ลองจินตนาการภาพการวิ่งแข่ง 100 เมตรระหว่าง ยูเซน โบล์ท (Usian Bolt) กับ เจอาร์ สมิธ (JR Smith)
แน่นอนว่าโบล์ทน่าจะชนะสบายๆ ด้วยความที่เป็นมนุษย์ที่วิ่งเร็วที่สุดในโลกหล้า
แต่ลองนึกภาพว่าทุกครั้งที่โบล์ทขึ้นนำ เจ้าเกรียน สมิธก็จะก้มลงแล้วแกะเชือกรองเท้า ตามประสาคนเกรียน โบล์ทก็จะต้องหยุดวิ่ง ก้มลงผูกเชือกรองเท้า แล้วสตาร์ตเครื่องใหม่ เจ้าเกรียนสมิธนำไปได้ซักัพก โบล์ทก็คงจะขึเนมาแซง…แล้วสมิธก็จะก้มลงไปแก้เชือกรองเท้าโบล์ทอีกรอบ เป็นวัตถจักรความเกรียน
คงเป็นการแข่งวิ่งที่ไม่น่าดูไม่น่าชมเท่าไหร่
และการแข่งขันระหว่าง ไฮเทคบางกอกซิตี้ กับ สิงคโปร์ สลิงเกอร์ส ก็ดำเนินไปในลักษณะเดียวกัน
30/7/14 Hi-Tech Bangkok City 59 – Singapore Slingers 51
ติดตามอ่านภาษาอังกฤษได้ ที่นี่
For English, click here
เรามาฟังความเห็นจากซุปเปอร์สตาร์ของทีมหน่อยดีกว่า คุณ คริสเตียน ชาร์ลส์

มันไม่ใช่การแข่งขันที่สวยงามเลยนะ แต่เราก็ผ่านมันไปได้ด้วยดี
คริสตอนซิน ได้สรุปเกมนี้ไว้ด้วยประโยคง่ายๆ เรียบร้อยแล้ว ทั้งสองทีมยิงไม่เกิน 30% และความหน่วงของเกมนี้ ไม่ได้จบอยู่แค่นั้น
อัดอั้นอึดอัด
ทีมสิงคโปร์ สลิงเกอร์ส เป็นทีมที่มีชื่อเสียงด้านการป้องกันอยู่แล้ว
ในระดับ ABL นั่นคือสิ่งที่คาดว่าโค้ชทุกคนใน ABL จะย้ำกับลูกทีมเพื่อเตรียมการแข่งกับทีมจากทีมลอดช่องเสมอๆ แต่ ไม่รู้ว่าจะมีคนเคยถามหรือเปล่าว่าทำไมทีมนี้ถึงได้ป้องกันได้เหนียวหนึบขนาดนี้
ตัว Import อย่าง ไคล์ เจฟเฟอร์ส (Kyle Jeffers) หรือ ฮาสซาน แอดัมส์ (Hassan Adams) ก็ไม่ใช่นักกีฬาที่มีชื่อเสียงด้านการป้องกัน อย่าง จัสติน วิลเลี่ยมส์ (Justin Williams) ของ ไซ่ง่อนฮีต หรือ อย่าง เทพคริส กับ ป๋าสตีฟ ของไฮเทค
นอกจากนี้ เดสมอนด์ โอห์ (Desmond Oh) ที่ได้ชื่อว่าเป็นคนที่กันหนึบที่สุดใน ABL ยังเล่นไปเพียงแค่ 3 นาทีกว่าๆ ในเกมนี้ แต่การป้องกันสิงคโปร์ ก็ยังคงหนึบแน่นเหมือนเดิม
ดังนั้นจึงเกิดคำถามว่า แล้วอะไรคือปัจจัยที่ทำให้ทุกคนกล่าวขานถึงพลังการป้องกันของทีมนี้

