออร์สอย่าง เทรเมน จอห์นสัน และเค้าก็ทำได้ดีมากทีเดียว
ท้ายที่สุดแล้ว จอห์นสันก็ทำไปทั้งหมด 18 แต้ม ซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ยทั้งฤดูกาลเพียงแต้มเดียว แต่เป็นแต้มที่มาจากการยิงระยะไกล (4-6) และลูกโทษ (6-8) เท่านั้น ส่วนลูกยิงในระยะสองแต้มนั้น ยิงไป 12 พลาดหมดเลย ซึ่งค่าเฉลี่ยปกติของเขาจะอยู่ที่ 4.5 ลูก/เกม ในฐานะคนที่ป้องกัน ถ้าคุณสามารถทำให้ฝ่ายบุกต้องทำอะไรไที่ไม่ถนัด ถึงแม้ว่าจะยิงลง แต่ก็ประสบความสำเร็จแล้ว
รูเบนก็มักจะรับบทบาทนี้เสมอๆ คือให้ประกบกับตัว ace ของฝ่ายตรงข้าม อย่างที่ได้รับสั่งให้ไปเกาะติด เจโอ รัชเดช เครือทิวาใน TBL
ถือว่าเป็นความสุขของผู้ชมที่ได้เฝ้าดูการพัฒนาของรูเบน จนเป็นนักบาสที่ถือว่าค่อนข้างครบเครื่อง อดไม่ได้ที่จะนำเขาไปเทียบ form กับ ผู้เล่นทรงคุณค่ารอบชิง NBA อย่าง คาวาอี เลนาร์ด ของ ซานอานโตนิโอ สเปอร์ส
ฉีกหนี (Breakaway)
อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นเกมนี้ ก็เป็นเกมที่สูสีมาตลอด สามควอเตอร์ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม พอเริ่มควอเตอร์ที่ 4 วอริเออร์สก็ยังคงตามอยู่ จึงจำเป็นต้องมีการสับเปลี่ยนอะไรซักอย่าง แล้วกลายเป็นว่า มีการสับเปลี่ยนเกมรับจาก โซน 2-3 เป็น man-to-man
โดยส่วนตัวแล้ว เข้าใจเหตุผลทางกลยุทธว่าต้องการเพิ่มแรงกดดันกับคนครองบอล เพื่อให้ได้ turnover มา จังหวะเกมจะได้เร่งมากขึ้น แต่ก็จะกลายเป็นว่า ทีมจะสามารถทดมาช่วยกันได้ยากขึ้น เวลาคนข้ามเข้ามากลางพื้นที่ใต้แป้น และโพสวงใน
ไฮเทคจึงไม่รอช้า แล้วข้ามบอลเข้าหาวงในอย่างต่อเนื่อง พร้อมยัดบอลให้ตัวใน
เจอริค กานยาด้า ฟันทะลุทะลวงการป้องกันของวอริเออร์สเป็นเศษซาก โดยการข้ามเข้าหาห่วงอย่างไม่ยากเย็น ตัวกันตัวอื่นๆ ก็หดเข้ามาช่วย แต่พอหุบเข้ามาทั้งหมด ตัวนอกก็จะว่าง และทางกานยาด้าก็จะคายออกไป ทางตัวนอกก็โยนบอลกันอย่างชาญฉลาดกันจนได้ลูกยิงที่โล่งๆ ถึงแม้ว่าท้ายที่สุดแล้ว เหมือนว่า วอริเออร์สจะตั้งตัวขึ้นมาได้ระดับนึง ทางไฮเทคก็เครื่องติดไปเรียบร้อย และทางป๋า สตีฟ โธมัส ก็มาซัดสองลูกสั้นๆ ปลิดชีพตบท้าย
ป๋าสตีฟ ก็เจอกองเชียร์เก่าของตัวเองโห่ใส่ไม่ใช่น้อย ตอนช่วงยิงลูกโทษ
แต่ท้ายที่สุด เขาก็ยังเป็นที่รักของแฟนอยู่เหมือนเดิม
Close your Eyes
เป็นจังหวะที่หวาดเสียงสำหรับแฟนๆ บาสชาวไทย หลังจากที่ อาร์กี้ วิสนุ ข้ามเข้ามาหา คานู วัฒนา สุทธิสินธุ์ ซึ่งคานูก็ทำฟาวล์ไป หลักจากที่ผงะออกไปซักครู่นึง คานูก็เดินมาหาม้านั่งได้ไม่กี่ก้าว ก่อนจะทรุดตัวลงไปคุกเข่า
ทางกองเชียร์อินโดนีเชีย ก็คงเห็นว่า เป็นเพลย์ที่ไม่มีการกระทบกระทั่งอะไรมาก เลยโห่ คานู เพราะคงนึกว่าสำออย แต่อย่างที่เราทราบกันอยู่ คานู ก็ได้รับอุวัติเหตุทางรถยนต์เมื่อช่วงต้นฤดูกาล ซึ่งบริเวณที่บาดเจ็บก็อยู่ในช่วงบริเวณนี้เช่นกันเลยอาจจะไปกระทบจุดซ้ำ อย่างไรก็ตามก็หวังว่าคงไม่ใช่การบาดเจ็บที่ยืดยาว หรือ ซ้ำซาก หวังว่าคานูจะได้กลับมาทำแต้มให้ไฮเทคอย่างไม่ขาดตอน
เอ้า ถึงเวลาช่วงพักโฆษณาแล้ว!!!
โดยสรุปในครั้งนี้ เราได้มุ่งไปดูกิจกรรมฉากหลังของการแข่งขันบาสเก็ตบอล ในการวางกลยุทธ ทั้งการเซ็นตัวของทีม หรือ การปรับแผนป้องกันของแต่ละทีม ก็ทำให้เกมมันมีรสชาติและสีสรรที่ต่างกันออกไป และรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ที่คอยเสริมสร้างกันให้บาสเก็ตบอลเป็นกีฬาที่ดูสนุก และสวยงาม
คราวนี้ ขอใช้พื้นที่เพียงเท่านี้ ติดตามอ่านต่อกันคราวหน้านะครับ
Feature Image Courtesy of the ASEAN Basketball League website; Poorly edited by myself
One thought on “ABL Recap: กลยุทธ”