ในขณะนี้ มีการแข่งขันไปเพียง 2 นัด ข้อมูลนี้ จึงอาจจะไม่สามารถเชื่อถือได้ 100% แต่มันก็ทำให้พอมองเห็นภาพคร่าวๆ ได้
จะเห็นว่าทีมลอดช่องปล่อยให้ทีมตรงข้ามยิงลงในอัตรา 33% ซึ่งอยู่กลางกลุ่ม โดยมีไซ่ง่อน ฮีตนำเป็นอันดับ 1 อยู่ที่ 29%
คิดว่าคงเป็นสัญชาตญานที่จะใช้ข้อมูลชุดนี้ เป็นตัวบ่งถึงศักยภาพในการป้องกันของทีมๆ หนึ่ง ซึ่งมันก็ไม่ผิด แต่ก็ยังวาดภาพให้เห็นไม่ชัดเจนเท่าไหร่ว่าทำไมการป้องกันของสิงคโปร์ถึงทำได้ดี
แม้ว่า อัตราการยิงลงของทีมตรงข้ามที่ 33% ก็เป้นตัวเลขที่ไม่ขี้เหร่ เพราะเฉลี่ยของลีกอยู่ที่ 35%
แต่ตัวเลขที่เราควรสนใจคือ จำนวนการยิงของทีมตรงข้ามต่างหาก

สลิงเกอร์สปล่อยให้ทีมตรงข้ามยิงแค่ 63.7 ครั้งต่อเกม ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของลีกอยู่ที่ 68.9
นั่นหมายความจากที่ปกติ เกมๆ นึงเรามีโอกาสยิง 69 ครั้งต่อเกม เมื่อมาเจอสลิงเกอร์ส กลายเป็นว่าโอกาสยิงจะหายไปเพียว 5 ลูก
ซึ่งนั่นหมายถึงโอกาสได้คะแนนที่หายไป 10 ถึง 15 คะแนน
เป็นความแตกต่างที่ใหญ่หลวงมากเลยทีเดียว
แล้วเขาทำยังไงละนั้น?
มีปัจจัยหลักสองข้อที่ทำให้สลิงเกอร์สสามารถกดให้ทีมตรงข้ามมีโอกาสในการยิงนิดเดียว
หนึ่ง คือ สลิงเกอร์มีการหมุนถ่ายตัวกันที่ดี
พวกเขาจะมีการเว้นช่องระหว่างตัวกันอย่างพอดี สัมพันธ์กับตำแหน่งบอล เพื่อที่จะตามตอบสนอง เคลื่อนตัวกับฝ่ายบุกที่ข้ามเข้ามาในโซน ได้นั่งดูเกมทั้งรอบสด และดูเทปอีกรอบ แล้วก็รู้สึกว่า มีน้อยเหลือเกินที่เพลย์ไหนที่เราตีการป้องกันของเขาแตก การบุกของไฮเทคถูกจำกัดการเคลื่อนไหวแทบทั้งเกม ทำให้เกิดการยิงท้าย shot clock แบบยังไม่ค่อยได้เคลื่อนบอลเท่าไหร่นัก
สอง คือ สลิงเกอร์ส เป็นทีมที่รีบาวด์ดีแบบเงียบๆ อย่างที่กล่าวข้างต้น พวกเขาไม่มีนักกีฬา import ยาวๆ แบบ ชาร์ลส์ โธมัส หรือ วิลเลี่ยมส์ แต่เขามีผู้นำจำนวนรีบาวด์ต่อเกมของลีกในขณะนี้อย่าง เจฟเฟอร์ส
น่าจะเป็นผลจากการวางตำแหน่งและพื้นที่ตอนป้องกัน ที่ทำให้สามารถ box out ฝ่ายบุกทุกตัวได้ง่ายขึ้น ทำให้เก็บกวาดลูกที่ยิงพลาดได้ดี

และนี่คือตัวเลขที่สนับสนุนข้อมูลดังกล่าว:


จะเห็นได้ว่าสลิงเกอร์สนำ ABL อยู่ในอัตราการรีบาวด์ฝั่งรับ ที่ 75% มากกว่าเฉลี่ยของลีกอยู่ 5%
เป็นอันดับสองด้านอัตราการรีบาวด์ฝั่งบุก ที่ 30% และนำเรื่องจำนวนรีบาวด์ฝั่งบุกต่อเกมที่ 12.67
คำเตือน (สำหรับทีม ABL อื่นๆ): ทีมนี้เป็นทีมที่รีบาวด์และกันได้ดีมาก
ไม่ต้องห่วงหลังบ้าน

หากว่าการป้องกันของสิงคโปร์คือการจำกัดพื้นที่และการเคลื่อนไหว การป้องกันของไฮเทคเหมือนจะไปในทางตรงกันข้าม คือมีการเปิดพื้นที่บางส่วนให้ทางสลิงเกอร์สเคลื่อนไหว เพื่อล่อให้เข้ามาวัดกับสองหอคอยใต้แป้นของเรา
ในการป้องกันการพิคแอนด์โรล Pick & Roll ของ สลิงเกอร์ส ไฮเทคเลือกที่จะตามไปด้านบนของตัวสกรีน และให้ตัวป้องกันตัวสกรีนจิ้มออกมาดักคนเลี้ยงบอล (Ball Handler) เรียกว่าการเฮดจ์ (Hedge)

การป้องกันแบบนี้ จะทำให้ตัวฝั่งบุกที่สกรีน (screener) ค่อนข้างโล่ง แต่นั่นคือสิ่งที่ไฮเทคพร้อมจะเลี้ยงแล้ว เพื่อกดดันคนครองบอลให้เต็มที่
หากคนครองบอลไม่มีทางจ่ายให้ตัวสกรีนก็จะกลายเป็นว่า โดนบีบให้เข้าหาแป้น สู่ใจกลาง หอคอยคู่ ชาร์ลส์ โธมัส
เมื่อเข้าไปถึงตรงนั้น แล้วยิงพลาด (ซึ่งทีมตรงข้ามไฮเทคยิงได้แค่เพียง 33%) จุดแข็งของ ไฮเทคบางกอกซิตี้ก็จะได้แผลงฤทธิเต็มที่
ในตารางข้างบน เรื่องสถิติการรีบาวด์ ผมได้จงใจปล่อยให้ชื่อทีมอื่นเป็นชื่อทีมนิรนามไป เพื่อจะมาชี้แจงในส่วนนี้
ในขณะที่สลิงเกอร์สเป็นทีมรีบาวด์ที่ดีทีมนึง ไฮเทคเองก็ทำได้ดีในด้านนี้ไม่ใช่น้อย


ไฮเทคจะรีบาวด์ดีโดยเฉพาะในด้านฝั่งบุก โดยชาร์ลส์ กับ โธมัส นำ ABL ในสถิตินี้ทั้งคู่เป็นดับ 1 และ 2 ที่ 14 ครั้ง และ 9 ครั้ง ตามลำดับ ด้วยขนาดตัวและความยาวของทั้งคู่แล้ว ทำให้การป้องกันรีบาวด์ฝั่งบุกยากขึ้นมาก แม้ว่าจะ box out
หน่วงหนืด พะอืดพะอม
กละบมาที่ ยูเซน โบล์ท กับ เจอาร์ สมิธ กันดีกว่า ผมขอยกให้ตัวอย่างนี้ ไฮเทคคือ โบล์ท ด้วยพลัง ความเร็ว และความแรงในการบุก และทาง สิงคโปร์ คือ เจอาร์ สมิธที่คอยใช้การป้องกันที่เหนียวหนึบขัด เหมือนกับ เจอาร์สมิธ แก้เชือกรองเท้าขณะที่วิ่งอยู่

การบุกของไฮเทคแทบไม่มีความลื่นไหลเลย และมันก็แสดงถึงระดับความสามารถเพียวๆ ของไฮเทคที่สามารถรักษาแต้มให้ไม่ขาดได้ถึงแม้ว่าแผนการบุกทั้งหมดชะงักตัวลงไป
แผนการแก้เชือกรองเท้าของ เจอาร์ สมิธ กำลังไปได้สวย

ทางด้านสิงคโปร์ ฌค้ช นีโอ เบง เซียง น่าจะมีการฝึกซ้อมให้มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลาในฝั่งเกมบุก โดยจะเห็นว่ามีการ pick & roll หรือ มีการสกรีนคนไม่บอลเรื่อยๆ
การเคลื่อนไหวดังกล่าว ได้สร้างโอกาสในการทำแต้มดีๆ ให้กับสลิงเกอร์ส แต่ก็ยังติดปัญหาเดียวกับที่เจอมาเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา นั่นคือ การที่ไม่สามารถจะจบสกอร์ได้ แผนการด้านการป้องกันสำเร็จ โดยจำกัดให้ทีมที่มีพลังบุกสูงอย่าง ดราก้อนส์ กับ ไฮเทคให้ทำได้เพียงเฉลี่ย 63 แต้ม แต่ไม่สามารถจะจัดการแผนตัวเองให้จยด้านเกมบุก
เจอาร์ สมิธ เพลีย

ถึงอย่างไรก็ตาม สลิงเกอร์ส เมื่อจบควอเตอร์ที่สามไป สลิงเกอร์สมีแต้มนำอยู่ 1 แต้ม

ไฮเทคบางกอกซิตี้ ขยับเข้ามาไล่ๆ ติดๆ ด้วยการยิงสามแต้มและการทำแต้มและได้ฟาวล์ สูสีมาตลอด

ท้ายที่สุด เป็นเรื่องน่าเสียดาย ที่ระบบการป้องกันของสลิงเกอร์สเอง ที่เป็นที่กล่าวขาน กลับน่าจะเป็นสาเหตุที่ทีมต้องพ่าย
การป้องกันแบบนั้น จำเป็นจะมีการปะทะกอดรัดฟัดเหวี่ยงกันไม่น้อย ทำให้เกิดการฟาวล์ บ่อยๆ อีกทั้งตัววงในของไฮเทค อย่าง โธมัส และ ชาร์ลส์ ที่มีการเล่นที่ดุดันดึงฟาวล์อีก ทำให้ทั้ง แอดัมส์ และ เจฟเฟอร์ ทำฟาวล์ ครบห้าครั้งตั้งแต่กลางควอเตอร์สี่
เป็นจุดเปลี่ยนของเกมจุดนึงเลยทีเดียวเนื่องจากเจฟเฟอร์สเป็นแกนหลักในการเก็บกวาดรีบาวด์ และเป็นคนเดียวที่กำลังไว้ใจได้ในด้านการบุก
เมื่อเจฟเฟอร์สฟาวครบห้าครั้งแล้ว ไฮเทคก็ระกษาแต้มที่นำอยู่ไว้ได้ จนจบเกม

เป็นการต่อสู้ที่หนืดหน่วง ของสองทีมที่คอยเหวี่ยงหมัดที่ทรงพลังใส่กัน แต่กลับไม่สามารถวางหมัดลงเต็มได้ กลายเป็นทีมไฮเทคบางกอกซิตี้ ที่สามารถเสยอัปเปอร์คัตคอมโบในช่วงที่ถูกที่ถูกเวลาพอดี ทำให้ออกมาอย่างผู้มีชัย
ขอย้ำจุดนึงไว้ตรงนี้ว่า การที่เปรียบสิงคโปร์สลิงเกอร์ส กับ เจอาร์ สมิธ ไม่ใช่การดูถูกกันแต่อย่างใด สลิงเกอร์สเล่นได้ยอดเยี่ยม เพียงแต่ผมยกตัวอย่าง เจอาร์ สมิธ ขึ้นมาเพื่อเปรียบเทียบเกมรับที่น่าอึดอัดของสลิงเกอร์สมีผลต่อเกมเทียบเท่ากับการแก้เชือกรองเท้าของคนๆ หนึ่งในขณะที่กำลังวิ่งแข่งอยู่
สำหรับคนที่ชื่นชอบการป้องกันอย่างผม ผมชอบเกมนี้มาก และอยากจะขอบคุณทั้งสองทีมที่ได้ต่อสู้กันอย่างสุดตัว

จริงๆ แล้ว สตีฟ โธมัส คือ มาร์ค กาซอล ที่มาพักร้อนที่ไทยใช่ไหม?
มาร์ค กาซอล เป็น เซนเตอร์ตัวหนา แข็งแกร่ง เน้นป้องกันเป็นหลัก และมีทักษะการจ่ายบอลที่เหลือเชื่อ
สตีฟ โธมัน เป็น เซนเตอร์ตัวหนา แข็งแกร่ง เน้นป้องกันเป็นหลัก และมีทักษะการจ่ายบอลที่เหลือเชื่อ
พวกเขาไม่เคยอยู่ในสถานที่เดียวกันในเวลาเดียวกัน แล้วใครจะปฏิเสธได้ว่ามันไม่ใช่ความจริง
ผมเดสมอนด์ โอ (Desmond Oh) หายไปไหน?


ผมขอสรุปเลยว่าที่นัดนี้ได้ลงแค่ 3 นาที โดนโค้ชแบนเพราะไปเปลี่ยนทรงผมจากนัดที่แล้ว
วุฒิพงษ์ ดาโสมหายไปไหน?
“รูเบน” วุฒิพงษ์ ดาโสม ในขณะนี้เป็นนักบาสที่ชวนปวดหัวสำหรับผมมากในตอนนี้ เขาเริ่มต้นฤดูกาลได้ไม่ดีเท่าไหร่กับเกมที่แข่งกับWestports Malaysia Dragons จากนั้นก็เล่นได้ดี ในเกมที่เจอ Indonesia Warriors
ในเกมนี้เขาเริ่มต้นเกมออกมาได้ไม่ดีเท่าไหร่ ดูจังหวะฝืนๆ ในบางครั้ง แต่ท้ายสุดสามารถที่จะยิงลูกสามแต้มที่น่าจะเป็นจังหวะเปลี่ยนเกมให้ไฮเทคเป็นฝ่ายได้เปรียบ
ตอนนี้ฟอร์มของรูเบน คาดเดาได้ยาก แต่อย่างไรก็ตามก็คาดหวังว่าเขาจะสามารถเจอทางของตัวเองและเล่นได้มั่นคงกว่านี้ เพราะเชื่อว่าเขาน่าจะมีศักยภาพที่จะเป็นสตาร์ นักกีฬา Local ที่ทีมอื่นๆ ยังตามหาอยู่
เกมต่อไป ของทั้งไฮเทคและสลิงเกอร์ส จะเจอกับไซ่ง่อน ฮีตทั้งคู่
สลิงเกอร์สจะต้อนรับฮีตเข้าบ้านโดยจะพยายามหยุดสถิติการแพ้สองนัดติด ในวันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคมนี้ ที่ OCBC Arena เวลา 16.00 น. เวลาสิงคโปร์
ไฮเทคบางกอกซิตี้ รอรับ ฮีตในเกมถัดมา ซึ่งจะเป็นเกมตัดสินว่าใครจะเป็นทีมสุดท้ายที่ได้ชื่อว่า ไร้พ่าย (นอกจากว่า ฮีตจะแพ้ ลาสก้า เดรย่า หรือ สลิงเกอร์ส ในสองเกมที่กำลังมาถึงนี้) โดยจะแข่งวันพุธที่ 6 สิงหาคม ที่สนามไทย-ญี่ปุ่นดินแดง เช่นเคย เวลา 19.00 น.
ด้วยสถิติไม่แพ้ใครในบ้านมาสามนัดติด ไฮเทค มีอะไรจะฝากบอกทีมที่มาเยือนเมืองไทยรึเปล่าครับ?
หากว่าท่านไม่สะดวกติดตามเกมเหล่านี้ได้ที่สนามดังกล่าว ยังสามารถติดตามชมถ่ายทอดสดได้ที่เว็บหลักของ ABL หรือ ที่ช่อง Youtube ของ ABL ได้
มาเช็คกับนักกีฬาขวัญใจคนเขียนหน่อยครับ คุณ กัณวัฒน์ เลิศเลาห์กุล ฉายา “Pillsbury”
คิดอย่างไรกับฟอร์มของไฮเทคตอนนี้บ้างครับ

ตามนั้นครับ
Featured Image by KukThew
2 thoughts on “ABL Recap: หน่วง”